ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 27/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า : กว้าง 4.5 ม.ยาว 54.4 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ก้อนดินเผากลมประทับตรารูปเรือ
สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ (๑,๖๐๐-๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว)
ได้มาจากจังหวัดนครปฐม
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ก้อนดินเผากลมประทับตรารูปเรือลวดลายนูนต่ำรูปเรือใบ มีบุคคลโดยสารอยู่ภายใน เรือใบประกอบไปด้วยเสากระโดงเรือหนึ่งต้น มีเชือกผูกติดเสาสองเส้น ยอดเสากระโดงเรือมีธงติดอยู่ และมีใบเรือหนึ่งผืนอยู่ทางด้านหน้าเรือ
ก้อนดินเผากลมประทับตรารูปเรือปรากฏในวัฒนธรรมอินเดียตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ เช่น ที่เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-daro) และฮารัปปา (Harappa) ประมาณ ๓,๓๐๐-๕,๓๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาในสมัยราชวงศ์ศาตวาหนะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๔-๘) นิยมทำเหรียญด้านหนึ่งเป็นรูปเรือเสากระโดงคู่ ซึ่งการทำก้อนดินเผาประทับตรารูปเรือยังสืบเนื่องมาจนถึงสมัยคุปตะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑) และสมัยปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔) สันนิษฐานว่าก้อนดินเผาประทับตรารูปเรือนี้ พ่อค้าชาวอินเดียสมัยคุปตะ เป็นผู้นำเข้ามายังภูมิภาคนี้ พร้อมๆ กับการค้าและการเผยแผ่ศาสนา และพบร่วมกับตราประทับดินเผาลวดลายอื่น ๆ ที่เป็นลายมงคล (เช่น ลายสิงห์ ม้า โค ท้าวกุเวรและคชลักษมี ฯลฯ) ในบริเวณเมืองนครปฐมโบราณ และเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองซับจำปา จังหวัดลพบุรี และเมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น
ทั้งนี้การเดินเรือเป็นที่รู้จักในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลักฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ประมาณ ๓,๕๐๐-๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในประเทศไทยมีตัวอย่างคือรูปเรือบนกลองมโหระทึก และภาพเขียนสีรูปเรือ เช่น ที่ถ้ำพญานาค จังหวัดกระบี่ และภาพเขียนสีรูปเรือ ที่แหล่งโบราณคดีเพิงผา เมืองบารู สุลาเวสีตอนใต้ ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับแหล่งเรือจมสมัยทวารวดีมีตัวอย่างคือ แหล่งเรือจมคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แหล่งเรือควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง แหล่งเรือบ้านโคกขวาง จังหวัดราชบุรี แหล่งเรือจมปากคลองกล้วย จังหวัดระนอง และแหล่งเรือพนมสุรินทร์ จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีค่าอายุเก่าที่สุด ประมาณ พ.ศ. ๑๓๓๑
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี: ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๒.
เอิบเปรม วัชรางกูร. ประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีไทย. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, ๒๕๔๔.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 35/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 130/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 166/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
กรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัดทำไฟล์แผ่นภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๖๖ เรื่อง ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ ยักษ์ นาค จำนวน ๘ แบบ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องราว ความสำคัญเกี่ยวกับ รูปเคารพ ครุฑ ยักษ์ นาค ที่มีความเชื่อมโยงในงานโบราณคดี ประวัติศาสตร์ วรรณกรรมและสถาปัตยกรรมขอเชิญชวนทุกท่านส่งความสุขให้แก่กันในช่วงเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๖ ค่ะเข้าถึงได้โดย https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/37645-กรมศิลปากร-ได้ดำเนินการจัดทำไฟล์แผ่นภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม-ประจำปี-๒๕๖๖-เรื่อง-ภูมิบริรักษ์---ครุฑ-ยักษ์-นาค-จำนวน-๘-แบบ
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมการแสดงดนตรี “เพลงรักในบทเพลงพระราชนิพนธ์” โดยวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ในวันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องจัดแสดง ชั้น ๒ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร สำนักหอสมุดแห่งชาติ ร่วมกับวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ จัดการแสดงดนตรี “เพลงรักในบทเพลงพระราชนิพนธ์” โดยอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาบรรเลงและขับร้อง เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านดนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ บทเพลงที่บรรเลงและขับร้อง อาทิ ความฝันอันสูงสุด เตือนใจ แสงเดือน ไร้เดือน Oh I say เทวาพาคู่ฝัน still on my mind ไร้รักไร้ผล ดวงใจ ความรัก สุริยันจันทรา และโยสลัม นอกจากนี้ ยังมีบทเพลงรักอื่นๆ ที่มีชื่อเสียง เช่น รักไม่รู้ดับ สุดที่รัก มั่นใจไม่รัก ฝากรัก ศรรัก ขอพบในฝัน ธารน้ำรัก และรักหนึ่งในดวงใจ
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าชมการแสดงดนตรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในวันเสาร์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. ณ ห้องจัดแสดง ชั้น ๒ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ลงทะเบียนหน้างานได้ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ บริเวณ ชั้น G หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ
ลับแลศิลา
ศิลปะจีน พุทธศตวรรษที่ ๒๔- ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕
สมบัติเดิมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตั้งอยู่ด้านข้างอาคารพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ทางทิศเหนือ และทิศใต้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ลับแลศิลา ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า สูง ๑๙๘ เซนติเมตร กว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร สลักจากหินสีเขียว ล้อมรอบด้วยกรอบสี่เหลี่ยม ด้านล่างรองรับด้วยฐานสิงห์ ภายในแผ่นศิลาเขียวแบ่งพื้นที่ในแนวตั้งออกเป็นสามส่วน แสดงเรื่องราววรรณกรรมจีน เรื่อง ไป่เหริ่นถาง แปลว่า “ศาลแห่งร้อยขันติธรรม” พร้อมทั้งแทรกสัญลักษณ์มงคล อาทิ รูปสลักชายอุ้มเด็ก หรือ ขันทีถือถาดผลท้อ ซึ่งในคติจีนหมายถึง “โซ่ว” แปลว่า ความมีอายุยืน
ลับแล เป็นสิ่งที่นิยมใช้ตกแต่งเรือนที่อยู่อาศัยของชาวจีน ปรากฏทั้งอาคารพระราชวัง วัด บ้านเรือนขุนนาง คหบดี โดยใช้เป็น “ผนังกันผี” และเป็น “ผนังบังตา” กล่าวคือ ผนังกันผีจะตั้งอยู่บริเวณประตูทางเข้าเรือน ผู้ที่จะผ่านเข้า-ออก นั้น จะต้องเดินอ้อมผ่านผนังทางด้านซ้ายหรือขวา ไม่สามารถเดินตรงเข้ามา ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าผีหรือสิ่งอัปมงคลจะมีเส้นทางเดินเป็นเส้นตรง ดังนั้นจึงต้องตั้งผนังบังเอาไว้ ส่วนการเป็นผนังบังตานั้นหมายความว่า เป็นผนังที่กั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวภายในเรือน และยังแบ่งสัดส่วนพื้นที่ในเรือนได้ชัดเจน (ในคำอธิบายตามความเชื่อจีนกล่าวว่า ช่วยปกป้องความเป็นสิริมงคลให้หมุนเวียนอยู่ภายในบ้าน) โดยอาจมีภาพวาดหรือภาพแกะสลักบนลับแลก็ได้
ในสังคมไทยมีการนำลับแลมาประยุกต์ใช้เช่นกัน เชื่อว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากชาวจีนผ่านการค้าแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์ พบการติดตั้งลับแลทั้งในเขตพระราชวังและวัด เช่น ผนังบังตาด้านในประตูกำแพงแก้ววัดทองธรรมชาติ กรุงเทพฯ นอกจากนี้จิตรกรรมฝาผนังตามวัดหลายแห่งวาดลับแลไว้อยู่ตามฉากอาคารเรือนและปราสาท ส่วนลับแลศิลาชิ้นนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าประตูทางเข้า*ไปสู่ท้องพระโรงพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ของพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สันนิษฐานว่าลับแลนี้น่าจะนำเข้ามาติดตั้งในคราวพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
สำหรับวรรณกรรมเรื่องไป่เหริ่นถาง เป็นเรื่องราวที่เกิดในสมัยพระจักรพรรดิถังเกาจง (พ.ศ. ๑๑๗๑ - ๑๒๒๖) จักรพรรดิองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์ถัง มีที่มาโดยสังเขปคือ ผู้เฒ่าคนหนึ่งนามว่า “จางกงอี้” เป็นผู้ที่สามารถปกครองครอบครัวใหญ่ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกมากถึง ๙๐๐ คน ได้อย่างสงบสุข และสามัคคีกันเป็นอย่างดี จักรพรรดิถังเกาจงทรงทราบความ ได้เชิญจางกงอี้ มาถามถึงแนวทางในการปกครอง จางกงอี้จึงหยิบกระดาษและเขียนความว่า “เหยิ่น” ซึ่งแปลว่าขันติธรรม และได้เขียนแนวทางไว้รวมทั้งหมด ๑๐๐ ข้อปฏิบัติ** ใจความสำคัญของขันติธรรมนั้นอยู่ที่การปฏิบัติตน อาทิ ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู มีความกล้าหาญ มีความอดกลั้น ฯลฯ จักรพรรดิถังเกาจงพอพระทัยต่อคำอธิบายนี้จึงได้พระราชทานป้ายเขียนว่า “ศาลแห่งร้อยขันติธรรม” แก่ผู้เฒ่าจางกงอี้ ไว้ประดับในศาลบรรพบุรุษตระกูลจาง ให้เป็นแนวทางปฏิบัติสืบกันต่อไป
*ซึ่งประตูทางเข้าและกำแพงล้อมรอบนั้นถูกรื้อออกไปในสมัยหลัง
**อ่านหลักขันติธรรมทั้งร้อยข้อได้ใน ฉัตรชัย ลีลหานนท์. “ของชิ้นเอกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ: ศาลแห่งร้อยขันติธรรม.” ศิลปากร ๕๔, ๒ (มีนาคม – เมษายน ๒๕๕๔): ๑๐๙-๑๒๗.
อ้างอิง
ฉัตรชัย ลีลหานนท์. “ของชิ้นเอกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ: ศาลแห่งร้อยขันติธรรม.” ศิลปากร ๕๔, ๒ (มีนาคม – เมษายน ๒๕๕๔): ๑๐๙-๑๒๗.
มาลินี คัมภีรญาณนนท์. “มรดกวัฒนธรรมจีน: บังตา (หยิ่งปี้) และผนังกั้นผี (เจ้าปี้) บนจิตรกรรมฝาผนัง.” ในหนังสือรวมบทความทางวิชาการจากการประชุมทางวิชาการนานาชาติ เรื่อง “มรดกวัฒนธรรม: ไทยกับเพื่อนบ้าน.” กรุงเทพฯ: ธรรมสาร, ๒๕๔๙.
ศานติ-นวรัตน์ ภักดีคำ. “ลับแลสลักศิลาอย่างจีนข้างพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.” ศิลปวัฒนธรรม ๒๙, ๑๑ (กันยายน ๒๕๕๑): ๑๕๒-๑๖๑.
ชื่อเรื่อง : ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 1 ภาค 2 ภาค 3 และภาค 4 ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายอรรถ ค้อคงคา ต.ม., ต.ช. ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2512 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี จำนวนหน้า : 428 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยการรวบรวมประวัติส่วนตัว การศึกษา การทำงาน และครอบครัว รวมถึงคำไว้อาลัยนายอรรถ ค้อคงคา และเริ่มต้นด้วยประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 1 พากย์สามตระ ภาค 2 ชุดสีดาหาย ภาค 3 ตอนพระรามได้ขีดขิน ภาค 4 ตอนหนุมานถวายแหวน
ชื่อผู้แต่ง อนุสรณ์ โสภา สัมพันธารักษ์
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์ โสภา สัมพันธารักษ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ อมรินทร์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๘
จำนวนหน้า ๒๐๘ หน้า
อนุสรณ์ โสภา สัมพันธารักษ์ เนื้อหาในหนังสือได้กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับโรคไต การทำงานของไต ไตเป็นอวัยวะรูปถั่วขนาดเล็ก ๆ เท่ากับกำปั้นสองอันอยู่สองข้างของกระดูกสันหลัง ตรงระดับชายโครง ไตมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีชีวิตของมนุษย์ ทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายและจัดระดับน้ำในร่างกายให้พอดี นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการทำให้เลือดมีภาวะเป็นด่างนิดหน่อย ทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติและเกี่ยวข้องในการสร้างเม็ดเลือดแดง อีกด้วย
เลขทะเบียน : นพ.บ.449/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 12 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158 (149-162) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้ สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “28 เมษายน วันราชาภิเษกสมรส รัชกาลที่ 9”
วันที่ 28 เมษายน เป็นวันคล้ายวันราชาภิเษกสมรส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นับเป็นอีกวันหนึ่ง ที่สำคัญยิ่ง ที่ทั้งสองพระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 อันเป็นครั้งแรกของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
ย้อนหลังไปเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ระหว่างที่ประทับอยู่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้รับบาดเจ็บที่พระเนตร เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ทรงได้รับการถวายการรักษาที่โรงพยาบาลในเมืองโลซานน์ มีหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ที่ทรงพบก่อนหน้านั้นถวายการพยาบาลอยู่ด้วย
ต่อมาได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (ขณะนั้นคือ พันเอก หม่อมเจ้านักขัตรมงคล เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร (สนิทวงศ์) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ณ เมืองโลซานน์
และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ทั้งยังทรงให้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยอีกด้วย ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ทรงลงพระปรมาภิไธยในสมุดทะเบียนสมรสเป็นพระองค์แรก และหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ได้ลงนามในสมุดเป็นบุคคลที่สองในฐานะคู่สมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะนั้นเจ้าสาวยังมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครองก่อนตามกฎหมาย ดังนั้นหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร พระบิดาของเจ้าสาวจึงต้องลงพระนาม แสดงความยินยอมและรับรู้ในการจดทะเบียนสมรสครั้งนี้ด้วย
ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์แก่สมเด็จพระราชินีในโอกาสนี้ด้วย
นอกจากนี้ในงานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้เข้าร่วมพิธีจะได้รับพระราชทานของที่ระลึก คือ หีบเงินเล็ก ซึ่งบนฝาหีบประดับด้วยอักษรพระบรมนามาภิไธย ภอ และพระนามาภิไธย สก
นับแต่นั้นเป็นต้นมา พระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่ออาณาประชาราษฎร์ ก็ได้ถ่ายทอดมายังสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และทรงงานร่วมกันต่อเนื่องมามิได้ขาด
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ. วันสำคัญ : พัชรการพิมพ์. 2541. สโมสรไลออนส์ เมืองเอก กรุงเทพฯ. เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ (1984). 2539.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ที่มา : https://datasipmu.finearts.go.th/academic/65
องค์ความรู้ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ
เรื่อง พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
โดย นายจุง ดิบประโคน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