ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “อนัมนิกายในสยาม” วิทยากร นางสาวพลอยชมพู ยามะเพวัน นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
ผู้แต่ง : ประชาสัมพันธ์ จังหวัดเชียงใหม่ ปีที่พิมพ์ : 2538 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ส.ทรัพย์การพิมพ์ งานฉลองสมโภชพระธาตุเจดีย์หลวง 600 ปีครั้งนี้ คณะกรรมการได้จัดทำหนังสืออนุสรณ์ 2 เล่ม คือ เล่ม 1 เป็นเล่มใหญ่ จัดทำโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เนื้อหาสาระหนักไปทางวิชาการ ประวัติศาสตร์โบราณคดี ในส่วนที่เกี่ยวกับเจดีย์หลวง ใช้อ้างอิงได้ เล่ม 2 เป็นเล่มเล็ก รวบรวมข้อเขียนที่เป็นทำนองตำนานที่เล่าสืบต่อกันมา ที่อ่านฟังเข้าใจง่าย พร้อมทั้งข้อเขียนเล่าประวัติเจ้าอาวาส และพระเถระต่างๆ
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง รามคำแหง: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/ramkhamhaeng
ประวัติการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2496 เป็นต้นมา กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการสำรวจขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัยโดยได้พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงพิจารณาเห็นว่าควรสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นในบริเวณเมืองโบราณสุโขทัย เพื่อเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญของชาติและจัดแสดงเผยแพร่เพื่อการศึกษาต่อไป
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2503 – 2506 กรมศิลปากรจึงดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นในพื้นที่บริเวณเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์2ชั้นสร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณของรัฐบาลสมทบกับเงินบริจาคของประชาชนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง” ตั้งขึ้นตามพระนามของพ่อขุนรามคำแหง มหาราช วีรกษัตริย์ไทยผู้ปกครองเมืองสุโขทัยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19
ผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์คือ น.ส.จันทร์ลัดดา บุญยมานพ สถาปนิกโท กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ซึ่งโบราณวัตถุส่วนใหญ่ที่จัดแสดงได้จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานในเขตเมืองเก่าสุโขทัย เมืองโบราณใกล้เคียงและอีกส่วนหนึ่งเป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พระโบราณวัตถาจารย์ (พระราชประสิทธิคุณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานีและเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยได้อนุญาตให้เคลื่อนย้ายจากพิพิธภัณฑ์ในวัดราชธานีมาเก็บรักษาและจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหงโดยมีหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ภัณฑารักษ์เอก กองโบราณคดี และนายทิพา สังขะวัฒนะ นายช่างศิลปโท กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ดำเนินการจัดแสดงโบราณวัตถุตามหลักวิชาการ เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะอย่างแท้จริง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง เมื่อวันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2507
ต่อมาในวาระครบรอบ 700 ปี ลายสือไท เมื่อปีพุทธศักราช 2526 รัฐบาลได้ดำเนินก่อสร้าง “อาคารอนุสรณ์ลายสือไท” เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง นิทรรศการภาพเรื่อง “สุโขไท – สุโขทัย อดีตและปัจจุบัน” ที่นำเสนอภาพรวมของเมืองสุโขทัยในด้านต่างๆทั้งการปกครอง ประเพณี วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองสุโขทัย รวมถึงการพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ กระทั่งได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกับเมืองโบราณศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชรภายในอาคารยังมีส่วนให้บริการนักท่องเที่ยวจำหน่ายบัตรค่าธรรมเนียม และหนังสือทางด้านวิชาการ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2526
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
https://www.youtube.com/watch?v=2y9zYS_o6sE
พระพุทธรูปสุโขทัย
https://www.youtube.com/watch?v=1QXRkppUieY
สังคโลกสุโขทัย
https://www.youtube.com/watch?v=TXXZBFc_DW8
ห้องพระธาตุ
https://www.youtube.com/watch?v=Ah9cqiaNlyM
รูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
https://www.youtube.com/watch?v=InamKOJopBk
มรดกโลกสุโขทัย
