ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ตามรอยเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จตรวจราชการหัวเมืองมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน พุทธศักราช 2449 ผ่านภาพถ่ายเก่าสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ       ตามรอยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จตรวจราชการหัวเมืองมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน พุทธศักราช 2449           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เสด็จออกตรวจราชการตามหัวเมืองต่าง ๆ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ และดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยระหว่าง พ.ศ. 2435-2458 เพื่อจัดระบบการปกครองหัวเมืองให้เป็นแบบเดียวกันภายใต้กระทรวงมหาดไทยและสร้างความเข้าใจในการปกครองแก่หัวเมืองให้มีเอกภาพและบรรเทาทุกข์ของราษฎร อีกทั้งยังเป็นกลวิธีรับมือจากการรุกล้ำจากประเทศมหาอำนาจ พุทธศักราช 2449 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งพระทัยจะเสด็จไปตรวจราชการหัวเมืองมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร มณฑลอีสาน และมณฑลบูรพา แต่เมื่อคำนวณระยะเวลาการเดินทางแล้ว ทรงกังวลว่าจะไม่ทันตามกำหนดการเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงงดเสด็จไปมณฑลบูรพา แล้วทรงปรับเส้นทางการเสด็จตรวจราชการหัวเมืองมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ดังนี้        เสด็จออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2449 ด้วยขบวนรถไฟพิเศษ ถึงเมืองนครราชสีมา ทรงพักเตรียมการเดินทางอยู่ 2 วัน จากนั้น เสด็จออกจากเมืองนครราชสีมาไปมณฑลอุดร ผ่านเมืองชนบท เมืองขอนแก่น เมืองกุมภวาปี บ้านหมากแข้ง เมืองหนองคาย เมืองโพนพิสัย เมืองไชยบุรีและท่าอุเทน เมืองนครพนม เมืองกุสุมาลย์มณฑล เมืองสกลนคร เมืองเรณูนคร เมืองมุกดาหาร เข้ามณฑลอีสาน ผ่านเมืองยโสธร จากนั้นเสด็จผ่านเมืองเสลภูมิ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสารคาม เมืองพยัคฆภูมิ แล้วเสด็จกลับมณฑลนครราชสีมา ผ่านเมืองไผทสงฆ์ เมืองพิมาย แล้วเสด็จไปสถานีรถไฟ โดยไม่ได้ทรงแวะพักค้างคืนที่เมืองนครราชสีมา เนื่องจากกำลังเกิดกาฬโรค       เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449       การเสด็จออกตรวจราชการครั้งนี้ ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในรายงานเสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ร.ศ. 125 (พุทธศักราช 2449) ทรงบรรยายถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ทำให้เห็นบรรยากาศของชาวบ้านที่พึ่งพาตนเอง โดยนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม กสิกรรม อาทิ การทำนา การเลี้ยงไหม มีตลาดค้าขายอย่างอิสระและให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อีกทั้งยังเห็นถึงสภาพบ้านเมือง ประเพณี วัฒนธรรมในแต่ละเมือง อาทิ      วันที่ 1 มกราคม “เวลาบ่าย 4 โมงเศษ ทรงเสด็จถึงหนองนาเกลือ เป็นหนองใหญ่ เพราะปิดน้ำไว้คล้ายทุ่งสร้างที่เมืองขอนแก่น ได้ขนานนามว่า “หนองประจักษ์”...” ทำให้เห็นถึงแหล่งน้ำสำคัญขนาดใหญ่ในเมืองขอนแก่น           วันที่ 18 มกราคม “เวลาบ่าย 4 โมง ราษฎรแห่ปราสาทผึ้งและบ้องไฟเป็นกระบวนใหญ่ เข้าประตูชาลาพระเจดีย์ด้านตะวันตก แห่ประทักษิณองค์พระธาตุ สามรอบ กระบวนแห่นั้น คือ ผู้ชายและเด็กเดินข้างหน้าหมู่หนึ่งแล้ว มีพิณพาทย์ ต่อไปถึงบุษบกมีเทียนขี้ผึ้งใหญ่ 4 เล่มในบุษบก แล้วมีรถ บ้องไฟ ต่อมามีปราสาทผึ้ง คือแต่งหยวกกล้วยเป็นรูปปราสาท แล้วมีดอกไม้ทำด้วยขี้ผึ้งเป็นเครื่องประดับ มีพิณพาทย์ ฆ้อง กลองแวดล้อม แห่มา และมีชายหญิงเดินตามเป็นตอน ๆ กันหลายหมู่ และมีกระจาดประดับประดาอย่างกระจาดผ้าป่า