ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ปีเหม้า (กระต่าย) ในงานศิลปกรรมน่าน  ปีนักษัตรในปี ๒๕๖๖ คือ เถาะ หรือกระต่าย ในจีนเรียก “เหม่า” ล้านนา-ล้านช้าง เรียก “เหม้า หรือเม้า” เขมร เรียก เถาะส์ . การนำสัตว์มาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนนักษัตร ชาวล้านนาเรียก “ตัวเปิ้ง” หรือสัตว์ปีเปิ้ง เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับคนที่เกิดในแต่ละปี โดยจะสถิตอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ๑๒ แห่ง ในรอบ ๑๒ ปี . “ชุธาตุ” ล้านนาออกเสียงว่า “จุ๊ธาตุ” หรือ “พระธาตุปีเกิด” เป็นคำเรียกที่แสดงถึงความเชื่อเรื่องการบูชาพระธาตุในวัฒนธรรมล้านนา ภายใต้แนวคิดแบบลังกาคติที่มีความแตกต่างไปจากสังคมวัฒนธรรมใกล้เคียง โดยชุธาตุเป็นแนวคิดที่สะท้อนถึงการให้ความหมายและความสำคัญต่อองค์พระธาตุสำคัญอย่างเป็นระบบด้วยจำนวน ๑๒ องค์ ควบคู่กับการนับปีนักษัตรแบบล้านนา โดยมีความเชื่อของการเกิดในวัฒนธรรมล้านนาว่าบุคคลที่จะมาเกิดเป็นชีวิต ช่วงก่อนการปฏิสนธิจะก่อรูปเป็นภาวะจิตที่นิ่งสถิตอยู่ ณ องค์พระธาตุองค์สำคัญที่ประจำในแต่ละรอบปี แล้วนำดวงจิตนั้นมาอยู่ที่ต้นไม้หนึ่งที่มีสัตว์อยู่เฝ้ารักษาตามแต่ละปีเกิด เมื่อครบวาระแล้ว ดวงจิตนั้นก็จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ของดาวกรายเข้าสู่ช่วงแห่งการปฏิสนธิ ก่อเกิดเป็นมนุษย์ต่อไป เมื่อสิ้นชีวิตลงตัวเปิ้งตัวเดิมก็จะมารับดวงจิตกลับมาพักที่พระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดของตนก่อนที่จะไปสู่ภพภูมิที่บุญกรรมแต่ละคนได้ทำไว้ การกำหนดระบบพระธาตุปีเกิดของสังคมล้านนาทำให้คนในแต่ละเมืองได้มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กัน ต้องการให้เป็นแหล่งจาริกแสวงบุญโดยตรง . ปีเม้า (ปีเถาะ) นักษัตร กระต่าย บูชาพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน กำหนดงานบุญสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (หกเป็ง) ในตำนานพระธาตุแช่แห้ง กล่าวถึง พระพุทธเจ้าประทานเกศาธาตุให้พระยามลราช จากนั้นได้บรรจุไว้ในภูเพียงแช่แห้ง และเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพานได้บรรจุพระธาตุข้อมือซ้ายตามพุทธทำนาย ส่วนในพงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึง พระยาการเมือง (ครานเมือง) ได้ไปช่วยสุโขทัยสร้างวัดหลวงอภัยและได้รับ “พระธาตุ ๗ องค์ พระพิมพ์ทอง ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์” โดยวรรณะพระธาตุ ๒ องค์เท่าพันธุ์ผักกาด (บางเล่มเป็น หอมป้อม) วรรณะดังแก้ว ๓ องค์ วรรณะดังมุก ๒ องค์ มีวรรณะดังทองคำเท่าเม็ดงาดำ จากนั้นก็บรรจุไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้ง. ในแต่ละปีพุทธศาสนิกชนจะหาโอกาสไปนมัสการพระธาตุต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้ไปทักษิณาพระธาตุประจำปีนักษัตรของตน. ปีนักษัตร หรือระบบสัตว์ประจำปีเกิด หรือสัตว์ปีเปิ้งในล้านนา ได้ปรากฎในงานศิลปกรรมอาคารทางศาสนาของเมืองน่าน หรือเป็นองค์ประกอบการประดับตกแต่งงานศิลปกรรมอื่นๆ เช่น ธรรมาสน์ ฐานพระพุทธรูป เป็นต้น โดยมีการประดับเรียงลำดับปีนักษัตรทั้ง ๑๒ นักษัตร โดยไม่ระบุเฉพาะเจาะจง และการใช้นักษัตร หรือสัตว์ประจำปีเกิดเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลในการสร้างบุญกิริยาถวายแด่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ใช้รูปกระต่ายเนื่องจากผู้สร้าง ผู้อุปถัมภ์ เจ้าศรัทธา สล่า หรือผู้นำในการก่อสร้างอาคารหรือเสนาสนะถาวรวัตถุแด่พระพุทธศาสนาเกิดในปีเหม้าหรือปีกระต่าย หรือศาสนสถานนั้นอาจจะสร้างหรือฉลองในปีนักษัตรนั้นๆ ก็ได้ โดยหมายให้นักษัตรเดินทางพาเข้าสู่ภาวะโพธิญาณ หรือพระนิพพาน และยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องนักษัตรที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา. นอกจากนี้รูปกระต่ายยังพบในงานศิลปกรรมอื่นๆ โดยถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระจันทร์ที่ควบคู่ไปกับนกยูงที่เป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิตย์ ในเรื่อง “เฉลิมไตรภพ” กล่าวว่า “...