ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
เสมา หรือ สีมา เป็นภาษาบาลี หมายถึง เขต ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา (พระวินัยปิฎก มหาวรรค ปฐมภาค อุโบสถขันธกะ และคัมภีร์สมันตปาสาทิกา) ได้กล่าวว่าพระพุทธองค์ให้สงฆ์กำหนดแนวเขตเพื่อทำสังฆกรรมร่วมกันอย่างน้อย 3 ตำแหน่ง ให้สามารถล้อมเป็นวงรอบพื้นที่ได้ โดยใช้นิมิต 8 อย่าง ได้แก่ ภูเขา หิน ป่า ต้นไม้ หนทาง จอมปลวก แม่น้ำ และน้ำที่ขัง คติการปักใบเสมาในพุทธศาสนาจึงเป็นเสมือนการกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการทำพิธีกรรมทางศาสนา
การปักใบเสมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาจมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากประเพณีการปักหินตั้ง(Megalith) ซึ่งเป็นการปักหลักหินตามเนินดิน ไม่มีจำนวนและทิศทางการปักที่แน่นอนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมความตาย การนับถือผีหรือไหว้ผีบรรพบุรุษ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีการรับพุทธศาสนาเข้ามาจึงเกิดการสืบทอดประเพณีการปักหลักหินเพื่อใช้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานความเชื่อท้องถิ่นกับความเชื่อด้านพุทธศาสนา ทำให้การปักหินตั้งเปลี่ยนไปเป็นการปักใบเสมา
ลักษณะใบเสมาที่พบบนภูพระบาทมีทั้ง แท่งสี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม มีส่วนยอดโค้งมนเป็นโดม และเป็นแผ่นแบนโดยที่ส่วนปลายยอดโค้งแหลมคล้ายกลีบบัว ทั้งนี้ใบเสมาที่พบบนภูพระบาทไม่พบว่ามีการแกะสลักลวดลายใด ๆ ส่วนรูปแบบการปักเสมาส่วนใหญ่ มักปักเพียงชั้นเดียวล้อมรอบเพิงหิน มีเพียงที่ลานหินหน้าวัดพ่อตา ที่ปักเสมาซ้อน 2 ชั้น ในผังสี่เหลี่ยมล้อมรอบลานหินโล่ง
ภูพระบาทนับเป็นสถานที่ซึ่งพุทธศาสนาผสมผสานกับการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมยังคงอยู่ร่วมกัน จากการนำเอาหลักหินมาล้อมรอบเสาหินหรือเพิงหิน นอกจากเพื่อบอกเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระสงฆ์ ยังมีการดัดแปลงพื้นที่เพื่อประกอบศาสนกิจ ประดิษฐานพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อสักการบูชา และเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุอีกด้วย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ เรื่อง “จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี" ณ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ – ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
“จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี” นิทรรศการพิเศษในวาระครบรอบ ๑,๐๐๐ ปี ศักราชที่บันทึกเรื่องราวไว้บนจารึกศาลสูง ซึ่งถือเป็นจารึกหลักสำคัญที่พบ ณ ศาลสูง หรือ ศาลพระกาฬ โบราณสถานคู่บ้านของชาวลพบุรี โดยจารึกมีเนื้อความที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตและความเชื่อของผู้คนเมื่อ ๑,๐๐๐ ปีที่แล้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จึงจัดนิทรรศการพิเศษเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาษาศาสตร์ ประวัติ และโบราณคดีให้กับผู้ที่สนใจได้รับรู้และตระหนักถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของเมืองลพบุรี
ปัจจุบันจารึกศาลสูงหลักนี้จัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในโอกาสพิเศษครั้งนี้จึงได้ทำการจำลองจารึกศาลสูงขนาดเท่าจริง โดยใช้เทคโนโลยีการสแกนแบบ ๓ มิติ และพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ๓ มิติ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในการดำเนินการจำลองจารึกศาลสูง เพื่อนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ
นอกจากองค์ความรู้เกี่ยวกับจารึกศาลสูงในด้านต่าง ๆ แล้ว ยังมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้ทดลองทำสำเนาจารึกศาลสูงอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามกำหนดการของกิจกรรมได้ทางเพจเฟสบุ๊ก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museumศาสตร์
สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมการเสวนาวิชาการ เรื่อง “จารึกศาลสูง : บันทึก ๑,๐๐๐ ปี เมืองลพบุรี” ซึ่งได้จัดขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ สามารถรับชมย้อนหลังได้ตามที่ลิงก์ : https://fb.watch/f_eoSIiKMN/
