ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 649(243)
วันที่ 1-15 มีนาคม 2534
ระยะทางเสด็จประพาสลำแม่น้ำน้อย และลำแม่น้ำใหญ่
มณฑลกรุงเก่าและมณฑลนครสวรรค์
พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)เรียบเรียง
พระยาโบราณราชธานินทร์เรียบเรียงขึ้นเพื่อขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งตามเสด็จไปมณฑลดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๔ – ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๙ เนื้อหาพรรณนาถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ เส้นทางการคมนาคม ประวัติที่มาของสถานที่สำคัญ ตลอดจนสภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของราษฎร ที่สำคัญคือการบันทึกจำนวนพลเมือง อาวุธ พาหนะ เขตการปกครอง และจำนวนสถานที่ต่าง ๆ ในอำเภอที่เสด็จประพาส ทั้งยังเสนอข้อคิดเห็นทางด้านประวัติศาสตร์ของสถานที่เหล่านั้นด้วย
✦ประวัติเมืองบางพาน✦
.
“เมืองบางพาน” ตั้งอยู่ที่บ้านวังพาน ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณที่มีลักษณะเมืองค่อนข้างกลม มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ๓ ชั้น ภายในเมืองพบซากโบราณสถานขนาดเล็ก มีสภาพเป็นกองศิลาแลง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองมีเขานางทอง บนยอดเขามีซากโบราณสถานและฐานพระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม
.
ภายในเมืองบางพานแม้ว่าจะพบซากโบราณสถานขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเมือง แต่ความสำคัญของชุมชนแห่งนี้คือ เป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางคมนาคมที่ติดต่อกับกรุงสุโขทัยและเมืองอื่นได้สะดวก ตลอดจนเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางที่ราบลุ่มซึ่งเพาะปลูกได้ผลดี ด้วยเหตุนี้ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลักจึงกล่าวถึงชื่อเมืองแห่งนี้
.
ศิลาจารึกหลักที่ ๒ (จารึกนครชุม) กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง บ้านเมืองในแคว้นสุโขทัยเกิดความแตกแยก เมืองสำคัญอย่างเมืองเชียงทอง เมืองคณฑี เมืองบางพาน เมืองพระบาง
ต่างแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย จนพระมหาธรรมราชาลิไทขึ้นครองราชย์ จึงได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง และให้ความสำคัญของเมืองบางพานเอาไว้เทียบเท่ากับเมืองใหญ่ ๆ ในยุคนั้น ด้วยการจำลองรอยพระพุทธบาทมาประดิษฐานไว้บนยอดเขานางทอง พร้อมกับเมืองอื่น ๆ อีกสามแห่งคือ เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองพระบาง (นครสวรรค์)
.
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชจากลังกาทวีปให้มาจำพรรษา ที่กรุงสุโขทัยใน พ.ศ. ๑๙๐๔ ตามที่ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงนั้น พระมหาสามีสังฆราชได้เดินทางบกจากเมืองฉอด ผ่านเมืองเชียงทอง เมืองบางจันทร์ เมืองบางพาน ถึงเมืองสุโขทัย
.
ปลายรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) พระองค์เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏพร้อมกับชาวเมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมืองบริวารของสุโขทัย ซึ่งรวมทั้งเมืองบางพานด้วย
.
