ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (สุวณฺณสาม,มโหสถ,วิธูร,เนมิราชชาตก)  ชบ.บ.105.7ง/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.332/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         ๑๗ ตุลาคม ๒๔๐๐ (๑๖๔ ปีก่อน) – วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัยลวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นเอก]          พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าจอมมารดาสังวาล พระสนมโท (สกุลเดิม ณ ราชสีมา) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ มีพระโอรส-ธิดา ๑๐ พระองค์ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๖๒ พระชันษา ๖๓ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม ณ อยุธยา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๖๑.)      Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๒๖ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖           (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)



ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ #ปราสาทตำหนักไทร ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในวัดตำหนักไทร อยู่ห่างจากลำห้วยทา ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของตำบลบักดอง มาทางด้านทิศตะวันออก เพียง 300 เมตร โดยปรากฏร่องรอยการก่อสร้างและใช้ประโยชน์โบราณสถานในฐานะศาสนสถานต่อเนื่อง ถึง 3 ระยะ ด้วยกัน ดังนี้ #ระยะที่1 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 12 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 14 พบร่องรอยของส่วนฐานของปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ 13.70 เมตร ขนาดกว้างตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก 11.70 เมตร พบร่องรอยการก่ออิฐเป็นช่องบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ด้านทิศตะวันออก เเละพบหลักฐานแผ่นหินทรายเป็นอัฒจันทร์วางอยู่ที่ด้านล่าง หลักฐานสำคัญของระยะที่ 1 คือ ฐานทางขึ้นก่อด้วยอิฐ, ฐานรูปเคารพในปราสาทประธาน, บัดยอดปราสาท, และอัฒจันทร์ #ระยะที่2 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 15 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 16 มีการสร้างฐานของปราสาทขึ้นใหม่ โดยใช้ศิลาแลงก่อวางเรียงปิดทับ ล้อมรอบฐานอิฐของปราสาทในระยะที่ 1 ฐานเขียงมีรูปแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดด้านละ 10 เมตร ก่อศิลาแลงสูง 3 ชั้น ถัดขึ้นมาเป็นฐานอีกชั้นหนึ่ง ก่อด้วยหินทราย 3 ชั้น แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดด้านละ 10 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน และก่อวางเรียงหินทรายเป็นช่องบันได ตัวเรือนธาตุก่ออิฐ อยู่ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม เช่นเดียวกับส่วนฐาน มีขนาดด้านละ 4.2 เมตร มีประตูทางเข้าหลักเฉพาะด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นเป็นประตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นเรือนชั้นซ้อน ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชั้น จากการขุดศึกษาโบราณสถานปราสาทตำหนักไทร ในปี 2554 เราพบบัวยอดปราสาทด้วย หลักฐานสำคัญของระยะที่ 2 คือ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ และบัวยอดปราสาท #ระยะที่3 พบหลักฐานการใช้ประโยชน์โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของปราสาท โดยมีการนำหินทรายและหินธรรมชาติมาเวียงเป็นแนวทางเดินบนผิวดิน มีความกว้าง 5 เมตร ต่อเนื่องจากด้านหน้าปราสาทไปทางทิศตะวันออก กำหนดอายุ อยู่ในช่วง พุทธศตรวรรษที่ 23 ไฮไลต์สำคัญ ของงปราสาทตำหนักไทร คือ #ภาพสลักคานกรอบประตูเป็นรูปวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์ แวดล้อมด้วยท่อนพวงมาลัยและพรรณพฤกษา กำหนดอายุให้อยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยกับปราสาทประธาน ซึ่งของจริงนำไปเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ได้มีการจำลองและติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม เพื่อให้ทุกๆคนได้รับชม เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ เอกสารอ้างอิง                   กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2539. สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. รายงานข้อมูลโบราณสถาน ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. นครราชสีมา: สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. อัดสำเนา. 2561.


      พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) กับเจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอก “สมเด็จพระศรีสุลาลัย” (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๓๖๗ เสด็จดำรงราชสมบัติ ๒๖ ปี มีพระราชโอรส-ธิดา ๕๑ พระองค์ สวรรคตวันที่ ๒ เมษายน ๒๓๙๓ พระชนมพรรษา ๖๔ พรรษา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๒๐ - ๒๑.)       Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๓ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖   (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


ชื่อเรื่อง                     พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม 1ผู้แต่ง                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ขนมธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่                      390.22 จ657พสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               410 หน้าหัวเรื่อง                     พระราชพิธี                              ไทย – ความเป็นอยู่และประเพณี            ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกพระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม 1 นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ ให้ผู้อ่านเข้าใจให้แจ่มแจ้งเป็นข้อสำคัญ เมื่อว่าด้วยพระราชพิธีอย่างใด ทรงเริ่มต้นชี้แจงตำราเดิมของการพระราชนิพนธ์นั้นก่อน แล้วทรงชี้แจงเหตุการณ์ที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ จนถึงได้เลิกหรือคงทำพระราชพิธีนั้นอยู่อย่างไร  



กรมศิลปากร.  นิทรรศการศิลปโบราณวัตถุชิ้นเอกจากพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคล ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 6 มีนาคม - 6            เมษายน 2511.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2511.         ประวัติย่อศิลปในประเทศไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปดีเด่นแต่ละสมัย เช่น สถาปัตยกรรมพระธาตุที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอไชยา เครื่องถ้วยสังคโลก เจดีย์วัดเจ็ดยอด พระพุทธรูป เครื่องไม้สลัก เครื่องมุก เครื่องลายรดน้ำ และชามเบญจรงค์ พร้อมภาคภาษาอังกฤษประกอบ


          ทางรถไฟเมืองราชบุรี จัดเป็นทางรถไฟหลวงสายตะวันตกของสยามก่อนจะผนวกรวมเป็นทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งมีกรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบในการก่อสร้าง เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนเมษายน 2443 แล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2445           เส้นทางการเดินรถ เริ่มตั้งแต่สถานีบางกอกน้อย ตรงไปทางตะวันตกใกล้แนวคลองมหาสวัสดิ์   ข้ามแม่น้ำท่าจีนที่สะพานเสาวภา ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำแม่กลองที่บ้านโป่ง เลี้ยวลงไปทางทิศใต้เลียบใกล้ฝั่งแม่น้ำและข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ช่วงเมืองราชบุรี ที่สะพานจุฬาลงกรณ์ แล้วตรงไปตามทางจนถึงเมืองเพชรบุรี รางรถไฟมีความกว้าง 1 เมตร และมีความยาวทั้งสิ้น 151 กิโลเมตร ในระหว่างเส้นทางดังกล่าวต้องสร้างสะพานรถไฟข้ามคลองและแม่น้ำถึง 3 แห่ง ได้แก่ 1. สะพานข้ามคลองตลิ่งชัน  2. สะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (สะพานเสาวภา) 3. สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงเมืองราชบุรี (สะพานจุฬาลงกรณ์)           สะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองช่วงผ่านเมืองราชบุรีสร้างเมื่อ พ.ศ. 2444 ทางเดินรถแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 50 เมตร มีระยะทางทั้งสิ้น 150 เมตร นับได้ว่าเป็นสะพานรถไฟที่ยาวที่สุดของสยามประเทศ ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานชื่อว่า สะพานจุฬาลงกรณ์ ตามพระนามของพระองค์ และได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดทางรถไฟอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19  มิถุนายน 2446           ปัจจุบันมีก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ และมีการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองซึ่งเป็นสะพานคานขึง (Extradose Bridge) คือ การผสมผสานระหว่างสะพานขึงและสะพานคอนกรีตที่ใช้สายเคเบิ้ลในการช่วยรับแรง เป็นสะพานรถไฟคู่ขนานกับสะพานจุฬาลงกรณ์ที่เป็นสะพานรถไฟเดิม สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองที่ก่อสร้างอยู่จะเป็นสะพานรถไฟคานขึงที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และอาจจะขึ้นแท่นเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองราชบุรีในอนาคตอีกด้วย   ----------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี https://www.facebook.com/ilove.ratchaburi.national.museum/posts/pfbid022roHchq9frenkadVUqJLKErUdybsKtdcy3JqmfaHLV55EFb2cyMF4ZxTNju6rWsul -----------------------------------------------------     *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  


