ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.332/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132 (343-358) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช - เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประสูติเป็นลำดับที่ ๗ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นทรงกรมเป็น “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร”
กรมสงขลา - เดิมพระนามกรมนี้ เป็นพระอิสริยยศในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนมไหสูริยสงขลา โดยได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔ กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ภายหลังเสด็จกลับมารับราชการ จึงได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนพระนามกรมเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต นามกรมนี้จึงได้เป็นของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ในอีก ๒ ปีต่อมา นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวของพระนาม “สงขลา” ในหนังสือเจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์ ระบุว่าเมื่อครั้งทรงศึกษาอยู่ต่างประเทศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชทรงใช้พระนามว่า Mr. Mahidol Songkla ดังนั้น พระโอรส - ธิดาของพระองค์จึงได้ใช้นามสกุล “สงขลา” (ภายหลังในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พระบาทสมเด็จพระปกกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามสกุลเป็น “มหิดล ณ อยุธยา”)
บรมราชชนก - สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒ (รัชกาลที่ ๗) ทรงได้รับการเฉลิมพระราชอิสริยยศพระศพขึ้นเป็น “กรมหลวง” จนในรัชกาลที่ ๙ ทรงรับการเฉลิมพระนามพระอัฐิเป็น “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ทรงพระราชฐานันดรศักดิ์เสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้าในพระบรมราชวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ปัจจุบัน พระราชสรีรางคารของพระองค์ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระสถูปแห่งราชสกุลมหิดล ลักษณะเป็นพระเจดีย์ครึ่งองค์ บริเวณหน้ามุขด้านทิศตะวันออกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ตามพระราชประสงค์ที่ระบุว่า ...เพื่อสังวาลย์และลูกๆ จะได้มาหาโดยสะดวก...
. (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
ชื่อผู้แต่ง วชิรญาณวงศ, สมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง ขันธโลกวิจาร และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์
ปีที่พิมพ์ ๒๔๗๘
จำนวนหน้า ๖๓ หน้า
หมายเหตุ คณะผู้แทนราษฎรจังหวัดในปักษ์ใต้ พิมพ์เป็นธรรมทาน โดยเสด็จพระราชกุศลพุทธศาสนูปถัมภ์ ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา พุทธศักราช ๒๔๗๘
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ขันธปัญจกนัย หรือปัญจขันธ์ เป็นหลักคำสอนทางพุทธศาสนา และสอดแทรกเรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ราชกิจจานุเบกษา ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเป็นหนังสือที่รวบรวมเนื้อหาทั้งทางธรรมและทางโลก เพื่อให้ผู้อ่านถือคติกระทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมือง
ชื่อเรื่อง : บริรักษเวชชการอนุสรณ์
ชื่อผู้แต่ง : กระทรวงสาธารณสุข
ปีที่พิมพ์ : 2511
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยเขษม
จำนวนหน้า : 256 หน้า
สาระสังเขป : บริรักษเวชชการอนุสรณ์ เป็นบทความเกี่ยวกับการสาธารณสุข จำนวน 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1. เรื่องการสาธารณสุข โดยพระยาบริรักษเวชการ กล่าวถึงประวัติการสาธารณสุขของไทย อาทิ การใช้พระราชกำหนดสุขาภิบาล การจัดการสาธารณสุขในท้องถิ่น การจัดตั้งศุขศาลาที่เน้นเรื่องการป้องกันโรคให้แก่ประชาชน เป็นต้น 2. เรื่องประวัติการสุขาภิบาลในประเทศไทย โดยพระบำราศนราดูร กล่าวถึงพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการสุขาภิบาลไทย เช่น พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 พระราชบัญญัติสำหรับตรวจป้องกันโรคสัตว์พาหนะ ร.ศ.119 เป็นต้น 3. เรื่อง ประวัติการควบคุมโรคติดต่ออันตรายในประเทศไทย โดยนายแพทย์ประเมิน จันทวิมล กล่าวถึงโรคติดต่ออันตรายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค และแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดโรค 4. เรื่อง ประวัติการแพทย์ของไทย โดยนายแพทย์สงัด เปล่งวานิช กล่าวถึงประวัติการแพทย์ไทย 3 ยุค ได้แก่ ยุคแรก พ.ศ. 2054 - 2370 ยุคที่ 2 พ.ศ. 2371 - 2475 และยุคที่ 3 พ.ศ. 2575 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2514)
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ขอเชิญชม
โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกสัตลุง ตรีเมฆ
วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ
นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดยสมชาย อยู่เกิด
บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท
เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ(เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด
ชื่อผู้แต่ง พูนพิศมัย ดิสกุล, หม่อมเจ้าหญิง
ชื่อเรื่อง ตอบปัญหาธรรม
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๙
จำนวนหน้า ๕๕ หน้า
ตอบปัญหาธรรม เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เหมาะกับชนทุกชั้นทุกวัย ดำเนินเรื่องในรูปแบบการถามและการตอบปัญหาเกี่ยวกับทางธรรม ซึ่งได้จัดดำเนินการทางวิทยุกระจายเสียง ททท. เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติโดยสังเขปของพลโทบัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผังลำดับสายพลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปัญหาที่ถามพร้อมคำตอบเกี่ยวกับพุทธศาสนา รวมทั้งภาพประกอบ
“เจ็ดเสมียน” ชื่อนี้มีที่มา
“เจ็ดเสมียน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ชื่อนี้ปรากฎอยู่ในหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นตำนานบอกเล่า เช่น ในตำนานพระปฐมเจดีย์ ฉบับพระยาราชสัมภารากรและฉบับตาปะขาวรอด ได้บันทึกเรื่องราวของนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยากง พระยาพาน โดยได้กล่าวถึง “บ้านเจ็ดเสมียน” เมื่อครั้งที่พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยให้บุตรบุญธรรมคือพระยาพาน ซึ่งเป็น ผู้มีบุญญาธิการมาก ลงมาซ่องสุมผู้คนตั้งอยู่ที่ “บ้านเจ็ดเสมียน”
ความเป็นมาของชื่อบ้าน “เจ็ดเสมียน” ปรากฏเรื่องราวเล่าขานเป็นตำนานท้องถิ่นสืบต่อกันมาว่าในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระเจ้าตากสินมหาราชได้รวบรวมไพร่พลออกจากกรุงศรีอยุธยาเดินทางผ่านมายังเมืองราชบุรี แล้วโปรดให้รี้พลพากันข้ามแม่น้ำแม่กลองไปตั้งค่ายพักแรมบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ จากนั้นดำริให้ป่าวประกาศรับสมัครชายชาติทหารเพื่อร่วมรบกับข้าศึก เช้าวันรุ่งขึ้นมีผู้คนมาสมัครเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงโปรดให้รับสมัครผู้รู้หนังสือมาเป็นเสมียนรับลงทะเบียนเพิ่มเติม ปรากฏว่ามีคนมาอาสาทำหน้าที่ดังกล่าวถึง ๗ คน และทำการบันทึกรายชื่อทหารได้ทันพลบค่ำพอดี จึงกลายเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “เจ็ดเสมียน”
ในนิราศพระแท่นดงรังของสามเณรกลั่น ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง ได้เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของย่านเจ็ดเสมียน ว่าเจ็ดเสมียนเป็นย่านใหญ่ เดิมมีจระเข้อยู่เป็นจำนวนมาก แม้พระมหากษัตริย์จะใช้เสมียนถึงเจ็ดคนมาทำการจดก็ยังไม่พอ
“...ถึงบางกระไม่เห็นกระปะแต่บ้าน เป็นภูมิฐานทิวป่าพฤกษาไสว โอ้ผันแปรแลเหลียวให้เปลี่ยวใจ ถึงย่านใหญ่เจ็ดเสมียนเตียนสบาย ว่าแรกเริ่มเดิมทีมีตะเข้ ขึ้นผุดเร่เรียงกลาดไม่ขาดสาย จอมกระษัตริย์จัดเสมียนเขียนเจ็ดนาย มาจดหมายมิได้ถ้วนล้านกุมภา...”
ชื่อ“เจ็ดเสมียน” ปรากฏอยู่ใน “กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เมื่อคราวที่เสด็จไปรับศึกพม่าที่กาญจนบุรีปลายพ.ศ. ๒๓๒๙ ทรงกล่าวถึงสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินรวมทั้ง “เจ็ดเสมียน” ดังความในพระราชนิพนธ์ว่า
“...ถึงท่าราบเหมือนที่ทาบทรวงถวิล ยิ่งโดยดิ้นโหยหวนครวญกระสัน ด้วยได้ทุกข์ฉุกใจมาหลายวัน จนบรรลุเจ็ดเสมียนตำบลมา ลำลำจะใคร่เรียกเสมียนหมาย มารายทุกข์ที่ทุกข์คะนึงหา จึงรีบเร่งนาเวศครรไลคลา พอทิวากรเยื้องจะสายัณห์...”
นอกจากนี้ยังมีนิราศซึ่งเป็นลักษณะของการพรรณนาการเดินทางอีกหลายเรื่องที่กล่าวถึง เจ็ดเสมียน ในความหมายของเสมียนจำนวนเจ็ดคน เช่น โคลงนิราศตามเสด็จทัพลำน้ำน้อยแขวงเมืองกาญจนบุรี ของพระยาตรัง, โคลงนิราศทวายของพระพิพิธสาลี, ลิลิตเสด็จไปขัดทัพพม่าเมืองกาญจนบุรี พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ, นิราศไทรโยค พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และเรื่องเที่ยวไทรโยคคราวสมเด็จพระราชปิตุลา บรมวงศาภิมุข เสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ฯ
ในพระราชนิพนธ์ “ระยะทางเสด็จประพาสไทรโยคในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งแรก ปีฉลู พ.ศ.๒๔๒๐ ได้กล่าวถึง “เจ็ดเสมียน” ว่า
“...วัดเจ็ดเสมียน ลานวัดกว้างใหญ่ต้นไม้ร่มดูงามนัก เรือลูกค้าจอดอาศัยอยู่ที่นี่มาก บ้านเจ็ดเสมียนนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักเลงกลอน พอใจจะอยากไหว้วานให้เสมียนมาจดแทบทุกฉบับ ในนิราศพระพุทธยอดฟ้าก็ว่าถึงเจ็ดเสมียนนี้เหมือนกัน...”
รายงานทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่าวัดเจ็ดเสมียนเป็นวัดราษฎร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๐๐ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีชุมชนเก่าแก่ และที่มาของชื่อวัดอาจตั้งตามชื่อหมู่บ้านซึ่งมีอยู่มาแต่เดิม ตามลักษณะของการตั้งชื่อสถานที่ ชื่อที่ตั้งขึ้นแต่ละยุคสมัยจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ปรากฏในสมัยใดสมัยหนึ่ง ชื่อจึงเป็นเครื่องหมายบอกเรื่องราวภูมิหลังเพื่ออ้างอิงการรับรู้ร่วมกัน ชื่อบ้าน “เจ็ดเสมียน” สะท้อนแนวคิดในเรื่องชื่อบ้านนามเมืองหรือภูมินามพื้นบ้าน เป็นการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชุมชนผ่านการตั้งชื่อ ในสมุดราชบุรีปี ๒๔๖๘ ระบุว่า“เจ็ดเสมียน”เคยเป็นที่ตั้งของอำเภอมาก่อน โดยอำเภอโพธารามเดิมเรียกว่า อำเภอเจ็ดเสมียน ต่อมาในปี ๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) จึงได้ย้ายขึ้นไปตั้งที่ตำบลโพธารามทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินซ้อมรบเสือป่าที่จังหวัดราชบุรี และใช้พื้นที่เจ็ดเสมียนในการซ้อมรบด้วย
จากหลักฐานที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า “เจ็ดเสมียน” มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่อดีตและชื่อบ้านเจ็ดเสมียนอาจมีที่มาจากตำนานและคำบอกเล่าซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้หากชื่อบ้าน “เจ็ดเสมียน” ตั้งขึ้นมาจากตำนานบอกเล่า เรื่องเสมียนเจ็ดคนในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว แสดงว่าคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เจ็ดเสมียนและบริเวณใกล้เคียงนั้น นอกจากจะมีใจจงรักภักดีสมัครไปทำสงครามเป็นจำนวนมากแล้ว จะต้องมีผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เพราะตำแหน่ง
“เสมียน” ที่ปรากฏในตำราจินดามณี กำหนดไว้ว่าใครจะเป็นเสมียนจะต้องรอบรู้ ๘ สิ่งในเรื่องของหลักภาษาและวรรณยุกต์
“...เปนเสมียนรอบรู้ วิสัญช์
พินเอกพินโททัณฑ ฆาตคู้
ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต
แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึงให้เป็นเสมียน...”
