ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

//ลัวะบ้านบ่อหลวง​ กลุ่มชนผู้ทรงภูมิปัญญา​ด้านการถลุงเหล็ก​รุ่น​สุดท้าย​ของเมืองเชียงใหม่​//.เรียบเรียงโดย​ นายยอดดนัย​ สุขเกษม​ นัก​โบราณคดี​ปฏิบัติ​การ​.- ลัวะ​ กลุ่มชาติพันธุ์​ที่มีพัฒนา​การทางวัฒนธรรม​มาอย่างยาวนาน​ มีการเคลื่อนไหวทางสังคมปฏิสัมพันธ์​กับกลุ่มชนต่าง​ ๆ​ ในพื้นที่​ภาคเหนือ​ของ​ประเทศไทย​ อย่างน้อยตั้งแต่ก่อนที่พญามังราย​จะสร้างเมืองเชียงใหม่​ขึ้นมาในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษ​ที่​ 19.- ข้อมูลจากหลักฐานเอกสาร​ทางประวัติศาสตร์​ พับสา​ "รวมเรื่อง​เมืองเชียงใหม่​: หลักฐานประวัติ​ศาสตร์" ปริวรรตโดย​ สรัสวดี​ อ๋อง​สกุล​ (2559) ได้ระบุว่า​ ราวช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษ​ที่​ 24​ "ลัวะ"​ เป็น​กลุ่มชนที่มีความสำคัญ​ในฐานะผู้ผลิตเหล็ก​ โดยหัวหน้าชุมชนลัวะจะต้องรวบรวมทรัพยากรเหล็กจำนวนมากพร้อมกับเงินตราส่งส่วยให้แก่เมืองเชียงใหม่​ ทำให้ลัวะเหล่านี้จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเรียกเกณฑ์แรงงาน​.- หลักฐานเอกประวัติ​ศาสตร์​ข้างต้นสอดคล้องกับงานศึกษา​ของ​ Hutchinson (1934) ตีพิมพ์​เมื่อ​ พ.ศ.​ 2477 ระบุว่า​ ลัวะบ้านบ่อหลวง​ (ปัจจุบัน​อยู่ใน​พื้นที่​อำเภอ​ฮอด​ จังหวัด​เชียงใหม่)​ ให้ความสำคัญ​กับผีที่ดูแลเหมืองแร่​เหล็ก​  ซึ่งสอดคล้อง​กับงานศึกษา​ของ​ บุญช่วย​ ศรีสวัสดิ์​ (2506) ที่ระบุว่า​ ลัวะบ้านบ่อหลวง​ มีพิธีกรรมฆ่าสัตว์​สังเวยและให้สาวพรหมจารีย์เข้าไปขุดสินแร่เหล็กออกมาถลุง​ ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ​เฉพาะด้านการทำเหล็ก​ ของกลุ่มชนลัวะบ้านบ่อหลวงได้เป็น​อย่างดี​  .- จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของทีมนักโบราณคดี​ สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ ในช่วง​ 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า​ กลุ่ม​ชนลัวะบ้านบ่อหลวงได้เลิกกิจกรรมการถลุงเหล็กไปเมื่อราว​ 80​ ปีมาแล้ว​ อันเนื่องจากการเข้ามาของเหล็กอุตสาหกรรม​สมัยใหม่​ แต่อย่างไรก็ตามยังมีความผูกพัน​กับแหล่งทรัพยากร​ ต้องกลับไปทำพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีบ่อเหล็กที่บ้านแม่โถ​ ในห่วงเวลาทุก​ ๆ 3​ ปี​ สืบมากระทั่งถึงปัจจุบัน​.- นอกจากนี้​ การเก็บข้อมูล​หลักฐาน​ทางโบราณคดี​ในพื้นที่บ้านบ่อหลวง​ ยังพบ​ประจักษ์พยานเกี่ยวกับ​กิจกรรม​การทำเหล็กหลายประการ เช่น​ ก้อนแร่​ ทั่งย่อยแร่​ ตูแยร์​ ทั่งตีเครื่องมือเหล็ก​ และก้อนโลหะเหล็ก​ เป็น​ต้น​ ซึ่งมีความเหมือนกันกับหลักฐานที่พบในกลุ่มแหล่งถลุง​เหล็ก​โบราณ​บ้านแม่โถ​ ทั้งในแง่ของวัสดุ​ รูปแบบ​ และเทคนิควิธีการ.- จากข้อมูลเชิงมานุษยวิทยา​และเชิงโบราณ​คดีที่กล่าวมาข้างต้น​ จึงสามารถตั้งข้อสันนิษฐาน​ได้ว่า​ กลุ่มชนลัวะบ้านบ่อหลวง​ เดิมน่าจะเคยตั้งถิ่นฐานชุมชนถลุงเหล็ก​ขนาดใหญ่​อยู่บริเวณ​ยอดดอยบ้านแม่โถเมื่อราว​ 400​ ปีมาแล้ว​ ก่อนที่จะมีการย้ายถิ่นฐานมาที่บ้านบ่อหลวง​ เมื่อราว​ช่วง 200​ -​ 150 ปีที่ผ่านมา​ ตามความทรงจำที่บอกเล่าต่อกันมาของผู้คนในชุมชน.- ถึงแม้ปัจจุบัน​กลุ่มชนลัวะบ้านบ่อหลวง​ จะเลิกกิจกรรมการถลุงเหล็กแบบ​โบราณ​ไปแล้ว​ แต่ยังคงมีความผูกพันทางจิตวิญญาณ​กับการทำเหล็ก​ ผ่านพิธีกรรมโบราณ​เฉกเช่น​บรรพชน​ที่กระทำสืบเนื่องมาหลายร้อยปี​ นับเป็นมรดกภูมิปัญญา​อันทรงคุณค่า​สำคัญ​ของดินแดนล้านนา​ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์​สืบไป​.- ภาพ​ประกอบภาพแรก คุณลุงเปี้ย​ อายุ​ 90​ ปี​ ทายาทตระกูลถลุง​เหล็ก​ ​ลัวะบ้านบ่อหลวง ที่อยู่​ร่วมในกระบวนการถลุงเหล็ก​แบบ​โบราณ​ครั้งสุดท้ายเมื่อราว​ 80​ ปีมาแล้ว​ ส่วนในมือที่ถืออยู่​ คือ​ ก้อนโลหะเหล็ก​ (Iron​ Bloom)​ ผลผลิต​ที่​ได้​จากการถลุง​ และมีดที่ตีขึ้นจากเหล็ก​ถลุงแบบโบราณ




