ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พระแก้วน้ำค้าง
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
สมบัติเดิมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้อง ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพุทธรูปสลักจากแก้วหินผลึกใส พระเกศาทำจากทองคำครอบพระเศียรไว้ พระพักตร์รูปไข่ ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย บนฐานทองคำลงยาราชาวดี
หินผลึกใส หรือที่เรียกกันว่า “แก้วน้ำค้าง” มีที่มาจากลักษณะของเนื้อหินที่มีความสะอาด ใสเหมือนแก้ว ไม่มีสิ่งเจือปนดุจน้ำค้างยามรุ่งอรุณ เป็นหินกึ่งมีค่า หรืออัญมณี* เชื่อกันว่าแก้วน้ำค้างจะนำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุข นำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ผู้ครอบครองและมีคุณวิเศษด้านปกป้องเภทภัยต่าง ๆ สำหรับหินชนิดนี้อยู่ในประเภทแก้วขาวน้ำบุษย์ ส่วนการลงยาราชวดีที่ส่วนฐานพระพุทธรูปนั้นคือการลงสี ประกอบไปด้วยสีแดง สีเขียว และสีฟ้า ซึ่งเป็นสารประกอบโลหะผสมกับน้ำยาเคลือบใสและน้ำ แล้วจึงอบด้วยความร้อนให้สีติดที่ผิวโลหะ เทคนิคการทำลงยาราชาวดีมีตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาและสืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
การนำหินมีค่ามาสร้างเป็นพระพุทธรูปนั้นสัมพันธ์กับคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงค์ของการสร้างพระพุทธรูป ซึ่งจะแตกต่างไปตามวัสดุที่นำมาใช้ในการสร้าง โดยเฉพาะในวัฒนธรรมล้านนาพบว่ามีการสร้างพระพุทธรูปด้วยหินผลึกใสหรือมีสีที่เป็นของหายาก บรรจุลงในกรุเจดีย์อยู่หลายองค์
ในสมัยรัตนโกสินทร์ “หินผลึก” ทั้งแบบใสและแบบมีสี ยังคงเป็นสิ่งของที่มีค่า นำมาใช้ในการสร้างพระพุทธรูปหลายองค์ อีกทั้งพระพุทธรูปองค์สำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระแก้วมรกต (แม้ว่าองค์พระพุทธรูปจะสร้างขึ้นด้วยแก้วหินสีเขียว) นอกจากนี้ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ** ปรากฏคำว่า “ภพนพรัตน์” หมายถึง พื้นดินที่ฝังอัญมณี ทั้งเก้าเอาไว้ ความเชื่อเกี่ยวกับ “นพรัตน์” หรืออัญมณีทั้งเก้า ประกอบไปด้วย เพชร ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิล มุกดา เพทาย และไพฑูรย์ ยังปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง “ลิลิตตำรานพรัตน” เป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดย หลวงนรินทราภรณ์ กับหมื่นรักษา
*ไม่ใช่แก้วที่เกิดจากการหลอมทรายอย่างที่คนโบราณเรียกว่า “แก้วประสาน”
**ชื่อเต็มของกรุงเทพฯ คือ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน นพปฏิมารัตนมารวิชัย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๒.
นรินทราภรณ์, หลวง. ลิลิตตำรานพรัตน. พิมพ์ครั้งที่ ๔ พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๑๒ (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางรักษ์ราชหิรัญ (ชิญ หังสสูต) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๒)
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. โลหศิลป์ ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๐.