เรียบเรียงโดย ปราจิน เครือจันทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
เอกสารอ้างอิง
พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ กลอนเพลงยาวนิราศ เรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดง,หลวงโสภณอักษรกิจ พิมพ์สนองพระคุณ ท่านเจ้าพระยารามราฆพ ฯ ในงานฉลองสุพรรณบัฎ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔.
กรมศิลปากร,จินดามณี พิมพ์แจกในงานศพคุณหญิงพิรุฬห์พิทยาพรรณ ณ วัดไตรมิตตวิทยาราม ๑๕ เมษายน ๒๔๘๕ ,กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๘๕.
กรมศิลปากร, นิราศไทรโยค พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์,พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางอนงค์ สิงหศักดิ์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๘.
กรมศิลปากร, พระบวรราชนิพนธ์เล่ม ๑, กรุงเทพฯ :กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร,๒๕๔๕.
กรมศิลปากร,วรรณคดีพระยาตรัง. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บรรณาคาร, ๒๕๑๕
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,มูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยามชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,กรงเทพฯ:บรรณกิจ,๒๕๔๓.
สมุดราชบุรี พ.ศ.๒๔๖๘ ,กรุงเทพฯ:สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย,๒๕๕๐.
http:// www.chetsamian. go.th
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศัสตราวุธ พระที่นั่งบูรพาภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กลองทั้งสามใบนี้แต่เดิมอยู่ที่หอกลองประจำเมืองกรุงเทพฯ ที่สวนเจ้าเชตุ หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) หอกลองมี ๓ ชั้น ชั้นล่าง “กลองย่ำพระสุริย์ศรี” ใช้สำหรับตีบอกสัญญาณย่ำรุ่ง-ย่ำค่ำ เวลาเปิดปิดประตูเมือง ชั้นกลาง “กลองอัคคีพินาศ” ใช้สำหรับตีบอกสัญญาณเมื่อเกิดอัคคีภัย และกลองชั้นสุดบน “กลองพิฆาตไพรี” ใช้สำหรับตีบอกสัญญาณเมื่อมีข้าศึกมาประชิดเมือง
เมื่อมีการใช้นาฬิกาแพร่หลายพ้นสมัยการตีกลองให้สัญญาณ จึงย้ายกลองทั้งสามใบนี้ไปยังหอนาฬิกาศาลสถิตยุติธรรม และหอนาฬิกาศาลาว่าการกระทรวงกลาโหมตามลำดับ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๔ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถาน
ทั้งนี้จากตำรายันต์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ระบุถึงยันต์และหนังสัตว์ที่ขึงหน้ากลองว่า กลองชั้นล่าง “ย่ำพระสุริย์ศรี” ขึงหนังกระบือ กลองชั้นกลาง “อัคคีพินาศ” ขึงหนังโค และกลองชั้นบน “พิฆาตไพรี” ขึงหนังหมีและหนังเสือ
ชื่อเรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม 3ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ขนมธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่ 390.22 จ657พสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์ 2506ลักษณะวัสดุ 222 หน้าหัวเรื่อง พระราชพิธี ไทย – ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกล่าวถึงพระราชพิธีเดือน 9 ถึงพระราชพิธีเดือน 11 ว่าด้วยเรื่อง ประเพณีต่างๆ และพระราชพิธี ฯลฯ
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "ตุ๊กตาสังคโลกรูปบุคคลจากแหล่งเรือจมกลางอ่าวไทย" วิทยากรโดย นายคงกมล รัฐปัตย์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนพฤษภาคม เรื่อง พระพุทธรูปลีลา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงพระพุทธรูปลีลา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแบบนูนสูง แสดงอิริยาบถเดิน โดยพระบาทซ้ายก้าวไปข้างหน้า พระบาทขวายกส้นพระบาทขึ้นเล็กน้อย ยกพระหัตถ์แสดงปางประทานอภัย นับเป็นการสร้างสรรค์งานประติมากรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของศิลปะสุโขทัย เป็นการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ตามคตินิยมเรื่อง “มหาบุรุษลักษณะ” ที่มีความงามตามอุดมคติอย่างแท้จริง คือ มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระเนตรเรียวยาวปลายตวัดขึ้น พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อยหยักเป็นคลื่น พระวรกายได้สัดส่วนมีความงามตามอุดมคติของสกุลช่างสุโขทัย คือ พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก พระหัตถ์เรียวทอดลงเบื้องล่างอย่างได้สัดส่วน ต้นขาเรียวไม่แสดงกล้ามเนื้อ ไม่แสดงข้อต่อใด ๆ จัดเป็นศิลปะสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ชื่อเรื่อง ประเพณีท้องถิ่น แหล่งศิลปกรรมอำเภอพรหมบุรีผู้แต่ง สำนักงานศึกษาธิการอำเภอพรหมบุรีประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่ 394.2 ศ616ปสถานที่พิมพ์ สิงห์บุรีสำนักพิมพ์ สำนักงานศึกษาธิการอำเภอพรหมบุรีปีที่พิมพ์ 2543ลักษณะวัสดุ 62 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง สิงห์บุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณี สิงห์บุรี -- โบราณสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เอกสารฉบับนี้ได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของแหล่งศิลปกรรม ตำนานแม่ครัวหัวป่า และประเพณีท้องถิ่นของอำเภอพรหมบุรี โดยได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลท้องถิ่น และบุคคลผู้สูงอายุ
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ขอนำภาพพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศ ร้อยเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมทหาร ตำรวจ และราษฎรในพื้นที่บ้านหมากแข้ง ตำบลกกสะทอน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เคลื่อนไหว และยังทรงทำหน้าที่เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการออกลาดตระเวนพิสูจน์ทราบด้วยพระองค์เอง ในระหว่างนั้น ผู้ก่อการร้ายได้ระดมยิงมายังชุดปฏิบัติการของพระองค์ โดยพระองค์ทรงมีพระสติมั่นคง ทรงมีพระราชดำรัสสั่งทหารดำเนินกลยุทธ์ ยิงตอบโต้ จนกระทั่งผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ล่าถอยไป
วันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๕๐ น. นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สมาชิกผู้แทนราษฎร ร่วมเป็นประธานในพิธีบวงสรวงโบราณสถานเมืองไผ่ ในการนี้มี ผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตัวแทนส่วนราชการจังหวัดสระแก้วและประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธีดังกล่าว ณ โบราณสถานเมืองไผ่ จังหวัดสระแก้ว
สำหรับโบราณสถานเมืองไผ่ เป็นเมืองโบราณสำคัญอีกแห่งในภาคตะวันออก ที่มีพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี และมีพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงในสมัยที่วัฒนธรรมเขมรโบราณ เข้ามามีบทบาทอยู่ในดินแดนแถบนี้ ซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ อีกทั้งจากผลการสำรวจในปัจจุบัน เมืองไผ่ ยังถือได้ว่า เป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีที่ตั้งอยู่ชายขอบสุดของภาคตะวันออกอีกด้วย