ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           35/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              58 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 130/4 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 166/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


จารึกอาณาจักรปุนไชย วัดกู่กุด จารึกอาณาจักรปุนไชย ทำจากหินทรายเป็นทรงใบเสมา กว้าง ๖๘ ซม. สูง ๑๐๐ ซม. หนา ๒๓ ซม.   จารึกด้วยอักษรมอญโบราณ ภาษามอญโบราณจำนวน ๘ บรรทัด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดซ์ (George Cœdès) พบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่บริเวณทิศตะวันออกของเจดีย์กู่กุด ปัจจุบันอยู่ในวัดจามเทวี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ห่างจากวัดพระธาตุหริภุญชัยไปทางทิศตะวันตกราว ๑ กิโลเมตร  พร้อมกับศิลาจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (ลพ.๑) ซึ่งเป็นจารึกอักษรมอญโบราณที่ร่วมสมัยกัน กำหนดอายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เนื่องจากรูปแบบตัวอักษรมีความคล้ายคลึงกับจารึก มรเจดีย์ ของพระเจ้าจันสิตถาแห่งอาณาจักรพุกาม ทรงกระทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๖๒๘ และ ๑๖๓๐ ลักษณะของจารึกอยู่ในสภาพชำรุด ตัวอักษรค่อนข้างลบเลือน ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ลายมือไม่ได้ประดิษฐ์ให้มีความงดงามากนัก ต่างจากจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๑ วัดกู่กุด ที่มีรูปแบบตัวอักษรที่สวยงามกว่า การศึกษาเกี่ยวกับจารึกอักษรมอญโบราณในลำพูนที่ผ่านมา ได้มีการอ่านแปลโดยโดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ (Robert Halliday) และ ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (Charles Otto Blagden) เผยแพร่ลงในวารสาร ของสมาคมฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient: BEFEO) ปีที่ ๓๐ ค.ศ.๑๙๓๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ทรงแปลลงวารสารโบราณคดี ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๕ กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์อีกครั้งในหนังสือศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ และ ๒๕๓๓ ตามลำดับ เนื้อหาแปลโดยความกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งปุนไชยนครได้สร้างพระมหาเจดีย์ไว้ ท่านบัณฑิตได้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยสมิงละจักกะนรสิงห์   ได้บูรณะพระมหาเจดีย์ ได้สร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ และพนัง ๑๒๕ พนัง ๒๑ พนังนี้อาจหมายถึงสถานที่สำหรับพระสงฆ์สรงน้ำบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแห่งใดแห่งหนึ่ง อ้างอิงคงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, บรรณาธิการ, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๒ อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ อักษรมอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๙.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           20/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                32 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง : ประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 1 ภาค 2 ภาค 3 และภาค 4 ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายอรรถ ค้อคงคา ต.ม., ต.ช. ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2512 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี จำนวนหน้า : 428 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เริ่มต้นด้วยการรวบรวมประวัติส่วนตัว การศึกษา การทำงาน และครอบครัว รวมถึงคำไว้อาลัยนายอรรถ ค้อคงคา และเริ่มต้นด้วยประชุมคำพากย์รามเกียรติ์ ภาค 1 พากย์สามตระ ภาค 2 ชุดสีดาหาย ภาค 3 ตอนพระรามได้ขีดขิน ภาค 4 ตอนหนุมานถวายแหวน


ชื่อผู้แต่ง          พระราชมุนี ชื่อเรื่อง            พระพุทธเจ้าสอนอะไร ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท. สำนักพิมพ์        ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๑ จำนวนหน้า      ๑๘๒ หน้า     หนังสือพระพุทธเจ้าสอนอะไร นับเป็นหนังสือที่ดีเป็ฯที่นิยมของท่านนิสิต นักศึกษา นักเรียนและผู้สนใจธรรมทั้งหลาย เป็นคำสอนที่สำคัญขั้นพื้นฐานของพระพุทธเจ้า คือ คำสอนที่เรียกว่า อริยสัจ 4 ประการ มรรคมีองค์ 8 ขันธ์ 5 กรรม การเกิดใหม่ ปฏิจ-สมุปบาท อนัตตา สติปัฏฐาน


เลขทะเบียน : นพ.บ.448/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 22 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : มหามูลนิพพาน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม





         หนังสือเรื่อง Midnight's Children          ผู้เขียน  : รัชดี, ซัลมาน.          ผู้แปล  : สุนันทา วรรณสินธ์ เบล          ผลงานมาสเตอร์พีซครองใจผู้อ่านทั่วโลก คว้าทั้งรางวัล Booker Prize และ Booker of Bookers "หากจะเข้าใจหนึ่งชีวิต คุณต้องกลืนโลกทั้งใบ"          กาลครั้งหนึ่งเมื่อบริติชราชยังปกครองอินเดีย ว่าที่คุณแม่ได้รับคำทำนายถึง "ลูกชาย" ที่ใกล้คลอดของเธอ คำทำนายพิลึกพิลั่นขวัญผวาซึ่งติดตัวเด็กชายไปตลอดชีวิต ครั้นนาฬิกาตีบอกเวลาเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 15 สิงหาคม 1947 เวลาที่อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษพอดิบพอดี ซาลีม ซีนายพลันลืมตาดูโลก ชีวิตของเขาไม่ธรรมดาทว่าโลดโผนและบอบช้ำพอๆ กับอินเดียผู้เป็นเช่นแฝดน้องของเขาเอง และด้วยเชื่อว่าชะตาชีวิตของตนถูกผูกโยงเข้ากับประวัติศาสตร์และชะตากรรมของประเทศ ซาลีมจึงบันทึกเรื่องราวของเขาที่หมักบ่มมาตลอดอายุร่วมสามสิบปีแปรรูปเป็นคำบอกเล่ารสเด็ดบรรจุขวดโหล 30 ใบในรูปของ "ประวัติครอบครัวฉบับละเมิดกฎฮาลาล"          วรรณกรรมหลังอาณานิคมที่น่าจับตามอง สะท้อนความเป็นไปของชาติชาติหนึ่งซึ่งถือกำเนิดและกระเสือกกระสนดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดท่ามกลางความผันผวนที่โถมเข้าใส่ คู่ขนานไปกับชีวิตของพลเมืองคนหนึ่งในชาตินั้นผู้ไขว่คว้าหาความหมายให้ตัวเองผ่านประสบการณ์ทั้งในฐานะผู้กระทำและผู้ถูกกระทำงานเขียนที่แพรวพราวด้วยฝีมือการเติม แต่ง ตัด ทอน กร่อน เกลา กลึง เฉือน บิด ดัด ยืดหด ย่อ ขยาย หงาย พลิก ตีลังกาด้วยลีลาและลูกเล่นแบบฉบับเฉพาะตัวของซัลมาน รัชดีที่คอวรรณกรรมโลกไม่ควรพลาด   ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ :  823.914 ร331ม


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการหมุนเวียน  "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี  ประจำเดือน "กันยายน" เชิญพบกับ "กุณฑี" จัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๑ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ "กุณฑี" หม้อมีพายปากผาย หรือกุณฑี เป็นภาชนะดินเผามีพวยคล้ายกาน้ำ ไม่มีหูจับ ลำตัวเป็นกระเปาะกลม ก้นแบน คอตรง ด้านบนปากเป็นช่องทางสำหรับใส่น้ำ มีพวยบริเวณไหล่ภาชนะเป็นช่องทางให้น้ำไหลออก (สแกนคิวอาร์โค้ด อ่านเพิ่มเติม)           ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ "กุณฑี"  ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ (ปิดวันจันทร์ วันอังคาร) ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๓๐ หรือเฟสบุ๊ก: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                    วัดแค สุพรรณบุรีผู้แต่ง                      -ประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                -           หมวดหมู่                  ศาสนา เลขหมู่                     294.3135 ว416สถานที่พิมพ์              สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                บริษัท วัน แฟมิรี่ ปริ๊้นติ้ง เซอร์วิส จำกัดปีที่พิมพ์                   2553ลักษณะวัสดุ              174 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                    ประวัติวัดแค                              สุพรรณบุรี -- วัดแค ภาษา                      ไทย บทคัดย่อ/บันทึก           หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติวัดแค ประวัติพระและวัตถุมงคล



Messenger