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.42/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)  ชบ.บ.83/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-4ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.332/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 8 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          ๑๕ กันยายนของทุกปี เป็นที่ทราบกันดีของคนแวดวงศิลปะและชาวศิลปากรว่าเป็นวันคล้ายวันเกิดของประติมากรชาวอิตาลี “ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร มีอนุสรณ์ยืนตระหง่านบริเวณลานหน้าคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ โดยกิจกรรมวันนี้ของทุกปี ชาวศิลปากรจะร่วมกันจุดเทียนรำลึกถึงอาจารย์ฝรั่ง มีดนตรีสังสรรค์ การแสดงผลงานศิลปะของคณะวิชา รวมถึงกิจกรรมวางพวงมาลา วางดอกไม้ ณ ห้องทำงาน(เดิม) ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ และบริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์ วันนี้ เพจคลังกลางฯ จึงขอร่วมแสดงมุทิตาจิตรำลึกถึงหนึ่งผลงานของอาจารย์ คือ ครุฑ ณ ที่ทำการกรมไปรษณีย์โทรเลข          ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ครุฑ” เป็นสัญลักษณ์ที่สัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ ดังมีตำนานกล่าวว่าเป็นพาหนะของพระนารายณ์ในศาสนาฮินดู ซึ่งภาพปรากฎในงานศิลปกรรมยุคแรกมักแสดงเป็นรูปมนุษย์มีปีก กระทั่งถูกพัฒนารูปแบบกลายเป็นพญานก สวมทรงเครื่อง มีจะงอยปาก ประดับอยู่ตามอาคารสถานที่ต่าง ๆ เช่นครุฑยุดนาคประดับอาคาร โขลนเรือพระที่นั่ง ครุฑรถพระที่นั่ง ธงครุฑ ฯ ทั้งยังถูกใช้เป็นตราแผ่นดินสืบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ อย่างไรก็ดี ยังมีช่วงเวลาหนึ่งที่ความหมายของครุฑถูกปรับเปลี่ยนไปราวปี พ.ศ. ๒๔๘๓ มีการสร้างอาคารราชการหลังใหม่ระบุในรายงานการเปิดตึกว่า “...ตึกที่ทำการใหม่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขนี้เป็นศิลปกรรมแบบทันสมัย...” โดยอาคารหลังนี้ มีการประดับรูปปั้นครุฑไว้มุมอาคาร ทว่า กลับถูกสร้างความหมายเป็นสัญลักษณ์ของการสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากประติมากรรมรูปครุฑยุดแตรงอน           ลักษณะของครุฑคู่ ณ อาคารหลังนี้เต็มไปด้วยความแข็งกร้าว ไม่มีลายประดับตกแต่งแบบครุฑในอดีตสอดคล้องกับลักษณะงานศิลปกรรมร่วมสมัย เป็นผลงานของลูกศิษย์แผนกช่างปั้นจากโรงเรียนศิลปากรภายใต้การกำกับดูแลของศาตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีขนาดใหญ่เป็น ๓ เท่าของคนจริง เน้นความถูกต้องตามหลักกายวิภาค มีกล้ามเนื้อ ทำท่ากางปีกดูน่าเกรงขาม สะท้อนให้เห็นถึงอุดมคติของร่างกายตามยุคสมัยได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี แม้ประติมากรรมปูนปั้นคู่นี้จะสร้างขึ้นตามแนวคิดสัจนิยมตะวันตก แต่จะเห็นได้ว่ามีการผสมผสานกลิ่นอายตามความเชื่อตะวันออก ครุฑจึงถูกนำเสนอผ่านเรือนร่างมนุษย์กางปีก มีจะงอยปาก มีกรงเล็บแหลม ซึ่งปัจจุบันครุฑคู่นี้ได้รับการบูรณะกางปีกเด่นเป็นสง่าเหนืออาคารไปรษณีย์กลาง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร    เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ และอาทิมา ชาโนภาษ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน / เทคนิคภาพโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ชื่อผู้แต่ง        - ชื่อเรื่อง         โคลงเลี้ยงโต๊ะปีใหม่ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   ธนบุรี สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์         ๒๕๐๓ จำนวนหน้า     ๒๔ หน้า หมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมเลียม (ในรัชกาลที่ ๕) ณ วัดประยุรวงศาวาส ๑๐ สิงหาคม ๒๕๐๓                    โคลงเลี้ยงโต๊ะปีใหม่ มาจากการรวบรวมโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และผู้ร่วมงานเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์ปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๑๗ มีเนื้อหากล่าวถึงการเลื่อนกรม หรือแต่งตั้งกรมเจ้านายบางพระองค์ในขณะนั้น


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 45 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 71 (ต่อ) -73) พงศาวดารละแวก (ต่อ) พงศาวดารเขมรอย่างย่อ ราชพงศาวดารญวน ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ 2 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 312 หน้า สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 71 (ต่อ) เป็นเรื่องราวพงศาวดารละแวก ฉบับแปลจาก จ.ศ.1170 (ต่อ) เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ พงศาวดารเขมรอย่างย่อ ราชพงศาวดารญวณ บานแผนก ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 72 ตำนานเมืองสุวรรณโคมดำ และประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 73 ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราช ครั้งรัชกาลที่ 2


ชื่อผู้แต่ง          ทองหยก  เลื่ยงพิบูลย์ ชื่อเรื่อง           เรื่องขึ้นถ้ำพระอรหันต์และเกือบจะสาย ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๕ จำนวนหน้า      ๘๐ หน้า           เรื่องขึ้นถ้ำพระอรหันต์และเกือบจะสาย  เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์น้อมถวาย เนื่องในโอกาสได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปรินายก ๒๑ ก.ค. ๒๕๑๕  กล่าวถึง ประวัติสังเขปของสมเด็จพระวันรัต ความรู้สึกของผู้เขียน  ขึ้นถ้ำพระอรหันต์เป็นข้อความที่ผู้เขียนได้บันทึกก่อนออกเดินทาง เหตุการณ์ระหว่างเดินทางจนถึงเวลากลับ  เกือบจะสาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรู้สึกของแม่ที่มีต่อลูก ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ  


          มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๐ กันยายน ๒๓๙๖ วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี)           พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดารวม ๓ พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงได้รับการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ ภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ ทรงได้การศึกษาการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศร          เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๔ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๐๘ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๐๙) โปรดให้โสกันต์สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ แล้วทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังจากการผนวช โปรดให้ตั้งพิธีเลื่อนสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๑๐ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๑๑) โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า         วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑  พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา โดยในขณะนั้น มีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะมีพระชนมพรรษครบ ๒๐ พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว         เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษาแล้ว เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๑๖ จึงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร หลังจากทรงลาสิกขาแล้ว ได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๑๖ โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา   ภาพ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


