ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อผู้แต่ง วัดนางนองวรวิหาร
ชื่อเรื่อง วัดนางนองวรวิหาร
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บริษัทนิวไทยมิตรการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๐
จำนวนหน้า ๖๒ หน้า
วัดนางนองวรวิหาร บริเวณวัดปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ 1. เขตพุทธาวาส 2. เขตสังฆาวาส 3. เขตจัดประโยชน์ ได้แก่ โรงเรียน สุสาน ตึกแถวร้านค้า
ประวัติวัดนางนองวรวิหาร เป็นวัดในกลุ่มวัดสำคัญอยู่ย่านจอมทอง ได้แก่ วัดราชโอรส วัดนางนองและวัดหนัง ตั้งอยู่บริเวณคลองด่าน ซึ่งเป็นคลองที่มีความสำคัญมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เนื่องจากเชื่อมต่อกับคลองมหาชัย และเชื่อมทางคมนาคมในสมัยโบราณ ระหว่างเมืองในลุ่มแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำเจ้าพระยา
เลขทะเบียน : นพ.บ.450/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159 (163-173) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.601/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 192 (392-398) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : นิโสชาลีพิเสก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง”
จันทบุรีเป็นเมืองผลไม้ ที่มีผลไม้นานาชนิด ทุเรียน เป็นผลไม้ปลูกกันมากที่สุด สามารถแปรรูปได้หลายอย่างเพื่อเก็บไว้กินนานๆ ในเดือนเมษายนนี้มีทุเรียนออกสู่ท้องตลาดมากที่สุด ทั้งพันธุ์กระดุม ก้านยาว พวงมณี ชะนี หมอนทอง สำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เป็นทุเรียนที่ปลูกส่งขายกันมากที่สุด
โดยชาวสวนจะนำผลผลิตที่ได้นำไปส่งขายตามล้งต่างๆที่รับซื้อให้ราคาดี ทั้งล้งจีน ล้งไทย เพื่อนำผลผลิตออกจำหน่ายในไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่จีน เป็นประเทศส่งออกมากที่สุด และพันธุ์หมอนทองที่ชาวจีนชื่นชอบมากต้องมาจากแหล่งปลูกจันทบุรี
ล้งหรือสถานที่รับซื้อผลไม้ จะรับซื้อทุเรียนโดยแบ่งเป็นขนาดและน้ำหนัก สำหรับทุเรียนหมอนทอง ขนาดที่รับซื้อแบ่งเป็น ขนาด AB ถือว่าลูกใหญ่ ขนาดกำลังดี ได้ราคาดีที่สุด 130-150 บาท ขนาด C เป็นขนาดรองลงมา ได้ราคาต่ำลงมา ราว 100-110 บาท และยังมีขนาด D ขนาดตกไซต์ โบ้เข้ ที่ขนาดไม่ได้ตามที่รับซื้อ ราคาจะตกลงมาไม่ถึงร้อยบาท แล้วแต่ล้งไหนจะให้ราคาอย่างไร
ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและขายได้ราคาดี ให้ผลผลิตขนาดกลาง บริเวณที่มีน้ำขังไม่เหมาะต่อการปลูกทุเรียนพันธุ์นี้ ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ มีการดูแลรักษาดี สามารถให้น้ำได้อย่างเพียงพอ จะให้ผลผลิตดีมาก ลักษณะเฉพาะของทุเรียนหมอนทอง จะเป็นทรงพุ่มโปร่งคล้ายรูปกรวยคว่ำ กิ่งใหญ่จะตั้งฉากกับลำต้นและจะยาวมาก จึงทำให้กิ่งอ่อนและลู่ลงด้านล่าง ลำต้นไม่ตั้งฉากกับพื้นดิน บริเวณด้านหน้าผิวเป็นลักษณะลุ่มๆดอนๆ ไม่เสมอเรียบ ใบมีช่องระหว่างใบต่อใบห่างมาก ความยาวของใบจะยาวมากกว่าพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะส่วนปลายของใบจะยาวมากจนสังเกตเห็นได้ชัด
ดอกมีรูปร่างคล้ายผลละมุดฝรั่ง ส่วนของปลายดอกจะโค้งมน ก้านดอกสั้น มีความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ผล เมื่อโตเต็มที่มีขนาดปานกลาง น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม รูปร่างค่อนข้างยาว ปลายผลแหลม ร่างพูมองเห็นชัดเจน มักจะพบมีพูใหญ่เพียงอันเดียว เรียกว่า “พูเอก” ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กวางแซมอยู่ทั่วไป เรียกหนามชนิดนี้ว่า “เขี้ยวงู” ก้านผลใหญ่แข็งแรง เนื้อหนาสีเหลืองอ่อนละเอียด เนื้อค่อนข้างแห้ง ไม่แฉะติดมือ รสชาติหวานมัน เมล็ดน้อยและลีบเป็นส่วนใหญ่
อ้างอิง : อภิชาติ ศรีสอาด. ทุเรียนยุคใหม่ และ ระยะชิด : นาคา อินเตอร์มีเดีย. ม.ป.ป..
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ออกแบบโดย นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ จิตรกรชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
แนวความคิดในการออกแบบตราสัญลักษณ์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเคียงคู่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระราชจริยวัตรงดงาม พระองค์ทรงเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของปวงชนชาวไทย นำมาสู่แรงบันดาลใจในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งทุกรายละเอียดมีความหมาย อักษรพระนามาภิไธย ส.ก.อยู่ภายในกรอบรูปหัวใจพื้นสีฟ้า อักษร “ส” สีฟ้าเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ อักษร “ก” สีขาว เป็นสีเดชของวันพระราชสมภพ พื้นกรอบสีชมพูลายดอกมะลิ สีชมพูเป็นสีแห่งศรีของวันพระราชสมภพ การให้สีดูละมุนละไม สื่อความเป็นผู้หญิงและพระเมตตา ดอกไม้มะลิเป็นดอกไม้มงคลสัญลักษณ์วันแม่แห่งชาติ ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน ด้านบนเป็นพระมหามงกุฎภายในประดิษฐานพระแสงจักรและพระแสงตรี สื่อถึงทรงอยู่ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ขนาบซ้าย ขวา พระมหามงกุฎด้วยพระสัปตปฎลเศวตฉัตร ฉัตรขาว ๗ ชั้น เป็นฉัตรประกอบพระราชอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
"การนำดอกมะลิมาร้อยเรียงเป็นมาลัยลายเกลียวรูปหัวใจรอบอักษรพระนามาภิไธย ส.ก. สื่อถึงการร้อยเรียงดวงใจอย่างแน่นแฟ้นกลมเกลียวในโอกาสมหามงคล ๙๐ พรรษา ถวายพระผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจพสกนิกรไทยทั้งชาติ และผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐต่อลูก คือ ชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้พ้นทุกข์ยาก รูปลายหงส์ประคองฉัตร ซ้าย ขวา หมายถึง พระสิริโฉมสง่างามสูงค่าดังหงส์ ลวดลายไทย หมายถึงพระปรีชาด้านศิลปวัฒนธรรม พระราชทานกำเนิดศิลปาชีพ และทรงส่งเสริมเอกลักษณ์ชาติไทยให้แพร่หลายในไทยและต่างประเทศ เลขไทย ๙๐ ภายใต้มาลัยหัวใจ สื่อถึงเลขมงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๙๐ พรรษา เป็นความภาคภูมิใจของจิตรกรไทยคนหนึ่งได้ถวายงานอย่างสุดความสามารถ ตราสัญลักษณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นได้นำไปใช้จัดงานเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ ทั้งยังร่วมอนุรักษ์จิตรกรรมไทยโบราณผสมผสานศิลปะสมัยใหม่สู่ตราสัญลักษณ์ที่มีความร่วมสมัย ไม่ละทิ้งเอกลักษณ์ของชาติไทย" นายเกียรติศักดิ์ กล่าว ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/81
ทะนานพิกัด
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕
รับมาจากกระทรวงเกษตราธิการ
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องรัตนโกสินทร์สมัยใหม่ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาชนะรูปทรงรี ปากกลม ขอบปากยกเป็นสัน ไหล่ลาด ลำตัวป่อง ส่วนล่างโค้งมน ที่ปากภาชนะสลักข้อความว่า “ทนาน ๘๓”
ทะนาน (หรือขะนาน) ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง เครื่องตวงอย่างหนึ่งทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ด้านที่มีตา โดยตัดด้านตรงข้ามออก หรือทำด้วยทองเหลือง เป็นต้น โบราณใช้ตวงสิ่งของต่าง ๆ เช่น งา ข้าวเปลือก น้ำมัน; ชื่อหน่วยในมาตราตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, ชื่อหน่วยในมาตราตวงของไทย โบราณเท่ากับ ๘ ฟายมือ*. (เทียบ ส. ทินาร ว่า ตาชั่ง). ทะนานหลวง น. ชื่อหน่วยในมาตราตวง มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท.
ทะนานเป็นทั้งชื่อวัตถุที่ใช้ชั่งตวงและเป็นมาตราชั่งตวงมาแต่โบราณ ปรากฏชัดเจนในเอกสารสมัยอยุธยา เช่น ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ กล่าวถึงมาตราชั่งตวงข้าวเอาไว้ ดังความว่า “...ศักราช ๘๑๙ ฉลูศก (พ.ศ. ๒๐๐๐)** ครั้งนั้นข้าวแพงเป็นทะนานแล ๘๐๐ เบี้ย เมื่อคิดเสมอเบี้ยเฟื้องแล ๘๐๐ นั้น เกวียนนั้นเป็นเงินสามชั่งสิบบาท…”
ในสมัยรัตนโกสินทร์ยังคงใช้มาตราชั่งตวงนี้เรื่อยมา ปรากฏในเอกสารทั้งพระราชพงศาวดาร หมายรับสั่ง นิราศ รวมถึงตำราแบบเรียนภาษาไทย ดังเช่น มูลบทบรรพกิจ (บานแพนกระบุแต่งขึ้น จ.ศ. ๑๒๓๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๔) กล่าวถึงการคำนวณมาตราชั่งซึ่งเกี่ยวข้องกับมาตราชั่งทะนานด้วย ดังข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“...๏ สัด***หนึ่งยี่สิบทะนานชัด ทะนานหนึ่งสังกัด สองจังออนจงจำไว้ ๚ะ…”
ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับชาติตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จึงเริ่มมีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนระบบการชั่งตวงวัดจากมาตราแบบไทย เป็นระบบชั่งตวงวัดตามแบบสากล คือระบบชั่งตวงแบบเมตริก (Metric) สาเหตุหนึ่งมาจากความไม่แน่นอนของระบบมาตราชั่งตวงวัดแบบไทย ซึ่งในเอกสารเรื่อง “ชั่งตวงวัด” เรียบเรียงโดย กองมาตราชั่งตวงวัด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้กล่าวถึงปัญหานี้ว่า
“...โดยที่ว่าเมืองเรามีสินค้าข้าวเป็นสำคัญ มีการตวงกันมากกว่าการชั่งหรือการวัด การตวงของเราใช้เครื่องตวงต่าง ๆ เป็นทะนานบ้าง สัดบ้าง เป็นถังบ้าง ซึ่งล้วนแต่มีขนาดไม่เหมือนกันทั้งนั้น... เครื่องตวงที่เรียกว่าทะนานใช้กะโหลกมะพร้าวเป็นเกณฑ์ สัดโดยมากใช้เป็นเครื่องสาน ถังโดยมากทำด้วยไม้เรียกว่าถังหลวงบ้าง ถังกงษีบ้าง มีขนาดใหญ่จุได้ ๔๐ ทะนาน อย่างเล็ก ๒๐ ทะนาน แต่ถังโรงสีกงษีมักถือเกณฑ์จุ ๔๒ ทะนาน ที่เป็นดังนี้ก็คงเป็นด้วยขนาดกะโหลกมะพร้าวที่ราษฎรนำเอามาใช้เป็นเครื่องตวง ซึ่งเรียกว่า ทะนานมีขนาดไม่เท่ากันดังกล่าวแล้ว ทะนาน สัด ถัง เหล่านี้ต่างคนต่างมีต่างใช้ ไม่มีใครตรวจสอบรับรองว่าถูกผิดอย่างไร...”
อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลที่ ๕ การปรับปรุงระบบชั่งตวงวัดตามแบบสากลนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ ปรากฏเป็น “ร่างตราพระราชบัญญัติวัดตวงและชั่ง ร.ศ. ๑๑๙” เท่านั้น จากนั้นเรื่องจึงชะงักลงไป กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ประเทศไทยจึงได้เข้าร่วมสัญญาสากลชั่งตวงวัดแบบเมตริก หรืออนุสัญญาเมตริก (The International Metric Convention) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ และได้ออกพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖
*ฟายมือ หมายถึง เต็มอุ้งมือ เรียกของที่เต็มฝ่ามือที่ห่อเข้าว่า ฟายมือหนึ่ง; เป็นชื่อมาตราตวง ๘ ฟายมือ เป็น ๑ ทะนาน
**รัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
***สัด หมายถึง ภาชนะรูปทรงกระบอก ทำด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ใช้ตวงข้าว
อ้างอิง
กองมาตราชั่งตวงวัด. เรื่องชั่งตวงวัด. พระนคร: ทรงธรรม, ๒๔๗๗ (พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โท พระจำเนียรวัฒกี (ชุบ หงสกุล) ณที่วัดชิโนรส คลองมอญ ธนบุรี วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗).
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖.
ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร), พระยา. มูลบทบรรพกิจ (ธนบุรี: กรุงธน, ๒๕๑๔, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี สุรกิจ ปัญจะ ปม., ทช. ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๔).
หนังสือเรื่อง ประวัติคำกลอนสุนทรภู่ (ฉบับปรับปรุง)
ผู้เขียน : พ.ณ ประมวญมารค
"ประวัติคำกลอนสุนทรภู่ (ฉบับปรับปรุง)" ของ "พ.ณ ประมวญมารค" มีความเด่นสองประการ ประการแรกคือการนำวรรณคดีประเภทนิราศ นิทานคำกลอนของสุนทรภู่ และวรรณคดีรุ่นเก่า อาทิ นิราศกลาง และนิราศเดือน ของนายมี นิราศเณรกลั่น ของเณรกลั่น นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย และจันทโครบ ซึ่งเป็นวรรณคดีเก่าที่หาอ่านยาก โดยเฉพาะเป็นการนำฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกๆ หรือยุคแรกๆ มาให้อ่านเพื่อให้ได้ทั้งความเพลิดเพลินและศึกษาต่อไปในหลากหลายประเด็น
ประการต่อมาคือ การศึกษาชีวิตและผลงานของสุนทรภู่อย่างมีมีมิติมากยิ่งขึ้นจากนักวิชาการและนักวรรณคดีทั้งเก่าและใหม่ ที่ พ.ณ ประมวญมารคนำมาวิเคราะห์ วิจัย วิพากษ์ วิจารณ์ ด้วยสำนวนที่อ่านง่ายและสนุก ขณะเดียวกันก่อให้เกิดสติปัญญาดุจต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขาอย่างมิหยุดยั้ง จึงทำให้หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ในวงกว้างแห่งวิชาการวรรณคดี และที่สำคัญคือ เหมาะแก่การเป็นหนังสือค้นคว้าประจำตู้หนังสือที่บ้านและห้องสมุดทั่วประเทศ
ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เลขหมู่ : 895.911209 พ111ป
ในโอกาสวันแม่แห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญชม“การบรรเลง - ขับร้อง วงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร” ในงาน “บุปผาราชินีพระพันปีหลวง” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖
พบกับการบรรเลงเพลงจากวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ขับร้องโดยศิลปินจากสำนักการสังคีต พร้อมด้วยศิลปินรับเชิญ อิสร์ อิสรพงศ์, เอฟ รัฐพงศ์ the Golden Song, นัน อนันต์ ไมค์ทองคำ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๑๗.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ ลานพาร์ค พารากอน ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ร่วมกับ อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “อโยธยารากเหง้าอยุธยาที่ถูกลืม” วิทยากรโดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในวันอาทิตย์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม อาคารนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนโดยการสแกนคิวอาร์โค้ดในภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา โทร ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การศึกษางานโบราณคดีในต่างประเทศกับการพัฒนางานโบราณคดีในประเทศไทย” วิทยากร นายธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เกวียน
ลักษณะ : เป็นพาหนะชนิดหนึ่งเทียมวัวหรือเทียมควายให้เคลื่อนที่ไป โครงเกวียนและส่วนประกอบอื่น ๆ ทำด้วยไม้กลึงเนื้อแข็ง พื้นรองนั่งทำด้วยไม้ไผ่ซี่เล็กผูกติดกัน
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational/360/model/08/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational
หมวดหมู่ พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 54 หน้า : กว้าง 5.3 ซม. ยาว 56.2 ซม.อักษร ขอมฉบับ ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค