ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
รายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ณ รัฐสุลต่านโอมาน
ระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม – ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๑. โครงการ งานเทศการแสดงสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน ณ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน
สืบเนื่องจากการที่สถานเอกราชทูต ณ กรุงมัสกัต ได้ขอความอนุเคราะห์กระทรวง วัฒนธรรมจัดส่งคณะช่างฝีมือจำนวน ๘ คน เดินทางไปร่วมงานฝีมือระหว่างประเทศ (International Craft Activities) ภายใต้งาน Muscat Festival 2015 ตามคำเชิญของเทศบาลกรุงมัสกัต โดยเทศบาลมัสกัตจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมงานครั้งนี้ได้แก่ค่าตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศ ค่าที่พักค่าอาหาร ค่ายานพาหนะ ค่าขนส่งอุปกรณ์และค่ายารักษาพยาบาลในกรณีที่เจ็บป่วย (รายละเอียดแนบอยู่ในภาคผนวก) ในการนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้กว้างขวางออกไปทั่วภูมิภาค โดยใช้มิติการทูตเชิงวัฒนธรรม ( Culture diplomacy ) ในการดำเนินงานวัฒนธรรมในเชิงรุกในระดับนานาชาติอันจะเอื้อประโยชน์การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและโอมานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นซึ่งส่งผลต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวระหว่างกันต่อไป รวมทั้งเพื่อให้คนในท้องถิ่นโอมานและนักท่องเที่ยวได้รับรู้ถึงความวิจิตรงดงามและความประณีตของหัตถกรรมไทย ดังนั้นเพื่อให้การเข้าร่วมงานดังกล่าวเป็นไปด้วยความโดดเด่นและสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน จึงเชิญช่างฝีมือด้านปิดทองประดับกระจก ช่างโลหะและศิลาภรณ์ ช่างเขียนและลายรดน้ำและเครื่องเคลือบดินเผาจากสำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม คณะเจ้าหน้าที่จากกรมหม่อนไหมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะช่างฝีมือหัตถกรรมไทย ไปร่วมงานครั้งนี้ระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ (รวมวันเดินทาง)
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อสาธิตและจัดการแสดงผลงานปิดทองประดับกระจก โลหะและศิลาภรณ์
ช่างเขียนและลายรดน้ำ เครื่องเคลือบดินเผา การสาธิตผ้าปัก การเขียนร่มบ่อสร้าง
และการเขียนตุ๊กตาพื้นบ้าน
๒.๒ เพื่อเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
๒.๓ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและรัฐสุลต่านโอมานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
๓. กำหนดเวลา ๑๓ มกราคม – ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โดยแบ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
จำนวน ๒ ชุด ชุดละ ๔ คนรวม ๘ คนดังนี้
ปฏิบัติหน้าที่ราชการชุดที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม- ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
(รวมวันเดินทาง) กลุ่มงานช่างปิดทองและประดับกระจก ช่างเขียนและลายรดน้ำ
ช่างโลหะและศิราภรณ์ ( หัวโขน )
ปฏิบัติหน้าที่ราชการชุดที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๓๐ มกราคม- ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
(รวมวันเดินทาง) กลุ่มงานช่างเขียนและลายรดน้ำ โลหะและศิราภรณ์
เครื่องเคลือบดินเผา
๔.สถานที่ กรุงมัสกัต รัฐสุลต่านโอมาน
สถานที่จัดงาน Al Amerat Park
๕.หน่วยงานผู้จัด เทศบาลกรุงมัสกัต
๖.หน่วยงานที่สนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
กระทรวงวัฒนธรรม
๗.กิจกรรม คณะเดินทางไปปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
คณะผู้ร่วมเดินทาง
๑. นางอัฉริยา บุญสุข นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ
กลุ่มงานช่างโลหะและช่างศิราภรณ์
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๒. นายทศพล ถังมณี นายช่างศิลปกรรมปฏิบัติงาน
กลุ่มงานช่างโลหะและช่างศิราภรณ์
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๓. นางสาวภัคนิจ สรณารักษ์ นักวิชาการช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
กลุ่มงานศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๔. นายสุเพล สาตร์เสริม นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
กลุ่มงานช่างเขียนและลายรดน้ำ
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทวงวัฒนธรรม
๕. นางบุญสนอง เตชะศรี ช่างทำเครื่องดนตรีย่อส่วน
๖. นางพัชรา เป็งอ้าย ช่างเขียนร่มบ่อสร้าง
๗. นายนิคม นกอักษร ช่างเครื่องเงินดุนโลหะ
๘. นายธานินทร์ ชื่นใจ ช่างเขียนลายรดน้ำ
๙. นายจรูญ มุ่งชนะ ช่างเขียนลายบาติก
๑๐. นายหิรัณยากร พูลศักดิ์ ช่างเขียนลายไทย
๑๑. คณะข้าราชการจากกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน ๓ คน
สรุปสาระกิจกรรม
คณะเดินทางได้ดำเนินการสาธิตและจัดแสดงผลงานตามบันทึกระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคมถึงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ โดยคณะเดินทางจำนวน ๔ คน เดินทางไปปฏิบัติงานในช่วงระหว่างวันที่ ๑๓ มกราคม ถึงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น ๒๑ วัน (รวมวันเดินทาง) โดยมีการสาธิตและจัดแสดงผลงานของศิลปินจากประเทศต่างๆทั้งสิ้น ๑๑ ประเทศดังนี้
๑ .รัฐสุลต่านโอมาน ๒. ไทย
๓ .อุสเบกีสถาน ๔. ฝรั่งเศษ
๕. อียิปต์ ๖. อินเดีย
๗. แทนซาเนีย ๘. อิหร่าน
๙. ตุรกี ๑๐. โมรอคโค
๑๑ .จีน
คณะเดินทางได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆจำนวน ๕ แห่ง ดังนี้
๑. วังอัลอะลัม ( Al Alam Palace )
๒. มหามัสยิดสุลต่านคาบูส ( The Sultan Qaboos Grand MosQue )
๓. ตลาดมัตระห์ ( Matrah Soup)
๔. เขื่อน (Wadi Dayqah Dam)
๕. ป้อมนิชวา (Nizwa Fort)
ข้อเสนอแนะกิจกรรม
ปัญหาและอุปสรรค
๑. ห้องจัดแสดงงานไม่มีความเชื่อมต่อกันทำให้บางครั้งผู้เข้าชมงานอาจจะเดินไม่ถึงด้านในของห้องจัดแสดง
๒. ระยะเวลาในการจัดแสดงงานในช่วงเย็นตามเวลาท้องถิ่นต่างจากเวลาในเมืองไทยมากจึงทำ ให้คณะทำงานอ่อนเพลียและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
๓. ปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลน้ำหนักสัมภาระไม่ชัดเจนจึงทำให้เกิดปัญหาในการเดินทาง
ข้อเสนอแนะ
ทางประเทศโอมานควรอำนวยความสะดวกให้แก่คณะที่ไปจัดแสดงงานให้มากกว่านี้เพื่อความสะดวกในการเดินทางและการนำของที่มาจัดแสดงงาน
ผู้แต่ง : จรูญ กุวานนท์โรงพิมพ์ : ประเสริฐอักษรปีที่พิมพ์ : 2502ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.31บ.11856เลขหมู่ : 923.2593 จ173ช
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 2หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ เกิดสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประกอบกับวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health emergency of international concern (PHEIC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ โรคระบาดที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล ในอดีตที่ผ่านมาวิกฤตโรคระบาดลักษณะนี้มิใช่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในฐานะที่พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญด้านวัฒนธรรมหรือด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียนและก่อให้เกิดความเพลิดเพลินใจ เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างเช่นนี้ พิพิธภัณฑ์จะสามารถเข้ามามีบทบาทหรือส่วนร่วมเพื่อช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาดไปได้อย่างไร เราจะมาศึกษากรณีตัวอย่างจากพิพิธภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดวิกฤตโรคระบาดกัน วัณโรคระบาดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ วัณโรค (Tuberculosis) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ โดยการไอหรือจาม หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ติดเชื้อจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ ๕๐ ในประเทศสหรัฐอเมริกาการระบาดของวัณโรคเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงต้นปี ค.ศ.๑๙๐๐ (ประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นต้นมาซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕) จากการวินิจฉัยโรคพบว่าอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้สูงถึง ๑ ต่อ ๗ ซึ่งคนยากจนที่อาศัยอยู่ในเมือง โดยเฉพาะผู้ที่อพยพมาใหม่จากต่างประเทศและอาศัยอยู่ในสภาพแออัดจะมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ เมื่อเป็นโรคผู้คนกลุ่มนี้จะรักษาตนเองอยู่กับบ้าน เนื่องจากไม่ไว้วางใจโรงพยาบาลและการรักษาของแพทย์ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการระบาดของวัณโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงได้ขอความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์ โดยมีแนวคิดคือ การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคโดยใช้สื่อหลายภาษา ควบคู่ไปกับการนำเสนอข้อมูลให้มีขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถสื่อสารกับสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เดิมพิพิธภัณฑ์ถูกมองว่าเป็นคลังเก็บโบราณวัตถุหรือสโมสรสังสรรค์สำหรับชนชั้นสูง แต่จากวิกฤตวัณโรคครั้งนี้พิพิธภัณฑ์ได้มีบทบาทในการให้ความรู้และสามารถเข้าถึงประชาชนในวงกว้างได้โดยตรง ภาพ : เด็ก ๆ จากโรงเรียนของรัฐเข้าแถวใกล้กับทางเข้าทางทิศเหนือและทิศใต้ของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน (American Museum of Natural History) เพื่อเยี่ยมชมนิทรรศการนานาชาติเรื่องวัณโรคในปี ค.ศ.๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๒) จำนวนเฉลี่ย ๖,๐๐๐ คนต่อวันในระยะเวลาสองสัปดาห์ ที่มาภาพMarjorie Schwarzer. (2020). Lessons from History: Museums and Pandemics. Retrieved March 22, 2020, from https://www.aam-us.org/2020/03/10/lessons-from-history-museums-and-pandemics/ ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๐๕ - ๑๙๐๙ (พ.ศ. ๒๔๔๘ - ๒๔๕๒) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกันและสถาบันสมิธโซเนียนได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับวัณโรคจำนวนสองเรื่อง คือ สาเหตุและการแพร่กระจายของวัณโรค และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และจัดทำแผ่นพับหลายภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษายิดดิช และภาษาอิตาลี ที่มีภาพประกอบเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลตนเอง พร้อมป้ายสัญลักษณ์ขนาดใหญ่ ว่า "ห้ามถ่มน้ำลาย" (Don’t Spit) นิทรรศการดึงดูดผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก บางท่านกล่าวว่ามีผู้เข้าชมมากกว่าหนึ่งล้านคนจนทางพิพิธภัณฑ์ต้องขยายเวลาจัดแสดงออกไป นิทรรศการเรื่อง “วัณโรค” ถือเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับสังคมเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ความพยายามในการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการแก่สาธารณะของพิพิธภัณฑ์ในช่วงการแพร่ระบาดของวัณโรค เป็นตัวอย่างของวิธีการที่พิพิธภัณฑ์สร้างบทบาทใหม่ให้กับตนเองในฐานะของสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ ภาพ : โปสการ์ดเนื่องในนิทรรศการนานาชาติเรื่องวัณโรค ปี ค.ศ.๑๙๐๙ เมืองฟิลาเดเฟีย ที่มาภาพ 1909 International Tuberculosis Exhibition Philadelphia Postcard Consumption. Retrieved March 29, 2020, from https://www.worthpoint.com/worthopedia/1909-international-tuberculosis-493487503 ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Flu) ระบาดในปี ค.ศ.๑๙๑๘ (พ.ศ.๒๔๖๑) ไข้หวัดใหญ่สเปนเป็นหนึ่งในโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่าห้าสิบล้านคน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวน สิบหกล้านคน ในประเทศสหรัฐอเมริกาไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจนต้องปิดเมืองเมืองแอตแลนตา แนชวิลล์ ซอลท์เลคซิตี้เป็นการชั่วคราว การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนเป็นเหตุให้อายุขัยของชาวอเมริกันลดลงถึง ๑๒ ปี เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยและอุปกรณ์ เครื่องมือทางด้านการแพทย์เกิดความขาดแคลน ที่เมืองโอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนียเจ้าหน้าที่ได้ ทำการปรับเปลี่ยนหอประชุมเทศบาลรวมถึงหอศิลป์ (ซึ่งปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์เมืองโอ๊คแลนด์แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (Oakland Museum of California)) ให้เป็นโรงพยาบาลฉุกเฉินขนาด ๘๐ เตียง สำหรับพิพิธภัณฑ์พาร์ค (Park Museum) เมืองพรอวิเดนซ์ รัฐโรดไอแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา Mr.Harold Madison นักปักษีวิทยา ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ได้ร่วมกับ Rhode Island School of Design และห้องสมุดสาธารณะของเมือง ออกแบบหลักสูตรเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียนต่างๆ ที่ถูกสั่งปิดเป็นการชั่วคราว เจ้าหน้าที่ได้จัดหัวข้อการเรียนการสอนและกิจกรรมสำหรับเด็กนับตั้งแต่เรื่องชีวิตสัตว์ไปจนถึงทิวทัศน์ในธรรมชาติ ภาพ : พยาบาลอาสาสมัครจากสภากาชาดอเมริกันดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในหอประชุมเมืองโอ๊คแลนด์ในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี ค.ศ.๑๙๑๘ (พ.ศ.๒๔๖๑) หอประชุมนี้ยังเป็นที่ตั้งของหอศิลป์โอ๊คแลนด์ ซึ่งต่อมากลายเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองโอ๊คแลนด์แห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (Oakland Museum of California) ที่มาภาพMarjorie Schwarzer. (2020). Lessons from History: Museums and Pandemics. Retrieved March 22, 2020, from https://www.aam-us.org/2020/03/10/lessons-from-history-museums-and-pandemics/ การระบาดของโรคเอดส์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ในช่วงปลายปี ค.ศ.๑๙๙๐ (พ.ศ.๒๕๓๓) มีผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี(Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV)ประมาณแปดถึงสิบล้านคน อัตราการเสียชีวิตของคนกลุ่มรักร่วมเพศ ผู้มีเชื้อสายแอฟริกัน – อเมริกัน และละตินอยู่ในระดับสูง ข้อมูลเรื่องการติดต่อของโรคยังไม่มีความชัดเจนจึงเป็นเหตุให้ผู้คนต้องประสบกับความหวาดกลัว โดดเดี่ยว และทุกข์ทรมาน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ในปี ค.ศ.๑๙๙๑ (พ.ศ.๒๕๓๔) ศูนย์ควบคุมโรคได้ร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์จำนวนแปดแห่งและสมาคมการแพทย์อเมริกันในการจัดตั้งสมาคมNational AIDS Exhibition Consortium(NAEC) ขึ้น ซึ่งมีแนวคิดในการพัฒนานิทรรศการเพื่อให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์ และเพื่อให้ข้อมูลเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก แนวคิดนี้เกิดขึ้นใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่พิพิธภัณฑ์เริ่มหันมาสนใจที่จะนำเสนอเรื่องราวของผู้คน นอกเหนือไปจากด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ สมาคม NAECได้เริ่มจัดแสดงนิทรรศการเรื่องแรก คือ “What about AIDS” ณ The Franklin Institute เนื้อหานิทรรศการแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ประกอบด้วย บทนำ เอดส์คืออะไร การป้องกันตนเอง และการตอบสนองของสังคมต่อโรคเอดส์ นิทรรศการยังบอกเล่าเรื่องราวของผู้ป่วยโรคเอดส์ ครอบครัว เพื่อน ผู้คนที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย และนักวิจัยที่กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายนี้ อาจถือได้ว่าสมาคม NAEC เป็นผู้บุกเบิกการจัดนิทรรศการด้านสาธารณสุขซึ่งผสมผสานประเด็นด้านมนุษยธรรม สังคม การเมือง เรื่องส่วนบุคคล หรือแม้แต่ศิลปะให้เข้ากับข้อมูลทางการแพทย์ และจัดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนมุมมองและเรื่องราวระหว่างกัน ภาพ : นิทรรศการเรื่อง “What about AIDS”จัดแสดง ณ The New York Hall of Science และ The Franklin Institute เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลวาเนีย เปิดให้เข้าชมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ที่มาภาพ-. “What about AIDS”.HIV/AIDS Prevention Newsletter. 1993. Vol.4, No.3. 