ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
รู้จักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ใน พ.ศ. ๒๕๕๒ และ พ.ศ. ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวร โดยการจัดแสดงแบ่งห้องตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และยังกล่าวถึงเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ
นิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ที่เห็นในปัจจุบัน ได้มีพิธีเปิดในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นกิจกรรมในโครงการพัฒนาเมืองวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว (สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร) ถือได้ว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่มีการจัดแสดงสวยงามและทันสมัย
ข้อมูลและงานกราฟฟิค โดยนางสาวมาริษา เสนอิ่ม พนักงานประจำห้องพิพิธภัณฑ์
โบราณสถานวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามหรือโบราณสถานร้าง ต.๒๙ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากประตูนะโมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑.๗ กิโลเมตร เดิมนั้นชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดตาเถรขึงหนัง ส่วนชื่อวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยารามที่เรียกกันในปัจจุบันนั้น มาจากจารึกวัดตาเถรขึงหนังที่มีการพบที่วัดแห่งนี้ เนื้อหาของจารึกได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาและสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีราชโอรส (พญาไสลือไท) ได้อาราธนาพระเถระสำคัญองค์หนึ่งนามว่า ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดนี้ในปี พ.ศ. ๑๙๔๓ และต่อมาในปี พ.ศ. ๑๙๔๖ ได้มีการปลูกพระศรีมหาโพธิ์ เนื้อหาของจารึกถูกบันทึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย – ไทยสุโขทัย จารึกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๗ ภายหลังการสร้างวัดแล้วเสร็จ ดังปรากฏข้อความในจารึกดังนี้ “…ศักราช ๗๖๒ นาคนักษัตรปีมะโรง สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา มหาดิลกรัตนราชนาถ-กรรโลง แม่และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ (โอรส) ราชอำนวจน้าวห้าวหาญ นำ พ(ล) รชราคลาธรณีดลสกลกษัตริย์ (หากขึ้นเสวยใน) มหามไหสวริยอัครราช เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ (นครศรีสัชนาลัย) สุโขทัย แกวกลอยผลาญปรปักษ์ศตรูนู พระราชสีมา…เป็นขนอบขอบพระบางเป็นแดน เท่าแสนสอง หนองห้วยและแพร่…สมเด็จแม่ออกท่าน จึงจักให้นิมนต์ตนสมเด็จพระ(มหา) ศรี (กิรติ) เจ้าเหง้าพุทธางกูรดรุณพันลอก ฝูงอริยะ จากสถานสถิระ คือพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้างพระอาวาสอาสน์อันดีมีชื่อศรีพิจิตรกิรติกัลยารามเป็นสนามเจ้ามหาสัปปุรุษทั้งหลาย จักถวายอัญชุลีน้อมตน นมัสการคำนับ อันดับนั้น ศักราช ๗๖๕ ในปีมะแมแปรวันเดือนในเดือนอ้าย ออกใหม่ใส่ไว้ได้แปดค่ำ วันพฤหัสบดีศรีทินพารกาลยามตะวันชายย้ายหกบาทฉายาเสร็จ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดามหาดิ (ลกรัตนราช) กรรโลง จึงสถิตสถาปนาปลูกพระพฤกษาอธิบดีศรีมหา (โพธิ)…” ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นวัดที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นขอบเขตวัด โดยมีโบราณสถานตั้งอยู่ภายในซึ่ง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างดังนี้ ๑. เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างด้านละ ๑๗ เมตร ที่ฐานด้านตะวันออกและตะวันตก ทำเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง โดยเฉพาะซุ้มด้านทิศตะวันออกปรากฏร่องรอยการก่อเป็นซุ้มโค้งสูงขึ้นไปคล้ายกรวยแหลม ๒. ฐานวิหารก่ออิฐ ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๓ เมตร อยู่ทางด้านหน้า หรือตะวันออกของเจดีย์ประธาน ๓. ฐานเจดีย์ราย ๔ ฐาน ตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบฐานเจดีย์ประธาน ๔. คูน้ำล้อมรอบอาณาเขตวัด มีขนาดของคูกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ล้อมรอบพื้นที่วัดที่มีขนาดกว้าง ๔๐ เมตร และยาว ๘๐ เมตร ---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย---------------------------------------------------
เลขทะเบียน : นพ.บ.143/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง จรูญ อุ่นจิตและเผด็จ นิตยวรรนะ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์แรก
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทยจำกัดสินใช้
ปีที่พิมพ์ 2508
จำนวนหน้า 40
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางเรียบ ประชานาถธนากร(ไสยานนท์)
เนื้อหาสาระประกอบด้วยประวัติการผลิตน้ำตาลทรายของโลก การบริโภค สถานการการผลิต การนำเข้าของไทย
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.12/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 13 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 19 – 21) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าคุรุสภา จำนวนหน้า : 388 หน้า สาระสังเขป : หนังสือประชุมพงศาวดาร เล่ม 13 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 19 – 21) มีเนื้อหาประกอบด้วย 3 ภาคดังนี้ ประชุมพงศาวดารภาค19 มี 3 เรื่องคือ จดหมายเหตุหอสาตราคม จดหมายเหตุของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จดหมายเหตุของ เซอร์แฮรีออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ ขึ้นมาเฝ้าสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่หว้ากอ ประชุมพงศาวดารภาค20 จดหมายเหตุเรื่องทางไมตรีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงญี่ปุ่น เรียบเรียงโดย เซอร์ เออร์เนสต์ เมสัน ซาเตา ประชุมพงศาวดารภาค21 จดหมายเหตุเรื่องพม่าเจรจาความเมืองในระหว่างไทยกับพม่า
เรือนไทดำ หรือเรือนกระดองเต่า คือเรือนที่มีหลังคาคลุมคล้ายกระดองเต่า มีที่มาจากนิทานเก่าแก่ของชาวไทดำว่า มียักษ์คอยจับกินมนุษย์เป็นอาหาร ชาวไทดำผู้มีสติปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาได้มุดเข้าไปซ่อนตัวหลบอยู่ใต้กระดองเต่า ยักษ์มองไม่เห็น จึงทำให้รองพ้นจากอันตราย ชาวไทดำซาบซึ้งในบุญคุณของเต่า จึงสร้างบ้านทำหลังคารูปทรงกระดองเต่า เป็นธรรมเนียมแต่โบราณมา และจะแขวนกนะดองเต่าไว้ที่เสาบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
ลักษณะเรือนไทดำ เป็นเรือนยกพื้นสูง ผสมผสานระหว่างเรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับ โดยโครงสร้างรับน้ำหนักจะใช้เสาและคานไม้เนื้อแข็ง ประเภทไม้แดง ประดู่ป่า หรือไม้สัก เนื่องจากเป็นไม้ที่มีในท้องถิ่น เป็นเสาท่อนกลมยาว มีลักษณะเด่นคือจะคัดเลือกไม้ที่มีง่ามเพื่อใช้รองรับ คาน โครงสร้างส่วนอื่นๆจะใช้ไม้ไผ่ ไม้รวก และใช้หวายเป็นเชือกผูกรัดยึดโครงสร้างทั้งหมดให้แน่นคงทน หลังคามีระดับอกไก่สูงทำให้พื้นที่ ภายในเรือนมีความโอ่โถง หลังคามุงด้วยหญ้าแฝกหรืแต้นปรือ คลุมยาวลงมาถึงระดับพื้นเรือน เพื่อป้องกันลมหนาว เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นพียงหลังคาสูงเด่นตั้งอยู่บนเสาไม้ ส่วนหลังคาด้านหน้าและด้านหลังสร้างเป็นส่วนโค้งเชิดขึ้นมองดูคล้ายกระดองเต่า เกิดจากการประดิฐษ์ชิ้นส่วนโครงสร้างหลังคารับน้ำหนัก เรียกว่า กว่างตุ๊บ โดยใช้ไม้รวก นำมาผูกมัดรวมกันหลายลำเป็นท่อนยาว วางพาดด้านหน้า และด้านหลังเรือน เชื่อมต่อปลายชายคาด้านข้างทั้งสองด้าน ดัดโค้งเชิดสูงขึ้นได้ตามต้องการ เกิดเป็นหลังคาโค้งคลุมบริเวณพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเรือน
กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์. โคลงนิราศฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524.
โคลงนิราศฉะเชิงเทรานี้ เป็นพระนิพนธ์ของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ โคลงที่นิพนธ์เป็นนิราศทางเรือ สันนิษฐานว่าคงลงเรือแถวท่าช้างวังหลัง แล้วล่องลงไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงคลองสำโรง เดินทางผ่านบางพลี ศรีษะจรเข้ บ้านหอมสิน บ้านพร้าว บ้านผึ้ง ท่าสะอ้าน ทุ่งโพ สามภูดาษ บางตรูด บางพระ บางปรง สำปทวน ถึงแปดริ้ว และต่อไปถึงคุ้งพญาพายเรือบางขนาก บางแตน แม่น้ำชัยนาท เป็นสุดทางเพียงนั้น
คำช่างโบราณ ตอนที่ 1
เรื่อง "เจดีย์ : ที่มาและความหมาย"
เพื่อทำความเข้าใจถึงคติการสร้างเจดีย์
และความหมายของเจดีย์แต่ละประเภท
ชื่อเรื่อง วินยธรสิกฺขปท (สิกขาบท)
สพ.บ. 390/2
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
พระวินัยปิฎก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 58 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55.2 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง อฏฺฐมคฺคานิสสํสกถา (อานิสงส์มรรคแปด)
สพ.บ. 232/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 57.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี