ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง : ประมวลพิธีมงคลของไทย ชื่อผู้แต่ง : จันทร์ ไพจิตร ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง จำนวนหน้า : 488 หน้าสาระสังเขป : เป็นหนังสือที่ประมวลพิธีต่างๆ ตั้งแต่เกิดตลอดจนมีชีวิต – ตาย และตายไปแล้ว พิธีทั้งหลายมีอยู่ในหนังสือครบบริบูรณ์ จึงเหมาะแก่พ่อบ้าน สมภารเจ้าวัด ภิกษุ สามเณร และบุคลลทั่วไป ในหนังสือนี้ พิธีบางอย่าง นอกจากจะกล่าวจำเพาะเจาะจงแล้ว ข้าพเจ้าพยายามให้ความรู้ในเรื่องเดียวกันกว้างออกไป ตามที่เห็นสมควร บางอย่างก็กล่าวไว้รวบรัด ตามที่เห็นว่า สำเร็จประโยชน์พอต้องการของผู้กระทำ อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ จักเป็นเสมือนผู้ให้ความสะดวกแก่การกระทำพิธีมงคลต่างๆ บ้างมิใช่น้อย
มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๑ มกราคม ๒๔๓๕ วันพระราชสมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๓๕
พระองค์มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา ได้แก่
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา อดุลยาดิเรกรัตน ขัตติยราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี
ในพุทธศักราช ๒๔๔๖ ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณนรินทรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์ ลักษณพิจิตรพิสิษฐบุรุษย์ ชนุตมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร ถึงพุทธศักราช ๒๔๔๘ ไปทรงศึกษาวิชาชั้นต้นในประเทศอังกฤษ ก่อนจะไปทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้นปอตสดัม ประเทศเยอรมนี ระหว่างศึกษาได้รับพระราชทานยศ นายร้อยตรี แล้วต่อมาไปทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้นสูงที่โกรสลิชเตอร์เฟลเด้ แล้วทรงศึกษาวิชาทหารเรือที่ โรงเรียนนายเรือเฟลนส์บูร์ก มุรวิก ระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๕๖ – ๒๔๕๗
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดขึ้น พระบรมเชษฐาธิราช โปรดให้เสด็จกลับเข้ามายังราชอาณาจักร ทรงรับราชการในกรมเสนาธิการทหารเรือ กระทรวงทหารเรือ แล้วทรงย้ายไปรับราชการในกองอาจารย์นายรเอ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้รับพระราชทานยศ นายพันเอกทหารบก และนายนาวาเอกทหารเรือ เป็นราชองครักษ์พิเศษ แล้วจึงเสด็จไปทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้รับประกาศนียบัตรสาธารณสุข ต่อมาทรงรับตำแหน่งข้าหลวงสำรวจการศึกษาทั่วไป กระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงเป็นอาจารย์สอนนิสิตเตรียมแพทย์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทรงปรับปรุงและวางรากฐานการแพทย์ของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล ก่อนจะเสด็จไปทรงศึกษาต่อจนจบวิชาแพทย์ได้รับเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในพุทธศักราช ๒๔๗๑ ครั้นเสด็จกลับมาสยาม เสด็จไปทรงงานในฐานะแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ในต้นปีพุทธศักราช ๒๔๗๒ก่อนจะทรงพระประชวร และเสด็จกลับกรุงเทพ ก่อนที่จะสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒ พระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา เป็นต้นราชสกุล มหิดล
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ เป็นพระราชภราดาพระองค์หนึ่งที่สนิทชิดชอบพระราชอัธยาศัยมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้ทรงประจักษ์ในพระปรีชาญาณ และทรงรอบรู้ในกรณียกิจต่างๆ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ได้มีพระราชดำรัสสั่งไว้แล้ว ในการที่จะเลื่อนกรมสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ ขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาครบสามรอบ แต่ก็มาด่วนสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน ทรงพระราชดำริว่า อันคุณความดีไม่มีเวลาที่จะจืดจาง แม้สิ้นพระชนม์แล้วก็จะทรงสถาปนาให้สมพระราชประสงค์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณเบญจพรศิริสวัสดิ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณสังกาศเกียรติประกฤษฏ์ ลักษณพิจิตรพิสิฐบุรุษ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ อัครวรราชนรินทรเชษฐาธิบดี กรมหลวงสงขลานครินทร์
ต่อมาในรัชกาลที่ ๘ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์ ครั้นในรัชกาลที่ ๙โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามพระอัฐิ เป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๓ และพระราชทานยศ จอมพลเรือ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๑
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ
ภาพ : พันเอก(พิเศษ) จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ข้อมูล : ณัฐพล ชัยมั่น / วสันต์ ญาติพัฒ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
อ้างอิง
กัลยาณิวัฒนา, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ. เจ้าฟ้าทหารเรือ. กรุงเทพฯ : วงจร, ๒๕๓๕.
