ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง : ประมวลพิธีมงคลของไทยชื่อผู้แต่ง : จันทร์ ไพจิตร ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงจำนวนหน้า : 488 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสือที่ประมวลพิธีต่างๆ ตั้งแต่เกิดตลอดจนมีชีวิต – ตาย และตายไปแล้ว พิธีทั้งหลายมีอยู่ในหนังสือครบบริบูรณ์ จึงเหมาะแก่พ่อบ้าน สมภารเจ้าวัด ภิกษุ สามเณร และบุคลลทั่วไป ในหนังสือนี้ พิธีบางอย่าง นอกจากจะกล่าวจำเพาะเจาะจงแล้ว ข้าพเจ้าพยายามให้ความรู้ในเรื่องเดียวกันกว้างออกไป ตามที่เห็นสมควร บางอย่างก็กล่าวไว้รวบรัด ตามที่เห็นว่า สำเร็จประโยชน์พอต้องการของผู้กระทำ อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มนี้ จักเป็นเสมือนผู้ให้ความสะดวกแก่การกระทำพิธีมงคลต่างๆ บ้างมิใช่น้อย





ชื่อเรื่อง                         วินยสงฺเขป (วินัยฮอม)     สพ.บ.                           389/1ก หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                        พุทธศาสนา                                  พระวินัยปิฎก ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



          วันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และคณะ ตรวจเยี่ยมสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนางสาวนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับและรายงานการดำเนินการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน ณ วัดไชยวัฒนาราม พร้อมตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์น้ำโบราณสถานหมู่บ้านโปรตุเกส วัดธรรมาราม โบราณสถานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร และโบราณสถานป้อมเพชร          เนื่องจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่มีแม่น้ำ ๓ สาย ไหล ผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออุทกภัยมาตั้งแต่อดีต ยังคงปรากฏความเสี่ยงด้านต่างๆ รวมถึงอุทกภัยที่อาจมีผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก กรมศิลปากรจึงได้บรรจุแผนงานมาตรการลดผลกระทบจากภัยพิบัติไว้ในร่างแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช ๒๕๖๕ – ๒๕๗๔ โดยปัจจุบัน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังคงดำเนินงานตามมาตรการป้องกันผลกระทบจากภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา มีการบริหารจัดการเป็นขั้นตอน การประเมินความเสี่ยง มีการวิเคราะห์ปัญหาและทำแผนการทำงานร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในการเตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหา และมาตรการบรรเทาภัยพิบัติจากอุทกภัย รวมทั้งซักซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธรณภัยในกรณีอุทกภัย           สำหรับมาตรการการป้องกันอุทกภัยในระดับพื้นที่โดยวิธีการสร้างเขื่อน แนวป้องกันน้ำท่วม เป็น ภารกิจที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาดำเนินงานเป็นประจำในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำจากทางเหนือ และน้ำจากเขื่อนสำคัญที่ปล่อยลงมาเพื่อลงสู่ทะเลมีปริมาณที่มากกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่และโบราณสถานสำคัญที่อยู่ใกล้ชิดแม่น้ำและเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยในทุกปีจะมีการซักซ้อมการตั้งแผงป้องกัน น้ำท่วม การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานเสมอ นอกจากนี้ยังมีการประสานงานร่วมกับสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์และวิธีการป้องกันภัย และประสานงานร่วมกับกรมชลประทาน และกรมอุตุนิยมวิทยา ในการวางแผนป้องกันพื้นที่ โดยพื้นที่โบราณสถานและสถานที่สำคัญที่มีการดำเนินงานป้องกันอุทกภัย ได้แก่           ๑. โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ใช้วิธีการป้องกันน้ำท่วมโดยวิธีการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่ สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้บริเวณด้านตะวันออกของวัดริมแม่น้ำ แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาว ๑๖๐ เมตร สูงจากผิวบนสุดของขอบตลิ่ง ๑.๘๐ เมตร และสามารถต่อความสูง เพิ่มเติมเป็น ๒.๘๐ เมตร ส่วนด้านใต้ ด้านตะวันตก มีแนวกำแพงป้องกันน้ำถาวรก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนด้านเหนือใช้แนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๙           ๒. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ใช้วิธีการป้องกันน้ำท่วมโดยวิธีการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่สามารถ ยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้ ป้องกันรอบเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสของวัด แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาวประมาณ ๓๐๘ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑.๗๐ เมตร           ๓. วัดธรรมมาราม ใช้วิธีการป้องกันน้ำท่วมโดยวิธีการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่สามารถยก ตั้งขึ้นและพับเก็บได้ป้องกันบริเวณด้านตะวันออกของวัด ริมแม่น้ำ แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาวประมาณ ๑๓๐ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑.๗๐ เมตร           ๔. พื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา (บริเวณเจดีย์พระสุริโยทัย) ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ เจ้าพระยามีความแคบ ในช่วงฤดูน้ำหลากของทุกปีระดับน้ำมักขึ้นสูง จนล้นระดับ แนวตลิ่ง ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมโดยตั้งแผงป้องกันรูปแบบที่สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้ ป้องกัน บริเวณด้านตะวันตกของเกาะเมืองพระนครศรี อยุธยา แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาวประมาณ ๕๖๐ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑.๗๐ เมตร           ๕. วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ด้านเหนือนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาริมคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ในช่วงฤดู น้ำหลากของทุกปีระดับน้ำมักขึ้นสูงจนล้นระดับแนวตลิ่ง ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมใช้วิธีการการตั้งแนวกระสอบทราย ป้องกันบริเวณด้านใต้และด้านตะวันตกของวัด          ๖. พื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา (บริเวณหัวรอ) เป็นพื้นที่ชุมชนและ ย่านการค้าสำคัญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก (คูขื่อหน้า) ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่น้ำล้นเข้าเมือง อีกทั้งยังเคยเป็นจุดแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่น้ำล้นเข้ามาพื้นที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมโดยการก่อสร้างแนวตลิ่งคอนกรีตยกสูงบริเวณริมตลิ่ง ป้องกันบริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา          ๗. โบราณสถานป้อมเพชร เป็นจุดที่แม่น้ำป่าสักบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงฤดูน้ำหลากของทุก ปีระดับน้ำมักขึ้นสูงจนล้นระดับแนวตลิ่ง ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมใช้วิธีการตั้งแนวกระสอบทราย ป้องกันบริเวณด้านใต้ของพื้นที่          ๘. โบราณสถานบ้านฮอลันดา อยู่ด้านใต้นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ลักษณะของการป้องกันน้ำ ท่วมใช้วิธีการตั้งแนวแผ่นป้องกันน้ำท่วมที่สามารถยกเก็บได้โดยรอบอาคารศูนย์ข้อมูล          ๙. โบราณสถานบ้านโปรตุเกส อยู่ด้านใต้นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ลักษณะของการป้องกัน น้ำท่วมใช้วิธีการตั้งแนวแผ่นคอนกรีตที่สามารถยกเก็บได้ ป้องกันบริเวณด้านตะวันออกของพื้นที่ แนวป้องกันน้ำท่วม มีความยาวประมาณ ๓๓ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๒ เมตร          ทั้งนี้ หากพื้นที่โบราณสถานได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา กรมศิลปากรมีมาตรการรองรับตามขั้นตอนและตามหลักการอนุรักษ์ต่อไปภาพ : โบราณสถานวัดไชยวัฒนารามภาพ : โบราณสถานหมู่บ้านโปรตุเกสภาพ : วัดธรรมมารามภาพ : โบราณสถานวัดกษัตราธิราชวรวิหารภาพ : โบราณสถานป้อมเพชร


เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์ทรงพบว่าราษฎรส่วนใหญ่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากพืชผลเสียหายทั้งจากฝนแล้งและน้ำท่วม ทำให้ทรงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาดังกล่าวในขณะนั้นว่า “...สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก (Check dams) และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่า และเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งซึ่งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง” นอกจากนี้ พระองค์ยังมั่นพระทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ และน่าจะมีวิธีการที่จะรวมเมฆที่กระจายอยู่ในท้องฟ้าให้รวมตัวกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้งได้ อันเป็นเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ในปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ ให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกายพระราชทานโครงการเพื่อความกินดีอยู่ดีของพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด   เรียบเรียง : นางสาวนัทธมน จิตเจตน์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ ที่มา : ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน. ๑๔ พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔, จาก: http://huahin.royalrain.go.th/prabidaday.php ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ร.๙



ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  377/6ขประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           66 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชรเรื่อง ภาพปูนปั้นปางประสูติ ณ วัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชรภาพปูนปั้น คือรูปแบบหนึ่งของงานศิลปกรรมไทยที่ใช้ปูนหมักปูนตำ ที่เกิดจากการรวมส่วน ประกอบหลัก คือ ปูน ทรายน้ำจืด เส้นใยธรรมชาติและกาว มาผสมผสานรวมกันจนเป็นเนื้อเดียวแล้วนำมาปั้นแปะกับผนังที่เป็นพื้นเรียบให้เกิดเป็นรูปทรงและลวดลายเพื่อใช้ในการประดับตกแต่งอาคารและส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมต่าง ๆ อาคารที่สร้างเนื่องในทางพระพุทธศาสนามักมีความนิยมประดับตกแต่งด้วยภาพปูนปั้นแบบนูนต่ำในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร เช่น ซุ้มประตู หน้าบันผนังอาคาร เป็นต้น ลักษณะของภาพปูนปั้นมักทำเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษา สัตว์ และรูปบุคคลที่ใช้เล่าเรื่องราวทางศาสนา เช่น พระพุทธประวัติ ชาดก และวรรณคดีที่นิยมในท้องถิ่นนั้น ๆ  วัดช้างรอบ เป็นโบราณสถานตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรัง นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร เจดีย์ประธานของวัดประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีบันไดอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่เพื่อใช้ขึ้นไปถึงลานด้านบน ส่วนของผนังฐานสี่เหลี่ยมของเจดีย์ประธานประดับประติมากรรมรูปช้างปูนปั้น จำนวน ๖๘ เชือก ในอิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่นิยมสร้างเจดีย์ทรงระฆังที่มีการประดับประติมากรรมรูปช้างล้อมรอบส่วนของฐานเจดีย์ ประติมากรรมรูปช้างมีการประดับลวดลายปูนปั้นที่บริเวณแผงคอ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับลายชายผ้าของเทวรูปพระอิศวรสำริด ที่พบยังเมืองกำแพงเพชรและมีจารึกที่ระบุการสร้างในปี พ.ศ. ๒๐๕๓ รวมทั้งจากหลักฐานโบราณวัตถุที่พบประเภทกระเบื้องมุงหลังคาดินเผาชนิดกระเบื้องเชิงชายลายดอกบัวและลายเทพพนม สามารถกำหนดอายุด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรม(Comparative dating) ได้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ –๒๒ส่วนของเจดีย์ที่อยู่เหนือชั้นฐานประทักษิณคงเหลือเฉพาะชั้นหน้ากระดานแปดเหลี่ยมและชั้นหน้ากระดานกลม ที่ชั้นหน้ากระดานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยมมีการประดับด้วยประติมากรรมดินเผารูปหงส์เหนือขึ้นไปมีช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบองค์เจดีย์ จำนวน ๔๔ ช่อง ขนาดความกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ความยาว ๙๐ เซนติเมตร และในช่องรอบองค์เจดีย์แต่ละช่องนั้น มีการประดับภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพระพุทธประวัติในลักษณะการเรียงลำดับเหตุการณ์จากด้านทิศเหนือของเจดีย์เวียนขวารอบฐานเจดีย์ภาพปูนปั้นเหล่านี้มีลักษณะพิเศษคือการใช้สีดำร่างลายเส้นรูปภาพก่อน แล้วจึงใช้ปูนปั้นทับลายเส้นสีดำภายหลังภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพระพุทธประวัติ เหตุการณ์ตอนประสูติเจ้าชายสิทธัตถะเป็นช่องลำดับเหตุการณ์ที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์ประธานปรากฏเป็นรูปบุคคลยืนอยู่บนดอกไม้ มือขวายกขึ้น มือซ้ายห้อยลงข้างลำตัว ส่วนของพระเศียรกะเทาะหายไป แต่ยังคงปรากฏลายเส้นของรัศมีรอบพระเศียร สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธประวัติเหตุการณ์ตอนที่ พระนางสิริมหามายาผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะ ขณะที่ทรงเดินทางไปยังแผ่นดินเกิด คือ กรุงเทวทหะ ในระหว่างทางได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะ ณ สวนลุมพินีวัน ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ โดยทรงอยู่ในอิริยาบถยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ในพระหัตถ์ขวาส่วนเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติแล้ว ได้ทรงก้าวย่างพระบาทและยืนอยู่บนดอกบัว หนังสือพระปฐมสมโพธิ ฉบับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ปริเฉทที่ ๓คัดภานิกขมนปริวรรต ได้ระบุถึงเหตุการณ์หลังการประสูติของพระโพธิสัตว์ว่าพระราชกุมารได้ประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือและก้าวย่างพระบาทไป ๗ ก้าว ซึ่งในทุกก้าวก็ได้มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท เมื่อพระราชกุมารทรงเดินครบ ๗ ก้าว ก็ได้เปล่งวาจาออกมาว่า “...ในโลกนี้เราเป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุดการเกิดของเรานี้เป็นครั้งสุดท้ายภพใหม่ต่อไปไม่มี…”นิทานกถา พระพุทธประวัติตอนต้น ฉบับพระพุทธโฆสเถระ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แปลและเรียบเรียง ได้ระบุว่า“...พระโพธิสัตว์เสด็จประทับยืนเหนือพื้นปฐพีทรงทอดพระเนตรไปยังทิศบูรพาจักรวาฬมากมายหลายพันก็รวมเป็นเนินเนื่องถึงกันเป็นอันเดียว...พระโพธิสัตว์ทรงตรวจดูไปตามทิศทั้ง ๑๐คือทิศใหญ่ ๔และทิศน้อย ๔ทิศเบื้องล่าง ๑ทิศเบื้องบน ๑ไม่ทรงเห็นผู้ที่เสมอด้วยพระองค์จึงทรงกำหนดว่าทิศนี้เป็นทิศเหนือแล้วทรงดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าวมีท้าวมหาพรหมเชิญเศวตฉัตรสุยามเทพบุตรเชิญวาลวีชนีและเทวดาอื่นๆถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์นอกนั้นดำเนินตามครั้นแล้วพระโพธิสัตว์ประทับยืนอยู่ในก้าวที่ ๗ทรงเปล่งพระอาสภิวาจา(คำของผู้สูงสุด) บันลือสีหนาทว่าข้าพเจ้าเป็นยอดคนของโลกดังนี้เป็นอาทิ….”เรื่องราวในพระพุทธประวัติตอนประสูติเจ้าชายสิทธัตถะได้ปรากฏเช่นกันในงานศิลปกรรม ตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ หน้าบันของเจดีย์บริวารด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธานวัดมหาธาตุ เมืองเก่าสุโขทัย โดยเป็นการประดับภาพปูนปั้นรูปบุคคลที่เป็นเพศหญิง จำนวน ๔ คน ในอิริยาบถยืน โดยหนึ่งในบุคคลดังกล่าวได้มีการยกมือขวาขึ้นเหนี่ยวกิ่งไม้และมีผู้ที่คอยประคองอยู่ด้านข้าง สันนิษฐานว่าเป็นรูปของพระนางสิริมหามายาขณะที่มีพระประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งในส่วนของรูปปูนปั้นของเจ้าชายสิทธัตถะน่าจะอยู่ตรงกลางภาพที่ได้หลุดกะเทาะหายไปงานจิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพฯ ได้ปรากฏเรื่องราวในพระพุทธประวัติตอนประสูติเจ้าชายสิทธัตถะในรูปของพระนางสิริมหามายา ทรงยกมือขึ้นคว้าเหนี่ยวกิ่งไม้และประทับยืนแวดล้อมไปด้วยเหล่าข้าราชบริพาร ส่วนของรูปของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติแล้วทรงยืนโดยมีพระพรหมและพระอินทร์ขนาบด้านข้างงานประติมากรรมเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ณ ลุมพินีวัน กรมพระราชพิธีส่งมอบให้พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔เป็นงานประติมากรรมรูปของพระนางสิริมหามายา ทรงยกมือขวาขึ้นเหนี่ยวกิ่งไม้ และเจ้าชายสิทธัตถะทรงยืนโดยมีเทวดานั่งคุกเข่าอยู่สองข้างภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพระพุทธประวัติ เหตุการณ์ตอนประสูติเจ้าชายสิทธัตถะณ วัดช้างรอบจึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรมีคติความเชื่อในเรื่องราวของพระพุทธศาสนา และสืบทอดความศรัทธานั้น ผ่านงานศิลปกรรมอันงดงามและภูมิปัญญาของช่างโบราณ เป็นประจักษ์พยานให้ยังคงปรากฏในปัจจุบัน.เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. จิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์.นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๗.กรมศิลปากร. นิทานกถา พระพุทธประวัติตอนต้น ฉบับพระพุทธโฆสเถระ นายธนิต อยู่โพธิ์ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.สัมพันธ์พาณิชย์ บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๓๐.กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ.นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๘.กรมศิลปากร. รายงาน องค์ความรู้ เรื่อง การปั้นปูนในงานสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ, ๒๕๕๕.ประทีป  เพ็งตะโก. “กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๐.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรม ศัพท์ศิลปกรรมไทย.นนทบุรี: บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด, ๒๕๕๙.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. พระปฐมสมโพธิกถา. กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๐๕.อนันต์  ชูโชติ. “เจดีย์วัดช้างรอบ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร.” สาระนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๒๓.



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.41/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)  ชบ.บ.83/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-1ข  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger