ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง                                พิมฺพานิพฺพาน (พระพิมพานิพพาน) สพ.บ.                                  233/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           66 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  377/6กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           50 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้ เรื่อง เครื่องประดับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในจังหวัดกำแพงเพชรเครื่องประดับ หรือเครื่องตกแต่งกาย เป็นหลักฐานประเภทหนึ่งที่มักพบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ่งบอกถึงวิถีชีวิต ความสามารถทางด้านศิลปะ เทคโนโลยีการผลิต และการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ๆ ในระยะแรกเครื่องประดับทำขึ้นจากวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เช่น หิน ดินเผา กระดูก เขาสัตว์ เปลือกหอย เป็นต้น ต่อมาเมื่อรู้จักการใช้โลหะจึงนิยมนำสำริด ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก มาผลิตเป็นเครื่องประดับ เครื่องประดับที่พบในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีหลากหลายประเภท เช่น เครื่องประดับศีรษะ กำไล แหวน ต่างหู ห่วงคอ ห่วงเอว ลูกปัด ฯลฯ นอกจากมีไว้ตกแต่งร่างกายเพื่อความสวยงามแล้วนั้น ยังเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสถานภาพของผู้สวมใส่ เครื่องประดับมักจะขุดพบในหลุมฝังศพซึ่งฝังร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ สันนิษฐานว่าเป็นการอุทิศสิ่งของให้กับผู้ตายตามความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตาย หรือความเชื่อเรื่องโลกหน้า รวมทั้งอาจใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดกำแพงเพชรที่พบโบราณวัตถุประเภทเครื่องประดับ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน อำเภอขาณุวรลักษบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านหนองกอง อำเภอเมืองกำแพงเพชร แหล่งโบราณคดีบ้านคอปล้อง และบ้านชายเคือง อำเภอบึงสามัคคี เครื่องประดับที่พบ ได้แก่ กำไล ต่างหู และลูกปัด กำไล เป็นเครื่องประดับสำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ที่พบในจังหวัดกำแพงเพชรจะมีลักษณะเป็นเส้นกลม ไม่มีลวดลาย ทำจากสำริดและหิน  ต่างหู หรือตุ้มหู เป็นเครื่องประดับหู ใช้ตกแต่งติ่งหู ในจังหวัดกำแพงเพชรพบต่างหูที่ทำจากดินเผา มีลักษณะเป็นแผ่นกลม และที่ทำจากหิน มีลักษณะเป็นรูปวงกลม ตรงกลางผ่าครึ่ง เพื่อเกี่ยวห้อยกับติ่งหู ลูกปัด นิยมทำเป็นเครื่องประดับในหลายรูปแบบ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยข้อเท้า เข็มขัด เครื่องประดับศีรษะ ในจังหวัดกำแพงเพชรพบลูกปัดแก้วและหินในรูปทรงต่าง ๆ ได้แก่ ทรงกลม ทรงกระบอก สี่เหลี่ยม โดยรูปปัดจะต้องเจาะรูเพื่อร้อยด้ายหรือเชือกเป็นเส้น ลูกปัดที่สำคัญ ได้แก่ ลูกปัดที่ทำจากหินกึ่งอัญมณี (หินในตระกูลควอตซ์ชนิดต่าง ๆ) เช่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียน หินอาเกต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือการติดต่อระหว่างชุมชนได้เป็นอย่างดี  บรรณานุกรม- กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๐.- กุลธิดา พิพัฒน์จรัสสกุล. “การศึกษาการฝังศพที่พบเครื่องประดับร่วมกับโครงกระดูกจากแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๓.- อัญชลี สินธุสอน และพรพรรณ หงสไกร. คนก่อนประวัติศาสตร์ บนดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, ๒๕๕๒.