นอกจากจารึกสมัยสุโขทัยที่กล่าวถึงเมืองบางพานแล้ว ยังมีจารึกฐานพระอิศวร (พ.ศ. ๒๐๕๓) ที่กล่าวถึงพระยาศรีธรรมมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้สั่งให้มีการขุดลอกท่อปู่พระยาร่วงเพื่อนำน้ำจากแม่น้ำปิงเมืองกำแพงเพชรไปช่วยการทำนาที่เมืองบางพาน หลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า เมืองพานน่าจะเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ไม่เช่นนั้นคงไม่มีการซ่อมแซมท่อปู่พระยาร่วงเพื่อให้ส่งน้ำไปยังเมืองบางพาน
เรือหางแมงป่อง : พระราชพาหนะคราวเสด็จประพาสต้น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๗ สิงหาคม ๒๔๔๙ เพื่อทรงรับทราบความเป็นไปของบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร ทอดพระเนตรโบราณสถานทั้งในเมืองนครชุมและเมืองกำแพงเพชร ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมือง
พระราชพาหนะในการเสด็จประพาสต้น คือ เรือหางแมงป่อง หรือเรือแม่ปะ เป็นเรือพื้นถิ่นของทางภาคเหนือ นิยมใช้ในหมู่ชาวเชียงใหม่ ลักษณะเด่นของเรือชนิดนี้ คือ เป็นเรือขนาดใหญ่ที่ขุดจากไม้ซุงทั้งต้น ความยาวประมาณ ๑๖ – ๑๘ เมตร เมื่อขุดแล้ว เบิกปากเรือให้กว้าง (การเบิกเรือ คือ การดัด ขยายกราบเรือให้กว้างออก) ต่อไม้ท้ายเรือให้แบน แต่กว้างกว่าหัวเรือ และงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง ส่วนหัวเรือต่อให้ยาวยื่นออกไปสำหรับให้ลูกเรือขึ้นไปยืนถ่อเรือได้ มีประทุนค่อนไปทางท้ายสำหรับบรรทุกสินค้า ท้ายเรือเป็นประทุนยกระดับสูงขึ้น บางครั้งใช้ถ่อหรือใช้กรรเชียงที่ดาดฟ้าหัวเรือ หลังคาโค้งสานด้วยไม้ไผ่ ด้านบนมีหลังคาเสริมอีกชั้น เพื่อใช้เลื่อนมากันฝนได้ นายท้ายเรือถือใบพายขนาดใหญ่สำหรับบังคับทิศทางของเรืออยู่ในห้องถือท้ายที่ยกพื้นให้สูงขึ้นกว่าห้องโดยสาร ซึ่งเรือบางลำอาจใช้ส่วนท้ายเรือสำหรับผู้โดยสาร โดยเรือหางแมงป่องเป็นเรือที่มีความแข็งแรง ทนทาน ลอยน้ำได้ดี ไม่บิดงอเมือปะทะเกาะแก่ง เนื่องจากแม่น้ำปิงนั้นมีกระแสน้ำเชี่ยวและเกาะแก่งมาก
ในสมัยแรก เรือหางแมงป่องนิยมใช้ในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ครั้นต่อมาได้มีการใช้เรือหางแมงป่องเป็นพาหนะขนส่งสินค้าจากภาคเหนือล่องลงมายังภาคกลาง ซึ่งสินค้าที่นิยม ได้แก่ น้ำมันยาง ชัน น้ำผึ้ง เป็นต้น เมื่อกลับขึ้นภาคเหนือก็จะซื้อสินค้าจากภาคกลางนำขึ้นไปขาย ต่อมาเมื่อการคมนาคมทางบกมีความก้าวหน้ามากขึ้น เรือหางแมงป่องจึงคลายความสำคัญและหายไปจากลำน้ำในที่สุด
บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.
- โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๓๙ เรื่อง เรือไทย. http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=39&
chap=3&page=t39-3-infodetail03.html สืบค้นเมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓.
- พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. เสด็จประพาสต้น ร.ศ. ๑๒๕. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.
เลขทะเบียน : นพ.บ.109/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.6 x 54.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 61 (179-187) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ธมฺมบท) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.143/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง นายหรีด เรืองฤทธิ์
ชื่อเรื่อง ประชุมแหล่เครื่องเล่นมหาชาติ เล่ม1
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วัฒนพานิช
ปีที่พิมพ์ 2497
จำนวนหน้า 487 หน้า
หมายเหตุ แหล่เครื่องเล่นต่างๆที่รวบรวมเวลานี้เป็นสำนวนแต่งในสมัย ร 1ถึงร 7 อแห่กรุงรัตนโกสินทร์แหล่เครื่องเล่นเป็นแหล่นอกเรื่องมหาชาติแต่งขึ้นเป็นบทกลอนต่างๆสำหรับร้องประกอบแหล่มหาชาติ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.12/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)