ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ





รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ๑.  ชื่อโครงการ            การประชุมสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติและสภาสมัชชา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค                                (ICOM Asia Pacific Conference and General Assembly) หัวข้อ ."Pathways for Museums for a Sustainable Society". ๒.  วัตถุประสงค์           เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินงาน บริหารจัดการด้านพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรม  สร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมการประชุม และเพื่อเป็นการเพิ่มความตระหนักในบทบาทของพิพิธภัณฑสถานต่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ๓.        กำหนดเวลา         3-7 ธันวาคม 2558 ๔.        สถานที่               ศูนย์ประชุมนานาชาติ (International Conference Center =ICC) เมืองอิโลอิโล เกาะปาไนย์ ประเทศฟิลิปปินส์ ๕.        หน่วยงานผู้จัด      คณะกรรมการระหว่างชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติประเทศฟิลิปปินส์ ๖.        หน่วยงานสนับสนุน สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ                         คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติประเทศเกาหลีใต้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติประเทศจีน                        หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศฟิลิปปินส์ และ เมืองอิโลอิโล ๑๖ แห่ง ๗.        กิจกรรม             ๗.๑     พิธีเปิด ประธานในพิธีคือ ประธานสภานิติบัญญัติ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมกับกล่าวปาฐกถา ๗.๒     การประชุมสภาสมัชชาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ ๗.๓     การบรรยายพิเศษและการนำเสนอของสมาชิกจากนานาประเทศที่เข้าร่วมประชุม ๗.๔     การประชุมเชิงปฏิบัติการ ๗.๕     ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมืองอิโลอิโล  โบราณสถาน แหล่งประวัติศาตร์ สถานที่สำคัญและชุมชนในเมืองอิโลอิโล ๘.         คณะผู้แทนไทย       นางจารุณี  อินเฉิดฉาย ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ และผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ กาญจนาภิเษก  ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ  คณะกรรมการ   แห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติในประเทศไทย (National Committee for ICOM of Thailand = ICOM Thailand)     ๙.        สรุปสาระของกิจกรรม        ๙.๑ การทบทวนบทบาทของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ ในนานาประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ๒๔ ประเทศ และการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากคณะกรรมการบริหารสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ทั้งนี้ ในที่ประชุมสภาสมัชชาคณะกรรมการระหว่างชาติภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ได้เสนอให้ประเทศไทย รีบดำเนินการทบทวนสถานภาพและบทบาทของตนเพื่อผลักดันให้อยู่ในเวทีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค การเพิ่มสมาชิกในประเทศ การจัดกิจกรรมและรายงานผลการดำเนินงานต่อสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ ๙.๒ บทบาทของพิพิธภัณฑสถานในการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน ในขณะเดียวกันต้องมีการพัฒนาหน่วยงานเพื่อให้มีความยั่งยืนเช่นเดียวกัน  จากประเด็นการนำเสนอของผู้แทนจากแต่ละประเทศ ซึ่งประกอบด้วย -       Culture, Museum, and Sustainable Development -       Culture, Museum, and Urban Sustainability -       Knowledge Sharing -       Creating Sustainable Museum and Communities ๙.๓ เครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และ ความพร้อมต่อการให้การสนับสนุนจากคณะกรรมการระหว่างชาติภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ๙.๔ การเข้าร่วมประชุมสมัยสามัญของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ ครั้งที่ ๒๔  ระหว่างวันที่ ๓-๙ กรกฎาคม  ๒๕๕๙  ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี หัวข้อ "Museum and Cultural Landscapes" รายละเอียดในเวปไซต์ www.milano2016.icom.museum   ๑๐.   ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม จัดประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติในประเทศไทย  เพื่อทบทวนบทบาทของคณะกรรมการแห่งชาติฯ การหามาตรการในการเพิ่มจำนวนสมาชิกในประเทศไทย  พิจารณาการเข้าร่วมประชุมสมัยสามัญของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ ครั้งที่ ๒๔  ประเทศอิตาลี  แนวทางและกิจกรรมความร่วมมือกับคณะกรรมการแห่งชาติฯในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ..........................................................................


ผู้แต่ง               :  พระยาประดิพัทธภูบาลโรงพิมพ์           :  ไทยแบบเรียนปีที่พิมพ์           :  2502ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.31บ.2251เลขหมู่             :  959.3                          ป247


ชื่อเรื่อง : กฤษณาสอนน้องคำฉันท์, วินิจฉัยเรื่องกฤษณาสอนน้อง และหลักราชการ ผู้แต่ง : ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จฯ กรมพระ, จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, และมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : รุ่งเรืองธรรม



เลขทะเบียน : นพ.บ.25/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 5หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


   


ชื่อเรื่อง : สังข์ศิลป์ชัย กลอนสวด ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : คุรุสภาพระสุเมรุ จำนวนหน้า : 478 หน้า สาระสังเขป : กลอนสวดเรื่องสังข์ศิลป์ชัยเล่มนี้ พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดป่าโมก มีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติวัดป่าโมก คำจารึกแผ่นศิลาในวิหารพระพุทธไสยาสน์ และกลอนสวดเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ซึ่งเป็นกลอนสวดที่มีความใกล้ชิดกับคนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในการหัดให้เด็กอ่านออกเขียนได้ และการชักจูงใจคนให้เลื่อมใสในหนังสือ และพุทธศาสนา 


ชื่อผู้แต่ง              - ชื่อเรื่อง               โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สถานที่พิมพ์        - สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์              ๒๔๙๘ จำนวนหน้า         ๙๐    หน้า หมายเหตุ            พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสรรสุรพล (เปรม  ตัณฑประภา) ณ เมรุวัดยานนาวา จังหวัดพระนคร วันที่   ๑๗  เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘                         โคลสุภาษิตไทยที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้จารึกแผ่นศิลา ติดไว้ใต้รูปภาพซึ่งโปรดฯ ให้พระอาจารย์อินโข่ง วัดราชบูรณะ เขียนไว้ที่ผนังกรอบประตู และหน้าต่างพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม


เรื่องที่ 355 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบึงชนัง ต.หนองตาคง อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก เนื้อเรื่องเป็นภาษาบาลี-เขมร ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม้ประกับธรรมดา มีทั้งหมด 12 ผูก หอสมุดแห่งชาติฯมีผูก 1-9 , 11-13 เนื้อหาเกี่ยวกับชาดก เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ตอนนครกัณฑ์ มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ในการบำเพ็ญทานบารมี ก่อนจะทรงอุบัติเป็นพระโคตมพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการเทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ด้วยกันเลขทะเบียน จบ.บ.355/1-9,11-13


วิฬาร์  หทัยภัทร.  ดม ดู ดีด 3 เทคนิคง่ายๆ ในการเลือกทุเรียน.  จันท์ยิ้ม.  2 , (4 ) : 10 - 11 ; เมษายน - พฤษภาคม  2560.              ภายในเล่ม กล่าวถึงวิธีการแยกทุเรียนของคุณ "อัศว์  สวนจันท์"  ที่ได้ให้แนวทางสำหรับดูทุเรียนว่าลูกไหนอ่อนยังตัดไม่ได้ ลูกไหนแก่ตัดได้แล้ว ด้วยวิธีการ 1. ดมกลิ่น ถ้ามีกลิ่นหอมไม่ว่าจะพันธุ์อะไรก็บ่มสุกได้ทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าจะสุกงอมแค่ไหนเท่านั้น    2. ดูปลิงหรือปากปลิง ต้องบวมนูนออกมาพร้อมกับมีสี -น้ำตาลเข้ม เมื่อใช้นิ้วลูบแล้วสากเนื่องจากมีเม็ดตุ่มเล็กๆทั่วไป รอยต่อปากปลิงจะแยกให้เห็นเป็นเส้นขาวๆ คล้ายกับจะหลุดออกจากกัน  ถ้ามีลักษณะตามนี้แสดงว่าแก่จัด  แต่ถ้าไม่ครบถ้วน แต่มีลักษณะอย่างใดชัด -นั่นแสดงว่าแก่จัดน้อยลงตามส่วนก็น่าจะบ่มสุกได้ทั้งนั้น  3. ถัดไปก็ต้องเคาะฟังเสียงใช้นิ้วดีดหรือไม้เคาะเบาๆที่พลูทุเรียน หากเคาะทุกพลูยิ่งดี  ถ้าเสียงทึบแสดงว่าอ่อน  เสียงโปร่งแสดงว่าแก่  หลักการก็คือ เนื้อ --ทุเรียนจะเติบโตขึ้นมาพร้อมกับเปลือกที่หุ้มอยู่ในช่วงแรกสนิทแนบแน่นดี พอเริ่มแก่เนื้อมีการถ่ายเทสะสมอาหาร เนื้อจะหดแยกจากเปลือกเล็กน้อย ทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้น เวลาเคาะเสียงจึงโปร่งๆ ไม่แน่นทึบนั่นเอง



Messenger