      เพชรบุรีเป็นเมืองที่มีมรดกด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งวัด วัง และย่านเมืองเก่า เป็นแหล่งงานศิลปกรรมชิ้นเอกตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่กล่าวมาเพชรบุรีจึงเป็นเมืองที่กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯ มาทอดพระเนตรแหล่งมรดกด้านศิลปวัฒนธรรมบ่อยครั้ง เช่น - วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จไปทอดพระเนตรและทรงศึกษาโบราณสถานและศิลปวัตถุ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่       วัดใหญ่สุวรรณรามวรวิหาร เสด็จทอดพระเนตรศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ ภาพผนัง และพระพุทธรูปสำคัญในวัด       วัดกำแพงแลง เสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน       วัดไผ่ล้อม ทอดพระเนตรภาพปูนปั้นในห้องหลังอุโบสถ       วัดชีว์ประเสริฐ ทอดพระเนตรธรรมาสน์บุษบกบนศาลาการเปรียญ       วัดเพชรพลี ทอดพระเนตรธรรมาสน์บุษบกของโบราณบนศาลาการเปรียญ ทอดพระเนตรเจดีย์ใหญ่ และพิพิธภัณฑ์ของวัด       วัดเกาะ เสด็จเข้าสู่อุโบสถ ทอดพระเนตรภาพผนัง แล้วเสร็จเสด็จขึ้นยังศาลาการเปรียญ ทอดพระเนตรภาพเขียนและธรรมาสน์บุษบก       วัดพลับพลาชัย เสด็จเข้าสู่อุโบสถ ทอดพระเนตรลายสลักไม้ที่ประตูอุโบสถ       วัดมหาธาตุวรวิหาร เสด็จเข้าสู่พระวิหาร ทอดพระเนตรภาพผนัง ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ของวัด       พระนครคีรี เสด็จไปยังพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ ทรงถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นเสด็จไปถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เสด็จทอดพระเนตรพระที่นั่งต่างๆ       วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถ ทอดพระเนตรภาพผนัง       วัดสระบัว เสด็จเข้าสู่อุโบสถ ทอดพระเนตรลายปูนปั้นต่าง ๆ ซึ่งเป็นฝีมือโบราณ       วัดพระพุทธไสยาสน์ เสด็จขึ้นสู่วิหารพระพุทธไสยาสน์ ทอดพระเนตรพระพุทธไสยาสน์ - วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) มายังจังหวัดเพชรบุรี มีพระราชกรณียกิจดังนี้       วัดพระพุทธไสยาสน์ เสด็จเข้าวิหารพระพุทธไสยาสน์ แล้วทอดพระเนตรบริเวณวัด       วัดสระบัว ทอดพระเนตรอุโบสถและโบราณสถานโดยรอบ       พระนครคีรี เสด็จไปยังพระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะและทรงถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเสด็จไปยังพระที่นั่งราชธรรมสภา เสวยพระกระยาหารกลางวัน ประทับพักพระราชอิริยาบถและเสวยพระสุธารสชา จากนั้นเสด็จฯ ไปยังพระธาตุจอมเพชร เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระบรมธาตุ จากนั้นเสด็จทอดพระเนตรโบราณสถาน ณ พระอุโบสถวัดพระแก้วน้อยซึ่งอยู่บริเวณนั้น - วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จไปทอดพระเนตรวิหารและอุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ วัดคงคาราม และถ้ำเขาหลวง อำเภอเมืองเพชรบุรี - วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ไปทอดพระเนตรโบราณสถานวัดใหญ่สุวรรณารามราชวรวิหาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) โดยเสด็จฯ - วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ไปยังวัดเขาตะเครา อำเภอบ้านแหลม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) โดยเสด็จฯ - วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ไปยังพระนครคีรี และวัดยาง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) โดยเสด็จฯ - วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๒๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จฯ มาทอดพระเนตรจิตรกรรมฝาผนังที่วัดใหญ่สุวรรณารามราชวรวิหาร  - วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (พระอิสริยยศในขณะนั้น) มาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันธรรมสวนะ และทอดพระเนตรศาลาการเปรียญที่วัดใหญ่สุวรรณารามราชวรวิหาร นอกจากดังที่กล่าวมานี้ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ยังได้เสด็จฯ มายังแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานในจังหวัดเพชรบุรีอีกหลายครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวเพชรบุรีอย่างหาที่สุดมิได้ ภาพ : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จไปทอดพระเนตรวิหารและอุโบสถวัดเขาบันไดอิฐ


เสวนาประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2565 อาโรคยปณิธาน "บันเทิงการแพทย์" เมื่อเรื่องเจ็บ ๆ ไข้ ๆ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และความรู้ทางการแพทย์ไม่ใช่เรื่องที่เข้าถึงยากเสมอไป มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องโรคภัยจากซีนหนังกับคุณหมอยูทูบเบ้อร์ Doctor Tang นายแพทย์มรรคพร ขัตติยะทองคำ จาก หมอดูหนัง Movie Doc. ในวันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30-15.30 น. รับชมพร้อมกันผ่าน Facebook Live Page : Office of National Museums, Thailand


“อัปสร” นางผู้เคลื่อนไหวในน้ำ "อัปสร" หรือ "นางอัปสร" เป็นชื่อเรียกสิ่งวิเศษอย่างหนึ่งซึ่งดินแดนต่าง ๆ ที่ได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูจากชมพูทวีปจะคุ้นเคยกันในรูปของ “เทวดาผู้หญิง” รูปร่างงดงามแต่งกายด้วยถนิมพิมพาภรณ์อันมีค่าโดยทำเป็นประติมากรรมประดับอยู่ตามศาสนสถานบ้าง พบในจิตรกรรมฝาผนังเขียนประดับอยู่ภายในศาสนสถานบ้าง หรือในภาพวาดทางศาสนาบ้าง  กำเนิดของนางอัปสรมีกล่าวถึงในคัมภีร์หลายฉบับ อาทิ วิษณุปุราณะ อัคนิปุราณะ หรือแม้แต่ รามายณะ ต่างระบุตรงกันว่านางอัปสรเป็นของวิเศษหนึ่งที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร (มหาสมุทรน้ำนม) โดยในคราวนั้น พระอินทร์ทรงต้องคำสาปจากฤๅษีทุรวาสทำให้ทรงอ่อนแอลง จำเป็นต้องเสวยน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทรเพื่อฟื้นฟูพละกำลัง แต่การกวนเกษียรสมุทรเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้กำลังมากมายมหาศาล จึงมีการเจรจาสงบศึกระหว่างเทพกับอสูรเป็นการชั่วคราวเพื่อขอให้เหล่าอสูรมาช่วยในการกวนเกษียรสมุทรโดยสัญญาว่าจะแบ่งน้ำอมฤตให้ ทว่าในระหว่างการกวนเกษียรสมุทรนอกจากได้น้ำอมฤตแล้วยังเกิดของวิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเพชรพลอย ต้นกัลปพฤกษ์ หรือต้นปาริชาติ เป็นต้น ผุดขึ้นมาจากเกษียรสมุทรซึ่งรวมถึงนางอัปสรด้วย บางตำนานยังได้กล่าวว่าพระนางลักษมี พระชายาของพระวิษณุก็ถือกำเนิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อที่ใช้เรียกเหล่านางวิเศษที่ผุดขึ้นมาจากการกวนเกษียรสมุทรนี้ว่า "อัปสร" ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤตที่เกิดจากการผสมคำว่า "อัป" (น้ำ) เข้ากับคำว่า "สรา" (เคลื่อนไหว) แปลได้ว่า ผู้เคลื่อนไหวในน้ำ หรือผู้ที่อาศัยในน้ำ นั่นเอง แม้นางอัปสรที่ผุดขึ้นมาจะมีรูปร่างหน้าตางดงาม สามารถร่ายรำและขับร้องได้อย่างไพเราะ จนได้รับหน้าที่สร้างความรื่นรมย์ให้กับเหล่าเทวดาและชาวสวรรค์ แต่นางอัปสรก็ยังมีบทบาทปรากฏในตำนานมากมาย เช่น เรื่องราวของฤๅษีวิศวามิตรที่บำเพ็ญเพียรแก่กล้าจนพระอินทร์ทรงต้องส่งนางอัปสรชื่อ "เมนกา" ลงมารบกวนการบำเพ็ญเพียรและให้กำเนิดนางศกุนตลา มเหสีของท้าวทุษยันต์และมารดาของท้าวภรต บรรพบุรุษของเหล่าปาณฑพและเการพในมหากาพย์มหาภารตะ นอกจากนี้ เรายังพบว่าในงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูมีการใช้ภาพลักษณ์ของนางอัปสรเป็นตัวแทนของสวรรค์ เช่น การประดับนางอัปสรตามส่วนต่าง ๆ ของปราสาทหิน อาทิ ผนัง ทับหลัง เสากรอบประตู กระเบื้องเชิงชาย ซึ่งเป็นการประดับในเชิงสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าศาสนสถานนั้นเปรียบเสมือนสรวงสวรรค์และแนวคิดดังกล่าวก็ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน



Messenger