ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.332/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


            พระธิดาในเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับหม่อมอิน วรวรรณ ณ อยุธยา (พระนามเดิม : หม่อมเจ้าวรรณวิมล วรวรรณ) ดำรงพระอิสริยยศ “พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระองค์เจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๔ และเป็นที่รู้จักในฐานะอดีตพระคู่หมั้นในรัชกาลที่ ๖ สิ้นพระชนม์วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๙๔ พระชันษา ๕๙ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๑๖๗.)     Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๒๗ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖           (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


ชื่อเรื่อง : ประเพณีไทย ระเบียบการใช้ถ้อยคำ และสุขภาพอนามัย สำหรับประชาชน ชื่อผู้แต่ง : ปีย์ มาลากุล, ม.ล.  ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 124 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้นำเสนอเนื้อหา 3 เรื่อง ได้แก่ 1. เรื่องประเพณีไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยแต่โบราณ เช่น ประเพณีการทำศพ การแต่งกายของสตรี การเข้าเฝ้าฯในงานสมรส เป็นต้น 2. เรื่องระเบียบการใช้ถ้อยคำ กล่าวถึงหลักการใช้คำที่ถูกต้อง เช่น การใช้คำราชาศัพท์ การใช้คำสุภาพกับผู้อาวุโส การพูดกับพระภิกษุ เป็นต้น 3. เรื่องสุขภาพอนามัย สำหรับประชาชน โดยนายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี อธิบายเรื่องการรักษาสุขภาพและอนามัย แนะนำให้ประชาชนรู้จักโรคต่าง ๆ วิธีสังเกตุโรค อาการที่คาดว่าจะเกิดโรค และแนวทางการป้องกันโรค


          นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่ยังปรากฏแคมเปญรณรงค์ ยกเลิก ประกาศสั่งถอนพื้นที่โบราณคดีภาพเขียนสีเขายะลา ในสื่อสังคมออนไลน์ สร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนอยู่นั้น กรมศิลปากรขอย้ำว่า ได้ประกาศเพิกถอนการประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และเผยแพร่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓          ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกรมศิลปากรเรื่อง เพิกถอนการประกาศแก้ไขเขตที่ดิน โบราณสถาน และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ความว่า ตามที่กรมศิลปากรได้ประกาศแก้ไขเขตที่ดินโบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลา โดยประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๔๕ ง วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ นั้น          เนื่องจากได้มีประชาชนในท้องที่ตำบลยะลาและตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ตลอดจนองค์กรพัฒนาภาคเอกชน และคณะกรรมาธิการในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร ได้ร้องขอให้กรมศิลปากรควรพิจารณาทบทวนและเพิกถอนประกาศกรมศิลปากร เรื่อง แก้ไขเขตที่ดินโบราณสถาน ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เนื่องจากบริเวณพื้นที่ที่กรมศิลปากรประกาศแก้ไขเขตที่โบราณสถานเป็นบริเวณที่มีการประกอบกิจการเหมืองแร่ โดยการประกอบกิจการเหมืองแร่ในบริเวณดังกล่าวอาจเกิดแรงสั่นสะเทือนและส่งผลกระทบต่อโบราณสถานภาพเขียนสีเขายะลาซึ่งเป็นโบราณสถานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่ภาคใต้


ชื่อผู้แต่ง          พุทธทาสภิกขุ ชื่อเรื่อง           เอกสารชุดมองด้านใน อันดับที่ ๕ เกิดมาทำไม ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     พระนคร สำนักพิมพ์       ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์พระนคร ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๐ จำนวนหน้า      ๕๙  หน้า           หนังสือ เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ ๕ เกิดมาทำไม เล่มนี้มีทั้งหมด ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๓ ที่แท้คนเรามิได้เกิดมา  ตอนที่ ๔ เดินทางอย่าหอบหิ้วอะไรไปและตอนที่ ๕ ใช้หนี้บาปไปพลาง  ถอนลูกศรไปพลาง ถ่ายทอดเนื้อหาในรูปแบบพระธรรมเทศนา เป็นหนังสือที่จะตอบปัญหาที่ ว่า คนเราเกิดมาทำไม แต่ละตอนจะประกอบด้วย พุทธสุภาษิต หลักธรรม ข้อคิด คติสอนใจเพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของคนเรา  นับว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่าเล่มหนึ่ง  


         มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๓๐ กันยายน ๒๔๐๙ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์          พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ เป็นพระราชธิดาลำดับที่ ๗๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๐๙ มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสวตรวรลาภ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญฤทธิเดช          ในเวลาประสูติพระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์นั้น พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เอาช้างไปขายที่เมืองพม่า พระเจ้ามินดงจึงประทานสังวาลเครื่องยศอย่างพม่ามาให้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พวกชาวเชียงใหม่ที่ไม่ชอบใจก็กล่าวหาว่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เอาใจออกหากไปเข้ากับพม่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์จึงเอาสังวาลลงมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพพระมหานคร แล้วทูลเรื่องราวตามจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงระแวงพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ แต่ไม่ทรงรับสังวาลไว้ เพราะทรงรังเกียจว่า จะเป็นการรับเครื่องยศจากพม่า ฝ่ายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ก็ไม่ยอมเอาสังวาลกลับไป เพราะเกรงจะเป็นมลทินว่า ยังคบหาพม่าอยู่ จึงถวายสังวาลนั้นให้แก่พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ โดยให้ช่างปรับปรุงเป็นเครื่องแต่งพระองค์ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า "พวงสร้อยสอางค์"         พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๓ พระชันษา ๘๔ ปี   ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์


      ศิลปะรัตนโกสินทร์  พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)       เดิมอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม       ปัจจุบันจัดแสดง ณ ระเบียงหมู่พระวิมานด้านทิศตะวันตก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       ทัณฑิมา เป็นสัตว์หิมพานต์จำพวกนก ยืนถือกระบอง หัวมีหงอน มีจงอยปากใหญ่และงองุ้ม มีเขี้ยว ๑ คู่ หูแบบหูวัว ตาแบบตาจระเข้ คือเรียวยาว มีแขนเหมือนคน แต่มีแผงขนใต้ท้องแขน มือมี ๕ นิ้ว เล็บแบบนก กลางหลังมีปีก มีหางแบบหางไก่ ขาทั้ง ๒ เรียวเป็นขานก และมีแผงขนที่น่อง ทั้งนี้ “ทัณฑิมา” แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “ผู้ถือกระบอง”       รูปนกทัณฑิมานี้หล่อจากดีบุก ตามประวัติระบุว่าเดิมอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาในรัชกาลที่ ๗ เมื่อมีการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คราวเตรียมการฉลองพระนครอายุครบ ๑๕๐ ปี ในพ.ศ ๒๔๗๔ จึงย้ายมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้งนี้เข้าใจว่าเดิมจะอยู่ที่พระเศวตกุฎาคารวิหารยอด เนื่องจากปัจจุบันมีประติมากรรมนกทัณฑิมา หล่อโลหะที่เป็นงานช่างรุ่นหลังติดตั้งไว้แทน       จากอาฏานาฏิยสูตร ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค กล่าวว่า สระนฬินี สระบัวหลวง ที่วิสาณราชธานี เมืองของท้าวเวสวัณ (ท้าวกุเวร) ในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา มีฝูงนกทัณฑมาณวะ ซึ่งในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินีอรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร อธิบายว่า “หมู่นกทัณฑมาณวกคือนกมีหน้าเหมือนคน ได้ยินว่า นกเหล่านั้น เอาเท้าสองจับไม้ทองคำแล้วเหยียบใบบัวใบหนึ่ง วางไม้ทองคำลงในบัวอันไม่มีระหว่าง เที่ยวไป”       สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงอธิบายเรื่องนกทัณฑิมากับอาฏานาฏิยสูตร ไว้ความว่า “นกทัณฑิมา ในตำราสัตวหิมพาน เขาเขียนตัวเปนครุฑถือกระบอง หัวเปนนกอินทรี แต่ที่ค้นมาได้ตามที่มีในบาลี นกทัณฑมานวก ในสวนท้าวเวสวัณนั้นตัวเล็กเต็มที ว่ามีปากยาวดุจถือไม้ท้าวเที่ยวจดจ้องอยู่บนใบบัว ไปทางพวกนกปากซ่อม...” ดังนั้นในงานจิตรกรรมไทยประเพณีจึงมักจะพบว่านกทัณฑิมาวาดอยู่ในสระน้ำที่มีกอบัว       ***หมายเหตุ ในพ.ศ ๒๔๗๔ เมื่อนำนกทัณฑิมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้จัดแสดงที่ชาลาด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ต่อมานกเหล่านี้ถูกนำ้ฝนและแสงแดดจึงมีสภาพชำรุด กรมศิลปากรได้จำลองนกชุดใหม่มาตั้งแสดงแทน และนำนกทัณฑิมาชุดเดิมไปเก็บรักษาที่ระเบียงด้านหลังหมู่พระวิมานด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๔๒ ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน


