ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเรื่อง เจดีย์ทรงระฆังสกุลช่างกำแพงเพชรเจดีย์ เป็นชื่อเรียกสิ่งก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรมไทย และสร้างเป็นประธานหรือบริเวณกึ่งกลางของวัดในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า คำว่า “เจดีย์” มาจากคำว่า “เจติยะ” ในภาษาบาลี หรือ “ไจตย” ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สิ่งที่เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึง โดยตำราในพุทธศาสนากำหนดเจดีย์ไว้ ๔ ประเภท ได้แก่๑. ธาตุเจดีย์ หมายถึง สิ่งก่อสร้างบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า สถูป๒. บริโภคเจดีย์ หมายถึง สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้เป็นที่ระลึกถึงพระองค์เมื่อปรินิพพานแล้ว ได้แก่ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งสวนลุมพินีที่ประสูติ อุรุเวลาเสนานิคมที่ตรัสรู้ ป่าอิสิตปตนมฤคทายวันแสดงปฐมเทศนา และสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ที่ปรินิพพานต่อมาได้เพิ่มสถานที่ที่แสดงปาฏิหาริย์อีก ๔ แห่งได้แก่ เมืองสังกัสสะที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมืองสาวัตถีที่ทำยมกปาฏิหาริย์ เมืองราชคฤห์ ที่ทรมานช้างนาฬาคีรี และเมืองเวสาลีที่ทรงทรมานพญาวานร๓. ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรมคำสั่งสอนทั้งมวลของพระพุทธเจ้า เช่น พระไตรปิฎก๔. อุเทสิกะเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระพุทธเจ้า เช่น พระพิมพ์ดินเผา พุทธบัลลังก์เพราะฉะนั้นคำว่า “เจดีย์” ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยจึงหมายถึงธาตุเจดีย์หรือพระสถูปมีรูปทรงที่หลากหลายทั้งเจดีย์ทรงระฆัง เจดีย์ทรงปรางค์ หรือเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งภายในเจดีย์ประดิษฐานสิ่งที่เคารพบูชา ทั้งพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุอรหันต์ พระบรมอัฐิและพระสรีรางคารของพระมหากษัตริย์ และต่อมาภายหลังจึงมีการอนุโลมบรรจุอัฐิของพระบรมวงศานุวงศ์ หรืออัฐิของบุคคลทั่วไปด้วยสถูปหรือเจดีย์น่าจะมาจากลักษณะของเนินดินเหนือหลุมฝังศพตรงที่ฝังอัฐิธาตุในอินเดียแล้วจึงมีการพัฒนารูปแบบให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ถาวรขึ้น เป็นสถูปทรงโอคว่ำตั้งอยู่บนฐานและมีฉัตรปักเป็นยอด ปรากฏในศิลปะอินเดียโบราณ ตัวอย่างสถูปที่เมืองสาญจี และได้ส่งอิทธิพลรูปแบบดังกล่าวผ่านความเชื่อด้านพุทธศาสนามายังดินแดนอื่น ๆ ทั้งศรีลังกาและสุโขทัยตามลำดับ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสถาปัตยกรรมให้มีเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละบ้านเมือง โดยในศรีลังกา สถูปรุวันเวลิ ศิลปะอนุราธปุระ ยังคงปรากฏสถูปที่มีองค์องค์ระฆังทรงโอคว่ำขนาดใหญ่และเมื่อบ้านเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชรรับความเชื่อทางพุทธศาสนามาพร้อมกับรูปแบบทางศิลปกรรม เจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสุโขทัยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้องค์ระฆังมีขนาดเล็กลงและมีรูปแบบเฉพาะได้แก่ ส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดบัวถลาหรือส่วนบัวคว่ำซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปจำนวน ๓ ชั้นรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังที่เมืองกำแพงเพชร มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยม มีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสุโขทัย คือ พบส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นชุดบัวถลา แต่ส่วนฐานของเจดีย์ถัดลงมาจากชุดบัวถลานิยมสร้างเป็นฐานบัวในผังแปดเหลี่ยม พบทั้งที่เป็นเจดีย์ประธานและเจดีย์บริวารของโบราณสถานเจดีย์ทรงระฆังฐานบัวแปดเหลี่ยม ๑ ชั้น พบที่โบราณสถานวัดพระนอน ปรากฏเจดีย์ประธานรูปแบบฐานบัวแปดเหลี่ยมประดับด้วยลูกแก้วอกไก่ขนาดใหญ่ที่ท้องไม้ แล้วจึงเป็นชุดรับรอบองค์ระฆังเป็นชุดบัวถลา โบราณสถานวัดป่ามืด เจดีย์ประธานฐานบัวแปดเหลี่ยมและชุดบัวถลาโบราณสถานวัดช้าง ปรากฏเจดีย์ประธานที่เป็นฐานบัวแปดเหลี่ยม ประดับบัวลูกฟัก ๑ ชั้นและชุดบัวถลาแล้ว ยังพบว่าฐานมีประติมากรรมช้างปูนปั้นตั้งอยู่โดยรอบฐานล่างสุดเจดีย์ทรงระฆังฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ๒ ชั้น พบที่โบราณสถานวัดพระธาตุ เจดีย์ประธานพบฐานบัวแปดเหลี่ยมฐานชั้นแรกประดับบัวลูกแก้วอกไก่ขนาดใหญ่ ๑ เส้น และฐานบัวแปดเหลี่ยมชั้นที่สองประดับบัวลูกแก้วอกไก่ขนาดเล็ก ๒ เส้น และเป็นชุดบัวถลาโบราณสถานวัดดงหวาย เจดีย์ประธานพบฐานบัวแปดเหลี่ยมชั้นแรกประดับลูกฟัก ๒ เส้น ฐานบัวชั้นที่สองประดับลูกฟัก ๑ เส้น ต่อด้วยฐานบัวผังกลม แล้วต่อด้วยชุดบัวถลานอกจากนี้ยังพบเจดีย์รูปแบบดังกล่าวเป็นเจดีย์บริวารที่โบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ ด้านทิศตะวันออกของวัด มีรูปแบบฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ๒ ชั้นแล้วเป็นชุดบัวถลาจากตัวอย่างรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยมที่พบในเมืองกำแพงเพชร เป็นรูปแบบทางศิลปกรรมเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสุโขทัยที่นิยมสร้างชุดบัวถลาเพื่อรองรับองค์ระฆัง แต่เมืองกำแพงเพชรมีการปรับเปลี่ยนด้วยการใช้ฐานบัวแปดเหลี่ยมเป็นส่วนฐานของเจดีย์ และสันนิษฐานว่าฐานบัวในผังแปดเหลี่ยมที่มีการประดับลูกแก้วอกไก่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ดังนั้นรูปแบบเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมที่เมืองกำแพงเพชร น่าจะเป็นเจดีย์ที่ได้รับรูปแบบมาจากศิลปะสุโขทัยและศิลปะล้านนา ตามตำแหน่งที่ตั้งของเมืองที่สามารถติดต่อและรับรูปแบบศิลปกรรมได้จากบ้านเมืองทั้งสองแห่งเอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. สถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๘.เชษฐ์ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘.ธัญลักษณ์ เจี่ยรุ่งโรจน์. เจดีย์ทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยมเมืองกำแพงเพชร : วิเคราะห์รูปแบบและความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙)ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.สมคิด จิระทัศนกุล. รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๔.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕ .กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๒.สุภัทรดิศดิศกุล. ม.จ. ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง อินเดีย, ลังกา, ชวา, จาม, ขอม, พม่า, ลาว. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๓.