3-4. Retrieved March 26, 2020, from https://play.google.com/books/reader?id=ea2HADGS9XQC&hl=th&pg=GBS.RA7-PA6 จากวิกฤตการณ์และการรับมือกับโรคระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกาดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ด้วยความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์กับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานด้านสาธารณสุข พิพิธภัณฑ์จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยรับมือกับโรคระบาดเหล่านี้ อาทิเช่น การให้ใช้อาคารสถานที่สำหรับรองรับผู้ป่วย การเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาด ไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลทางด้านการแพทย์ แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องความสัมพันธ์ในสังคม วิถีชีวิต มนุษยธรรม ให้แก่สาธารณชนได้รับทราบ นอกจากนั้นยังพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอนให้แก่สถานศึกษาในช่วงที่ถูกสั่งปิดเป็นการชั่วคราวได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนอีกด้วย ปัจจัยที่เอื้อให้พิพิธภัณฑ์สามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์มีความพร้อมในเรื่องของบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ องค์ความรู้ที่เชื่อถือได้ เทคนิคการนำเสนอข้อมูลให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย สื่อการจัดแสดงที่น่าสนใจ เครือข่ายที่เข้มแข็ง ฐานลูกค้าจำนวนหนึ่งซึ่งจะเป็นผู้รับข้อมูลข่าวสารและบอกต่อ ภาพลักษณ์ในการเป็นสถาบันที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐาน อาคารของหน่วยงานที่มีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัย ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยซึ่งมีภารกิจที่คล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถศึกษาเป็นกรณีตัวอย่างและประยุกต์ใช้กับภารกิจของพิพิธภัณฑ์ เพื่อยกระดับให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์ ----------------------------------------------------- บทความโดย น.ส.เบญจพร สารพรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี บรรณานุกรม อนุวัฒน์ กีระสุนทรพงษ์. (๒๕๕๙). ความรู้เกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์. สืบค้นเมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๓, จาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2016/hiv-aids-infection-treatment National Archives and Records Administration. The deadly virus: The influenza epidemic of 1918. Retrieved March 25, 2020, from https://www.archives.gov/exhibits/influenza-epidemic/index.html Schwarzer, Marjorie. (2020). Lessons from History: Museums and Pandemics. Retrieved March 22, 2020, from https://www.aam-us.org/2020/03/10/lessons-from-history-museums-and-pandemics/ -. What about AIDS.HIV/AIDS Prevention Newsletter. 1993. Vol.4, No.3. 3-4. Retrieved March 26, 2020, from https://play.google.com/books/reader?id=ea2HADGS9XQC&hl=th&pg=GBS.RA7-PA6 -. 1909 International Tuberculosis Exhibition Philadelphia Postcard Consumption. Retrieved March 29, 2020, from https://www.worthpoint.com/worthopedia/1909-international- tuberculosis-493487503
ชื่อผู้แต่ง : สีหราชฤทธิไกร , พระยาชื่อเรื่อง : นิทานเทียบสุภาษิตครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๕สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ : เจริญวิทย์การพิมพ์ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๓จำนวนหน้า : ๗๐ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายหนู พฤกษนันท์ - นางสาวส้มเกลี้ยง พฤกษนันท์ ณ เมรุวัดพุทธรักษา วันอาทิตย์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ นิทานเทียบสุภาษิตนี้เป็นเรื่องแปลกที่มีคุณค่าและเป็นแนวทางสอนที่ดีให้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อไป
ชื่อเรื่อง : พระแท่นดงรัง กาญจนบุรี
ชื่อผู้แต่ง : คณะกรรมการวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
ปีที่พิมพ์ : 2518