ที่สี่กระต่ายมุ่งฉาย เทียมจันทร์เดือนหงาย ให้นามปีเถาะเจาะจง...” คนจีนใช้แผนภูมิฟ้าดินมานับเวลาใช้ตี้จือ หรือราศีล่าง มาแทน ๑๒ ช่วง โดยเวลาตี ๕ ถึง ๗ โมง พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ดวงจันทร์อยู่บนฟ้า มีกระต่ายที่อยู่ในดวงจันทร์เล้านิทานจีนเรียกว่า เม่า. “...สังฆราชปาลเลกัวซ์เล่าว่าคนไทยเห็นจุดในดวงจันทร์เป็นกระต่ายนั้น ก็เหมือนกับจีนโบราณเขากล่าวว่าในดวงจันทร์มีกระต่ายผู้ และในโลกมีแต่กระต่ายตัวเมีย พวกกระต่ายตัวเมียชอบแหงนมองกระต่ายในดวงจันทร์จึงมีท้อง แล้วก็ตกลูกออกมาทางปาก ส่วนคนไทใหญ่เขาว่า ดวงจันทร์นั้นคือกระต่ายที่คลุมด้วยเงิน จึงมีแสงนวลเย็นตา กระต่ายนี้อยู่ในเรือนแก้ว ซึ่งมีหน้าต่าง ๑๕ บาน มันจะเปิดหน้าต่างแรกในคืนที่เราเรียกกันว่าขึ้นค่ำ แ และเปิดบานที่สองในคืนขึ้นสองค่ำ และบานที่สามขึ้นสามค่ำ อย่างนี้เรื่อย ๆ ไปจนหมดทั้ง ๑๕ บาน เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง หลังจากนั้นกระต่ายก็จะปิดหน้าต่างคืนละบาน ทำให้มืดลง ๆ ซึ่งเราเรียกกันว่าข้างแรม...” . ในอรรถกถาเรื่อง “สสปัณฑิตชาดก” ได้กล่าวถึงสาเหตุที่มีรูปกระต่ายอยู่ในดวงจันทร์ โดยมีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่าย ได้ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล และกระทำอุโบสถกรรม พระอินทร์ได้แปลงเป็นพราหมณ์มาทดสอบโดยมาขออาหาร ซึ่งกระต่ายโพธิ์สัตว์ให้ทานด้วยการกระโดดเข้ากองไฟเพื่อย่างตนตนให้เป็นอาหารแก่พราหมณ์ แต่ไฟมิอาจทำอันตรายใดแก่ร่างกายพระโพธิสัตว์ได้ พราหมณ์จึงบอกความจริงและกล่าวสรรเสริญพระโพธิ์สัตว์ พร้อมทั้งเขียนรูปกระต่ายไว้ในดวงจันทร์เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณงามความดีที่พระองค์เป็นผู้สละชีวิตตัวเองเป็นอาหารเพื่อช่วยชีวิตแก่สรรพสัตว์ เวลาที่มนุษย์แหงนหน้ามองพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเห็นรูปกระต่ายอยู่บนดวงจันทรืแล้วให้ระลึกถุงคุณความดีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นกระต่าย. ในตำนานจีน และเกาหลีมีเรื่องเล่าว่าในพระจันทร์มีคนและสัตว์ทำงานอยู่ในดวงจันทร์ และทำยาทิพย์เพื่อให้มีชีวิตนิรันดร์ โดยกระต่ายหยกมีหน้าที่ตำยาทิพย์ ในญี่ปุ่นที่เชื่อว่ามีกระต่ายขาวถือสากยักษ์ตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์ ในญี่ปุ่นมีตำนานเรื่อง กระต่ายที่ไปยังดวงจันทร์ โดยกระต่ายอยากไปเกิดเป็นมนุษย์แต่ไม่มีของกินไปให้มนุษย์จึงกระโดเข้ากองไฟจากนั้นพระเจ้าได้ลงมาจากฟ้าอุ้มกระต่ายไปถวายเทพจันทราเพราะได้ทำสิ่งที่ประเสริฐยอมถวายชีวิตตัวเองเป้นอาหารแด่มนุษย์ จากนั้นกระต่ายก็ใช้ชีวิตอยู่ที่ดวงจันทร์อย่างมีความสุข. ปกรณัมของฮินดูที่ระบุว่า ‘พระจันทร์’ เป็นเทพผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ โดยกระต่ายในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ศศะ” จึงเป็นที่มาของคำเรียกดวงจันทร์ว่า “ศศินฺ” แปลว่า ซึ่งมีกระต่าย.เอกสารอ้างอิงธิดา โมสิกรัตน์. การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบความเชื่อเกี่ยวกับนักษัตรไทยและจีน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๕๗.เธียรชาย อักษรดิษฐ์. ชุธาตุ : บทบาทและความหมายในอนุภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุปีเกิดในล้านนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๕.เหมันต สุนทร. สิบสองนักษัตรความเชื่อที่แสดงออกในงานศิลปกรรมล้านนา : กรณีศึกษาวัดในเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๒.อรรถกถาสสบัณฑิตชาดก ว่าด้วย ผู้สละชีวิตเป็นทาน https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270562


          หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ ชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ ขอเชิญร่วมกิจกรรมโครงการบรรยายและเสวนาทางวิชาการ เนื่องในวาระครบ 130 ปี ห้ามเจ้านายมิให้ไปเมืองสุพรรณบุรี เรื่อง เทศาภิบาล : ศาสตร์การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ในวันศุกร์ ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ           กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายและเสวนา ดังนี้            # ภาคเช้า การบรรยายเรื่อง เทศาภิบาล : ศาสตร์การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ 5 โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ           # ภาคบ่าย การเสวนา เรื่อง เมืองสุพรรณบุรี ภายใต้การปกครองระบอบเทศาภิบาล พ.ศ. 2435– 2476 โดย ดร. อาสา คำภา นักวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และ  อาจารย์วรพร พรหมใจรักษ์ นักวิชาการประวัติศาสตร์ อาจารย์วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรี ศรีสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ดำเนินรายการและร่วมเสวนา โดย นายปัณชลิต โชติกเสถียร สมาชิกชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ           ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าด้วยการสแกน QR Code หรือทางลิ้งค์นี้ https://forms.gle/m3KVKaprpKjvwFqs8 ------------------------------------------------------- **ปิดรับลงทะเบียนวันที่ 15 มีนาคม 2566 หรือหากมีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวนแล้ว**


