ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อผู้แต่ง พระธรรมคุณาภรณ์ พระวรภักดิ์พิบูลย์และวิเชียร จีรวงส์
ชื่อเรื่อง ปกิณกคดี นิพพานในความตรึกตรองของข้าพเจ้า โสม
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์
ปีที่พิมพ์ 2509
จำนวนหน้า 38 หน้า
รายละเอียด
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสำเภา บำรุงศรี ณ ฌาปนสถานวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วย ประวัติสังเขปนางสำเภา บำรุงศรี ปกิณกคดี โดยพระธรรมคุณาภรณ์ นิพพานในความตรึกตรองของข้าพเจ้า โดยพระวรภักดิ์พิบูลย์และโสม ยาสมุนไพรค่าล้ำของจีน โดยวิเชียร วีรวงศ์ พร้อมภาพประกอบ
โบราณสถานวัดช้างรอบตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรัง นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ผังของตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรากฏแนวกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ สิ่งก่อสร้างสำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ซึ่งรูปแบบการสร้างขององค์เจดีย์ได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย เจดีย์ประธานประกอบด้วยฐานประทักษิณสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีบันไดอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่ เพื่อใช้ขึ้นไปถึงลานด้านบนหรือลานประทักษิณ ส่วนของผนังฐานสี่เหลี่ยมของเจดีย์ประธานประดับประติมากรรมรูปช้างปูนปั้นจำนวน ๖๘ เชือก ลักษณะของงานประติมากรรมรูปช้างปรากฏเฉพาะส่วนหัวและสองขาหน้าโผล่พ้นจากฐานประทักษิณ มีการประดับลวดลายปูนปั้นที่บริเวณแผงคอ มงกุฎที่ส่วนหัว กำไลโคนขาและข้อเท้า ผนังระหว่างช้างแต่และเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนต่ำรูปพันธุ์พฤกษา โดยลวดลายปูนปั้นรูปใบระกาที่ปรากฏบนแผงคอประติมากรรมรูปช้างมีความคล้ายคลึงกับลายชายผ้าของเทวรูปพระอิศวรสำริด ที่พบยังเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีจารึกที่ระบุปี พ.ศ. ๒๐๕๓ จึงสามารถกำหนดอายุด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรม (Comparative dating) ได้ว่าเจดีย์ประธานวัดช้างรอบแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ชานบันไดแต่ละด้านประดับสิงห์และทวารบาลปูนปั้น บันไดด้านบนสุดที่เข้าสู่ลานประทักษิณทำเป็นซุ้มประตูมีหลังคายอดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนของลานประทักษิณก่ออิฐเป็นกำแพงเตี้ย ๆ ล้อมรอบและเชื่อมต่อซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน ทั้งสี่มุมของลานประทักษิณมีฐานเจดีย์ขนาดเล็ก พบหลักฐานส่วนยอดที่หักเป็นเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง ส่วนของเจดีย์ที่อยู่เหนือชั้นฐานประทักษิณคงเหลือเฉพาะชั้นหน้ากระดานแปดเหลี่ยมและชั้นหน้ากระดานกลม ส่วนองค์ระฆังขึ้นไปพังทลายหมดแล้ว ที่ชั้นหน้ากระดานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยมมีช่องรอบองค์เจดีย์และประดับภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ เช่น ตอนเจ้าชายสิทธัตถะทรงประลองศร เป็นต้น โดยภาพปูนปั้นเหล่านี้ มีลักษณะพิเศษคือการใช้สีดำร่างลายเส้นรูปภาพก่อน แล้วจึงใช้ปูนปั้นทับลายเส้นภายหลัง ส่วนบริเวณด้านล่างของภาพปูนปั้นมีการประดับด้วยประติมากรรมดินเผารูปหงส์และกินรี ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีฐานวิหารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ภายในวิหารปรากฏแนวแท่นอาสนสงฆ์และฐานประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เสารองรับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยม หลังคาแต่เดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา โดยพบหลักฐานโบราณวัตถุประเภทกระเบื้องดินเผาแบบกาบกล้วยและกระเบื้องเชิงชายลายดอกบัวและลายเทพพนม กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ถัดไปทางด้านหน้าวิหารเป็นสระรูปสี่เหลี่ยมที่ขุดตัดลงไปในชั้นศิลาแลงเพื่อนำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร ส่วนอุโบสถอยู่เยื้องวิหารไปทางทิศเหนือ มีใบเสมาทำจากหินชนวนปักโดยรอบ ตัวอาคารก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานอุโบสถก่อเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมมีบันไดทางด้านหน้าเพียงแห่งเดียว บนอาคารอุโบสถปรากฏร่องรอยของฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนโกลนของหน้าตัก เจดีย์ทรงระฆังที่มีการประดับประติมากรรมรูปช้างล้อมรอบฐานของเจดีย์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เจดีย์ช้างล้อม นั้น นิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย อาทิ วัดช้างล้อมแห่งเมืองศรีสัชนาลัย วัดช้างล้อมและวัดสรศักดิ์ แห่งเมืองสุโขทัย เป็นต้น สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมและคติการสร้างเจดีย์ช้างล้อม จากการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนาผ่านทางเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๙ – ๓๑ ความว่า “...สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวักกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา…” และจากหลักฐานการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนากับศรีลังกา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุม ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๕๑ – ๕๘ ความว่า “…หมทลาประดิษฐานไว้ด้วยพระบาทลักษณะหั้นพระบาทลักษณะนั้นไซร้ พระยาธรรมิกราชให้ไปพิมพ์เอารอยตีน…..พระเป็นเจ้าเถิงสิงหลอันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพต ประมานเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้…อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองศรีสัชชนาลัยเหนือจอมเขา…อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองสุโขไทยเหนือจองเขาสุมนกูฏ อันหนิค่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง อันหนึ่งประดิษฐานไว้เหนือ จอมเขาที่ปากพระบาง จารึกก็ยังไว้ด้วยทุกแห่งฯ...” ลักษณะการสร้างวัดช้างรอบ ที่เจดีย์ประธานมีประติมากรรมรูปช้างประดับโดยรอบนั้น สันนิษฐานว่ามีแนวคิดหลักมาจากคติเรื่องศูนย์กลางจักรวาล โดยสื่อว่าเจดีย์ประธานทรงระฆังคือเขาพระสุเมรุ ซึ่งมีองค์ประกอบที่ใช้ประดับตกแต่งโดยรอบคือสัญลักษณ์ที่ใช้เปรียบเทียบเป็นส่วนต่าง ๆ โดยรอบเขาพระสุเมรุ เช่น ช้างที่มีหน้าที่แบกหรือค้ำจุนเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นต้น ----------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ----------------------------------------เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑. ประทีป เพ็งตะโก. “กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๖๓. อนันต์ ชูโชติ. “เจดีย์วัดช้างรอบ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร.” สาระนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๒๓.
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 648(242)
วันที่ 21-28 กุมภาพันธ์ 2534
อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา
กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์
พระยาโบราณราชธานินทร์เรียบเรียงขึ้นเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการพระราชพิธีทรงบวงสรวงอดีตมหาราชเจ้าที่พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน คือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และ และพรรณนาถึงภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา ต่อมาพิมพ์รวมในหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๓
ชื่อเรื่อง : ไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2497 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 1,082 หน้าสาระสังเขป : หนังสือไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ กล่าวถึงการเสด็จไปยุโรปครั้งหลัง ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพรรณาถึงสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทอดพระเนตรเห็น และกิจการที่ทรงทราบ รวมทั้งกระแสพระราชวินิจฉัยในเรื่องนั้น ๆ พรรณาว่าด้วยถิ่นฐานบ้านเมือง แลบรรยายถึงขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ของนานาประเทศ