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครบ ๙๑ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "คู่แก้วจอมขวัญแผ่นดินไทย" โดยสามารถเข้าชมได้ทางเพจ Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก : Sawanvoranayok National Museum ตลอดเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ นี้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดการบรรยายทางวิชาการออนไลน์สาธารณะ ประจำปี พ.ศ.2566 "คนพิพิธภัณฑ์อยากจะเล่า" ครั้งที่ 8 ขอเชิญร่วมฟังเรื่องเล่า ในหัวข้อ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป : ภัณฑารักษ์กับการทำนิทรรศการศิลปะ" เล่าเรื่องโดย นางสาววัชราภรณ์ มธุรกันต์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ นางสาวณิชนันท์ รักพงษ์ไทย ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
ผู้สนใจสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง facebook live : Thalang National Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
ชื่อเรื่อง นิราศตามเสด็จ พระพุทธศักราช 2466ผู้แต่ง จางวางตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีเลขหมู่ 895.9112 อ915นสถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2466ลักษณะวัสดุ 28 หน้าหัวเรื่อง นิราศ กวีนิพนธ์ไทยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกนิราศที่จางวางตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร แต่งถวาย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระองค์เสด็จประพาสมณฑลอยุธยา และมณฑลนครชัยศรีทางชลมารค
รายงานผลการสำรวจโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
ถังตวงข้าว และ ติ้ว
ลักษณะ : ภาชนะทรงกระบอก ก้นทึบ ปากกลวง ทำด้วยไม้หรือโลหะสำหรับใส่ของต่าง ๆ หรือใช้เป็นเครื่องตวง มีทั้งขนาดความจุ 20 ทะนาน หรือ 20 ลิตร และขนาด 10 ลิตร ชาวชนบทมักใช้ถังเป็นเครื่องตวงเมล็ดพืชผลต่าง ๆ เช่น เมล็ดข้าวเปลือก เมล็ดถั่ว เมล็ดงา เมล็ดข้าวโพด เป็นต้น ถังที่ใช้เป็นเครื่องตวงมักทำด้วยไม้ มีแผ่นโลหะรัดที่ก้นถัง กลางถัง และขอบปากเพื่อความคงทน มีไม้คานขวางกลางปากถังเป็นที่จับ การตวงต้องเทเมล็ดข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือเมล็ดพืชอื่น ๆ ลงไปจนพูนถังแล้วใช้ไม้ปาด ซึ่งมักทำด้วยลำไม้ไผ่ ปาดให้เมล็ดพืชนั้นเสมอขอบปากถัง แต่เดิมนั้นถ้าใช้ตวงข้าวเปลือก 100 ถัง จะเรียก 1 เกวียน 50 ถัง เรียก 1 บั้น
ติ้ว ไม้ซี่เล็ก ๆ เหลาให้แบนสำหรับนับเวลาตวงข้าว
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational/360/model/12/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 60 หน้า : กว้าง 5.3 ซม. ยาว 56.2 ซม.อักษร ขอมฉบับ ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการจุด “Dot” โดยสุชาติ นับเงินอนันต์ สำหรับการจัดนิทรรศการในครั้งนี้เป็นการแสดงครั้งที่ 2 ของสุชาติ นับเงินอนันต์ ที่ได้มาจัดแสดงผลงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และในการจัดแสดงนิทรรศการนี้ได้รวบรวมผลงานชุดจุด “Dot” ซึ่งเป็นผลงานประเภทจิตรกรรมจำนวน 60 ชิ้น มาจัดแสดงให้ชมตลอดเดือนมีนาคม ภายในนิทรรศการดังกล่าวเต็มไปด้วยผลงานที่มีสีสันสดใสซึ่งสร้างจากองค์ประกอบพื้นฐานที่เรียกว่า “จุด” นำมาสร้างสรรค์ผลงานออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย
สำหรับนิทรรศการจุด “Dot” โดยสุชาติ นับเงินอนันต์ เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 3 - 30 มีนาคม 2567 ณ อาคารนิทรรศการ 6
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ตั้งเเต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวันพุธ - อาทิตย์ (ปิดให้บริการวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ค่าเข้าชม ชาวไทย : 30 บาท ชาวต่างชาติ : 200 บาท นักเรียน นักศึกษา ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี
หมายเหตุ : พิธีเปิดนิทรรศการวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 เวลา 17.40 น.
“Dot” by Suchart Napngernanan Exhibition dates 3rd - 30th March 2024 : 9 AM. - 4 PM. Closed on Monday - Tuesday and National holidays. At Building 6,The National Gallery of Thailand Opening Reception 3rd March 2024 : 5.40 PM.
ชื่อเรื่อง สพ.ส.86 ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 62; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง เวชศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติ นายบุญส่ง อุ่มสุข มอบให้หอสมุดฯ