         ของเด่นของดีพระนครคีรีเมืองพริบพรี ตอนที่ ๖          โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรีที่จะนำเสนอในครั้งนี้ ก็คือ พิมพ์ดีด เป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษจากยุโรปตั้งอยู่บนแท่นไม้ ตัวพิมพ์ดีดทำจากโลหะ ขนาดยาว ๔๓ ซม. กว้าง ๓๓ ซม. มีการเขียนรายละเอียดบริเวณหน้าตัวพิมพ์ดีดว่า the anglo-siam corporation limited sole agents for siam          เป็นของที่เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรีมาแต่เดิม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องบรรทม พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   พระมหาพิไชยทิพมนต์ ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๕๘   หน้า หมายเหตุ                สข.๐๓๓ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรขอมและอักษรไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย เส้นหมึก (เนื้อหา)                  บทสวดกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บารมีแห่งคุณพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ใช้สวดเพื่อปัดเป่าอุปัทวะอันตรายและเสนียดจัญไรต่าง ๆ


ชื่อผู้แต่ง           ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นายครรชิต  นาคสวัสดิ์ ชื่อเรื่อง             ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นายครรชิต  นาคสวัสดิ์ ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่พิมพ์            ๒๕๓๖ จำนวนหน้า       ๙๒ หน้า    เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงโรคหลอดเลือดสมอง ชุดความรู้สำหรับประชาชน 1.อัมพาตคืออะไร 2.อะไรเป็นสาเหตุของโรคอัมภาต เช่น หลอดเลือดสมองตีบ การอุดตันในหลอดเลือด หลอดเลือดสมองแตก 3.อะไรเป็นตัวที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอัมพาต 4.อาการเตือนของโรคอัมพาตมีอะไรบ้าง เช่น อาการอ่อนแรง ภาวะที่พูดลำบาก ฯลฯ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึง ตำราดูลักษณะแมว กาพย์16 แสดงคุณ โทษของแมว ลักษณะและวิชาว่าด้วยโหราศาสตร์ ดวงชะตา เป็นต้น



เลขทะเบียน : นพ.บ.450/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159  (163-173) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.600/1                      ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 192  (392-398) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : จุนทสุกกลสุด--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันนี้ในอดีต วันที่ 21 เมษายน 2566 ครบรอบ 241 ปี สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ สถาปนากรุงเทพมหานครฯ เป็นราชธานี วันสถาปนากรุงเทพมหานครฯ ครบรอบ 241 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรี มาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจัดให้ตั้งการพระราชพิธียกเสาหลักเมืองสำหรับพระนครขึ้นเพื่อเป็นหลักชัยอันสำคัญ พระฤกษ์ยกเสาหลักเมืองกระทำในวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 06.54 น. พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนจาก 'บวรรัตนโกสินทร์' เป็น 'อมรรัตนโกสินทร์' ความหมาย “พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร อันเป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครสามารถรบชนะ มีความงามอันมั่นคงและเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้ว ๙ ประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศน์ใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้” ข้อมูล : กรมศิลปากร ภาพ : PPTV HD 36 และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


          อักษรรูปแบบสมเด็จกรมพระยานริศฯ  คือ ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบทีใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกาสปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด




         หนังสือ : บัลลังก์กามเทพ          ผู้เขียน  : นิมมานรดี เธอไม่รู้ว่าแท้จริงเขาเป็นใคร แต่ก็มอบกายให้เพราะรัก "เปรมิกา" ต้องแลกกับอะไรบ้าง หลังจากผ่านค่ำคืนอันเร่าร้อนที่เธอได้มอบความสาวให้กับเขา... การตั้งท้อง และต้องคลอดลูกเองโดยไร้การเหลียวแลอย่างนั้นหรือ? การที่ต้องสูญเสียความเชื่อมั่นที่จะได้พบกับรักแท้เหมือนในเทพนิยายอย่างนั้นหรือ? แต่ไม่ว่าจะแลกกับอะไร หญิงสาวก็เลือกแล้วว่า เธอจะเป็น Single mom และยืนหยัดอย่างเข้มแข็งที่จะเลี้ยงดูลูกตามลำพัง กระทั่งบริษัทของเธอได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดงานหมั้นในพระราชวัง นั่นเป็นโอกาสที่เธอไม่มีวันปฏิเสธ...งานหรูหรา ค่าตอบแทนมหาศาล...หากขณะที่การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปอย่างล้ำเลิศ หญิงสาวก็พบกับปัญหา เจ้าชายที่กำลังจะหมั้นคือ "หลุยส์ อเล็กซานเดอร์ คราวเซนเต้" ...มกุฎราชกุมารหนุ่มรูปงามแห่งไคสแตน พ่อของลูกเธอ! เขาก็ไม่เคยคาดคิดว่า "เซ็กซ์" ที่ปราศจากความรักจะบานปลายไปเป็นอย่างอื่น การมีครอบครัวเป็นสิ่งสุดท้ายที่เจ้าชายเพลย์บอยอย่างหลุยส์คิดจะมี ดังนั้น หลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในวันนั้น และเดินทางกลับมาใช้ชีวิตสำราญที่ประเทศของตนเนิ่นนาน เจ้าชายหนุ่มก็ต้องประหลาดใจเมื่อพบว่า... หญิงสาวที่เคยเป็นภาพความหลังอันเร่าร้อนในอดีตกลับปรากฏตัวขึ้นตรงหน้า ในพระราชวังของเขา และบอกกับเขาถึงเรื่องลูกในวันที่สายเกินไป... วันที่เขากำลังจะหมั้นกับหญิงอื่น มันจึงถึงเวลาแล้วที่หลุยส์จะต้องเผชิญกับทางเลือกอันลำบากใจ ระหว่างดำเนินพิธีเสกสมรสกับคนที่มารดาจัดหาให้ต่อไป หรือตัดสินใจสร้างครอบครัวกับ ‘เมียชั่วคราว’ ที่เขาทอดทิ้งไปนานแล้ว เพื่อให้ได้สถานะของพ่อกลับคืนมา   รายละเอียดหนังสือ ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ :  895.913 น631บ


          หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี ขอเชิญร่วมสนุกกับกิจกรรม Q&A หัวข้อ การขอทำลายเอกสารจากหน่วยงานภาครัฐ คำถามประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖  ____________________________________________        Q : ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการจัดทำตารางการกำหนดอายุการเก็บเอกสาร         A : ลดภาระหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสาร     AA : ประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาเอกสาร  AAA : ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสาร ____________________________________________ ผู้สนใจสามารถร่วมสนุกได้ทาง Facebook Page หอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ อุบลราชธานี  ____________________________________________ ร่วมลุ้นรับของที่ระลึกจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี จำนวน ๑ รางวัล ตั้งแต่วันนี้จนถึง ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖


           วันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๓๐ น. ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับกรมศิลปากร แถลงข่าวผลการทลายแก๊งนักล่าสมบัติโบราณ พบโบราณวัตถุกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม, พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุปผาสุวรรณ รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม และพ.ต.อ.เอกสิทธิ์ ปานสีทา ผู้กำกับการ ๔ กองบังคับการปราบปราม พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร, นายสหวัฒน์ แน่นหนา อดีตอธิบดีกรมศิลปากร, นายชิณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ และนางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ กรมศิลปากร ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ ณ กองบังคับการปราบปราม เบื้องต้นถูกแจ้งข้อหาว่าเป็นผู้เก็บได้ ซื้อโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ และเบียดบังเอาโบราณวัตถุเป็นของตนเอง และจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ มีทั้งภาชนะดินเผา เข็มสักโบราณ เงินเหรียญลักษณะเกือกม้า ๒ ชิ้น และมีตราประทับ เครื่องประดับโบราณ สะท้อนให้เห็นเส้นทางการค้า ระหว่างจีนตอนใต้และอินเดีย


Messenger