สืบเนื่องจากบทความเรื่อง การดำเนินงานทางโบราณคดีโบราณสถานวัดเขาพระบาทใหญ่ (ต.ต. 45) ก่อนหน้าที่ทางแอดมินเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เผยแพร่ไป ซึ่งได้เกริ่นถึงรอยพระพุทธบาทที่วัดเขาพระบาทใหญ่ไว้ว่า เมื่อ พุทธศักราช 1902 พระมหาธรรมราชาลิไททรงโปรดฯ ให้จำลองแบบรอยพระพุทธบาทจากเขาสุมนกูฏ ประเทศศรีลังกา และสร้างรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ ณ ยอดเขาสุมนกูฏ (เขาพระบาทใหญ่) บริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองสุโขทัย ในครั้งนี้ทางเพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยจะขอนำเสนอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท อันถือเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่พบจากเขาพระบาทใหญ่ รอยพระพุทธบาทได้ประดิษฐานไว้ ณ ฐานประดิษฐานรอยพระพุทธบาททางทิศตะวันตกของวิหารวัดเขาพระบาทใหญ่ จนกระทั่งเมื่อพุทธศักราช 2470 ท่านเจ้าคุณโบราณวัตถาจารย์ ได้เล็งเห็นว่า หากยังคงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้ที่บนเขาวัดพระบาทใหญ่ในที่เดิมต่อไป อาจถูกผู้ร้ายทุบแตกทำลาย หรือทำให้เสียหายได้ จึงเกณฑ์ชาวบ้านและพระเณรบ้านธานี และบ้านเมืองเก่า อัญเชิญพระพุทธบาทศิลาลงมาจากเขาพระใหญ่ โดยใช้แรงคนจำนวนมากชักลากด้วยความระวัง คือ ใช้หม่อนไม้ท่อนกลม ๆ หลายอันเป็นหมอนลูกกลิ้งมีไม้กระดานรองรอยพระพุทธบาท ใช้เชือกที่ทำด้วยหนังสัตว์ขันชะเนาะ 3 สาย ขึงตรึงไว้กับต้นไม้ ค่อย ๆ ปล่อยเชือกประคองพระพุทธบาทลงมา แล้วจึงใส่ล้อเกวียนนำไปประดิษฐานไว้ที่มณฑปกลางน้ำในวัดตระพังทองดังปรากฏเช่นในปัจจุบัน รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทข้างขวา จำหลักหินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดกว้าง 202 เซนติเมตร ยาว 207 เซนติเมตร บริเวณภายในกรอบหินที่สลักเป็นพระบาทพุทธบาทมีขนาดความกว้าง (วัดจากขอบนอกนิ้วหัวแม่เท้าถึงขอบนอกของนิ้วก้อย) 58 เซนติเมตร ยาว (วัดจากปลายสุดของนิ้วกลางถึงปลายสุดของส้นพระบาท) 131 เซนติเมตร ตรงกลางรอยฝ่าพระพุทธบาทสลักเป็นธรรมจักรขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21 เซนติเมตร และสลักเป็นตารางสี่เหลี่ยมเป็นช่อง ๆ อยู่โดยรอบธรรมจักร แกะสลักภายในเป็นภาพเขียนมงคล 108 ประการอยู่ภายใน ลักษณะการของการจัดวางลวดลายมงคล 108 ประการ ที่บรรจุอยู่ในช่องตาราง และเว้นที่ตรงกลางพระบาทสำหรับลวดลายธรรมจักรนี้ มีความคล้ายคลึงกับรอยพระพุทธบาทบาทที่พบในพุกาม ประเทศเมียนมาร์ บริเวณพื้นที่ส่วนล่างขนาบข้างทางด้านซ้ายของรอยพระพุทธบาท สลักเป็นภาพพระพุทธสาวกยืนพนมมือถือช่อดอกไม้หันหน้าเข้าหารอยพระพุทธบาท ซึ่งแสดงออกถึงการกราบไหว้ บูชารอยพระพุทธบาทอย่างนอบน้อมคารวะ ความสูงของพระพุทธสาวกเฉพาะส่วนองค์ (จากเศียรถึงพระบาท) 40 เซนติเมตร โดยพระพุทธสาวกยืนอยู่บนแท่นขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร สูง 9 เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ส่วนล่างขนาบข้างทางด้านขวาของรอยพระพุทธบาท สลักเป็นภาพพระอิศวรยืนย่อองค์อ่อนน้อมพนมมือถือดอกไม้หันหน้าเข้าหารอยพระพุทธบาท พระอิศวรมีขนาดความสูงเท่ากันกับภาพพระพุทธสาวก องค์พระอิศวรทรงสวมมงกุฎ สร้อยสังวาล เครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย ส่วนบริเวณขอบแผ่นศิลาของรอยพระพุทธบาทแกะสลักเป็นรูปดอกจันทร์เรียงกันเป็นขอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อไปกับขอบแผ่นศิลา ด้านยาวมีดอกจันทร์ด้านละ 35 ดอก ด้านกว้างมีดอกจันทร์ด้านละ 19 ดอก รวมทั้งสี่ด้านมีจำนวน 108 ดอก การสร้างรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาสุมนกูฏของพระมหาธรรมราชาลิไทเป็นการจำลองมาทั้งลักษณะรูปแบบของรอยพระพุทธบาท