ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


          เรื่องจดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ. 121 นี้ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นไว้เป็นบันทึกจดหมายเหตุรายวัน เมื่อคราวเสด็จไปตรวจราชการในมณฑลภูเก็ต มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลชุมพร ในครั้งนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ พระประสงค์ในการเดินทางไปตรวจราชการครั้งนั้นก็เพื่อจะได้ทรงทราบถึงข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน และเพื่อพัฒนาการไปรษณีย์ให้ก้าวหน้าขึ้น เนื่องจากได้ทอดพระเนตรสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น ตลอดจนวิธีการปฏิบัติงานของข้าราชการในแต่ละท้องถิ่นเหล่านั้น ซึ้งเป็นมูลเหตุให้ทรงเข้าพระทัยถึงปัญหาทั้งในด้านบุคคลและงานมณฑลต่าง ๆ ที่กำลังประสบอยู่ ทำให้สามารถจัดการแก้ไขพัฒนาทั้งงานและบุคคลได้ผลดี


สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ประกอบด้วย กิจกรรมทำบุญตักบาตร พิธีวางพวงมาลาและถวายบังคมหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ ถนนจอมสุดาเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา






รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน   ๑. ชื่อโครงการ  ศึกษาดูงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ  ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน   ๒. วัตถุประสงค์        เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา การบริหารจัดการและการสร้างสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยว     ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำเมืองโบราณอู่ทอง   ๓. กำหนดเวลา   วันที่ ๑๗ – ๒๓  มิถุนายน  ๒๕๕๘   ๔. สถานที่     ๑) กุ้ยหลิน     ๒) หยางซั่ว                        ๓) เฟิ่งหวง      ๔) จางเจี่ยเจี้ย     ๕) อุทยานอู่หลิงหยวน   ๕. หน่วยงานผู้จัด  องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)   ๖. หน่วยงานสนับสนุน         -   ๗. กิจกรรม     วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘         กุ้ยหลิน         - ศึกษาดูงานล่องเรือการพัฒนา ๒ แม่น้ำ ๔ ทะเลสาบ ได้แก่ ซาหู  หลงหู  กุ้ยหู และมู่หลงหู ในสมัยราชวงศ์ซุ้ง ซึ่งเป็นการพัฒนาคูเมืองโดยการขุดลอกคูเมืองทิ้ง เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวล่องเรือใจกลางเมืองชมแสง สี สะพานคริสตัล สะพานกำแพงเมืองจีน สะพานโกลเด้นท์ และลอดใต้สะพานสำคัญ มีรูปปั้นนูนต่ำตกแต่งเล่าเรื่องเมืองกุ้ยหลิน ชมเจดีย์เงิน  เจดีย์ทอง ชมการแสดงวิถีชีวิตของชนเผ่าจ้วง และเผ่าม้งที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ                                                               วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘         หยางซั่ว (กุ้ยหลิน)         - ล่องเรือชมทะเลสาบนกนางแอ่น ตามวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องเมืองลับแล และการสาธิตผลิตสินค้า           หัตถกรรม         - ดูงานการท่องเที่ยวของหมู่บ้านชนชาติส่วนน้อยริมน้ำหลายเผ่า         - ดูงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำที่เมืองลับแล โดยใช้เรือแบตเตอรรี่รักษาสิ่งแวดล้อม ล่องเรือลอดถ้ำ ชมเกาะดอกท้อ และบ้านเจ้าสาว         - ชมการแสดงนิทรรศการ การแสดงชนเผ่าตุ้ง การแสดงชนเผ่าจ้วง และเผ่าเย้า         - ศึกษาดูงานที่ถ้ำเงิน (Silver Cave) เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม         - ศึกษาดูงานการท่องเที่ยวทางน้ำในรูปแบบของการล่องแพไม้ไผ่ ในแม่น้ำหลีเจียง         - ดูการแสดงริมน้ำ “หลิวซานเจี่ย” ที่ใช้ความเป็นธรรมชาติของแม่น้ำหลีเจียงเป็นฉากและเนื้อเรื่องของการแสดง จะเป็นวิถีชีวิตของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ         - ศึกษาดูงานถนนคนเดิน (ถนนฝรั่ง)   วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๘         กุ้ยหลิน     - ศึกษาดูงานการพัฒนาทำกระเช้าขึ้นเขาเหยาซาน สู่จุดชมวิว      - ประชุมรับฟังความคิดเห็นการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวจากสำนักงานการท่องเที่ยวกุ้ยหลิน     - ขึ้นรถไฟความเร็วสูงเดินทางสู่เมืองฉางซา   วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๘         เฟิ่งหวง           - ล่องเรือชมเมืองโบราณเฟิ่งหวง         - ชมกำแพงเมืองโบราณ “เฟิ่งหวางกู่เฉิง”         - ชมสะพานไม้โบราณหงเฉียว ที่มีหลังคาคลุมเหมือนสะพานข้ามคลองเวนิส         - ชมบ้านยกพื้นสูงเรียงรายกันบนริมน้ำ         - นั่งเรือแจวล่องตามลำน้ำถัวเจียง สัมผัสชีวิตบ้านเรือนริมน้ำ         - ประชุมรับฟังความคิดเห็นการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเมืองเฟิ่งหวง กับบริษัทเอกชน   วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๘         จางเจี่ยเจี้ย         - ประชุมการจัดการอุทยานแห่งชาติเขาเทียนเหมินซาน ร่วมกับสำนักงานท่องเที่ยวเมืองจางเจี่ยเจี้ย           และบริษัทเอกชน         - ศึกษาดูงานเขาเทียนเหมินซาน สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๕๑๘.๖ เมตร หรือประตูสวรรค์ เป็น ๑ ใน ๔              ของภูเขาที่สวยงามที่สุดของประเทศจีน         - นั่งกระเช้าขึ้นเขาเทียนเหมืนซาน ที่มีความยาว ๗.๕ เมตร         - ดูงานจัดการแหล่งท่องเที่ยว ที่ได้สร้างพื้นทางเดินชมวิวเป็นพื้นกระจกยาวประมาณ ๖๐ เมตร สูงกว่า           ระดับน้ำทะเล ๑.๔ กิโลเมตร         - ศึกษาดูงานถ้ำเทียนเหมิน (ประตูสวรรค์) ผ่านถนนคดเคี้ยวไปมา ๙๙ โค้ง         - ชมการแสดงที่มีชื่อว่า “ชายตัดฟืนกับนางพญาจิ้งจอกขาว”   วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘         อุทยานอู่หลิงหยวน         - ศึกษาดูงานในลิฟก์แก้วไป่หลง ที่มีความสูงถึง ๓๒๖ เมตร การก่อสร้างบางส่วนได้เจาะภูเขาเพื่อเป็น           ช่องลิฟท์         - ศึกษาดูงานในเขตอุทยานแห่งชาติอู่หลิงหยวน จางเจี่ยเจี้ย ซึ่งเป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง AVATA               นั่งกระเช้าขึ้นสู่ยอดเขา บริเวณเขตวิวเทียนเซี่ยตี้อี่เฉี่ยว (สะพานหนึ่งในใต้หล้า) สะพานหินลอยฟ้า เกิดเองตามธรรมชาติ เหมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างสองภูเขา       - ศึกษาดูงานภาพเขียนสิบลี้ ซึ่งเป็นทัศนียภาพของการขึ้นตามธรรมชาติของภูเขา โดยมีทางเดินและ รถไฟเล็กสำหรับชมภาพ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘         - ชมพิพิธภัณฑ์ภาพวาดทราย จัดแสดงผลงานของศิลปินหลิวจิงเฉิง ตั้งแต่ปี ๑๙๙๙ เป็นต้นมา           (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยเสด็จทอดพระเนตรด้วย)         - เดินทางเข้าสู่นครฉางซา เพื่อเดินทางกับกรุงเทพฯ ๘. คณะผู้แทนไทย        ๑) รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี (นายพิภพ  บุญธรรม) เป็นหัวหน้าคณะ         ๒) ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี         ๓) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุพรรณบุรี         ๔) นายอำเภออู่ทอง         ๕) ที่ดินอำเภออู่ทอง         ๖) หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรี         ๗) ตัวแทน อพท. อู่ทอง         ๘) ตัวแทน บริษัท เอ เซเว่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด ๙. สรุปสาระของกิจกรรม         - ศึกษาดูงานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และทางธรรมชาติของประเทศจีน         - เข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทั้งหน่วยงานของรัฐ และเอกชน         - การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของประเทศจีน จะให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ โดยการควบคุม กำกับ มาตรฐานโดยรัฐ นำส่งรายได้เป็นเปอร์เซ็นให้รัฐ         การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวมี ๒ แนวทาง         ๑) รัฐลงทุนทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วให้เอกชนสัมปทานให้รัฐ         ๒) ให้เอกชนผู้ได้สัมปทานลงทุน และแบ่งรายได้จากค่าตั๋ว ๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม       การศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงแนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดี และข้อจำกัด ดังนี้ ๑.  ข้อดี  :  รัฐไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรและการจัดการ ด้านการบำรุงรักษาและ                                                     การบริหาร ๒.   ข้อกำจัด  :  การจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ยังไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ มุ่งพัฒนาท่องเที่ยวอย่างเดียว     ..............................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ              (นายวิเศษ  เพชรประดับ)           ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี


ผู้แต่ง               :  เลียง ไชยกาลโรงพิมพ์           :  เฟื่องอักษรปีที่พิมพ์           :  2502ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.32บ.3399จบเลขหมู่             :  923.254                          น779นล


ชื่อเรื่อง : 700 ปี ลายสือไทย ผู้แต่ง : ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ปีที่พิมพ์ : 2526 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร



เลขทะเบียน : นพ.บ.25/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า  ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 4หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


องค์ความรู้ เรื่อง ผ้าพระบฏ (ผ้าบฏ) วัดมหาธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย เรียบเรียง/ภาพ นางสาวกรกช พาณิชย์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น


ชื่อผู้แต่ง        :   จุลจอมเกล้า , พระบาทสมเด็จพระชื่อเรื่อง         :   พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชพงศาวดารครั้งที่พิมพ์      :   พิมพ์ครั้งแรกสถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      :   ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๓๒จำนวนหน้า     :   ๑๖๖ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์มรุต  เทวกุล ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่  ๑๔  มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๒                    พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดารนี้ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ “ปีฉลู นพศก” ซึ่งตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ อันเป็นสมัยที่การศึกษาหาความรู้ในทางพงศาวดารกำลังเริ่มจะฟื้นตัว เมื่อพิเคราะห์ความตามท้องเรื่องเห็นว่าได้ทรงเก็บความในพระราชพงศาวดารมาทรงวิจารณ์ตลอดเรื่อง


ชื่อเรื่อง : ลิปิกรรมไทยจีน สมัยราชวงศ์หมิง ชื่อผู้แต่ง : เฉลิม ยงบุญเกิด ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยแบบเรียน จำนวนหน้า : 52 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเรียนการแปลของหออยุธยาสมัยราชวงศ์หมิง ถ่ายทอดจากต้นฉบับเดิม จัดศัพท์ภาษาไทยเข้าเป็นหมวดหมู่และแปลเป็นภาษาจีน โดยมีอักษรจีนอ่านออกเสียงคำไทยกำกับ และแปลความหมายของคำแปลภาษาจีน ท้ายเล่มมีคำแปลพระราชสาสน์จากภาษาจีน


Messenger