ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอเชิญสักการะ พระคเณศ ๑,๔๐๐ ปี เนื่องในเทศกาล "วันคเณศจตุรถี" ตั้งแต่วันที่ ๒๐ - ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖ ซึ่งวันคเณศจตุรถี เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองวันประสูติของพระคเณศ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระคเณศจะทรงเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ เพื่ออวยพรแก่ผู้เลื่อมใสที่ทำพิธีบูชาพระองค์
สำหรับพระคเณศแห่งเมืองศรีมโหสถนี้ พบที่โบราณสถานหมายเลข ๒๒ กลางเมืองศรีโหสถ อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี พระคเณศ เป็นเทพเจ้าซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมนับถือมากในศาสนาฮินดูในฐานะเทพแห่งอุปสรรค ที่ชาวฮินดูเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนา จะต้องบูชาพระคเณศก่อน พระคเณศ จึงกลายเป็นเทพแห่งความรู้และความเฉลียวฉลาด เทพอักษรศาสตร์และวรรณคดี และเทพแห่งศิลปวิทยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เปิดให้เข้าชม วันพุธ ถึงวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (หยุด วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐๓๗ ๒๑๑ ๕๘๖
วารสารเครือข่ายกรมศิลปากรเป็นวารสารรายไตรมาสออกทุก ๓ เดือน
พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และพระพุทธรูปทองคำฐานบุด้วยเงิน ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ได้จากกรุภายในพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)
วัดบวรสถานสุทธาวาส อยู่ในพื้นที่ของพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เดิมบริเวณนี้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑ โปรดให้สร้างวัดประทานแก่หลวงชีนักนางแม้น ผู้เป็นมารดาของนักองค์อีและนักองค์ภาพระสนมเอกของพระองค์ เรียกว่า “วัดหลวงชี”
ต่อมาวัดนี้ชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๒ จึงโปรดให้รื้อวัดหลวงชีทำเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๓ ทรงอุทิศบริเวณสวนกระต่ายโปรดให้สร้างวัดขึ้นใหม่ พระราชทานนามว่า “วัดบวรสถานสุทธาวาส” เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อทรงแก้บน หรือเฉลิมพระเกียรติเมื่อครั้งได้เสด็จยกกองทัพไปปราบกบฏเวียงจันทน์ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๘
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ มีการเขียนจิตรกรรมเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ล้อมรอบ โดยมีพระราชดำริให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์จากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ให้มาประดิษฐาน แต่ก็ได้ล้มเลิกไป
“กรุ” หมายถึง ช่องว่างหรือห้องเล็ก ๆ ภายในสถูปเจดีย์ พระปรางค์ หรือพระอุโบสถ ทำไว้เพื่อบรรจุพระพุทธรูป พระพิมพ์ เครื่องราชูปโภค หรือพระบรมสารีริกธาตุ
คติการสร้างกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระพุทธปฏิมาและเครื่องบูชาต่างๆ นั้น มีหลักฐานกล่าวถึงจำนวนมาก ทั้งตำนานการอัญเชิญพระบรมธาตุจากลังกามาบรรจุยังสถานที่ต่างๆ อาทิ ตำนานพระปฐมเจดีย์ และจารึกวัดบูรพาราม แสดงให้เห็นความเชื่อการรับพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ผ่านการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ สอดคล้องกับคติพระมหาธาตุประจำเมือง ความศักดิ์สิทธิ์ และการอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา
จากคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาเรื่อง “ธาตุนิธานกรรม” (การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) กล่าวว่า “ครั้งพระมหากัสสปะรวบรวมและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในมหาสถูปกรุงราชคฤห์ ให้ขุดดินฝังพระธาตุลึกลงไป ๘๐ ศอก ...ทำรูปพระบรมโพธิสัตว์ ๕๕๐ ชาติ รูปพระอสีติ ๗ องค์ รูปพระเจ้าสุทโธทนะ พระนางสิริมหามายา และสหชาติทั้ง ๗ พร้องเครื่องราชปสาธนอลังการาภรณ์ อันพระเจ้าอชาตศัตรูถวายภายในเป็นการสัการบูชา แล้วปิดทวารห้องพระบรมธาตุอย่างมั่นคง”
ในคัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกา กล่าวถึง “...สมัยพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยโปรดให้สร้างธาตุคัพภจรนะ (ห้องพระบรมสารีริกธาตุ) เป็นห้องสี่เหลี่ยมขาวเหมือนก้อนเมฆตกแต่งอย่างวิจิตร ...ตั้งพระพุทธรูปทองคำประดับรัตนะบนบัลลังก์แวดล้อมด้วยพระพรหมถือฉัตร ท้าวสักกะถือสังข์ พระปัญจสิขรถือพิณ พญากาฬนาค และพญามารพันมือขี่ช้างพร้อมบริวาร สร้างรูปพุทธประวัติ รูปชาดก ท้าวมหาราชประจำ ๔ ทิศ รูปยักษ์ เทวดาประนมมือ ฟ้อนรำ ประโคมเครื่องดนตรี ถือสิ่งของเครื่องบูชาต่างๆ มีแถวตะเกียงสว่างไสว มุมทั้งสี่กองด้วยทอง แก้วมณี กองไข่มุก และกองเพชร จากนั้นกระทำธาตุนิธานะ แล้วก่อปิดสถูปไว้...”