เป็นใยบัวติดสไบบาง นางพิรากวนยักษี  ด้วยเดชพระมนต์อันฤทธี อสุรีไม่เห็นกายาฯ          ลมหนาวแผ่วเบาปลายเดือนพฤศจิกาที่มาพร้อมสายฝนช่วงนี้ เพจคลังกลางฯ ขอเชิญชวนทุกท่านไปสัมผัสบรรยากาศการแสดงโขนพระราชทาน หนึ่งในมหรสพที่แสดงผลงานวิจิตรศิลป์ ความพิถีพิถันขององค์ประกอบฉาก ทั้งยังสอดแทรกกุศโลบายเรื่องคุณธรรม ความซื่อสัตย์ การรับราชการ ตลอดจนเรื่องกตัญญูกตเวทิตา ผ่านตัวละคร “หนุมาน” ทว่าอีกหนึ่งความน่าสนใจของการแสดงโขนพระราชทาน ตอนสะกดทัพ คือเจ้าลิงน้อย “มัจฉานุ” และธิดายักษ์อย่าง “นางพิรากวน” ที่ได้สร้างสีสัน ความประทับใจ ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน วันนี้ เพจคลังกลางจึงขอยกเรื่องราวของตัวละครโขนพระราชทาน ตอนสะกดทัพ มาบอกเล่าในมุมมองของวัตถุภายในคลังกลางฯ ไม่ว่าจะเป็นหนังใหญ่ รวมถึงฝีมือลวดลายบนตู้พระธรรมชิ้นสำคัญ           รามเกียรติ์... เป็นหนึ่งในวรรณคดีที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นสูง นิยมนำมาใช้ประดับ สำหรับแสดงออกซึ่งอำนาจและบุญบารมี ซึ่งนอกจากการแสดงโขนแล้ว ยังสามารถพบเห็นได้จากการแสดง “หนังใหญ่” อันถือเป็นความงามทางเชิงช่างอีกประเภทที่ต้องอาศัยการสังเกตเพื่อให้เกิดความเข้าใจในตัวละคร   “เมื่อนั้น นางพิรากวนยักษา เอากระออมนั้นตักคงคา ขึ้นมากระเดียดเดินไป”           จากบทพระราชนิพนธ์ได้อธิบายตัวละครให้เกิดจินตภาพเบื้องต้น โดยรูปแบบของหนังใหญ่สามารถพบได้ในประเภทหนังคเจร (ภาพเดี่ยว) และหนังเบ็ดเตล็ด (ภาพฉาก) โดยปรากฏลักษณะเป็นตัวละครนาง สวมมงกุฏ ห่มสไบ (ผ้าห่มนาง) นุ่งผ้ายาวมีชายพก ผ้าเช็ดหน้านาง และถนิมพิมพาภรณ์ตามเครื่องแต่งกายโขนพระราชทาน แต่มีข้อสำคัญคือถือกระออมตักน้ำ หากพบในประเภทหนังเบ็ดเตล็ดต้องพิจารณาร่วมกับองค์ประกอบภาพด้วย ทั้งนี้ หนังใหญ่จะไม่สร้างตามความผันแปรของฐานะตัวละคร ไม่ว่าจะถูกลดตำแหน่งหรือถอดยศ จะคงรูปแบบเดิมให้เกิดความเข้าใจง่าย ดังนั้นจึงต้องอาศัยความพิถีพิถัน และทำความเข้าใจตัวละครผ่านบริบทของวรรณคดี            ส่วนลวดลายเล่าเรื่องรามเกียรติ์บนตู้ไม้ทรงสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า “ตู้พระธรรม” จะตกแต่งด้วยลายทองรดน้ำหรือปิดทองทึบ ปรากฏได้ทั้งตู้พระธรรมขาหมู ขาคู้ หรือขาสิงห์ โดยจากข้อสังเกตลายรดน้ำบนตู้พระธรรม มักเกิดจากการผูกลวดลายให้เต็มพื้นที่และมีแม่ลายเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับศาสนา บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ชาดก วรรณคดี นิทานพื้นบ้าน และธรรมชาติ แสดงถึงความหลากหลายและสุนทรียะของประณีตศิลป์ จึงถือเป็นเครื่องถวายเป็นพุทธบูชาในรูปแบบภาพจับ หรือฉากรบเพื่อสอดแทรกคติธรรม สามารถสังเกตตัวละครจากลักษณะของศีรษะและเครื่องแต่งกาย คือ มัยราพณ์ เป็นพญายักษ์สวมมงกุฎยอดกระหนก มีอาวุธเป็นกล้องยาและกระบอง รายละเอียดคล้ายคลึงกับเครื่องแต่งกายของโขนพระราชทาน เช่นเดียวกับมัจฉานุที่ปรากฏในลักษณะของลิงไม่มียอด (ลิงโล้น) คล้ายหนุมาน แต่มีหางเป็นปลา และท่อนบนเปลือยให้เห็นสัดส่วนของร่างกาย             ภาพประกอบ : ลายรดน้ำตู้พระธรรมและหนังใหญ่ ปัจจุบันเก็บรักษาภายในอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี           เผยแพร่และเทคนิคภาพโดย พลอยไพลิน ปุราทะกา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           35/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 130/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 166/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