และชื่อเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท แสดงให้เห็นถึงการเน้นย้ำว่ารอยพระพุทธบาทมีความสำคัญ อันประดิษฐานอยู่บนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คือเขาสุมนกูฏดังเช่นที่ประเทศศรีลังกา อีกทั้งยังแสดงถึงการรับคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ อันสัมพันธ์กับหลักฐานการรับพุทธศาสนาประเภทอื่น ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ด้วย เช่น การปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ คติเรื่องเจดีย์ช้างล้อม เจดีย์ทรงลังกา เป็นต้น ดังนั้นเขาพระบาทใหญ่จึงถือเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเมืองสุโขทัย ซึ่งมีความสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ผู้คนสามารถใช้ประโยชน์ได้ และในแง่ของการเป็นเขตพุทธสถานบนเขาตามคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ของเมืองสุโขทัยด้วย------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูลโดย นายสุเมธ สารีวงษ์ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย------------------------------------------------สามารถอ่านหรือดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/.../10l0fRTLev.../view... อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาท หนังสือที่ระลึกพระราชพิธียกจุลมงกุฏและสมโภชพระพุทธบาทจังหวัด สระบุรี พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542. นันทนา ชุติวงศ์. รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2533. . ติดตามข้อมูลอื่นๆได้ที่เพจอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย https://www.facebook.com/skt.his.park หรือให้คำแนะนำข้อมูลได้ที่โพสต์ต้นฉบับ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3920864161299396&id=180332008685982
เศียรพระพุทธรูปหินทรายพบที่วัดพระแก้ว กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรและศิลปะสุโขทัยผสมผสานกันอย่างงดงาม ลักษณะพระพักตร์รูปไข่แบบพระพุทธรูปสุโขทัย ขมวดพระเกศาเล็ก พระอุษณีษะเป็นต่อมนูนใหญ่ พระรัศมีหายไป มีไรพระศกอยู่เหนือพระนลาฏ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบลงต่ำ พระนาสิกโด่ง ปลายพระนาสิกงุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์มีเส้นขอบสองชั้นทำให้ดูคล้ายมีพระมัสสุอยู่เหนือพระโอษฐ์ พระพักตร์แสดงอาการยิ้มเล็กน้อย ไม่เคร่งขรึมตามแบบพระพุทธรูปศิลปะเขมรทั่วไป ถือเป็นเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดที่มีการค้นพบจากบริเวณเมืองกำแพงเพชร
เอกสารอ้างอิง
- กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.
- กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : สมาพันธ์, ๒๕๕๒.
เรียบเรียงโดยนางสาวมาริษา เสนอิ่ม พนักงานประจำห้องพิพิธภัณฑ์อย่าลืมสแกน QR-Code แผ่นพับเรื่องเศียรพระพุทธรูปหินทรายด้วยนะคะ
เลขทะเบียน : นพ.บ.110/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 72 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 61 (179-187) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : พระเจ้า 28 พระองค์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.143/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง สุภาภรณ์ ขำสุวัฒน์และชวนธนากร ขำสุวัฒน์
ชื่อเรื่อง ไทยเสียดินแดนให้ฝรั่งเศษ และสวนอักษร
ครั้งที่พิมพ์
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรวัฒนา
ปีที่พิมพ์ 2495
จำนวนหน้า 30
หมายเหตุ พิมพ์ในงานพระราชเพลิงศพพระยาอภัยรณฤทธิ์(เกษียร อมาตยกุล)
สาเหตุและลำดับเหตุการณ์ข้อพิพาทระหว่างไทยกับประเทศฝรั่งเศสในการเสียดินแดนพระตะบอง เสียมราช และศรีโสภณ ส่วนสวนอักษรเป็นการรวบรวมพระบรมราโชวาทของ ร6 และคำกล่าวที่ให้คติของบุคคลสำคัญในยุคนั้น
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.12/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)