ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อผู้แต่ง : -ชื่อเรื่อง : มิลินทปัญหาครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่เจ็ดสถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๕จำนวนหน้า : ๖๓๖ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระวิสุทธิวงศาจารย์ (สุง ธญญาโภ) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ หนังสือมิลินทปัญหานี้ ต้นฉบับเดิมเป็นคัมภีร์ใบลาน จำนวน ๓๑ ผูก แปลออกมาเป็นภาษาไทยในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่งขึ้นเมื่อพุทศาสนกาลประมาณ ๕๐๐ พรรษา พระคันถรจนาจารย์ประสงค์จะชี้แจงข้อพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาให้แจ่มแจ้งพ้นวิบัติกังขา จึงเอาอดีตนิทานเรื่อง พระนาคเสนแก้ปัญหาพระยามิลินท์ โยนกราช อันเป็นเรื่องที่มีความจริงเป็นเค้ามูล มาตั้งแต่เป็นเค้าแล้วแต่งอธิบายพระธรรมวินัย
ชื่อเรื่อง : พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452)
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2504
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
จำนวนหน้า : 62 หน้า
สาระสังเขป : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดการประพาสภายในพระราชอาณาเขตเพื่อตรวจตราการปกครอง และมักจะทรงพระราชนิพนธ์เล่าเรื่องการเสด็จประพาส รวมถึงความเป็นไปของบ้านเมืองนั้นๆ การเสด็จประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา พ.ศ. 2452 ได้มีพระราชหัตถเลขา เกี่ยวกับการเดินทางทางน้ำ และถนนหนทางของเมืองราชบุรี รวมถึงการตรวจดูสถานที่สำคัญต่างๆ อาทิ ตลาดถนนริมน้ำ โรงทหารปืนใหญ่ และมีพระราชหัตถเลขา ณ เมืองกาญจนบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
เรื่องที่ 349 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบุญญวาสวิหาร ต.ท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ มีทั้งหมด 15 ผูก จีนนิด , อำแดงโถ่ , แม่หริน เป็นผู้สร้าง เนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา เรื่องมิลินทปัญหานาคเสนภิกษุสูตร หรือ ปัญหาพระยามิลินท์ เป็นเอกสารทางศาสนาพุทธช่วง 100 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึงคริสต์ศักราช 200 อ้างถึงบทบันทึกการสนทนาระหว่างพระนาคเสน นักบวชทางพุทธศาสนา กับพระยามิลินท์ หรือพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 แห่งแบ็กเตรีย กษัตริย์ชาวโยนก (คือชาวกรีก) ผู้ครองกรุงสาคละโดยเนื้อหาจะกล่าวถึงการปุจฉาวิสัชนาเกี่ยวกับปัญหาหลักธรรมต่าง ๆ จีนนิด, อำเเดงโถ่,เเม่หริน เป็นผู้สร้างเลขทะเบียน จบ.บ.349/1-15
ประจักษ์ศิลปาคม, กรมหลวง. วชิรญาณสุภาษิตกับบทแถมของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม. พระนคร : กรมศิลปากร, 2504
เป็นหนังสือที่รวบรวมสุภาษิตตามความรู้และความคิดเห็นของสมาชิกหอสมุดพระวชิรญาณ ไว้เป็นที่ระลึกในโอกาสเป็นวันราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ก่อตั้งหอพระสมุดวชิรญาณขึ้น
ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๔
หมายเหตุ : พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุทิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม
หนังสือตำนานพระธาตุพยชนมที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้แต่งในภาษาไทยเหนือ มหาเสวกตรี ตำนานพระธาตุพนมนี้ใครจะเป็นผู็แต่งและแต่งเมื่อใดมีความจริงเพียงไหนไม่ได้ความปรากฏชัด แต่เป็นหนังสือที่นิยมกันอยู่ในภูมิประเทศนั้นเรื่อง ๑ ประกอบกับพระเจดีย์สถานธาตุพนมซึ้งเป็นของโบราณและเป็นที่เคราพนับถือของประชาชนทางประเทศแถบนั้นมาช้านาน ราชบัณฑิตยสถานจึงพิมพ์รักษาไว้มิให้ศูนย์เสีย
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 651(245)
วันที่ 1-15 เมษายน 2534
เชิญทุกท่านร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ๕ ธันวาคม
กิจกรรมที่ ๒
๑ คน ๑ ภาพพระราชกรณียกิจ
เรือยอกอง เป็นเรือประมงพื้นถิ่นที่ใช้หาปลาทั้งในแม่น้ำลำคลองและในทะเล ทำจากไม้ตะเคียน ขนาดของเรือมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ตัวเรือ ตกแต่งด้วยการทาสีและเขียนลวดลายอย่างสวยงาม เรือยอกองสิแย หมายถึงเรือยอกองแบบสยาม ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ บริเวณหัวเรือจะมีการทำจมูกเรือ ลักษณะเป็นงวงขนาดเล็ก และส่วนสันตรงส่วนหัวและท้ายเรือจะเป็นเส้นโค้ง เรือยอกองมาเลย์มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่าเรือ “ดอฆอ” มีลักษณะที่ต่างจากเรือยอกองสิแย คือส่วนหัวเรือจะมีลักษณะคล้ายหน้าหนู และส่วนสันตรงส่วนหัวและท้ายเรือจะตัดเฉียง การแข่งขันเรือยอกอง ในพ.ศ.๒๕๒๓ เรือยอกองได้ถูกนำไปแข่งขันหน้าพระที่นั่งในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.๙) เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส โดยเรือที่ชนะจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานเช่นเดียวกับการแข่งขันเรือกอและ และนับแต่นั้นการการแข่งขันเรือยอกองหน้าพระที่นั่ง ก็ได้ถูกจัดขึ้นพร้อมกับการแข่งเรือกอและและเรือคชสีห์สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน----------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา----------------------------------------------------- *ขอขอบคุณข้อมูลจาก นายอาหะมัด สาและ อู่ต่อเรือบ้านทอนนาอีม ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส