ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ



         หนังสือเรื่อง ในบ่วงมนตรา          ผู้เขียน  :  ปิยะพร ศักดิ์เกษม  ในบ่วงมนตรา...วังวนแห่งบาปที่คอยหล่อเลี้ยงกิเลสมนุษย์ผู้เปราะบาง อ่อนแอ หากแต่มนุษย์ยังมีความเข้มแข็ง และเปี่ยมด้วยสติปัญญา เพื่อจะก้าวหน้าพ้นมนตราแห่งความชั่วร้าย "จารวีย์" หญิงสาวที่มีสัมผัสที่หก บางครั้งจะเห็นภาพเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับคนใกล้ชิด คนที่รัก หรือคนที่จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในอนาคตได้ และเมื่อเธอได้เห็นภาพอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับญาติคนเดียวที่เปรียบเสมือนพ่อของเธอซึ่งเป็นสถาปนิกและกำลังจะเดินทางไปทำงานยังต่างจังหวัด เธอจึงขอตามไปด้วยโดยหวังว่าจะได้ช่วยเหลือป้องกันอะไรได้บ้าง และ ณ สถานที่แห่งนั้น เธอได้เข้าไปมีส่วนรับรู้และเกี่ยวข้องกับสถานการณ์และเหตุการณ์แปลกประหลาด และอันตรายอย่างยิ่งที่เนื่องมาจากกิเลสของคนหลายคน อันนำไปสู่ความตายและความเร้นลับที่ดำมืดมานาน ทั้งยังได้สัมผัสถึงพลังเหนือธรรมชาติในรูปแบบที่ไม่เคยพานพบมาก่อน ที่สำคัญ เธอเท่านั้นที่จะสามารถช่วย เขาผู้ชายที่เธอได้รู้ด้วยสัมผัสพิเศษของเธอแล้วว่า เขาคือคนที่สำคัญยิ่งสำหรับเธอในอนาคต เมื่อใดที่มนุษย์ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส มนตราชั่วร้ายก็จะยิ่งมีอำนาจมากขึ้น และความดีความบริสุทธิ์ของจิตใจเท่านั้นที่จะเอาชนะมันได้   ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ :  895.913 ป622น


           สำนักการสังคีต  กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี “เสาร์สนุก” ในวันเสาร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ เขตดุสิต กรุงเทพฯ              พบกับรายการแสดง ดังนี้             การบรรเลง Brass Quintet  โดย นายวรรณฉัตร  ศรีปาน นายศศิศ  จิตรรังสรรค์ นายนันทวัฒน์  วารนิช นายฐากูร  อัศวพิศิษฐ์ และนายมานิตย์  บูชาชนก            - Kerry Turner - Ricochet for Brass Quintet             - John Philip Sousa - Sousa Collection              การบรรเลง - ขับร้อง ดนตรีไทย            - สามขลุ่ย : เพลงแม่ศรีทรงเครื่อง โดย นายฐาปณัฐ ธรรมเที่ยง และคณะ             - หลากลีลารำมะนาลำตัด โดย นายสุภร  อิ่มวงค์ และคณะ            การแสดงนาฏศิลป์ไทย            - พระรามตามกวาง โดย นายฉันทวัฒน์  ชูแหวน และนางสาวพิมพ์รัตน์  นะวะศิริ            - มัยราพณ์ทรงเครื่อง โดย นายบัญชา  สุริเจย์             - รจนาเสี่ยงพวงมาลัย โดยนางธีวรา  รัตนศึกษา และนายกฤษกร  สืบสายพรหม            - ปันหยีแต่งตัว โดย นางสาวมณีรัตน์  มุ่งดี   สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


           สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจร่วมการสัมมนา SARBICA International Symposium 2023 สภาการจดหมายเหตุระหว่างประเทศประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Regional Branch of the International Council on Archives: SARBICA) ร่วมกับสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ SARBICA International Symposium 2023 หัวข้อ “งานจดหมายเหตุในยุคดิจิทัล: การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และก้าวต่อไปของจดหมายเหตุ” (Archives in the Digital Era: Changing, Adaptations, and Achievements) ระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพมหานคร เปิดรับลงทะเบียนตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://sarbica2023.nat.go.th            The National Archives of Thailand, The Fine Arts Department would like to invite interested parties to attend the symposium topic on "Archives in the Digital Era: Changing, Adaptations, and Achievements" on November 21st–22nd, 2023, at the Grand Fortune Hotel Bangkok, Thailand.Please see more details below or http://sarbica2023.nat.go.th/ 


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเชิญทุกท่านพบกับการประดับไฟส่องสว่างซุ้มอุโมงค์ลีลาวดี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในยามค่ำคืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเมืองน่านสู่เมืองอัจฉริยะเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว สนับสนุนโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เทศบาลเมืองน่านและหน่วยงานพันธมิตร ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ - ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ระบบไฟส่องสว่างบริเวณซุ้มลีลาวดี จะเปิดให้บริการเวลา ๑๘.๓๐ - ๒๑.๓๐ น. ของทุกวัน            ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวทุกท่านสามารถแวะเข้ามาเดินเยี่ยมชมและถ่ายรูปเช็คอินบริเวณซุ้มอุโมงค์ลีลาวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และวัดอื่นๆที่มีการประดับระบบไฟส่องสว่าง ได้แก่ วัดมิ่งเมือง วัดศรีพันต้น และวัดสวนตาล


"เอาผ้าขาวมาวัดตัดสบง เย็บลงฝีเข็มเหมือนเล็มเลี่ยน ตัดจีวรสไบตะไกรเจียน เย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว”  จากขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วบวชเณร          ไตรจีวร ถือเป็นปัจจัยเครื่องอัฏฐบริขารที่พระภิกษุใช้สอย โดยพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐาน คือ ตั้งไว้เป็นของประจำตัว ประกอบด้วย อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) และสังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก)           ในต้นพุทธกาลพระภิกษุคงใช้ผ้านุ่งห่มตามที่หามาได้ โดยเก็บเอาผ้าที่ถูกทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ผ้าคลุกฝุ่น  และผ้าห่อศพ เรียกว่า “ผ้าบังสกุล”  ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาตให้รับผ้าจากฆราวาส ตามศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกา และเพื่อบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุ           รูปแบบของสีจีวรตามพระอรรถกถาจารย์ กล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประเสริฐสีแดง มีวรรณะละม้ายยอดอ่อนแห่งต้นไทร (นิโครธ)” และ “..แม้พระมหาเถระทั้งหลาย มีท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโมคคัลลานะเปนต้น ก็ห่มบังสุกุลจีวรมีสีแดงเหมือนเมฆ” แสดงให้เห็นว่าน้ำย้อมจีวรที่ได้จากการเคี่ยวสีย้อมจากธรรมชาติ ทำให้มีความเข้มอ่อนแตกต่างกัน แต่ยังคงเป็นโทนสีแดงหรือเรียกว่าสีกรักแดง           พระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตใช้น้ำย้อมสำหรับผ้ากาสาวพัสตร์ คือ ผ้าจีวรที่ย้อมด้วยน้ำฝาด  ๖ ชนิด อันเป็นการรักษาคุณภาพของผ้า เนื่องจากยางไม้บางประเภทมีคุณสมบัติทางยา ทำให้เชื้อราไม่เจริญเติบโต มีสีเข้มไม่เปื้อน และไม่เก็บความชื้น ทั้งนี้ยังกำหนดข้อห้ามใช้จีวรบางสีเพื่อให้เกิดความแตกต่างจากนักบวชของสำนักอื่นๆ           การเย็บจีวรของพระภิกษุยังไม่มีรูปแบบชัดเจน โดยนำเศษผ้ามาเย็บต่อกันตามความสามารถของพระภิกษุสำหรับพอนุ่งหุ่มได้ แต่ยังดูไม่เป็นระเบียบ พระพุทธเจ้าจึงได้มอบให้พระอานนท์กำหนดการตัดเย็บจีวรตามรูปร่างผืนนาข้าวสำหรับเป็นแบบแผนเดียวกัน เรียกว่า ผ้าขัณฑ์ คือ ผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระสงฆ์ตัดจีวรเป็นกระทง มีลักษณะการตัดผ้าเป็นชิ้นๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกระทงนา แล้วเย็บติดกัน แต่ละชิ้นเรียกว่าขัณฑ์ โดยต้องตัดผ้าตามจำนวนเลขคี่ เรียกว่า ขัณฑ์ขอน          พระธรรมวินัยได้บัญญัติขนาดของจีวร ในรตนวรรคสิกขาบทที่ ๑๐ ความว่า “อนึ่งภิกษุใด ให้ทำจีวรมีประมาณเท่าสุคตจีวรหรือยิ่งกว่า เป็นปาจิตตีย์ มีอันให้ตัดเสีย นี้ประมาณแห่งสุคตจีวรของพระสุคตในคำนั้น โดยยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต” หากจีวรมีขนาดย่อมกว่า แล้วพอดีกับบุคคลผู้ครองนั้นไม่มีข้อห้าม สำหรับพระภิกษุไทยนั้น ประมาณความยาวไม่เกิน ๖ ศอก กว้างไม่เกิน ๔ ศอกของผู้ครอง           จีวรสีแก่นขนุน ๕ ขัณฑ์ นี้ ปักอักษรบริเวณกระทงความว่า “ผ้าผืนนี้ของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริยรักธอเมื่อจุลสักราชได ๑๑๖๔ ปีจอจัตวาศก ด้ายหนักเขดลสลึงสองไพธอเป็นเนื้อเอกมือ ๛”           โดยสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีในรัชกาลที่ ๑) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน มีบทบาทเกี่ยวกับการสงคราม โขน-ละคร และการปฏิสังขรณ์วัดเลียบ ภายหลังพระราชทานนามว่า “วัดราชบูรณะ”           จากลักษณะการเย็บทับจับเนียนเป็นเนื้อเดียว แสดงให้เห็นฝีมือการทอผ้าเนื้อละเอียดและการเย็บที่ต้องอาศัยความประณีตบรรจง มีขนาดต้องตามพระธรรมวินัย และอาจพอเหมาะกับรูปร่างของบุคคลผู้ครองจีวรด้วย จีวรผืนนี้ตามประวัติระบุว่า พระอาจารย์รวม วัดยาง ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มอบให้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๗     อ้างอิง กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔. สุนทรี สุริยะรังษี.  จีวร : การตัดเย็บจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์  ๓,๒(พฤษภาคม-สิงหาคม) ๒๕๕๙ พระสมุห์จักรพงศ์ จนฺทสีโล. ศึกษาการทรงผ้าจีวรของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑ ถมรัตน์ สีต์วรานนท์. ปทานุกรมผ้าไทย ใน “วารสารฝ้ายและสิ่งทอ” ๕,๙ (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ๒๕๒๕ ยิ้ม ปัณฑยางกูร. ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ ๒ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, ๒๕๒๕


          ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ขออำนวยพรปีใหม่ พุทธศักราช 2567 ด้วยสมุดบันทึก “มรดกเรืองรอง เครื่องทองอยุธยา” ภายในประกอบด้วย ภาพงานประณีตศิลป์เครื่องทองในสมัยอยุธยา ขนาด 17.6 x 21.6 เซนติเมตร ปกแข็ง จัดพิมพ์สี่สี ด้านในประกอบด้วยกระดาษถนอมสายตาใช้บันทึกข้อความได้ พร้อมตารางนัดหมายตลอดทั้งปี จำหน่ายในราคา 250 บาท            งานประณีตศิลป์เครื่องทองในสมัยอยุธยานับเป็นศิลปกรรมชั้นสูงที่มีความอ่อนช้อย ละเมียดละไม ผสมผสานด้วยเทคนิควิธีการต่าง ๆ ทั้งเทคนิควิธีการสลักทอง ดุนทอง ฉลุทอง ให้ได้ลวดลายตามต้องการ การหุ้มและการบุทองเพิ่มความสำคัญล้ำค่าให้กับสิ่งของ การลงยา ปิดทอง กะไหล่ทอง ที่ใช้เป็นวิธีการตกแต่ง รวมไปถึงเทคนิคการหล่อพระพุทธรูป และการถักทอเส้นไหมทองคำ ความรู้งานประณีตศิลป์เหล่านี้ล้วนเกิดจากความศรัทธาของคนในชุมชน สั่งสมประสบการณ์ส่งต่อความรู้มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระบรมสารีริกธาตุ และเพื่อแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์             ผู้ที่สนใจสามารถซื้อสมุดบันทึก “มรดกเรืองรอง เครื่องทองอยุธยา” ได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ 0-2164-2501 ต่อ 1004 (ในวันและเวลาราชการ) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร


วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. คณะนักดนตรีออร์เคสตร้าแจ๊ส The Biggles Big Band Amsterdam ประเทศราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ จำนวน ๓๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม




15 พฤษภาคม 2567 สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ (ICOM Thailand) จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์สากลประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาและวิจัย”ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อเน้นย้ำบทบาทสำคัญของพิพิธภัณฑ์ในฐานะสถาบันที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ผลักดันให้เกิดโลกที่มีจิตสำนึก ความยั่งยืน และมีส่วนร่วมมากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนกว่าร้อยคนจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ไทยมากกว่า 30 สถาบัน และเปิดโอกาสให้ผู้สนใจรับชมได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายและเสวนา โดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ผู้มีส่วนสนับสนุนการศึกษาพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ เบื้องหลังแนวทางการสร้างสรรค์กิจกรรมทางการศึกษาของพิพิธภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมทั้งการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าอาร์ตทอย โดยใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้นำมารังสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัย ผู้ที่สนใจสามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง Facebook และ Youtube: Office of National Museums, Thailand


วารสารเครือข่ายกรมศิลปากรเป็นวารสารรายไตรมาสออกทุก ๓ เดือน




Messenger