ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง "เมืองโบราณนครปฐมกับการติดต่อและรับอารยธรรมจากอินเดีย" จัดทำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์


***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 15(6)     ฉบับที่ 647(241)    วันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2534





“เครื่องเคลือบเขียนลายสีดำ หรือสีน้ำตาลใต้เคลือบ (Black/Brown Painting Underglaze Wares)” เป็นเครื่องเคลือบที่ได้รับแบบอย่างมาจากเครื่องลายครามของจีน โดยมีการวาดลวดลายต่าง ๆ ด้วยสีน้ำตาลไหม้หรือสีดำบนผิวภาชนะ แล้วเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีใสถึงสีเขียวใส รูปแบบภาชนะมักเป็นชาม จาน ตลับหรือผอบ แจกัน ขวด กาน้ำ และตุ๊กตา เป็นต้น “ภาชนะไม่เคลือบผิว (Unglazed Wares)” เป็นภาชนะที่ไม่ได้เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ มีสีเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม บางชิ้นมีขี้เถ้าปลิวไปติดที่ผิวภาชนะ ทำให้ผิวมีความมันวาวเหมือนเคลือบผิว เรียกว่า “เคลือบขี้เถ้า” โดยมากมักเป็นภาชนะประเภทโอ่ง ไห ครก และแจกัน “เครื่องเคลือบสีเขียว หรือเซลาดอน (Celadon Wares)” เป็นเครื่องเคลือบในกลุ่มสีเขียวใส สันนิษฐานว่าพัฒนามาจากเครื่องถ้วยสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวอมน้ำตาลของเครื่องถ้วยเชลียง และได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องเคลือบสีเขียวแบบหลงฉวนของจีน เครื่องเคลือบประเภทนี้มีรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย ได้แก่ ชาม จาน ถ้วย ขวดทรงป่อง กระปุกทรงน้ำเต้า กาน้ำ ตุ๊กตาเสียกบาล ตุ๊กตารูปสัตว์ เป็นต้น




องค์ความรรู้ เรื่อง "พินิจพิพิธภัณฑ์ : พระคเณศ" ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล โดย นางสาวชุติณัฐ ช่วยชีพ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช




เลขทะเบียน : นพ.บ.143/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง           นาวาเอกพระชำนาญนาวากล  (  เนียม  วัชรเสถียร)   ชื่อเรื่อง              ความดำเนินของการต่อเรือ  การกลฝ่ายเรืออู่หลวงและนายเรือ ครั้งที่พิมพ์          พิมพ์ครั้งแรก สถานที่พิมพ์         พระนคร สำนักพิมพ์           โรงพิมพ์ข่าวทหารอากาศดอนเมือง ปีที่พิมพ์            2503     จำนวนหน้า        93      หมายเหตุ               พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลเรือตรีพระจักรานุกรกิจ(วงษ์   สุจริตกุล)                 ความดำเนินของการต่อเรือการกลฝ่ายเรืออู่หลวงและนายเรือเป็นหนังสือที่เคยจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชพิธีเปืดสะพานพุทธยอดฟ้า พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่การพิมพ์ครั้งนี้ได้พิมพ์เพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนพบเพิ่มเติม



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.12/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ไซ่ฮั่น เล่ม 1 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2507สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าคุรุสภา จำนวนหน้า : 392 หน้า สาระสังเขป : "ไซฮั่น" คือ วรรณกรรมจีนที่ถูกถ่ายทอดเป็นภาษาไทยพร้อมๆ กับสามก๊ก ซึ่งอุบัติขึ้นจากพระราชดำริในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมฝาแฝดคู่นี้เปรียบประดุจอัญมณีประดับวงวรรณกรรมไทยมาตั้งแต่สมัยนั้น ไซฮั่นที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกก็เป็นเฉกเช่นสามก๊กฉบับแรกที่มิได้แปลเก็บรวบรวมความสมบูรณ์ไว้อย่างครบถ้วน หากแต่ไซฮั่นฉบับที่อยู่ในมือคุณนี้ นับเป็นฉบับแรกที่มีการแปลทุกถ้อยกระบวนความ ทุกเกร็ดสำคัญ และแปลบทกวีไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งแทรกคำอธิบาย และคำวิจารณ์ของผู้แปลเพิ่มเติมอีกด้วย


    ซึง  ภาษาลีซู เรียกว่าซือบือ เครื่องดนตรีชนิดเครื่องดีดคล้ายพิณ 3 สาย ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชิ้นเดียวกัน ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้      -ส่วนหัว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเจาะช่องทะลุสำหรับใส่อุปกรณ์ปรับสายให้ตึงหรือหย่อน ส่วนปลายเหลาโค้งไปด้านหลัง ส่วนสะพานเสียงรูปทรงเหมือนไม้บรรทัดโคนถ่างออกเล็กน้อยผิวหน้าเรียบ      -ส่วนกล่องเสียง เกลาเป็นกล่องทรงกลมภายในกลวงเปิดด้านหน้าขึงด้วยหนังตะกวด ตรงกลางแผ่นหนังมีแป้นไม้รองรับสายโลหะที่ขึงมาจากส่วนหัว ด้านล่างฉลุลายรูปคล้ายเมล็ดข้าวสาร มีเชือกสะพายคล้องมาจากส่วนหัวกับส่วนกล่องเสียง ประวัติ จัดซื้อด้วยเงินงบประมาณ ปี2563 จากนายสุพจน์  หลี่จา           นายกสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์


Messenger