จากหลักฐานข้างต้น ทำให้เห็นว่าคติความเชื่อการสร้างกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องอุทิศถวายฯ ยังได้ส่งต่อมายังสมัยอยุธยาด้วยทั้งจากพระปรางค์วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระศรีมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และการบรรจุพระพุทธรูปภายในพระอุระของพระมงคลบพิตร
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ยังมีการพบกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมพระพุทธรูปและเครื่องบูชาต่างๆ ทั้งภายในสถูปเจดีย์และเพดานพระอุโบสถด้วย
เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๐๗ ได้มีการสำรวจพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส และได้พบพระพุทธรูปพร้อมเครื่องอุทิศถวายต่างๆ จำนวนหนึ่งภายในเพดานของพระอุโบสถ ซึ่งสร้างมาจากแก้วผลึกหรือหินมีค่า ทองคำ และสัมฤทธิ์ สามารถกำหนดอายุได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
โดยนำไปจัดแสดงอยู่ภายในส่วนของมุขกระสันด้านหลังพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า “ห้องมหรรฆภัณฑ์” เป็นห้องนิรภัยสำหรับเก็บรักษาเครื่องทองหลวง และของมีค่าหายาก อันเป็นสมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและได้จากการขุดค้นหรือสำรวจทางโบราณคดี ต่อมามีการปรับปรุงพื้นที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จึงได้ย้ายมาเก็บรักษา ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ได้มีการนำพระพุทธรูปแก้วผลึกส่วนหนึ่งออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาตามโอกาสสำคัญด้วย
อ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณวัตถุ กรุพระเจดีย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร ๒๕๖๔
กรมศิลปากร. วัดบวรสถานสุทธาวาส “วัด”ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/T5ezS
กรมศิลปากร. สักการะพระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : ทศพุทธปฏิมาวังหน้า. เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/OhEQ2
กรมศิลปากร. พระพุทธรูปและพระพิมพ์จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา : วิเคราะห์รูปแบบ แนวคิดและคติความเชื่อในการบรรจุในกรุเจดีย์. เข้าถึงเมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/BukAO
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรมของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน โดยกรมศิลปากร ร่วมจัดกิจกรรม ดังนี้
๑. เปิดให้บริการและงดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๗ นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการใหม่แล้วเสร็จ ยังถือฤกษ์ดีเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
๒. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญออกให้พุทธศาสนิกชนสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลในเทศกาลปีใหม่ อาทิ พระพุทธรูปลีลา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัด สุโขทัย พระนาคปรกศิลา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จ.ลพบุรี พระมหากัจจายนเถระ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
๓. กิจกรรมสักการะพระพุทธรูป “พุทธบูชานาคสัมพัจฉร์ ๒๕๖๗” (คำอ่าน พุด–ทะ–บู–ชา – นา–คะ–สำ–พัด) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีคติการสร้างเกี่ยวข้องกับพญานาค โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ตามตำนานปั้นหล่อจากต้นแบบนาคแปลงนิมิตสำแดงพระพุทธลักษณะ เป็นประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปอีก
๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน ๗ องค์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ๑ องค์ และวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ จำนวน ๑ องค์ มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา ระหว่างวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๓. ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ (Night at the Museum) ระหว่างวันที่ ๒๙ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ – ๒๐.๐๐ น. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้เข้าชมความงามของอาคารโบราณสถานพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า และการจัดแสดงนิทรรศการภายในพระที่นั่งต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสมนต์เสน่ห์สถาปัตยกรรมวังหน้า และความเป็นมาแห่งอารยธรรมไทยในช่วงเวลาค่ำ นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมนำชม เป็นกรณีพิเศษ ในหัวข้อ “มะโรงนักษัตรทัวร์” ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ในตำนานทั้งงูหงอน นาค มกร มังกร และเหรา ในความเหมือนและแตกต่างซึ่งมีความสัมพันธ์กับปีมะโรงที่กำลังจะมาถึง ผ่านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันละ ๑ รอบ โดยเปิดรับลงทะเบียนเวลา ๑๗.๐๐ น. บริเวณศาลาลงสรง และเริ่มนำชมเวลา ๑๘.๐๐ น. โดยภัณฑารักษ์และเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์
นอกจากนี้ กรมศิลปากร ได้เตรียมเปิดศักราชใหม่ด้วยการแสดงโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ “เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” อาทิ โขน เรื่องรามเกียรติ์ ละครใน เรื่องอุณรุท ละคร เรื่องรถเสน ละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ไฮไลท์อยู่ที่การแสดงตำนานเทวะนิยาย เรื่องนารายณ์สิบปาง ซึ่งนำมาจัดแสดงอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ แสดงโดยศิลปินของสำนักการสังคีต กรมศิลปากร กำหนดจัดแสดงในทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๑๗.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๙.๓๐ น. ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๗ รวม ๙ ครั้ง เริ่มเปิดการแสดงในวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ ค่าเข้าชมการแสดงคนละ ๒๐ บาท นำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน กรมศิลปากรจึงขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมของขวัญปีใหม่ เพื่อสร้างความสุข เสริมสิริมงคลให้กับชีวิตในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ในปีมะโรง พุทธศักราช ๒๕๖๗ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร www.finearts.go.th
ชื่อเรื่อง สพ.ส.83 เวชศาสตร์_ตำรายาแผนโบราณประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ เวชศาสตร์ลักษณะวัสดุ 35; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง เวชศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538
ข้อมูลองค์ความรู้ประจำเดือนกันยายน ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรอักษร ไทยสุโขทัยภาษา ไทย ศักราช พุทธศักราช ๑๙๔๐จารึกอักษร จำนวน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัดวัสดุจารึก หินชนวน ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปใบเสมาขนาด กว้าง ๖๕ เซนติเมตร สูง ๑๐๘ เซนติเมตร หนา ๑๔ เซนติเมตร ปัจจุบันอยู่ที่ อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลาจารึกหลักนี้ กรมทางหลวงแผ่นดินขุดพบขณะที่สร้างถนนจรดวิถีถ่อง ระหว่างกิโลเมตรที่ ๕๐ - ๕๑ ทางเลี้ยวเข้าวัดมหาธาตุและวัดสระศรี อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๓ เหตุที่ศิลาจารึกหลักนี้มีชื่อเรียกว่า “ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร” เพราะเป็นจารึกที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญา ในสมัยโบราณนั้นผู้กระทำความผิดอาญาล้วนเรียกว่า “โจร” เช่น โจรปล้น โจรฆ่าคน เป็นต้น ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร มีเนื้อความกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งซึ่งไม่ทราบพระนามแน่ชัด ผู้ทรงขึ้นเสวยราชย์ใหม่ ต้องตราพระราชบัญญัติขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติกฎหมายลักษณะลักพาหรือลักษณะโจร ประกอบด้วยตัวบทกฎหมาย ๘ มาตรา เนื้อหามีรูปแบบบทบัญญัติกฎหมายอย่างชัดเจนแตกต่างกับศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักอื่น ๆ สันนิษฐานว่าตราขึ้นโดยกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา แล้วนำมาปักบังคับใช้ที่สุโขทัยซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศราช โดยตัวบทกฎหมาย ๘ มาตรา มีเนื้อหาบทบัญญัติกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนี้ มาตรา ๑ กรณีถ้าข้ารับใช้หรือบริวารของผู้อื่นหนีมาอยู่ด้วยกับตน และตนไม่จัดส่งคืนให้เจ้านายของข้ารับใช้คนนั้น