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.41/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-1ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.332/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


                 พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี “พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์” พระองค์เจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๓ (พระนามเดิม : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ เสด็จดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี มีพระราชโอรส-ธิดา ๙๗ พระองค์ สวรรคตวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๕๒ - ๕๓.)    Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๕ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖             (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


ชื่อเรื่อง : ที่ระลึก ชื่อผู้แต่ง : ปราโมทย์ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : การศาสนา จำนวนหน้า : 80 หน้า สาระสังเขป : หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพแพทย์หญิงปราโมทย์ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา เนื้อเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์สมัยหินในประเทศไทย พร้อมภาพประกอบมีคำบรรยายรายละเอียดของแต่ละภาพ


          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ประเภทผู้ประพันธ์คำร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” และผู้ขับร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย และสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพทั้งการประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้อง โดยส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๑๗ ต่อ ๖๐๗๖ อีเมล: finearts.thai@gmail.com และเฟสบุ๊กเพชรในเพลง https://www.facebook.com/pechtnaipleng          การประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๕ แบ่งออก เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. รางวัลผู้ประพันธ์คำร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” เพลงไทยสากล และเพลงไทยลูกทุ่ง ๒. รางวัล ผู้ขับร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” ทั้งชายและหญิง เพลงไทยสากล และเพลงไทยลูกทุ่ง ผู้มีสิทธิส่งเพลงเข้าประกวด ได้แก่ ศิลปินเพลง หน่วยงานต้นสังกัด (บริษัท ค่ายเพลงหรือองค์กรที่เป็นต้นสังกัดของศิลปิน) องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยคุณสมบัติ ของเพลงที่ส่งเข้าประกวด ประเภทการประพันธ์คำร้องต้องเป็นเพลงที่ประพันธ์คำร้องขึ้นใหม่ และเผยแพร่สู่สาธารณชน ภายในระยะเวลา ๒ ปี ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๓ - เดือนเมษายน ๒๕๖๕ ส่วนประเภทผู้ขับร้อง ต้องเป็นเพลง ที่เผยแพร่สู่สาธารณชนภายในระยะเวลา ๒ ปี ระหว่างเดือนเมษายน ๒๕๖๓ - เดือนเมษายน ๒๕๖๕ เช่นกัน สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ประเภทการประพันธ์คำร้อง พิจารณาจากเนื้อหาสาระในเชิงสร้างสรรค์ การนำ เสนอที่สอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะและประเภทของเพลง การร้อยเรียงคำร้องสอดคล้องกับทำนองเพลง มีศิลปะและความงามในการใช้ภาษาเชิงวรรณศิลป์ ประเภทผู้ขับร้อง พิจารณาจากน้ำเสียง ความชัดเจนในการออกเสียงถ้อยคำ ศิลปะการใช้เสียงกลมกลืนกับดนตรี จังหวะและอารมณ์ในการขับร้อง          ทั้งนี้ การส่งผลงานเพลงเข้าประกวด ค่ายเพลง สมาคม และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ส่งผลงานเพลงได้ ไม่เกินประเภทละ ๕ เพลง ศิลปินเพลงและบุคคลทั่วไป ส่งผลงานเพลงได้ไม่เกินประเภทละ ๓ เพลง โดยส่ง Audio CD ไฟล์ผลงานเพลงและเอกสารระบุชื่อผู้ประพันธ์คำร้องหรือผู้ขับร้อง พร้อมคำร้อง (เนื้อเพลง) จำนวน ๒ ชุด ในกรณีที่ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดเป็นบุคคลทั่วไป ขอให้แนบภาพถ่ายและประวัติโดยสังเขป เพื่อใช้เป็นข้อมูลเรียบเรียงประวัติในกรณีที่ได้รับรางวัล สามารถส่งผลงานด้วยตนเอง หรือไปรษณีย์ลงทะเบียน ระบุชื่อผู้ส่งผลงาน ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน ได้ที่ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เลขที่ ๘๑ /๑ อาคาร


ขอเชิญเที่ยวงาน “ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” The 240th Anniversary of the Foundation of Rattanakosin ภายใต้หัวข้อ “พระบารมีปกเกล้าทั่วหล้าปวงประชา”   เที่ยววัด ไหว้พระ ยลวังสัมผัสบรรยากาศพิพิธภัณฑ์ยามค่ำชมการแสดง แสง สี เสียง ลิ้มรสอาหารไทยต้นตำรับ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม และสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด ใน 9 พื้นที่กิจกรรม   วันที่ 20 – 24 เมษายน 2565 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครโรงละครแห่งชาติบริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์   สายด่วนวัฒนธรรม 1765 อ่านรายละเอียดข่าว เพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/52016     ติดตาม กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=308634884694523&id=100066440426196  


        ชื่อผลงาน: เสียงขลุ่ยทิพย์         ศิลปิน: เขียน ยิ้มศิริ (พ.ศ. 2465 - 2514)         เทคนิค: ประติมากรรมสำริด          ขนาด: สูง 58.5 ซม.         ปีที่สร้างสรรค์: พ.ศ. 2492         รางวัล/เกียรติยศ: เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ประเภทประติมากรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2492          รายละเอียดเพิ่มเติม: เขียน ยิ้มศิริ ศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาประติมากรรม หนึ่งในศิลปินคนสำคัญในยุคบุกเบิกสร้างสรรค์งานศิลปะสมัยใหม่ ในประเทศไทย และหนึ่งในลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผลงาน “เสียงขลุ่ยทิพย์” เป็นประติมากรรมชิ้นที่โดดเด่นที่สุดชิ้นหนึ่ง ในชีวิตการทำงานของศิลปิน งานของเขียน ยิ้มศิริ เป็นการผสมผสานระหว่างแรงบันดาลใจในความพริ้วไหวของรูปทรงและโครงร่างลายเส้นรอบนอกของงานศิลปะไทยประเพณี กับการแสดงออกแบบลดทอนรูปทรงในแนวทางงานศิลปะสมัยใหม่             Title: Musical Rythm         Artist: Khien Yimsiri (1922 - 1971)         Technique: bronze casting         Size: 58.5 cm. (H.)         Year: 1949         Award: Honorary gold medal award on sculpture, from the 1st National Exhibition of Art in 1949.         Detail: Khien Yimsiri, artist of distinction on sculpture and a pioneer sculptor of modern Thai art whom is considered as early pupil of Silpa Bhirasri. His well-known sculpture entitled “Musical Rythm” is regarded as one his best, Khien's sculptures likely take an inspiration especially on fluidity of forms and contour from traditional Thai art but at the same time being contorted as modern expression.


        เรามักได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า “ปากไม่แดงไม่มีแรงเดิน” หรือ “จะถูกจะแพงขอให้แดงไว้ก่อน” นั่นอาจสะท้อนความนิยมของสีแดงได้เป็นอย่างดี         กระนั้น การใช้สีแดงพบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ภาพเขียนสี และการตกแต่งลวดลายบนภาชนะดินเผา ในดินแดนไทย น่าสนใจว่า ทำไมมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมใช้สีแดงมาตกแต่งผิวและลวดลายภาชนะ และภาพเขียนสี         จากที่มีผู้ศึกษาไว้ พบว่าสีที่มนุษย์เริ่มใช้เป็นเนื้อสีที่หาได้จากแร่ธาตุต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ที่มีการสะสมของสารประกอบเหล็กออกไซด์ (iron oxide) ส่วนใหญ่จะได้มาจากหินหรือดิน         สีแดง ก็ถือเป็นสีที่เก่าแก่และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก โดยหนึ่งในวัตถุดิบก็คือแร่เฮมาไทต์ (Hematite : Fe2O3) แต่ก็ใช่ว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์จะมีแต่สีแดงไปเสียทั้งหมด ในพื้นที่อื่น ๆ ของโลกยังพบว่ายังมีดินเหนียวละเอียดและเหล็กออกไซด์ที่ให้สีสันหลากหลายตั้งแต่สีเหลือง สีส้ม สีน้ำตาล ไปจนถึงสีแดงอีกหลายเฉด ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการใช้สีที่ได้จากพืช แมลง และสีดำจากถ่าน อีกด้วย         คำถามต่อมาก็คือ แล้วทำไมสีเหล่านี้ถึงสามารถคงอยู่ได้นานนับหลายพันปีกันล่ะ? ว่ากันว่า ไม่ว่าจะเป็นภาพเขียนสี หรือลวดลายบนภาชนะดินเผา ที่คงทนมาให้เราได้เห็นถึงทุกวันนี้ เพราะสีจากการสะสมของเหล็กออกไซด์จะจางได้ช้ากว่าสีที่ได้จากพืชและสัตว์นั่นเอง         หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2535 พบว่ามีการนำแร่เฮมาไทต์มาขัดฝนเพื่อนำไปใช้งาน โดยมีการสันนิษฐานว่าคงนำแร่มาบดเป็นผงเสียก่อน แล้วอาจนำไปผสมกับยางไม้ ไขมันสัตว์ หรือเลือดสัตว์ที่เป็นสีแดงเช่นเดียวกับแร่ ซึ่งยิ่งทำให้สียิ่งติดทนและมีสีที่เด่นชัดมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม การที่ดินแดนไทยพบการใช้สีแดงอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องด้วยแร่ชนิดดังกล่าวเป็นวัตถุดิบที่พบมากที่สุด         แล้วมนุษย์ในสมัยนั้น เขาใช้อะไรเขียน ? สำหรับในข้อนี้ การศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีในต่างประเทศ ทำให้เชื่อว่าสำหรับกรณีภาพเขียนสี คงมีทั้งการใช้มือ แปรงจากพืชหรือขนสัตว์ เป็นหลัก แต่อาจมีเทคนิคอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ขณะที่ลวดลายบนภาชนะดินเผา เป็นไปได้ที่จะใช้แปรงหรือพู่กัน         ส่วนการใช้สีแดงสื่อความหมายใดหรือไม่นั้น ได้มีผู้ให้ความเห็นไว้ว่าสื่อถึง "เลือด" และ "ชีวิต" ซึ่งหากเป็นภาพเขียนสีมักตีความภาพเหล่านี้ไปในทางการประกอบพิธีกรรมและร่วมกันเขียนภาพสื่อสารกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน ลวดลายสีแดงบนภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมบ้านเชียง อาจสื่อความหมายถึง "ขวัญ" (ส่วนที่ไม่มีตัวตนของคน สัตว์ สิ่งของ)         สีแดงยังถูกตีความเป็นตัวแทนของ "ระดู" ของเพศหญิง ซึ่งระดูนั้นก็เกี่ยวกับ "การมีชีวิตและการตั้งท้อง" แม้ว่าทั้งหมดนี้จะเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องการมีชีวิตใหม่ในโลกหน้าหรือไม่ แต่ข้อสังเกตหนึ่งคือ ภาชนะดินเผาบ้านเชียงเกือบทั้งหมดพบในหลุมฝังศพ อีกทั้งยังพบร่องรอยการนำดินเทศมาโรยในพิธีศพ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี และแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี เป็นต้น         ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่า ในเชิงการใช้งาน แม้ว่ามนุษย์จะมีสีจากวัตถุดิบต่าง ๆ ให้เลือกใช้ แต่สีแดงจากแร่เฮมาไทต์เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายและคงทน นอกจากนี้ ในเชิงความหมาย สีแดงก็อาจเปรียบเสมือนสีของเลือด จึงสัมพันธ์กับเรื่องของชีวิตและความเชื่อเรื่องโลกหน้าก็เป็นได้ ________________________ ผู้เขียน : ปัณฑ์ชนิต สุรฤทธิ์โยธิน ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ________________________ อ้างอิง 1. ชลิต ชัยครรชิต. “รูปคนและสัตว์บนภาชนะดินเผาลายเขียนสีวัฒนธรรม         บ้านเชียง” ศิลปศาสตร์บัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี คณะ         โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522. 2. ธนิก เลิศชาญฤทธ์. ภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.         นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2560. 3. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. “ไหอีสานไม่ได้มีแต่ไหทองคำ เพราะยังมี         ไหลายสีแดงในวัฒนธรรมบ้านเชียงด้วย,” มติชนสุดสัปดาห์ 23 - 29          มิถุนายน 2560.  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ. คนไทยอยู่ที่นี่ นี่อุษาคเนย์. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม,          2537. 5. อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ. รูปเขียนดึกกำบรรพ์ “สุวรรณภูมิ” 3,000 ปีมาแล้ว          ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549.         ENCYCLOPEDIA. Prehistoric Colour Palette : Paint Pigments          Used by Stone Age Artists in Cave Paintings and Pictographs.            เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564. http://www.visual-arts-  cork.com/artist-paints/prehistoric-colour-palette.htm.




Messenger