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : ศิริมิตรการพิมพ์
จำนวนหน้า : 62 หน้า
สาระสังเขป : พระแท่นดงรัง ตั้งอยู่ในหมู่ 7 ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะเป็นหินแท่งทึบหน้าลาด รูปคล้ายแท่นหรือเตียงนอน เล่ากันมาแต่ก่อนว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทมแล้วปรินิพพานบนพระแท่นนี้ และมีต้นรังขึ้นอยู่ริมพระแท่นข้างละต้นโน้มยอดเข้าหากัน ในปัจจุบันมีการสร้างวิหารครอบพระแท่นไว้ เป็นวัดมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา และมีต้นรังขึ้นอยู่ทั่วไป
พระราชพิธีสิบสองเดือน
พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๕ ในคํานําระบุว่า เป็นพระราชพิธีสําหรับ ปฏิบัติในพระนครซึ่งมีมา ตั้งแต่อดีต พระราชพิธีเหล่า นี้เกิดขึ้นจากความเชื่อในด้าน ไสยศาสตร์ที่มีการนับถือ พระเจ้าต่าง ๆ ในศาสนา พราหมณ์ และส่วนหนึ่งเกิด จากความเชื่อความศรัทธา ในพุทธศาสนาควบคู่กัน ดัง นั้นในพระราชพิธีบางอย่าง จึงเป็นการผสมผสานระหว่างพราหมณ์และพุทธ
ในพระราชกําหนดกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงพระราชพิธีประจําเดือนทั้ง ๑๒ เดือนไว้ว่า เป็น กิจซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงทําเพื่อเป็นมงคลสําหรับพระนคร ทุกปีมิได้ขาด ดังนี้
เดือนห้า พระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตรออกสนาม
เดือนหกพิธีไพศาขย์ จรดพระราชนังคัล
เดือนเจ็ดทูลน้ำล้างพระบาท
เดือนแปดเข้าพรรษา
เดือนเก้าตุลาภาร
เดือนสิบภัทรบทพิธีสารท
เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
เดือนสิบสองพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
เดือนอ้ายไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวาย
เดือนยีการพิธีบุษยาภิเศก เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
เดือนสามการพิธีธานยเทาะห์
เดือนสี่การพิธีสัมพัจฉรฉินท์
การพระราชพิธีดังข้างต้นนี้แตกต่างจากพระราชพิธี ที่ปรากฏในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงที่ระยะ เวลาในการจัดพระราชพิธีต่าง ๆ ไม่ตรงกันบ้างในบางเดือน ซึ่งจะขอเรียงตามลําดับเดือน ทั้ง ๑๒ ตามบทพระราช นิพนธ์ ดังนี้
เดือนสิบสอง พิธีจอง เปรียง พระราชพิธีลอยพระประทีป
เดือนอ้ายพิธีไล่เรือ เฉวียนพระโคกินเลี้ยง
เดือนยีพระราชพิธี บุษยาภิเษก พระราชพิธี ตรียัมพวาย ตรีปวาย
เดือนสามพิธีธานยเทาะห์ พระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน
เดือนสี่พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์
เดือนห้าพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล
เดือนหกพระราชพิธีพืชมงคล พิธีจรดพระนังคัล
เดือนเจ็ดพระราชพิธีทูลน้ำล้างพระบาท
เดือนแปดพระราชพิธีเข้าพรรษา
เดือนเก้าพิธีตุลาภาร
เดือนสิบพระราชพิธีสารท
เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
การพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนเกิดขึ้น จากรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดําริว่าคําโคลงพระราชพิธี ทวาทศมาสซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบําราบปรปักษ์ ทรงแต่งขึ้นไว้ และกรรมสัมปาทิกได้นําลงไว้ในหนังสือวชิรญาณ แต่ไม่ครบทั้งสิบสอง เดือน อีกทั้งถ้อยคําในโคลงอาจเป็นที่เข้าใจยากสําหรับผู้ที่ไม่ สันทัดในโคลงกลอน จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นความเรียง เพื่อยังประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักการพระราชพิธีสืบต่อไป
สารกรมศิลปากร ฉบับประจําปี ๒๕๕๑ นี้จึงขอนํา เสนอเรื่องราวของพระราชพิธีสิบสองเดือน ประกอบกับภาพ จิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระราชพิธีนี้ ซึ่งมีปรากฏอยู่ที่วัด ราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ
พิธีตรียัมปวายตรีปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า เป็นพระราช พิธีหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือนที่กระทํากันในเดือนยี่ เป็น พิธีสําคัญของศาสนาพราหมณ์ คือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของ พราหมณ์ ในพิธีนี้ตามลักษณะของพิธีจะแยกเป็น ๒ อย่าง คือ พิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีเกี่ยวกับพระอิศวร และพิธีตรีปวาย เป็นพิธีเกี่ยวกับพระนารายณ์ พิธีโล้ชิงช้านี้กระทํามา ตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบแน่ชัด
พิธีตรียัมปวายตรีปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าเป็นพิธีต่อ เนื่องกัน ๑๕ วัน มีการแต่งตั้งข้าราชการผู้ใหญ่เป็นประธาน ในพิธี เรียกว่า พระยายืนชิงช้า ส่วนการโล้ชิงช้าจะกระทํากัน ตั้งแต่วันขึ้น ๗ ค่ําเดือนยี่ ถึงวันขึ้น ๔ ค่ํา ชาวบ้านมักเรียก กันว่า“๗ ค่ําถีบเช้า ๕ ค่ําถีบเย็น” พิธีนี้มีติดต่อกันมาจน ถึงรัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๗๘ ก็ยกเลิกไป และได้ฟื้นฟูอีก ครั้งเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน เดือนสาม...พิธีธานยเทาะห์
พิธีธานยเทาะห์ หมายถึงพิธีเผาข้าว มีพระจันทกุมาร เป็นผู้ฉลองพระองค์ออกไปทําพิธี โดยตั้งโรงพิธีที่ทุ่งนา เรียก ทุ่งหันตราซึ่งเป็นทุ่งนาหลวง มีกระบวนแห่เหมือนพิธีแรกนา แล้วเอารวงข้าวมาทําเป็นฉัตรปักไว้หน้าโรงพิธี จากนั้นนําไฟ จุดรวงข้าว มีการสมมติคนให้เป็นพระอินทร์ฝ่ายหนึ่งและ พระพรหมฝ่ายหนึ่งเข้าแย่งรวงข้าวกัน ข้างใดแย่งได้มีคํา ทํานายซึ่งล้วนแต่เป็นคําทํานายในทางที่ดีทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อ เป็นการสร้างขวัญและกําลังใจให้กับผู้คน และพิธีนี้ยังสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกับพิธีจรดพระนังคัลเพื่อให้เป็นการสวัสดิมงคลแก่ ธัญญาหารซึ่งเป็นเสบียงสําหรับพระนคร | ในเดือนสามนี้ยังมี “การพระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน”
ตรงกับเดือนยี่บ้าง เดือนสามบ้างขึ้นอยู่กับปฏิทินจีน การนี้ เริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรง เห็นว่าสิ่งของที่คนจีนนํามาถวายมีมาก ทั้งสุกร เป็ด ไก่ จึง โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์และท้าวนางในจัดเรือขนมจีนมา จอดที่หน้าตําหนักแพ เพื่อถวายพระสงฆ์ฉันแล้วจึงได้เลี้ยง ข้าราชการต่อ เพื่อให้เป็นไปในการพระราชกุศล ในสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนจากเรือขนมจีนเป็น เกาเหลา ด้วยทรงพระราชดําริว่าขนมจีนสักแต่ว่าชื่อเป็นจีนเท่า นั้น แต่ก็ได้เปลี่ยนเป็นเรือขนมจีนอย่างเดิมในสมัยรัชกาลที่ ๕
เรื่องที่ 352 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบุญญวาสวิหาร ต.ท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับล่องชาติ ไม้ประกับชาดทึบ มีทั้งหมด 11 ผูก พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นผู้แต่ง นายพร้อม,นางน้อย เป็นผู้สร้าง เนื้อหาเกี่ยวกับชาดก เรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องหนึ่งในทศชาติชาดก กล่าวถึงพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ในการบำเพ็ญทานบารมี ก่อนจะทรงอุบัติเป็นพระโคตมพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "มหาชาติชาดก" ในการเทศนา เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ" มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ 1.กัณฑ์ทศพร มี 19 พระคาถา 2.กัณฑ์หิมพานต์ มี 134 พระคาถา 3.กัณฑ์ทานกัณฑ์ มี 209 พระคาถา 4.กัณฑ์วนประเวศน์ มี 57 พระคาถา 5.กัณฑ์ชูชก มี 79 พระคาถา 6.กัณฑ์จุลพน มี 35 พระคาถา 7.กัณฑ์มหาพน มี 80 พระคาถา 8.กัณฑ์กุมาร มี 101 พระคาถา 9.กัณฑ์มัทรี มี 90 พระคาถา 10.กัณฑ์สักกบรรพ มี 43 พระคาถา 11.กัณฑ์มหาราช มี 69 พระคาถา 12.กัณฑ์ฉกษัตริย์ มี 36 พระคาถา 13. กัณฑ์นครกัณฑ์ มี 48 พระคาถาเลขทะเบียน จบ.บ.352/1-11
ปราณ ปรีชญา.ร่องรอยและความหมายในคำขวัญจันทบูร.(2) : 6 ; ส.ค.-ก.ย.60
ร่องรอยและความหมายในคำขวัญจันทบูร
น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมาเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี
ในเรื่องจะกล่าวถึงเหตุการณ์อันเป็นที่มาของคำขวัญ ว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สภาพเศรษฐกิจในอดีตยังไง อะไรเป็นเหตุทำให้ต้องมีคำขวัญ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการพัฒนาการของคำขวัญจนถึงที่ใช้อยู่ในอดีตจนปัจจุบันว่าต่างกันยังไง ตลอดจนความหมายของ ของแต่ละวรรค ของคำขวัญว่าสื่อถึงของดี และเอกลักษณ์ ของเมืองจันทบุรีเอาไว้
พิธีปลูกยางรัก ตามโครงการทดลองปลูกป่ารักเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยประธานในพิธีโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ณ บารายปราสาทเมืองต่ำ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์วันจันทร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
เล่าเรื่องประติมานวิทยา: วิชาธร/วิทยาธร (vijādhara/vidyādhara) วิชาธร หรือ วิทยาธร แปลตามศัพท์ว่า “ทรงไว้ซึ่งวิชา” คำว่า “วิทยา” แปลว่า ความรู้ ส่วนคำว่า “ธร” แปลว่า แบก ถือ หมายถึง ผู้มีวิชากายสิทธิ์, ผู้มีฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยวิทยาอาคมหรือของวิเศษ จัดเป็นเทวดาชั้นต่ำ ครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ อาศัยระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ มีหน้าที่บำเรอเทพเจ้า บางทีเรียกว่า พิทยาธ หรือ เพทยาธร เพศหญิงเรียกว่า วิทยารี หรือ พิทยารี (Vidyādharī) ปรากฏในคติศาสนาต่างๆ ของอินเดีย ในศาสนาพราหมณ์ กล่าวกันว่าวิทยาธรเป็นผู้รับใช้พระศิวะ อาศัยอยู่ยังเทือกเขาหิมาลัย บางแห่งกล่าวว่าเป็นผู้รับใช้พระอินทร์ พวกวิทยาธรสร้างวิมานอากาศอยู่บนยอดเขาวินธัย มีบ้านเมืองงดงามราวกับสวรรค์ มีพระราชาปกครองกันเอง ราชาของวิทยาธรมีนามว่า สรรวารถสิทธะ (Sarvārthasiddha) เหล่าวิทยาธรมีฤทธิ์และมนต์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ จึงมีนามเรียกว่า เขจร (Khecara) หรือ นภาจร (Nabhacara) แปลว่า ผู้เคลื่อนไปในอากาศ ผู้ชายมีฤทธิ์ด้วยมนต์และพระขรรค์ชุบด้วยเหล็กวิเศษ เพียงแต่ร่ายมนต์แกว่งพระขรรค์ก็เหาะไปได้ สำหรับผู้หญิงไม่มีพระขรรค์ แต่มีปีกหางช่วยให้ลอยไปในอากาศ หรือต้องใช้เวทย์มนต์เรียกพระพายให้พัดตัวลอยไปในอากาศ มีนามอื่น ๆ เช่น กามรูปิน (Kāmarūpin) หมายถึงผู้บิดเบือนรูปได้ตามความใคร่ ปริยาวาท (Priyavada) ผู้มีวาจาอ่อนหวาน วิทยาธร ทำรูปปราศจากปีก มีรูปร่างสวยสง่างาม ล่องลอยอยู่ระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ ประกอบอยู่กับรูปของเทพเจ้า ตกแต่งตามวัดและเทวาลัย มือถือพระขรรค์ เป็นเครื่องตัดอวิชาและฟาดฟันปีศาจ หรือถือพวงมาลัย (วนมาลา-vanamālā) เป็นเครื่องหมายของชัยชนะ หรือแก้วรัตนะ (ratna) เป็นสัญลักษณ์ บางครั้งปรากฏในรูปครึ่งบนเป็นมนุษย์และครึ่งล่างเป็นนก ในทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าวิทยาธรเป็นคนพวกหนึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเขาวินธัยทางทิศใต้ของอินเดียตั้งแต่ดึกดำบรรพ เรียกชาติตนว่าวิทยาธร เพราะเป็นชาติที่ทรงศิลปวิทยาเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น ชาติวิทยาธรคงเสื่อมสูญนานแล้ว แต่ยังคงปรากฏชื่อเสียงอยู่ในเรื่องนิทานเก่า ๆ คนบางพวกที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาวินธัยทุกวันนี้ คงสืบสายมาจากพวกวิทยาธรไม่มากก็น้อย วิทยาธรมักเกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยมากมักมีใจดี มีนิสัยชอบสตรี มักผิดศีลข้อกาเม หรือเกี่ยวข้องอยู่กับสตรี ภาพประกอบ 1. วิทยาธร ถือช่อมาลา เหาะลอยในอากาศ ดินเผา ศิลปะอินเดีย ภาพจาก musée Guimet, Parisภาพประกอบ 2. วิทยาธร ศิลาสลัก ศิลปะอินเดีย ภาพจาก musée Guimet, Paris ภาพประกอบ 3. วิทยาธร ในท่าเหาะไปในท้องฟ้า งาแกะสลัก ปากีสถาน ภาพจาก British Museumภาพประกอบ 4. วิทยาธร ภาพประกอบสมุดไทย ศิลปะรัตนโกสินทร์ ภาพจาก Asian Art Museum ---------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อ้างอิงจาก 1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. 2. กถาสริตสาคร (สาครเป็นที่รวมกระแสนิยาย) กถาบิฐ และกถามุข โดย “เสถียรโกเศศ”. องค์การค้าของคุรุสภา, 2507. 3. เจือ สตะเวทิน. ตำรับวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2522. 4. Liebert, Gosta. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. 5. Stutley , Margaret. The illustrated dictionary of Hindu iconography. London : Routledae & Kegan Paul, 1985.