ศิลปากร, กรม.จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่ง ศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๔๕.
________.ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔.
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๔ ข วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๑. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร.[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๖๔ จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/B/004/1.PDF
ชื่อผู้แต่ง : วันรัต สังฆนายก, สมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง : ไตรรัตนานุสสติกกถา
ปีที่พิมพ์ : 2500
สถานที่พิมพ์ : สงขลา
โรงพิมพ์ : กรุงเทพ
จำนวนหน้า 28 หน้า
หนังสือไตรรัตนานุสสติกถา สมเด็จพระวันรัต สังฆนายกพิมพ์แจกแก่วัดทั้งหลาย เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2500 ได้กล่าวถึงประวัติของวันวิสาสขบูชา และเพื่อเป็นการฉลอง 2500 ปี แห่งพุทธศาสนา
เมืองศรีมโหสถ ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๘ หรือราว ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ศรีมโหสถจึงเป็นทั้งเมืองท่าการค้าที่ติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเล ศูนย์กลางการคมนาคมของบ้านเมืองตอนในของแผ่นดิน และเมืองชายฝั่งทะเลใกล้เคียง เมืองโบราณแห่งนี้จึงมีความหลากหลายในด้านศิลปวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ที่เดินทางมาพร้อมกับผู้คนจากต่างแดน ด้วยพัฒนาการบ้านเมืองที่ยาวนาน จึงปรากฏการสร้างศาสนสถานทับซ้อนกันอยู่หลายสมัย อีกทั้งยังพบพระพุทธรูป รูปเคารพต่างๆ รวมถึงวัตถุและสินค้าจากต่างแดน สะท้อนถึงความมั่งคั่ง และเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น ผังเมืองศรีมโหสถ เมืองศรีมโหสถเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ มีแผนผังของเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมค่อนข้างรี ขอบมุมทั้ง ๔ โค้งมน มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตัวเมืองตั้งอยู่ตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ ขนาดของเมืองกว้าง ๗๐๐ เมตร ยาว ๑,๕๕๐ เมตร ตอนกลางของเมืองมีคูน้ำชื่อ “คูลูกศร” คั่นแบ่งตัวเมืองเป็น ๒ ส่วน เพื่อประโยชน์ทางการคมนาคม และการกักเก็บน้ำภายในตัวเมือง พบโบราณสถานทั้งในเมืองและนอกเมืองเป็นจำนวนมาก โบราณวัตถุสำคัญ ของเมืองศรีมโหสถ เช่น • พระคเณศ ศิลปะทวารวดี ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ • พระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓- ๑๔ • พระพุทธรูปปางตรัสรู้ ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔- ๑๕ • จารึกกรอบคันฉ่องและจารึกเชิงเทียน ศิลปะเขมรในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ ๑๘ --------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาววัชรี ชมภู ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี --------------------------------------------------------------อ้างอิง : - กรมศิลปากร. “นำชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี”กรุงเทพฯ, ๒๕๔๒. - กรมศิลปากร. “โบราณคดีเมืองศรีมโหสถ” กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘. - กรมศิลปากร. “ประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองศรีมโหสถ”กรุงเทพฯ, ๒๕๓๕.