ห้อยด้ายไส้เทียนและไหมเข็ด...” แสดงให้เห็นถึงประเพณีและวัฒนธรรมในการแห่ปราสาทผึ้งและบ้องไฟ อันเป็นประเพณีที่สืบทอดมาถึงปัจจุบันของชาวอีสาน     ดังนั้น รายงานเสด็จตรวจราชการของพระองค์ในครั้งนี้ ทรงบันทึกรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงสภาพพื้นที่ ความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของราษฎร ประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดระบบการปกครอง การพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบคมนาคมและการชลประทานที่ช่วยยังชีพราษฎร ตลอดจนเห็นถึงความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการให้ความสำคัญต่อราชการในพระองค์ ด้วยการจัดการต้อนรับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และคณะอย่างสมพระเกียรติ หมายเหตุ : การสะกดคำยึดตามอักขรวิธีปัจจุบัน ยกเว้นชื่อเรื่องรายการ คำศัพท์เฉพาะ หรือการคัดลอกข้อความจะคงสะกดตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุรายการนั้น ๆ ผู้เรียบเรียง : นางสาวอาทิพรรษ์ ผาจันดา นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ  ------------------------------------- อ้างอิง กรมศิลปากร. เอกสารตรวจราชการเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร.ศ.119-131 (พ.ศ. 2443-2455). กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2564. สถาบันดำรงราชานุภาพ. การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันดำรงราชานุภาพ, 2555. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย ร.5 ม.2.14/17 เรื่อง กรมหลวงดำรงราชานุภาพไปตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดรอิสาน (21 มกราคม ร.ศ.121 – 7 กุมภาพันธ์ ร.ศ.125)  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           27/5 ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                34 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.4 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          ประติมากรรมนาค ๗ เศียร           สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔           เดิมอยู่ที่วัดราชโอรสาราม เขตจอมทอง กรุงเทพฯ           ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ทางเข้าหน้าอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           ประติมากรรมนาค ๗ เศียร สลักจากศิลาแบ่งออกเป็นสองส่วนตั้งซ้อนกัน ท่อนบนสลักรูปนาค ๗ เศียร มองตรงมาข้างหน้า จมูกนาคยื่นออกมาเป็นสามเหลี่ยม เศียรนาคตรงกลางแสดงเคราใต้คาง พังพานนาครูปทรงคล้ายใบโพธิ์ ขอบพังพานสลักลายกระหนกซ้อนกันสองชั้น คอนาคด้านหน้าสลักรูปดอกไม้แปดกลีบประดับอยู่กึ่งกลาง ส่วนล่างสลักรูปดอกบัวบาน  หินท่อนล่างสลักหินเป็นลำตัวนาคที่มีเกล็ดรูปทรงโค้งมน บริเวณส่วนต้นของลำตัวที่ติดกับพังพานสลักลายเกลียวกระหนก*   ประติมากรรมนาค ๗ เศียร นี้มีสองชิ้นตั้งคู่กัน           ในหนังสือ “อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แล พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร” (พ.ศ. ๒๔๗๐) ระบุว่าเดิมประติมากรรมศิลานาค ๗ เศียร คู่นี้ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ดังข้อความว่า “...ที่เฉลียงหน้ามีศีร์ษะนาคราชคู่ ๑ ฝีมือช่างครั้งสมัยสุโขทัย ได้มาจากวัดราชโอรส สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงได้มาจากเมืองสุโขทัย แต่เมื่อยังทรงผนวชแล้วถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว...” แต่อย่างไรก็ดีจากวิธีการสลักและบากลายกระหนกรวมถึงวัสดุที่ใช้แกะสลักมีรูปแบบที่ต่างไปจากฝีมือช่างสมัยสุโขทัย จึงน่าจะสลักขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเอง           ประติมากรรมนาคนิยมใช้ประดับศาสนสถาน  โดยมีคติที่เกี่ยวข้องกับการเป็น “ทวารบาล” หรือผู้ปกปักรักษาศาสนสถาน หลายพื้นที่ในประเทศไทยมีตำนานว่านาคเป็นเจ้าของผู้ครอบครองดินแดนนั้นมาแต่เดิมก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนา  ดังตัวอย่างในนิทานอุรังคธาตุ เนื้อหากล่าวถึงพระพุทธเจ้าประทับอยู่ภูกูเวียน ระหว่างนั้นมีบรรดานาคเข้ามาจะทำร้ายพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจึงแสดงปาฏิหาริย์ปราบนาค พร้อมทั้งแสดงธรรมจนนาคยอมอยู่ภายใต้พุทธศาสนา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระพุทธบาทให้แก่เหล่านาคไว้สักการะบูชาแทนพระองค์ เช่น ประดิษฐานไว้บนแผ่นหินภูกูเวียนใกล้ปากถ้ำที่สุวรรณนาคอาศัยอยู่ และที่หนองบัวบานสำหรับพุทโธธปาปนาค เป็นต้น จากนั้นพระองค์ได้กำชับเหล่านาคไม่ให้ไปทำร้ายผู้ใดและตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์**            นอกจากนี้พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทยังมีความเชื่อว่านาคเป็นบริวารของท้าววิรูฬปักษ์ โลกบาลผู้รักษาทิศตะวันตก ดังปรากฏคตินี้ใน สมบัติอมรินทร์คำกลอน ของเจ้าพระยาคลัง (หน) ความตอนหนึ่งกล่าวว่า   “นั่นองค์วิรุฬปักษ์เทเวศ อยู่ประเทศปราจิมทิศา เป็นปิ่นมงกุฎแห่งนาคา ทรงศักดาฤทธิราญรอน”             และในวรรณกรรมทางพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ฉบับที่แต่งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ยังระบุด้วยว่า นาคเป็นสัตว์ที่อยู่รักษาด่านแรกของทางขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น     *ลายเกลียวกระหนก หมายถึง ลายที่ผูกลายกระหนกเรียงกันคล้ายเชือกฟั่นเป็นเกลียว **ไตรสรณคมน์ หมายถึง การยึดถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกโดยการน้อมนำเอาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มาเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ     อ้างอิง ราชบัณฑิตยสภา. อธิบายว่าด้วยหอพระสมุดวชิรญาณ แลพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๐. ศานติ ภักดีคำ. นาค. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๖. สุจิตต์ วงษ์เทศ. นาคมาจากไหน ?. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: นาตาแฮก, ๒๕๖๕. สมชาย ณ นครพนม และคณะ. ทวารบาล ผู้รักษาศาสนสถาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๖. (หนังสือประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๔๖).  สำนักงานราชบัณฑิตสภา. พจนานุกรมศัพท์ลายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๖๑.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           36/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/3เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเรื่อง "พระสุพรรณบัฏ" สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เป็นพระเจ้าน่านการผลิตสื่อเพื่อสื่อความหมายทางวัฒนธรรมจัดทำโดย นายกชกร เรืองทับนิสิตฝึกสหกิจ คณะสังคมศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           20/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                44 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ เรื่อง “ตาเถรกินแกงหอยจุ๊บแจง” นิทานชวนหัวที่ซ้อนอยู่ในบทละครเรื่องไกรทอง พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ โดย นายพิรชัช สถิตยุทธการ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ #องค์ความรู้ #สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ #กลุ่มภาษาและวรรณกรรม #กรมศิลปากร #วรรณคดี #วรรณกรรม #ไกรทอง #กลอน #บทละคร #ละครนอก #พระราชนิพนธ์ #รัชกาลที่๒ #พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