ชื่อเรื่อง                     พระอภัยมณี เล่ม 2 ฉบับหอสมุดแห่งชาติผู้แต่ง                       สุนทรโวหาร (ภู่)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดีเลขหมู่                      895.9112 ส498พสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 คลังวิทยาปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               620 หน้า หัวเรื่อง                     พระอภัยมณี    ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระอภัยมณี เป็นวรรณคดีเอกของไทยที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีมีความเป็นเลิศทางด้านกลอนนิทาน เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของสุนทรภู่ และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เล่มที่ 2 นี้กล่าวต่อจากเล่มที่ 1 ตั้งแต่ตอนที่ 36 ถึง 64 และนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนมิถุนายน เรื่อง "หรูอี้" สัญลักษณ์แห่งสิริมงคลวัดนางพญา เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมแบบอยุธยาที่ปรากฏอยู่ในเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หลังจากที่สุโขทัยได้ถูกผนวกรวมอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ลวดลายปูนปั้นที่ประดับอยู่บนผนังวิหารของวัดนางพญา เป็นที่นิยมในศิลปะอยุธยา และล้านนา โดยได้รับอิทธิพลมาจากลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาจีน ลวดลายที่ปรากฏจะพบได้จากงานศิลปกรรมที่สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เช่น ภาพลายเส้นบนแผ่นศิลาเล่าเรื่องชาดก ภายในอุโมงค์วัดศรีชุม สุโขทัย รวมทั้ง ลวดลายบนเครื่องทองในกรุวัดราชบูรณะ อยุธยา โดยการทำลวดลายดังกล่าว ส่งอิทธิพลไปยังล้านนาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทั้งนี้ พบว่างานศิลปกรรมล้านนาเริ่มปรากฏลวดลายที่เป็นลายพรรณพฤกษาลักษณะแบบเดียวกันตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นต้นมา


ชื่อเรื่อง                     ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นชาวลาวโซ่งบ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง                       มานิตา เขื่อนขันธ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   สังคมศาสตร์ เลขหมู่                      305.895910593 ม453ภสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติปีที่พิมพ์                    2541ลักษณะวัสดุ               126 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.   หัวเรื่อง                     ชนกลุ่มน้อย                              ลาวโซ่ง -- ความเป็นอยู่และประเพณี ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           การศึกษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านท้องถิ่นชาวลาวโซ่ง มีความประสงค์ที่รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี เครื่องมือ เครื่องใช้ของชุมชนชาวลาวโซ่งไว้เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ต่อไป



ชื่อเรื่อง                                       สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                          27/3ประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                    พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               40 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.4 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก                  เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           35/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              36 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 130/7เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 166/6 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


Messenger