ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง สพ.ส.84 ตำราดูหมอประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ โหราศาสตร์ลักษณะวัสดุ 35; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง โหราศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538
ชื่อเรื่อง โคลงสุภาษิตประจำภาพ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยาเลขหมู่ 398.9 ค969ยสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 94 หน้า หัวเรื่อง สุภาษิตและคำพังเพยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้รวมสุภาษิตไทยเหล่านี้มาเขียนรูปภาพไว้ที่ท้องฉนวนที่ทรงบาตรในบริเวณพระอภิเนาวนิเวศน์ครั้นทรงปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงโปรดฯ ให้เขียนที่ผนังกรอบประตูหน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ เรื่อง "ทวารบาลวัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย" ทวารบาล มาจากคำว่า ทวาร หมายถึง ประตู ส่วนคำว่า บาล หมายถึง การเลี้ยง รักษา ปกครอง และเมื่อแปลรวมกันคำว่า “ทวารบาล” จึงหมายถึง ผู้รักษาประตู หรือผู้รักษาช่อง โดยทวารบาลมีหน้าที่ปกป้องรักษาไม่ให้สิ่งชั่วร้าย หรือสิ่งไม่ดีเข้ามาภายในศาสนสถานได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ได้กล่าวถึงที่มาของทวารบาลไว้ในหนังสือสาส์นสมเด็จ ว่า “มนุษย์ย่อมต้องมีเครื่องป้องกันภัย อย่างต่ำมีประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงมีคนเฝ้าประตูบ้านเรือน ต่อขึ้นมาถึงเลือกสรรคนกล้าแข็งรักษาประตู ต่อขึ้นมาถึงผู้เป็นอัจฉริยบุรุษ อาจจะหัดสัตว์ร้ายให้รักษาประตูได้ มูลเหตุนี้เองที่เลยมาเป็นรูปภาพ แล้วถึงแต่ชื่อสิงห์ก็นับว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูง” เมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏประติมากรรมทวารบาลทั้งรูปบุคคล และรูปสัตว์ ที่วัดเขาสุวรรณคีรี บริเวณซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถานทางด้านตะวันตก ด้านหลังของเจดีย์ประธาน โดยพบชิ้นส่วนของโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และชิ้นส่วนปูนปั้นรูปสิงห์ โดยประติมากรรมดังกล่าวทำหน้าที่เป็นทวารบาลตามคติความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับภูต ผี ปีศาจ และพลังอันลึกลับเหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็น ทั้งดี และร้าย โดยสถานที่สำคัญ หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จะมีสิ่งที่คอยปกปักษ์รักษาเพื่อที่จะไม่ให้สิ่งไม่ดีเข้าไปยังที่แห่งนั้นได้ ด้วยการนำรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดา ที่มีลักษณะน่ากลัวเป็นที่ น่าเกรงขามแก่เหล่าภูต ผี และปีศาจ ไปติดตั้งไว้ตามบริเวณช่องประตู บานหน้าต่าง หรือราวบันได โดยรูปยักษ์ รูปอสูร หรือแม้แต่รูปเทวดาจะถูกนำเสนอผ่านงานศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น งานปั้น งานแกะสลักหรือแม้แต่งานจิตรกรรม เป็นต้น และถูกเรียกว่า “ทวารบาล”เอกสารอ้างอิงวิทยานิพนธ์ณวลพักตร์ พิมลมาศ. คติความเชื่อและรูปแบบทวารบาลไทย-จีน สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3) กรณีศึกษาวัดสุวรรณารามและวัดราชโอรสาราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2549.เชาว์ เภรีจิต. สัตว์ประดับและบริวารของทวารบาล: ที่มา คติการสร้าง รูปแบบและพัฒนาการ จากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2556.ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีมาสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ศิลปากร, 2555.ออนไลน์ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/kamphaengphethistor.../view/34671. (เข้าถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2566).
ชื่อเรื่อง : A Memoir of His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailandผู้แต่ง : Office of His Majesty's ปีที่พิมพ์ : ๑๙๗๑สถานที่พิมพ์ : Bangkok สำนักพิมพ์ : Office of His Majesty's Private Secretariatจำนวนหน้า : ๖๐ หน้าเนื้อหา : หนังสือ A Memoir of His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand จัดพิมพ์โดย Office of His Majesty's เป็นหนังสือรวบรวมเกี่ยวกับพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ประกอบไปด้วยเนื้อหาดังนี้ พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ / โครงการในพระราชดำริ พระบรมฉายาลักษณ์และพระราชกรณียกิจต่างๆ ในประเทศไทย และในต่างประเทศระหว่างเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๔๑๓เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๐๒หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๕๘ ณ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนกันยายน ๒๕๖๒)
เเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง จัดกิจกรรมในโครงการหอสมุดแห่งชาติสู่สถานศึกษาและชุมชน ประจำปี ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๔ ณ โรงเรียนบ้านบางสัก ต.บางสัก อ.กันตัง จ. ตรัง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๒๔๗ คน และครู จำนวน ๖ คน รวมเป็น ๒๕๓ คน ประกอบด้วยกิจกรรม การประชาสัมพันธ์หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ ตรัง กิจกรรมประดิษฐ์ที่คั่นหนังสือ ประดิษฐ์สมุดทำมือ เกมบิงโก เกมวงล้อดนตรีมีสาระ และ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน "อ่านแล้วดี มีบอกต่อ" ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านและสนุกกับการทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจินตนาการและการเรียนรู้ต่อไป