ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ๓-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑. ชื่อโครงการ การประชุมระดับโลกขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติและองค์การยูเนสโกว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ในหัวข้อเรื่อง “ การสร้างความเป็นหุ้นส่วนใหม่” UNWTO/UNESCO World Conference on Tourism and Culture: “Building a new Partnership” ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๒. วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมเป็นผู้คณะแทนกระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมการประชุมระดับโลกขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติและองค์การยูเนสโกว่าด้วยเรื่องวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ในหัวข้อเรื่อง “ การสร้างความเป็นหุ้นส่วนใหม่” UNWTO/UNESCO World Conference on Tourism and Culture: “Building a new Partnership” ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๓. กำหนดเวลา เดินทางไปตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และเดินทางกลับในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘รวมเวลาเดินทางไปราชการทั้งสิ้น ๔ วัน ๓ คืน
๔. สถานที่ โรงแรม Le Meridien Angkor Hotel ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา
๕. หน่วยงานผู้จัด องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติและองค์การยูเนสโก
๖. หน่วยงานสนับสนุน เบิกค่าใช้จ่ายจากงบประมาณของกรมศิลปากร
๗. กิจกรรม
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๙.๐๐ น. พิธีเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ
๑๔.๐๐ น. การหารือระดับรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการเจรจาทางด้านนโยบายและแนวคิดการกำกับดูแล
ที่จำเป็นต่อการสนับสนุนรูปแบบความร่วมมือใหม่ระหว่างการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบและการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมรวมถึงการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
๑๙.๐๐ น. งานเลี้ยงต้อนรับและการแสดงทางวัฒนธรรม ณ Elephant Terrace of Angkor Wat
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดมสีหมุนีทรงเป็นเจ้าภาพ
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ๙.๑๐ น. การประชุมครั้งที่ ๑ : การส่งเสริมและการคุ้มครองทางวัฒนธรรม ( Promoting and Safeguarding Culture)
๑๐.๕๐ น. การประชุมครั้งที่ ๒ : การคงอยู่ของวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์( Living Cultures and Creative Industries)
๑๔.๐๐ น. การประชุมครั้งที่ ๓ : การเชื่อมโยงประชาชนกับเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Linking People Along Cultural Tourism Routes)
๑๕.๒๐ น. การประชุมครั้งที่ ๔ : การฟื้นฟูเมืองผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม(Urban Regeneration Through Cultural Tourism)
๑๗.๐๐ น. พิธีปิดการประชุม
๑๙.๐๐ น. งานเลี้ยงอำลาและการแสดงทางวัฒนธรรม
๘. องค์ประกอบของคณะผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรม ประกอบด้วย
๑. นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒. นายสมชาย ณ นครพนม นักโบราณคดีทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร ๓. นางสาวดารุณี ธรรมโพธิ์ดล ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ ๔. นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานรัฐมนตรี
๙. สรุปสาระของกิจกรรม สรุปได้ดังนี้
ในการประชุมมีการหยิบยกเรื่องการท่องเที่ยวอาจเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรม แต่หากมีการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสม การท่องเที่ยวจะมีส่วนช่วยในการคุ้มครองและส่งเสริมวัฒนธรรม ขณะเดียวกันยังก่อให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิในวัฒนธรรมของตนและแหล่งท่องเที่ยวทั่วโลกด้วย
ทั้งนี้ การท่องเที่ยวถือเป็นส่วนที่ก่อให้มนุษย์มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์(Creative Industries) อาทิ เพลง ภาพยนตร์ หัตถกรรม สถาปัตยกรรมหรือการออกแบบ ต่างก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างประสบการณ์พิเศษให้แก่นักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเองมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆรวมถึงการเกิดประโยชน์ทางด้านเศรษบกิจและสังคมต่อชุมชนท้องถิ่น
ที่ประชุมได้อภิปรายถึงเรื่องเส้นทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดโอกาสกับการพัฒนาการท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ การบูรณาการทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงด้านเศรษบกิจและวัฒนธรรมในระดับประเทศและระหว่างประเทศด้วย
ประเด็นที่ถูกกล่าวถึงอีกเรื่องคือ การที่การท่องเที่ยวเติบโตอย่างรวดเร็วในเขตเมือง ด้วยเหตุนี้จึงต้องพึงระวังในการพัฒนาการท่องเที่ยว ควบคุ่ไปกับการคุ้มครองอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและการเพิ่มคุณค่าชีวิตในเมืองและต้องไม่ลืมว่า วัฒนธรรมในพื้นที่ชนบท เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนให้ได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกัน เมื่อการท่องเที่ยวเริ่มที่จะรุกไปในพื้นที่เหล่านั้น
ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันที่จะจัดทำเป็น Siem Reap Declaration on Tourism and Culture โดยประกาศเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ มีเนื้อหาสรุปได้ตามสาระของการประชุมข้างต้น ( ดังรายละเอียดตามเอกสารที่แนบ)
๑๐.ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
เป็นการประชุมในระดับนานาชาติที่สำคัญ ทำให้เห็นว่าทั่วโลกกำลังนำวัฒนธรรมเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และการท่องเที่ยวมิได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรม แต่ควรใช้โอกาสจากการท่องเที่ยว ส่งเสริมให้วัฒนธรรมมีชีวิตและได้รับการอนุรักษ์และเผยแพร่สู่ประชาคมโลก ซึ่งจะเป็นผลดีทางเศรษฐกิจและสังคมต่อชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม ดังนั้นการบูรณาการร่วมกันระหว่างการท่องเที่ยวกับวัฒนธรรม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งในปัจจุบัน
นายสมชาย ณ นครพนม ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
ผู้แต่ง : ลมูล อติพยัคฆ์โรงพิมพ์ : คลังวิทยาปีที่พิมพ์ : 2499ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.33บ.1342จบ(ร)เลขหมู่ : 9144 ล1388
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 3หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากร , กรมชื่อเรื่อง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทยครั้งที่พิมพ์ : -สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัดปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๒จำนวนหน้า : ๒๓๔ หน้าหมายเหตุ : จัดพิมพ์เพื่อเชิดชูเกียรติในงานพระราชทานเพลิงศพ นางจิรา จลกล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันอังคารที่ ๔ เมษายน พ,ศ, ๒๕๓๒ การพัฒนากิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังและกว้างขวางในเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๘ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร แยกกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติออกจากกองโบราณคดี เนื่องจากงานที่ปฏิบัติ และรับผิดชอบต่างกัน กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีภาระหน้าที่รับผิดชอบในการธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันที่สำคัญในการรวบรวมสงวนรักษาสมบัติ วัฒนธรรมของชาติ โดยได้ดำเนินการสืบต่อจากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้กำเนิดงานพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒ หลังจากการปรับปรุงแก้ไขส่วนราชการในกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง : อนุสรณ์ ตึกกรุณา โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยเขษม
จำนวนหน้า : 130 หน้า
สาระสังเขป : ตึกกรุณา โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี ได้ประกอบพิธีเปิดในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๐๘ ก่อสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคของนางกรุณา แต้มทอง ก่อนจะถึงแก่กรรมได้ทำพินัยกรรมมอบเงินทุนให้ทายาทพิจารณาจัดสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์ขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรี ตึกกรุณาเป็นตึกที่ใช้ทำการรับผู้ป่วยเด็ก มีเตียง ๒๐ เตียง แบ่งออกเป็นผู้ป่วยอายุรกรรม ศัลกรรม และผู้ป่วยโรคติดต่อ และเนื้อหาส่วนต่อมา เป็นเกล็ดความรู้จากแพทย์ อาทิ โรคไข้เลือดออก โดยนายแพทย์ ดิลก ทิวทอง มองจากห้องยา โดยนัดดา ปริยานนท์ ภ.บ. เกล็ดความรู้เรื่องเด็กที่น่ารักของท่าน โดย แพทย์หญิง อารีย์ หุตะโชค เป็นต้น
ชื่อผู้แต่ง พุทธเลิศหล้านภาลัย,พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง กาพย์เห่เรือ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๓
จำนวนหน้า ๒๖ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางลิปิธรรมศรีพยัตต์(อุบล ศรีพยัตต์)
หนังสือเรื่องกาพย์เห่เรือเป็นกาพย์สำหรับฝีพายใช้ขับเห่ในกระบวนเรือเสด็จฯ ทั้งในงานพระราชพิธีหรือเสด็จประพาสตามที่ต่าง ๆ จุดประสงค์ของการขับร้องในเวลาพายเรือก็เพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนแรง และทำให้เกิดจังหวะในการพายพร้อมกัน การเห่เรือแต่เดิมน่าจะทำเป็นพิธี เช่น การเห่เรือในอินเดียก็เป็นคำขับบูชาพระราม พระลักษมณ์ กาพย์เห่เรือของไทยที่มีผู้ประพันธ์ไว้นั้นเป็นเพียงบทที่ใช้ขับร้องเล่น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบูชาหรือพิธีการแต่อย่างใด เนื้อเรื่องมักเป็นบทชมต่าง ๆ เช่น เห่ชมกระบวนเรือ หรือชมธรรมชาติในขณะเดินทาง เป็นต้น
เรื่องที่ 353 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดแหลมหิน ต.หนองคันทรง อ.เมือง จ.ตราด เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับล่องชาติ ไม้ประกับธรรมดา มีทั้งหมด 9 ผูก พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้แต่ง จีนต่วน,แดงกิ๋ม เป็นผู้สร้าง หอสมุดแห่งชาติฯมีผูก 3-4,6,8-9,17-18เนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติ เรื่องปฐมสมโพธิ เดิมมีผู้แต่งไว้เป็นภาษาบาลี ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นของผู้ใด ต่อมาจึงมีผู้แปลไว้เป็นภาษาไทย ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้กรมหมื่นไกรสรวิชิตกราบทูลอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเมื่อยังเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส ให้ทรงชำระเรื่องนี้ จนกระทั่งสำเร็จบริบูรณ์ในวันแรม ๔ ค่ำเดือน ๗ พุทธศักราช ๒๓๘๘ พระปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ เรียกว่า ปริเฉท มีทั้งหมด 29 ปริเฉท กล่าวถึงศักยวงศ์หรือศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ ความเป็นมาพระพุทธเจ้าตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน เลขทะเบียน จบ.บ.353/3-4,6,5,8-9,17-18
CHANTHABURI BAND : จากความตั้งใจที่จะทำวงดนตรี " จันทบุรีแบนด์ " ต่อยอดมาสู่ โครงการ " ค่ายดนตรี Chanthaburi Band " จันท์ยิ้ม. 2 , (4) : 16 -17 ;เมษายน -ถุนายน 2560.
เนื้อหาภายในเล่ม กล่าวถึงแคมป์ ว่าคือเรื่องของการนำไปสู่วงดนตรี ที่ตั้งใจสร้างเป็นวงซิมโฟนีที่ไม่ใช่จัดครั้งเดียวแล้วจบเลย แต่ค่ายดนตรีนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กในจังหวัดจันทบุรี ประมาณ 350 - 400 คน มาอยู่รวมกัน 5 วัน 4 คืน ตั้งแต่วันที่ 1- 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เด็กๆได้มา ฟังความรู้จากวิทยากรเก่งๆ อย่างเช่น อาจารย์วานิช โปตะวณิช ศิลปินศิลปาธร ช่างซ่อมเครื่องดนตรี มีบริษัท ยามาฮ่า มาสอนเทคนิค การดูแลเครื่อง เทคนิคการใช้ลม เป็นต้น การเข้าค่ายดนตรีให้อะไร หลายอย่างกับเด็กๆ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่จะขยายเครือข่ายต่อไป เพื่อให้เยาวชนคนอื่นๆ มาร่วมกันทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากขึ้น และสำหรับแคมป์ที่สองนั้นมีรูปแบบแตกต่างจากครั้งแรก คือ แคมป์ที่สองนี้จะคัดเด็กที่เป็นมืออาชีพจริงๆ ให้เหลือแค่ 150 คน สำหรับเป้าหมายที่ชัดเจนของ โครงการ คือจะเป็นโมเดลให้กับที่อื่นๆ ที่มีวงดนตรีประจำจังหวัด สำหรับต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง โดยเฉพาะ และ จะใช้กิจกรรมนี้เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน โดยมีเยาวชน - เป็นศูนย์กลาง เพราะเยาวชนเขาจะต้องอยู่ร่วมในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน
ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้ามุสลิมมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 หลังจากนั้นในสมัยกรุงธนบุรีพบว่ามีชาวมุสลิมเดินทางเข้ามาค้าขายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยเปิดการค้าเสรีภายใต้สนธิสัญญาเบาริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ยิ่งทำให้มีพ่อค้าจากอินเดีย มลายูและอาหรับเข้ามาเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นบริเวณปากคลองสานถือเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของชาวมุสลิม แบ่งออกเป็น 2 ย่าน คือ “ย่านตึกแดง” และ “ย่านตึกขาว” มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกแดงเป็นพวกชาวอินเดียที่ส่วนมากมาจาก ตำบลแรนเดอร์ เมืองสุรัต ประเทศอินเดีย เป็นชาวมุสลิมที่นับถือนิกายสุหนี่ แต่มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่นับถือนิกายชีอะห์ ซึ่งเดินทางมาจากเมืองสุรัต เมืองแคมบ๊าต เมืองอะห์เมดาบ๊าด รัฐคุชราต และจากเมืองซิ๊ดปุร และเมืองโดรายี ทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งชาวมุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวนี้เรียกตนเองว่า “มุอ์มิน ดาวูดี โบห์รา” ดาวูดี โบห์รา (Dawoodi Bohra) เป็นกลุ่มสาขาของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองทางตะวันตกของอินเดีย โดยคำว่า “โบห์รา” เป็นภาษาคุชราต แปลว่า “พ่อค้า” ส่วนคำว่า “ดาวูดี” มาจากการสนับสนุนนายดาวูดบิน ในระหว่างที่มุสลิมมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรณีการเลือกผู้นำ ในปี ค.ศ. 1592 ชาวดาวูดี โบห์รา ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการค้าผ้าอินเดียกับราชสำนักสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดำเนินการค้าขายสินค้าประเภทผ้าแพร ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย เครื่องเทศ เครื่องหอม โดยจะข้ามจากฝั่งคลองสานเพื่อมาทำการค้าบริเวณท่าราชวงศ์ ทรงวาด และย่านสำเพ็ง ในปัจจุบันยังมีชาวมุสลิมดาวูดี โบห์รา อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ย่านคลองสานและกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งในทุกๆ วันสำคัญ เหล่ามุอ์มินดาวูดี โบห์ราต่างเดินทางมาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ณ มัสยิดเซฟี หรือมัสยิดตึกขาว อันเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของกลุ่ม มัสยิดเซฟีหรือมัสยิดตึกขาวนี้ ตั้งอยู่ที่ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นมัสยิดที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2446 โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างยุโรปแบบกอธิค (gothic) ซึ่งรับมาจากอินเดีย และมีการต่อเติมแบบไทยผสมเข้าไปด้วย ปัจจุบันกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานมัสยิดเซฟี (ตึกขาว) แล้ว ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 328 ง ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ภาพ : การแต่งกายของชาวโบห์รา ภาพ : มุสลิมพ่อค้าดาวูดีโบห์รา กำลังรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานเฉลิมฉลองการเสด็จนิวัติพระนครจากการประพาสยุโรปครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)ภาพ : มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)..................................................................ผู้เขียน/เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวอารียา สีชมพู นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน กองโบราณคดี
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ (ภาคที่ 18). พระนคร : กรมศิลปากร, 2498.
หนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ ภาคที่ 18 นี้ เป็นลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีโต้ตอบกันในบั้นปลายแห่งพระชนมชีพเมื่อทรงวางจากภาระทางราชการการเมือง และทรงพักผ่อนอย่างเงียบ ๆ พระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งสองพระองค์นี้ เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปในหมู่นักศึกษา โบราณคดี ศิลปและวรรณคดี และการปกครอง สาส์นสมเด็จนี้มีอยู่มากมายด้วยกัน ภาคนี้เป็น ภาคที่ 18