ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อผู้แต่ง        :   ตรี  อมาตยกุลชื่อเรื่อง         :   จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งที่พิมพ์      :   พิมพ์ครั้งที่หกสถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      :   เจริญธรรมปีที่พิมพ์         :   ๒๕๑๙จำนวนหน้า     :   ๑๑๖ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมณี  ศรีสวัสดิ์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม  วันที่  ๙  ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๕๑๙                      เรื่องจังหวัดนครศรีธรรมราชนี้ กล่าวถึงประวัติเมืองนครศรีธรรมราช โบราณวัตถุสถาน ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนนิสัยใจคอของชาวเมือง นับเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในด้านการท่องเที่ยวทั้งยังเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอีกด้วย


ชื่อเรื่อง : บรรณานุกรมงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน ชื่อผู้แต่ง : คณะกรรมการจัดตั้งห้องสมุดอนุมานราชธน ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ศิวพร จำนวนหน้า  130 หน้า สาระสังเขป : ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน หรือ "เสฐียรโกเศศ" เป็นนักชาติพันธุ์วิทยา นักนิรุกติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักวรรณคดี และนักสังคมวิทยา ผู้มีชื่อเสียงของไทย จึงเห็นควรจัดตั้งห้องสมุดอนุมานราชธนขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สดุดีเกียรติคุณ พร้อมทั้งได้จัดทำบรรณานุกรมงานนิพนธ์ของท่าน โดยมีข้อมูลบรรณานิทัศน์สังเขปประกอบแต่ละรายการ เพื่อจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในวันเปิดห้องสมุดอนุมานราชธน


  ชื่อผู้แต่ง        นายมี (หมื่นพรหมสมพัตสร) ชื่อเรื่อง          นิราศสุพรรณ ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๕ สถานที่พิมพ์    พระนคร สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๖ จำนวนหน้า      ๒๖ หน้า หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงอาคาร พาณิชยกรรม (ฟุ้ง อำไพวนิช)                       นิราสสุพรรณเป็นสำนวนของนาย มี เพราะมีโคลงกระทู้บอกไว้ตอนท้ายว่า “เสมียนมีแต่งถวาย”เมื่อเทียบปีศักราชสันนิษฐานน่าจะแต่งเมื่อราว พ.ศ.๒๓๘๓ แผ่นดินพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและนายมี ขณะที่แต่งนิราศสุพรรณ มีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นพรหมสมพัตสร นายอากรเมืองสุพรรณบุรี


เรื่องที่ 350 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบุญญวาสวิหาร ต.ท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา มีทั้งหมด 9 ผูก พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้แต่ง เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เรื่องคัมภีร์อภิธัมมาสังคิณีเป็นพระอภิธรรมลำดับที่ 1 ใน 7 คัมภีร์ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 ตอนด้วยกันคือ 1 มาติกา เป็นที่รวมธรรมะหัวข้อหลัก โดยอภิธัมมมาติกามี 122 หัวข้อ และสุตตันตมาติกามี 42 หัวข้อ โดยในอภิธัมมมาติกาแบ่งหัวข้อธรรมเป็นกลุ่มละ 3 ชนิด เช่นกลุ่มสนิทัสสนติกะ 2 จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายเรื่องการเกิดของจิตอย่างละเอียด 3 รูปกัณฑ์ อธิบายเรื่องรูปอย่างละเอียด 4 นิกเขปกัณฑ์ อธิบายหัวข้อธรรมในมาติกาขนาดยาวปานกลาง 5 อัตถุธารกัณฑ อธิบายหัวข้อธรรมในมาติกาอย่างย่อ คล้ายบทสรุปของคัมภีร์ทั้งหมดเลขทะเบียน จบ.บ.350/1-5,7


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ










***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 16(7)     ฉบับที่ 650(244)    วันที่ 16-31 มีนาคม 2534



ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๓ เรื่องกรุงเก่า ประกอบไปด้วยงานนิพนธ์ของพระยาโบราณราชธานินทร์ ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑. เรื่องแก้คดีพระเจ้าปราสาททอง      พระยาโบราณราชธานินทร์แต่งหนังสือกราบบังคมทูลตอบพระราชกระทู้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพระราชอัธยาศัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จำนวน ๑๔ ข้อ ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์แสดงข้อคิดเห็นและแก้ต่างให้สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทุกข้อด้วยถ้อยคำภาษาที่สุภาพและเรียบร้อย เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างยิ่ง ๒. ตำนานกรุงเก่า      พระยาโบราณราชธานินทร์ ค้นคว้าเรียบเรียงความเห็นและประเด็นปัญหาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยา พิมพ์ทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติกรุงเก่า ภูมิสถานพระนคร แม่น้ำลำคลองนอกพระนคร การปกครองท้องที่ สำมะโนครัวพลเมือง และการขุดวัง นับว่าเป็นต้นฉบับแห่งรายงานการสำรวจตรวจสอบโบราณสถานในกรุงศรีอยุธยา ๓. อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์      พระยาโบราณราชธานินทร์เรียบเรียงขึ้นเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในการพระราชพิธีทรงบวงสรวงอดีตมหาราชเจ้าที่พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน คือ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และ และพรรณนาถึงภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง : ไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระปีที่พิมพ์ : 2497สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาจำนวนหน้า : 1,082 หน้า สาระสังเขป : หนังสือไกลบ้าน เล่ม 1-2 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ กล่าวถึงการเสด็จไปยุโรปครั้งหลัง ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพรรณาถึงสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ทอดพระเนตรเห็น และกิจการที่ทรงทราบ รวมทั้งกระแสพระราชวินิจฉัยในเรื่องนั้น ๆ พรรณาว่าด้วยถิ่นฐานบ้านเมือง แลบรรยายถึงขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ของนานาประเทศ



Messenger