ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

ชื่อเรื่อง                     ทนายความประจำบ้านผู้แต่ง                       บริรักษ์นิติเกษตร (หรั่ง นิมิหุต)                                              ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   กฎหมายเลขหมู่                      347 น225ทสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์นิติสาส์นปีที่พิมพ์                    2478ลักษณะวัสดุ               308 หน้า หัวเรื่อง                     กฎหมาย – ไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหลักกฎหมายลักษณะมูลคดี สัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะมูลคดี สัญญา เก่ามากหลาย ทั้งกฎหมายอันจำเป็นยิ่งที่บุคคลทุกคนหรือพ่อบ้านแม่เรือนควรรู้


             สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ด้วยความทรงจำอันงดงามและความคิดถึง” กิจกรรมประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2567 เรื่อง เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วิทยากรโดย นางจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนางสาวกรพินธุ์ ทวีตา อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุ ดำเนินรายการโดย นางบุศยารัตน์ คู่เทียม อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจดหมายเหตุ              ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ผ่านการสแกน QR Code หรือผ่าน Link https://forms.gle/eWXURwt9WEt3r11a9 (พร้อมรับของที่ระลึกภายในงาน) รับจำนวน 100 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน 2567 หรือจนกว่าจะเต็ม ติดตามผลการประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมงานรับฟังการเสวนาได้ที่ Facebook : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  และยังสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม









ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2552 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ประชาชน      ตามรอยจดหมายเหตุทัพเชียงตุง เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท : พระประวัติและพระกรณียกิจใน 5 แผ่นดิน, สงครามคราวตีเชียงตุง ( พ.ศ.2392 – 2397 ), ศึกเชียงตุง : ในวรรณกรรมของพม่า, เชียงใหม่ เชียงตุง เชียงรุ่ง กับพระอาณาจักรสยาม : ความพัวพันกันในประวัติศาสตร์, ศึกเชียงตุง : การเปิดแนวรบเหนือสุดแดนสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, การสงครามครั้งตีเมืองเชียงตุงเมื่อต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2395 – 2396, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท กับพระกรณียกิจด้านการสงคราม และคำสั่งกระทรวงรายชื่อคณะกรรมการฝ่ายจัดพิมพ์หนังสือและของที่ระลึก




พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ปราจีนบุรี: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/prachinburi      พ.ศ.2508 กองโบราณคดีได้ทำการสำรวจขุดแต่งโบราณสถาน ในจังหวัดปราจีนบุรี  และจังหวัดใกล้เคียงหลายแห่ง พบศิลปะโบราณวัตถุที่สำคัญ เป็นจำนวนมากซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ และโบราณคดี  กรมศิลปากรจึงได้มีดำริให้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ ขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี ประจำภูมิภาคตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบ ในภูมิภาคนี้ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2515  ในที่ดินราชพัสดุติดกับศาลจังหวัดปราจีนบุรี  พื้นที่ให้ 5 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวางบประมาณการก่อสร้างอาคารและจัดแสดงรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,766,568 บาท มีการดำเนินงานตามโครงการออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้                     - ระยะที่ 1 ระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2520  เป็นการถมดินและก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2 ชิ้น ขนาดกว้าง 18 x 18 เมตร ใช้งบประมาณ 2,000,000 บาท                   - ระยะที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2522 - 2525  สร้างอาคารบ้านพักข้าราชการ บ้านพักเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยติดตั้งระบบสาธารณูปโภค ครุภัณฑ์สำหรับการจัดแสดงใช้งบประมาณ 1,543,068 บาท                  - ระยะที่ 3 ระหว่าง พ.ศ. 2526 - 2528 ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมมีห้องบรรยายและห้องอเนกประสงค์ ปรับปรุงบริเวณลานจอดรถ ใช้งบประมาณ 4,223,500 บาท                   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรีได้ทำการเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการประกอบพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์    



เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น สถานที่ : เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นติดต่อ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น ไม่เสียค่าใช้จ่าย


ประวัติโบราณสถาน เป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง จารึกที่พบในวัดได้กล่าวถึงพญามังรายโปรดได้สร้างเจดีย์ขึ้นในที่ประทับและสถาปนาเป็นวัด เรียกว่า วัดเชียงมั่น ต่อมาในสมัยพญาติโลกราชโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2014 ในพงศาวดารโยนกได้กล่าวถึงพญามังรายได้เสด็จจากเวียงเชียงมั่นหรือเวียงเหล็กเข้าไปประทับในพระราชวังที่สร้างขึ้นใหม่ และในตำนานพิ้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าพญามังรายได้ตั้งเวียงในชัยภูมิที่เรียกว่า เชียงมั่น จากหลักศิลาจารึกที่ 76 ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น พ.ศ. 1839 ได้กล่าวถึงวัดเชียงมั่นว่า พญามังรายได้ทรงสร้างที่ประทับชั่วคราวเพื่อควบคุมการสร้างเมือง เมือ่แล้วเสร็จก้ได้โปรดให้ก่อเจดีย์ตรงที่หอนอนบ้านเชียงมั่น ให้ชื่อว่าวัดเชียงมั่น นับเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของเมืองชียงใหม่ ต่อมา พ.ศ. 2014 ในรัชสมัยพญาโลกติการาช ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ด้วยศิลาแลง 87 ปีต่อมา พม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช) โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมสนาสนะ กำแพงประตูโขง สมัยพระจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2325-พ.ศ. 2367) ได้บูรณะถาวรสถานเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม เจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกัน 2 ชั้น บนฐานประดับปูนปั้นรูปช้างครึ่งตัวโดยรอบ 15 เชือก และประดับช้างประจำมุมๆ ละ 1 เชือก ระหว่างช้างปูนปั้นแต่ละเชือก ประดับด้วยเสาลายเป็นภาพหน้าตัดของสถาปัตยกรรมอันประกอบด่วยฐานเขียง 2 ชั้น บัวคว่ำ ประดับลูกแก้วอกไก่ 4 เส้น และบัวหงายรับกับพื้นชั้นบน ของฐานเขียงชั้นที่ 2 ด้านทิศตะวันออกมีบันไดนาค ทอดยาวนับแต่ส่วนบนฐานเขียงชั้นที่ 2 ลงมาจนถึงพื้น ถัดไปเป็นฐานปัทม์ย่อเก็จ คั่นส่วนท้องไม้ด้วยลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น รองรับองค์เรือนธาตุรูปสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้ 12 องค์ องค์เรือนธาตุแต่ละด้านประดับซุ้มจรนำ ด้านละ 3 ซุ้ม ภายในประดิษฐานสิ่งสักการะ ยกเว้นซุ้มกลางด้านทิศตะวันตกซึ่งปิดทับด้วยประตูจำลองประดับลวดลายปูนปั้น ส่วนบนของซุ้มทั้ง 4 ชั้น ประดับลูกแก้วอกไก่ บัวหงาย และหน้ากระดานรองรับจรนำของแต่ละซุ้ม องค์เรือนธาตุประดับลวดลายปูนปั้น ถัดไปเป้นบัวถลา 2 ชั้น มาลัยเถาแปดเหลี่ยม 4 ชั้น องค์ระฆัง บัลลังค์ คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ 1 เส้น วงฉัตรโลหะฉลุลายปรดับด้วยก้านตาล ปล้องไฉน ปลียอด เม็ดน้ำค้าง วิหาร ทรวดทรงแบบล้านนา แต่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากการซ่อมแซมกันต่อๆมา อุโบสถ เป็นอาคารลักษณะรูปทรงล้านนา หอไตร เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นก่ออิฐฉาบปูน ชั้นบนเป็นไม้


Messenger