จะต้องถูกปรับเต็มอัตราตามที่กำหนดไว้ในพระราชศาสตร์และพระธรรมศาสตร์ โดยจะถูกปรับเสมือนไปขโมยลักพาหรือช่วยให้ข้าทาสบริวารของผู้อื่นหนีไปแต่ยังไปได้ไม่พ้นเขตเมือง มาตรา ๒ กรณีถ้าข้ารับใช้หรือบริวารของผู้อื่นหนีมาอยู่ด้วยกับตน และตนไม่จัดส่งคืนให้เจ้านายของข้ารับใช้คนนั้นภายใน ๓ วัน (กรณีภายในเขตเมือง) และ ๕ วัน (กรณีภายนอกเขตเมือง) จะต้องถูกปรับตามที่กำหนดไว้ในพระราชศาสตร์และพระธรรมศาสตร์ และหากเกิน ๘ วัน (นับตั้งแต่วันที่ ๙ เป็นต้นไป) จะถูกปรับเสมือนกรณีลักทรัพย์ผู้อื่น มาตรา ๓ กรณีถ้าเห็นคนมาทำลับ ๆ ล่อ ๆ น่าสงสัยและพิจารณาดูแล้วว่าเป็นโจรจริง ให้ช่วยจับโจรไว้ ผู้ที่ช่วยจับโจรไว้ได้จะได้รับบำเหน็จรางวัล แต่หากผู้ใดพบเห็นโจรแล้วเพิกเฉย ไม่ช่วยจับกุมไว้ ทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้ กลับรอให้เจ้าทรัพย์ถึงก่อนแล้วจึงค่อยเข้าไปช่วยจับตัวโจรส่งให้เพราะหวังรางวัล คนผู้นั้นจะไม่ได้รับบำเหน็จรางวัลใด ๆ เพราะถือว่าเป็นพวกเดียวกับโจร และมีความผิดฐานวางเฉย และถ้าต่อไปพิจารณาพบว่าเป็นพวกเดียวกับขโมยจริงจะต้องถูกลงโทษด้วย มาตรา ๔ กรณีถ้ามีผู้จับโจรได้พร้อมทรัพย์สินที่ถูกขโมยไป แต่ไม่นำส่งคืนแก่เจ้าของ กลับเก็บทรัพย์สินนั้นไว้กับตัวเกือบทั้งวัน กำหนดให้ลงโทษขั้นสูงสุดตามพระราชศาสตร์ มาตรา ๕ กรณีถ้ามีผู้นำสิ่งของที่ถูกขโมยไปส่งคืนแก่เจ้าของ ผู้นั้นจะได้รับรางวัล ส่วนผู้ใดที่วางเฉย ไม่ช่วยจับกุมหรือจับได้แล้วแต่ปล่อยตัวโจรไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ผู้นั้นจะมีความผิดเสมือนเป็นขโมยเสียเอง มาตรา ๖ ประเสริฐ ณ นคร กล่าวว่า กรณีมีผู้ไปขโมยของในบ้านผู้อื่น หรือไปล่า ฆ่าฟันผู้อื่น มีผู้ชวนตนไปลักของผู้อื่นก็ดี ไปลักของด้วยกันก็ดี และรู้ว่าผู้ใดลักทรัพย์สินท่านนานประมาณภายในสิบปี ไม่มีผู้รู้เห็นขโมยผู้นี้ หากผู้นั้นจับขโมยได้ แต่ไม่บอกเจ้าหน้าที่และเจ้าของ ท่านให้ปรับมันเหมือนดังมันเป็นขโมย และปรับสถานเดียวกับคนมาพาลูกเมียท่านไป ส่วนเทพี จรัสจรุงเกียรติและเสาวรส มนต์วิเศษ กล่าวว่า กรณีมีผู้ไปลักทรัพย์ ชักชวนให้ไปลักทรัพย์ หรือไปด้วยกันกับผู้ชักชวน ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะผ่านไปนานพ้น ๑๐ ปีแล้วก็ตาม แล้วไม่แจ้งความ แต่กลับนำความนั้นไปข่มขู่เจ้าทรัพย์เพื่อขอรับสินจ้างรางวัล กฎหมายกำหนดให้ปรับเสมือนเป็นขโมยและได้ข่มขู่เจ้าทรัพย์ อนึ่งผู้ที่นำผู้คนหรือทรัพย์สินที่ถูกขโมยไปมาส่งคืนเจ้าของ จะได้รับรางวัลตามที่กำหนดไว้ในพระราชศาสตร์และพระธรรมศาสตร์ และได้รับการยกย่องเชิดชูด้วย มาตรา ๗ กรณีถ้ามีการขโมยแย่งชิงของซึ่งหน้า ต้องเข้าไปช่วยจับกุม หากไม่ช่วยจับกุมจะต้องถูกปรับและต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับสิ่งที่ถูกขโมยไปแก่ผู้เสียหายด้วยมาตรา ๘ กรณีถ้าจะมีการฆ่าวัวควาย ให้นำวัวควายนั้นมาแสดงให้ผู้อื่นรู้เห็นเป็นพยานก่อน จึงจะสามารถฆ่าวัวควายนั้นได้ หากไม่นำวัวควายมาแสดงให้ผู้อื่นรู้เห็นก่อนจะมีความผิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันผู้ขโมยวัวควายของผู้อื่นมา ศิลาจารึกหลักนี้ตัวอักษรลบเลือนไปมาก สันนิษฐานได้ว่ายังมีกฎหมายในมาตราอื่น ๆ อยู่อีก แต่ไม่สามารถจะจับความมาผูกต่อกันให้ได้ความชัดเจนได้ทั้งหมด ซึ่งศิลาจารึกหลักนี้เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่ในรูปแบบดั้งเดิมโดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ มาจนถึงปัจจุบันเป็นฉบับแรกของไทยและเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยนั้นมีการใช้คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา นับเป็นศิลาจารึกด้านกฎหมายที่สำคัญของไทยเอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๘. (พิมพ์ในงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗)ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, เข้าถึงเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/ประเสริฐ ณ นคร. กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. ๑๙๔๐. ใน: สารนิพนธ์ ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; ๒๕๔๑. หน้า ๕๓๖ - ๕๔๓.Debi Jaratjarungkiat and Saowarose Monwiset. “The Representations of ‘offenders’ in Legal Inscription on Thief’s Characters.” Journal of Arts and Thai Studies 44, 2 (May – August 2022): 58 – 79.
วันพุธที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. คณะครู และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา อ.บ้านนา จ.นครนายก จำนวน ๔๔ คน เข้าเยี่ยมชม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่งพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากร งดเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานทั่วประเทศ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขอเชิญชวนให้ประชาชนชาวไทย เข้าชมแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากรทั่วประเทศ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีคุณูปการต่องานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงห่วงใย อุปถัมภ์ ฟื้นฟู เพื่อรักษา และสืบทอด ให้วัฒนธรรมไทยยังคงอยู่เป็นมรดกที่สำคัญของชาติสืบไป
ชื่อเรื่อง : Itinerary of the visit of His Majesty the King of Norway to Chiengmai, Thailand Januray 18-23, 1965ผู้แต่ง : Isra Thaphusdinปีที่พิมพ์ : 1965สถานที่พิมพ์ : Chiengmai (เชียงใหม่)สำนักพิมพ์ : Chang Phurk (ช้างเผือก)จำนวนหน้า : ๒๔ หน้า เนื้อหา : หนังสือ Itinerary of the visit of His Majesty the King of Norway to Chiengmai, Thailand Januray 18-23, 1965 เป็นหนังสือที่รวบรวมพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จเจ้ากรุงนอรเวย์ ทรงเสด็จเยือนจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เมื่อ ค.ศ.๑๙๖๕ ประกอบไปด้วยเนื้อหากำหนดการและพระราชกรณียกิจและพระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จเจ้ากรุงนอรเวย์ ตั้งแต่เสด็จลง ณ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จนกระทั่งเสด็จกลับเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๔๐๒เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๐๑หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๗ เรื่อง "กระดาษ (ไข) ปริศนา จิตรกรรมฝาผนังกรุวัดราชบูรณะ" นำเสนอภาพจิตรกรรมภายในกรุประธานชั้นที่ ๑ พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ถูกคัดลอกลงบนกระดาษไขขนาดเท่าจริง เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๗ ถึง ๑๙ กันยายน ๒๕๖๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราว อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทั้งนี้ พิเศษ สำหรับ ๕๐ ท่านแรกที่เข้าชมนิทรรศการในวันที่ ๑๙ กันยายนนี้ รับฟรีโปสการ์ดลายเส้นภาพจิตรกรรมฝาผนังกรุวัดราชบูรณะ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา https://www.facebook.com/chaosamphraya
ประกาศสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เรื่อง การรับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการรายบุคคล จำนวน ๓ อัตรา เพื่อปฏิบัติงานสนับสนุนงานอำนวยการและงานบริหารสำนักงานทั่วไปประจำสำนักงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ จำนวน ๓ อัตรา (รายละเอียดตามเอกสาร)
ผู้แต่ง : พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม)ปีที่พิมพ์ : 2548 สถานที่พิมพ์ : พะเยา สำนักพิมพ์ : กอบคำการพิมพ์ สังคมทางการเมืองการปกครองในอาณาจักรภูกามยาว (รัฐพะเยาในอดีต) เป็นหนังสือที่พระมหาศรีบรรดร ถิรธมฺโม ได้เขียนขึ้นมาเพื่อฉายภาพเมืองพะเยาในมิติของการปกครอง เป็นการปะติดปะต่อประวัติศาสตร์ทางสังคมและการเมืองการปกครอง รวมทั้งนำเสนอบทวิเคราะห์ในหลายๆ ด้านของเมืองพะเยา ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรมด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น และการเมืองการปกครอง