แผงพระพิมพ์ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย สูง ๑๒๐  ซม. ฐานกว้าง ๔๓ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘-พระพิมพ์ ประติมากรรมพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์ มีขนาดเล็ก สร้างโดยการนำวัตถุเช่น ดิน โลหะ มากดหรือหล่อลงแม่พิมพ์สร้างขึ้นสำหรับผู้แสวงบุญเดินทางไปสักการะสังเวชนียสถาน ๔ นำกลับไปบูชา ต่อมาได้นิยมสร้างขึ้นสำหรับบรรจุกรุเพื่อเป็นการสืบพระศาสนา การสร้างพระพิมพ์ถือเป็นการสร้างบุญกุศลอย่างมหาศาลและไม่สิ้นเปลืองทุนทรัพย์ในการสร้างมากมาย หากเป็นบุคคลมีฐานะมักสร้างด้วยโลหะมีค่า เช่น เงิน ทอง หากเป็นบุคคลทั่วไปก็มักสร้างด้วยดิน และโลหะที่มีค่าน้อย นอกจากนี้ในคติของทางภาคเหนือยังเชื่อว่าการสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุที่ต่างกัน ก็ได้รับบุญกุศลมากน้อยแตกต่างกันไปตามวัสดีที่ใช้สร้างนั้นด้วย -แผงพิมพ์  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย  แผงไม้ทำเป็นทรงปราสาท ทาชาดปิดทอง กรอบซุ้มลดหลั่นกัน ๓ ชั้น มียอดแหลม ขอบแกะสลักเป็นรูปนาค แผงด้านล่าง ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำจากรักสมุกรวมที่ประดิษฐานในชั้นหลังคากรอบซุ้ม รวมทั้งสิ้น ๑๘ องค์แต่ละองค์แทรกด้วยด้วยลายดอกไม้ ๘ กลีบประดับอยู่  การประดับพระพุทธรูปจำนวน ๑๘ องค์นี้ยังไม่พบคติความเชื่อในการสร้างที่แน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นจำนวนของพระอดีตพุทธเจ้าที่มีเป็นจำนวนมาก หรือหมายถึงจำนวนของเจ้าศรัทธาที่ร่วมกันสร้างแผงพระพิมพ์นี้ ซึ่งเป็นงานพุทธศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นทางเชิงช่างเมืองลำพูน แสดงถึงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาอ้างอิงกรมศิลปากร: ศัพทานุกรมโบราณคดี กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๐.บัณฑิต เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.ยุทธภูมิ มั่นตรง. “การศึกษาพระพิมพ์แผงไม้ในล้านนา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๘


Messenger