๕๕ ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร :
พระมหากรุณาธิคุณต่องานด้านพิพิธภัณฑสถาน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาการต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญไปอย่างถูกทิศทาง ทรงตระหนักในคุณค่าของโบราณวัตถุ โบราณสถาน อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง จำเป็นต้องคุ้มครอง ดูแล และอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อเป็นเกียรติประวัติและเสริมสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคของประเทศไทย จำนวน ๗ แห่ง
โอกาสที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริ และกระแสพระราชดำรัสที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถด้านการพิพิธภัณฑ์ และการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่สำคัญ เช่น
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ มีเหตุการณ์คนร้ายลักลอบขุดกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทอดพระเนตรโบราณวัตถุดังกล่าว ณ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ ขณะทอดพระเนตรสิ่งของต่าง ๆ มีรับสั่งถามว่า “จะไปเก็บไว้ที่ใด...” พระราชดำรัสดังกล่าวก่อให้เกิดการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่สมบูรณ์แบบขึ้นในส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรก ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๐๔ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
“...ข้าพเจ้าได้คิดมานานแล้วว่า โบราณวัตถุและศิลปวัตถุของท้องถิ่นใด ก็ควรจะเก็บรักษาและตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของจังหวัดนั้นๆ...”
เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่แสดงถึงพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อกิจการพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทยว่า
“...นี่ถ้ากรมศิลปากรไปสร้างพิพิธภัณฑ์ที่ไหนนะ ฉันจะไปเปิดให้...”
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กรมศิลปากร ได้รับการจัดตั้งขึ้นในพุทธศักราช ๒๕๐๒ เพื่อรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดแต่งบูรณะ และขุดค้นพบภายในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง และบริเวณใกล้เคียง
พุทธศักราช ๒๕๐๘ - ๒๕๐๙ กรมศิลปากรได้จัดสร้างอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานถาวร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๙ นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในภูมิภาคแห่งที่ ๓ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิด
ด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นอกจากเป็นสถานอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันทรงคุณค่ายิ่งของชาติ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนในชาติ ดังปรากฏในพระราชดำรัสเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ตอนหนึ่งว่า
“พิพิธภัณฑสถาน นับเป็นสิ่งหนึ่ง ที่แสดงถึงความเจริญของบ้านเมือง และมีประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ทางโบราณคดี ย่อมเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างยิ่ง แก่การศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ การที่ทางราชการเร่งรัดดำเนินการด้านสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี และด้านการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานเช่นนี้ จึงเป็นที่น่ายินดีโดยทั่วกัน”
เป็นเวลา ๕๕ ปีมาแล้ว นับตั้งแต่วันที่เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กรมศิลปากรได้น้อมนำพระราชดำริ และแนวทางจากพระราชดำรัสมาพัฒนางาน ให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทั้งกิจการพิพิธภัณฑ์และการอนุรักษ์โบราณวัตถุ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม
ชื่อเรื่อง วินยธรสิกฺขปท (สิกขาบท)
สพ.บ. 390/1
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
พระวินัยปิฎก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 5.7 ซม. ยาว 54.5 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง พิมฺพานิพฺพาน (พระพิมพานิพพาน)
สพ.บ. 233/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 377/6คประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 134 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่อง : โบราณคดีเวียงลอ EP.2 “เมืองโบราณ เวียงลอ” ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่พื้นที่การปกครองตำบลลอและตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา ชื่อพื้นที่นี้ว่า “พันนาลอ” 1 ใน 36 พันนา ของเมืองพะเยาในครั้งตั้งเมืองพะเยาโดยขุนจอมธรรม ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 มีอาณาเขตครอบคลุม ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิง อาณาเขตครอบคลุมถึงเมืองเทิง ถึงพื้นที่บางส่วนในพื้นที่อำเภอเชียงของในปัจจุบัน เวียงลอ ปรากฏชื่อ ใน ปี พ.ศ. 1663 ในสมัย ขุนเจือง ได้ศึกแกวมาติดเมืองหิรัญนครเงินยาง...
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.41/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)
ชบ.บ.83/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)