ชื่อเรื่อง : วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัรฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 1,328 หน้า สาระสังเขป : เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติสุนทรภู่ ตั้งแต่ก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ ว่าด้วยหนังสือที่สุนทรภู่แต่ง ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ บันทึกเรื่องผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ทั้งหมด 64 ตอน มีนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


ชื่อผู้แต่ง           วิเชียร  วงศ์วิเศษ ชื่อเรื่อง             ไทยพวน ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์      - สำนักพิมพ์         - ปีที่พิมพ์            ๒๕๒๕ จำนวนหน้า       ๑๖๔ หน้า   หนังสือเล่มนี้ รวบรวมประวัติบรรพบุรุษและความเป็นมาของคนไทยเชื้อชาติพวน หรือเรียกอย่างง่ายว่า “ไทยพวน” คุณอาวิเชียรฯ ได้วิริยะอุตสาหะรวบรวมขึ้น ว่ากันว่าก่อนนี้ก็มีกลุ่มชนอาศัยอยู่ในประเทศของเรานี้ พยานเรื่องนี้ คือ จากวัตถุโบราณที่เราขุดพบที่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดอุดรธานี และที่อื่น ๆ แสดงว่ามีชนกลุ่มหนึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ครั้นต่อมาเมื่อชนชาติไทยที่อาศัยอยู่ตอนใต้ของประเทศจีนได้อพยพลงมาและแยกเป็น 2 สาย คือ สายไทยน้อยลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขง อีกสายหนึ่งเรียกว่าไทยใหญ่ ลงมาตามลุ่มแม่น้ำสาละวิน ถ้อยคำสำนวนไทยพวกนี้เป็นของผู้ไทยไม่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะคำผู้ไทยจะมีสัญลักษณ์ต่างกับภาษาไทยเผ่าอื่น ๆ คือในภาษาผู้ไทย สระอัวเปลี่ยนเป็นสระเออ เช่น เสือ เสื้อ เกลือ มะเขือ เป็น เสอ เซ้อ เก๋อ มะเขอ เป็นต้น


เลขทะเบียน : นพ.บ.452/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159  (163-173) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ลำชมพูบัตติ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


การเสวนาทางวิชาการ  เรื่อง วัฒนธรรมเสมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 3 เมษายน 2566 วิทยากร 1.นายนภสินธุ์  บุญล้อม       นักโบราณคดีชำนาญการ      หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สศก.ที่  8 ขอนแก่น 2.นายสมเดช  ลีลามโนธรรม      นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ      ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สศก.ที่  9 อุบลราชธานี 3.นายกิตติพงษ์  สนเล็ก    นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ    ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สศก.ที่  ๑๐ นครราชสีมา ผู้ดำเนินรายการ นายวรรณพงษ์  ปาละกวงษ์  นักโบราณคดีปฏิบัติการ สศก.ที่  ๑๐ นครราชสีมา ผู้สนใจสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=e_UZEcAbu60


         ภาพเขียนกระเบื้องดินเผาที่แสดงถึงอารยธรรมและวัฒนธรรมการค้าขายของทั้งสองชาติ การเชื่อมโยงสายสัมพันธ์กันเป็นเวลากว่า 600 ปีระหว่างไทยและญี่ปุ่น ภาพกระเบื้องชุดนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของแต่ละชาติในการทำเครื่องปั้นดินเผาในทุกกระบวนการ  ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ  การกรองดิน  การนวดดิน  การขึ้นรูปภาชนะ  การเขียนลาย  การเคลือบ  การบรรจุภาชนะเข้าเตา  และการเผา  ในรูปแบบการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของทั้งสองชาติ  ลวดลายกระเบื้องที่ออกแบบได้รับการวาดอย่างประณีตบรรจงด้วยสี  ครามหลากหลายเฉดลงบนแผ่นกระเบื้องพอร์ชเลนสีขาว  และเคลือบใสเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส  กระเบื้องทั้ง 48 แผ่น  แต่ละแผ่นมีขนาด 28 x 28 เซนติเมตร  และมีความหนา 12 มิลลิเมตร         ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/82



Messenger