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษา สร้างสรรค์ ส่งเสริม สืบทอด และพัฒนามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 36/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/2เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 167/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ประวัติศาลเจ้าปึงเถ่ากง น่าน (ตามที่จารึกไว้ภายในอาคารศาลเจ้า)---ชาวจีนโพ้นทะเลที่อาศัยทำมาหากินในจังหวัดน่าน ได้เริ่มต้นทำการก่อสร้างศาลเจ้าปึงเถ่ากงในปีพุทธศักราช ๒๔๔๖ เริ่มจากผู้มีจิตศรัทธาจำนวน ๕๖ ราย ตามประวัติของศาลที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว จัดหาที่ดินจำนวน ๑ งาน ๘๐ ตารางวา ก่อสร้างอาคารศาลเจ้าเป็นอาคารไม้ยกพื้นหลังคามุงกะสี รูปทรงอาคารเป็นไปตามยุคสมัยพื้นเมืองน่านในขณะนั้น ใช้เงินก่อสร้างทั้งสิ้น ๑,๖๕๕ บาท และได้อัญเชิญองค์ปึงเถ่ากงขึ้นประทับ รูปองค์ของท่านเป็นไม้หอมแกะสลักลงสีลวดลายได้งดงามยิ่งนักจวบจนปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ได้มีการปรับปรุงอาคารเป้นก่ออิฐถือปูน หลังคามุงสังกะสี และในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ คณะกรรมการศาลเจ้าปึงเถ่ากง ได้นำที่ดิน และอาคารศาลเจ้าปึงเถ่ากงไปขึ้นทะเบียนศาลเจ้ากับกระทรวงมหาดไทย---ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้มีการปรับปรุงอาคาร และเปลี่ยนหลังคามุงสังกะสีเป็นหลังคามุงกระเบื้อง จนปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ อาคารศาลเจ้าทรุดโทรมมาก คณะกรรมการศาลเจ้าปึงเถ่ากงจึงมีมติให้รื้อถอน และให้สร้างขึ้นใหม่ในสถานที่เดิมให้ถาวร สวยงามตามแบบจีน โดยทำการวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๘ และทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นใช้งบประมาณ ๑๐ ล้านบาท และได้เฉลิมฉลองอาคารศาลเจ้าปึงเถ่ากงหลังใหม่ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ เมื่อศาลเจ้าปึงเถ่ากงน่านมีอายุครบ ๑๐๕ ปี---ภายในศาลเจ้าปึงเถ่ากง น่าน ประดิษฐานเทพเจ้าประจำศาลมากมายประกอบด้วย เทพเจ้าประธานคือ “องค์เจ้าพ่อปึงเถ่ากง” อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าที่คอยรักษาคุ้มครองชาวจีนโพ้นทะเล ด้านทิศเหนือเป็น “เทพเจ้ากวนอู” เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ และด้านทิศใต้เป็น “ตี่จู่เอี้ย” หรือเทพเจ้าที่---ปึงเถ่ากง หรือปุนเถ่ากง หรือเปิ่นโถวกง ซึ่งหมายความว่าผู้เป็นใหญ่ หรือผู้นำในเขตนั้นๆ โดยเฉพาะในเขตที่ชาวจีนได้เข้ามาตั้งหลักแหล่ง เพื่อทำการค้าขายโดยเฉพาะบริเวณที่ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับตลาด ส่วนมากจะตั้งรูปเคารพของเทพปึงเถ่ากงไว้เป็นเทพประธานในศาลเจ้า ซึ่งมีความเชื่อว่าเพื่อช่วยรักษาคุ้มครอง ปกป้องภยันอันตราย และให้ความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรือง---ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปีทางศาลเจ้าจะจัดงานประจำปี ฉลอง อุปรากรจีน (งิ้ว) รวม ๑๐ คืน---เชิญชวนบริจาคบูรณะศาลเจ้าปุงเถ่ากง ในวาระครบ ๑๒๐ ปี ๑๐ รอบ (พ.ศ. ๒๔๔๖ - ๒๕๖๖) บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาน่าน ศาลเจ้าปึงเถ่ากง น่าน เลขบัญชี 114-2-26720-5---งานสมโภชปึงเถ่ากงน่านครบ ๑๒๐ ปี (พ.ศ.๒๔๔๖-๒๕๖๖) เชิญชวนสักการะองค์ปึงเถ่ากงพร้อมเทพต่างๆ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ชมขบวนธง สิงโต มังกรทองนครสวรรค์
ชื่อเรื่อง สพ.ส.32 กฎหมายลักษณะวิวาทประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยดำISBN/ISSN -หมวดหมู่ กฏหมายลักษณะวัสดุ 32; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง กฏหมาย ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดสามทอง ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 9 ส.ค.2538
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๕ วันประสูติหม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ที่ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๕
ในปีที่หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศกประสูตินั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี จึงมีเจ้านายทูลขอพระราชทานพระนาม ซึ่งพระองค์ได้รับพระราชทานพระนาม "รัชฎาภิเศก" สำหรับพระโอรส-ธิดาพระองค์อื่นที่ได้รับพระราชทานพระนามพร้อมกัน คือ หม่อมเจ้าเฉลิมเขตรมงคล และหม่อมเจ้ารัชลาภจีระฐิต
หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงจากโรงเรียนเอาน์เดิล ประเทศอังกฤษ แล้วทรงศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยซิตีแอนด์กิลด์ มหาวิทยาลัยลอนดอน จนสำเร็จการศึกษาระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาฟิสิกส์จาก ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ทรงรับราชการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย อธิบดีกรมอาชีวะศึกษา อธิบดีกรมศึกษาธิการ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการอำนวยการคุรุสภา ศาสตราจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศาสตราจารย์องค์แรกของประเทศไทย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ – ๒๔๘๘ และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ – ๒๔๘๙
หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล สิ้นชีพิตักษัยในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๔๙๒ สิริชันษา ๕๗ ปี
ภาพ : ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
ชื่อผู้แต่ง พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสรังสี)
ชื่อเรื่อง ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ-สัมพันธ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ อุดมศึกษา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๙
จำนวนหน้า ๔๔ หน้า
รายละเอียด
หนังสือเล่มนี้คุณอุดมพร เสาวพฤกษ์ จัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายแก่บรรดาญาติมิตรและเพื่อนพ้อง ในวาระอายุครบ ๕๗ ปี และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการทำบุญก่อนถึงแก่กรรม จึงขออนุญาตจากท่านเจ้าคุณราชวรคุณพิมพ์หนังสือธรรมของเจ้าคุณสุทธิธรรมรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ หนังสือเล่มนี้อธิบายถึง ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ-สัมพันธ์อันเป็นธรรมที่อยู่ในตัวของทุกๆคน พร้อมที่จะหยิบยกขึ้นมาพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงในชีวิต
ชื่อผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง กฎหมายทะเล เล่ม ๒
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ องค์การค้าคุรุสภา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๐
จำนวนหน้า ๒๘๔ หน้า
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับอเมริกากับเยอรมนี คดีเรือแอปแปม กฎและแบบธรรมเนียมการสงครามทางทะเล ลูกระเบิดใต้น้ำ การค้าทางทะเลในเวลาสงคราม การแปลงเรือพาณิชย์เป็นเรือรบ ฯลฯ
เลขทะเบียน : นพ.บ.451/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159 (163-173) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองสังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.602/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 192 (392-398) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : นิโสธัมมจัก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ภาพเขียนกระเบื้องดินเผาที่แสดงถึงอารยธรรมและวัฒนธรรมการค้าขายของทั้งสองชาติ การเชื่อมโยงสายสัมพันธ์กันเป็นเวลากว่า 600 ปีระหว่างไทยและญี่ปุ่น ภาพกระเบื้องชุดนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของแต่ละชาติในการทำเครื่องปั้นดินเผาในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การกรองดิน การนวดดิน การขึ้นรูปภาชนะ การเขียนลาย การเคลือบ การบรรจุภาชนะเข้าเตา และการเผา ในรูปแบบการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของทั้งสองชาติ ลวดลายกระเบื้องที่ออกแบบได้รับการวาดอย่างประณีตบรรจงด้วยสี ครามหลากหลายเฉดลงบนแผ่นกระเบื้องพอร์ชเลนสีขาว และเคลือบใสเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส กระเบื้องทั้ง 48 แผ่น แต่ละแผ่นมีขนาด 28 x 28 เซนติเมตร และมีความหนา 12 มิลลิเมตร
ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/88