https://www.youtube.com/watch?v=k3tCX3eULqQ
พระพุทธรูปลีลา
https://www.youtube.com/watch?v=0fWZJuwmSmw
พระพุทธรูปจากกรุเจดีย์น้อย วัดมหาธาตุ
https://www.youtube.com/watch?v=r1DIegvegbs
ปูนปั้นประติมาคาร
https://www.youtube.com/watch?v=3Z-bpZs4VpE
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 26 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์ 02-2222222
ที่ตั้ง บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
อายุสมัย อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓
รายละเอียด
ที่ตั้งของปราสาทภูมิโปนเป็นบริเวณที่มีหลักฐานว่ามนุษย์ได้เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ดังปรากฏร่องรอยของคูน้ำ-คันดินรูปร่างไม่แน่นอนอยู่บริเวณโดยรอบชุมชน ต่อมาราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ แห่งอาณาจักรขอมโบราณ ชุมชนบ้านภูมิโปนพัฒนาเป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง มีปราสาทภูมิโปนซึ่งเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่เนื่องในศาสนาฮินดู เป็นศูนย์กลางของเมืองตามแบบวัฒนธรรมขอมโบราณในช่วงเวลานั้น
ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วย ปราสาทก่อด้วยอิฐ ๓ หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง ๑ หลัง โดยปราสาทอิฐหลังใหญ่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ก่อด้วยอิฐไม่สอปูนแบบศิลปะขอมรุ่นเก่ามีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานเตี้ย เรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยม มีประตูทางเข้า-ออกด้านเดียวทางทิศตะวันออก ส่วนยอดก่อเป็นหลังคาซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ปัจจุบันพังทลายเหลือเพียง ๓ ชั้น บริเวณใต้หน้าบันของประตูทางเข้า-ออก สลักเป็นลายรูปใบไม้ม้วนแบบศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ(ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓) จากการขุดแต่งโบราณสถาน พบชิ้นส่วนศิลาจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต ๑ ชิ้น ซึ่งเป็นตัวอักษรที่มีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓
นอกจากนี้ที่บริเวณปราสาทอิฐขนาดเล็กองค์เหนือสุด ซึ่งสภาพปัจจุบันเหลือเพียงฐาน กรอบประตู และผนังเล็กน้อย ได้พบเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทราย และทับหลังสลักจากหินทราย ภาพสัตว์ครึ่งสิงห์ครึ่งนกประกอบวงโค้งที่มีวงกลมรูปไข่ ๓ วง ภายในวงกลมรูปไข่ น่าจะเป็นรูปบุคคล แต่ได้แตกหายไปหมดแล้ว ซึ่งลวดลายบนทับหลังและเสาประดับกรอบประตูนี้เป็นศิลปะขอมแบบไพรกเมง อายุราว พ.ศ. ๑๑๘๐ – ๑๒๕๐
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาทภูมิโปนประมาณ ๕๐๐ เมตร พบบารายใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบวัฒนธรรมขอมโบราณ ซึ่งบารายเป็นระบบชลประทานที่สำคัญมักพบทั่วไปในชุมชนวัฒนธรรมขอม ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๘ ในดินแดนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การสร้างบารายจะไม่ใช้วิธีการขุดลงไปในดินอย่างสระน้ำทั่วไป แต่เป็นการขุดดินมาก่อเป็นคันดินกั้นน้ำในบริเวณพื้นที่ลุ่มที่มีลำธารธรรมชาติไหลผ่าน เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในชุมชนและยังอาจช่วยเรื่องปัญหาน้ำท่วมภายในชุมชนด้วยโดยทั่วไปบารายมักจะมีขนาดใหญ่กว่าสระน้ำ
ปัจจุบันปราสาทภูมิโปนได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้ว โบราณวัตถุ ได้แก่ ทับหลัง ชิ้นส่วนจารึกและเสาประดับกรอบประตู จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เก็บค่าเข้าชม
การเดินทาง จากจังหวัดสุรินทร์ตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๗๗ สายสุรินทร์ – สังขะ ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร จากนั้นตรงไปอำเภอบัวเชด ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒๔ ตรงไปจนถึงชุมชนบ้านภูมิโปนระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร ก็จะถึงปราสาท
รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนตุลาคม ๒๕๖๑)
วันเสาร์ที่ 12 มกราคม 2562 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ได้จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2562 มีกิจกรรมมากมาย มีทั้งของรางวัลมาแจก และอาหาร เครื่องดื่ม แจกฟรีตลอดงาน ทางหอสมุดต้องขอขอบคุณ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่ให้การสนับสนุนในครั้งนี้ และขอบคุณน้องๆทุกคนที่ไม่ลืมหอสมุด ไว้ปีหน้ามาพบกันใหม่นะคะ