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.41/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.332/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


           พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี “เจ้าฟ้าบุญรอด” สมเด็จพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๑ (พระนามเดิม : สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทวาวงศ์ พงศาอิศวรกระษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๓ เสด็จดำรงราชสมบัติ ๑๗ ปี ๖ เดือน มีพระราชโอรส-ธิดา ๘๔ พระองค์ สวรรคตวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ พระชนมพรรษา ๖๕ พรรษา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๒๙.)     Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๔ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖           (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


ชื่อเรื่อง : บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเวียดนามและสาธารณรัฐออสเตรีย ชื่อผู้แต่ง : กิตินัดดา กิติยากร, หม่อมราชวงศ์ ปีที่พิมพ์ : 2509สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : พระจันทร์ จำนวนหน้า : 238 หน้าสาระสังเขป : บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเวียดนาม 18-21 ธันวาคม 2502 และสาธารณรัฐออสเตรีย 29 กันยายน – 5 ตุลาคม 2507 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์ กิตินัดดา กิติยากร ท.จ., ท.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 22 พฤศจิกายน 2509 ภายในมีประวัติผู้วายชนม์


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกสัตลุง ตรีเมฆ ในวันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย สมชาย อยู่เกิด           บัตรราคา ๒๐๐, ๑๕๐, ๑๐๐ บาท เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันอังคารที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑(การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด)


องค์ความรู้ เรื่อง กรรมวิธีการจารใบลาน  เรียบเรียง/สาธิตโดย นายจุง ดิบประโคน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ


      พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับเจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์ย้อย (สกุลเดิม อิศรางกูร) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๔๗๘ พระชันษา ๖๒ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๘๒.)       Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๓๘ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖         (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)  


ชื่อเรื่อง                     พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม 2ผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ขนบธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่                      390.22 จ657พสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               230 หน้าหัวเรื่อง                     พระราชพิธี                              ไทย – ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกกล่าวถึงพระราชพิธีเดือน 5 ถึงพระราชพิธีเดือน 8 ว่าด้วยเรื่อง ประเพณีต่างๆ และพระราชพิธี ฯลฯ



องค์ความรู้ทางวิชาการเรื่อง ราชวงศ์มหิธรปุระ : ข้อสันนิฐานใหม่โดย นายดุสิต ทุมมากรณ์นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่นArtwork: ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์


กรมศิลปากรขอเชิญชมการถ่ายทอดสด Facebook Live พิธีเปิดนิทรรศการพิเศษ "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ในวันอังคารที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร



Messenger