ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           20/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                22 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา




ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   พระทวาทสปริตร (สวดมนต์สิบสองตำนาน) ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๙๔   หน้า หมายเหตุ                สข.๐๓๘ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก (เนื้อหา)                  เนื้อเรื่องว่าด้วยบทสวดมนต์และพระสูตรต่างๆ เช่น รตนะสูตร ธัมมะจักรกัปวัตนะสูตร


ชื่อผู้แต่ง           อนุสรณ์ ชื่อเรื่อง             อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระราชปัญญาโสภณ (สุข ปญญารํสีมหาเถร) ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์         การพิมพ์พระนคร ปีที่พิมพ์             ๒๕๓๐ จำนวนหน้า        ๑๘๘ หน้า     พระราชปัญญาโสภณ นามเดิม สุข นามสกุล สายสังข์ ฉายา ปญฺญารํสี เกิดวันศุกร์  ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2439 ณ บ้านสามนาค  ตำบล ดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โยมบิดา นายเขียว สายสังข์ โยมมารดา นางกอน  อ่อนอินทร์ วิทยฐานะ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท ความรู้พิเศษ ท่านสนใจปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เอาธุระพระศาสนา ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา ทั้งในด้านขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและประเพณี อดีตเจ้าอาวาสวัดราชนัดดารามวรวิหาร รูปที่ 9


เลขทะเบียน : นพ.บ.448/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มหามูลนิพพาน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.598/1                      ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 192  (392-398) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พรหมชาลสุด--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         เนื่องในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน วันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔  ณ วัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ในการนี้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดสร้างตาลปัตร จำนวน ๑๐ เล่ม โดยมีกลุ่มจิตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดสร้างตาลปัตร  และบันทึกข้อมูลจัดทำสื่อสำหรับเผยแพร่โดย ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย



        พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรองที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระราชาคณะ  ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  พุทธศักราช  ๒๕๖๒         เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร         ศิลปิน : นางสาวนิธีราฤดี ภาตะนันท์  นายช่างศิลปกรรมอาสุโส         กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร         ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ #เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)         การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนตาลปัตร  พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประเคนพัดรอง  ที่ระลึกการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  แด่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก  สมเด็จพระราชาคณะ  เป็นการบันทึกภาพประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในการเริ่มพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ  จิตรกรเขียนภาพจิตรกรรมด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามผสมดินสอพอง  โดยศูนย์ศิลปะและการช่างไทยได้บันทึกรวบรวมขั้นตอน  เรียบเรียงจัดทำเป็นวีดีทัศน์องค์ความรู้  สำหรับสืบทอดกระบวนการงานช่างแบบโบราณของกลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้จากระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ ทางลิ้งค์ด้านล่างค่ะ https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26  




 หลายคนคงเคยเห็นประติมากรรมการกวนเกษียรสมุทรในสนามบินสุวรรณภูมิ...สงสัยไหมว่ากวนไปทำไม?กวนแล้วได้อะไร?ภาพสลักการกวนเกษียรสมุทรที่โบราณสถานโนนแท่นพระบ้านหนองโก หมู่ที่ ๓ ตำบลก้านเหลือง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่นค้นคว้าและเรียบเรียง ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์นักโบราณคดีชำนาญการกราฟิก ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์ปฏิบัติงานด้านโบราณคดีและวิชาการวัฒนธรรมสอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร#ความรู้ #องค์ความรู้ทางวิชาการ #บทความ #สำนักศิลปากรขอนแก่น #ขอนแก่น #กรมศิลปากร



         “เงินพดด้วง” ในสมัยอยุธยา         เงินพดด้วงเป็นเงินตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขาย เดิมเรียกว่า “เงินกลม” แต่ด้วยปลายขาเงินที่งอและสั้นขดกลมคล้ายตัวด้วง จึงนิยมเรียกว่า “เงินพดด้วง” มีการใช้งานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยามีการผูกขาดระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐได้มีการวางระบบเงินตราและควบคุมมาตรฐานทางการเงินเพื่อควบคุมการค้าและการคลัง ทำให้รัฐมีสิทธิ์ขาดในการผลิตเงินตราสำหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า พร้อมกับมีการกำหนดบทลงโทษอย่างชัดเจน         ดังปรากฎในกฎหมายตรามดวงและกฎหมายลักษณะโจร ความว่า “ผู้ใดทำเงิน ทองแดง เงินพราง เงินรวงทองพราง ทองแดงทองอาบและแกะตราปลอม ตอกตราพดด้วงเทียม พิจารณาเป็นสัจให้ตัดนิ้วมือเสียอย่าให้กุมค้อนคีมได้...” ทั้งนี้ยังมีบทลงโทษครอบคลุมถึงบุคคลใกล้เคียง คือ หากมีผู้สมรู้ให้ทำและรับซื้อขายให้ทวนด้วยลวดหนัง ๕๐ ที ส่วนผู้อยู่เรือนใกล้เคียงและรู้เห็นแต่ไม่แจ้งกรมพระนคร ให้ใส่ขื่อ ๓ วัน แล้วทวนด้วยลวดหนัง ๑๕ ที...         เงินตราที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่โบราณสถานต่างๆ ภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่คือเงินพดด้วงและหอยเบี้ย โดยรูปแบบเงินพดด้วงในสมัยอยุธยา จะมีลักษณะเป็นทรงกลมมาตรฐาน มีรอยประทับตราที่มีความคมชัด ปลายขาด้านล่างแยกออกห่างจากกัน รอยบากมีขนาดเล็กลงจากสมัยสุโขทัยและหายไปในที่สุด รูปแบบดังกล่าวนี้ยังส่งต่อมาให้การผลิตพดด้วงสมัยรัตนโกสินทร์ด้วย ตราสัญลักษณ์ที่ตอกประทับลงบนเงินพดด้วงสมัยอยุธยา บริเวณด้านหน้าและด้านบน จำแนกเป็น ๒ ประเภท คือประเภทที่ ๑ ตราประจำแผ่นดิน ประทับบริเวณด้านบนของพดด้วง มีข้อสังเกต ๒ ชนิด คือ ตราจักรหกแฉกหรือตรากงล้อธรรม และตราจักรแบบจุด ที่มีลักษณะแปดจุดล้อมรอบจุดกลางใหญ่          สัญลักษณ์ตราประจำแผ่นดิน อาจมีความหมายถึง พระธรรมจักรหรือ กงล้อแห่งพระธรรม แทนเครื่องหมายของการนับถือพุทธศาสนา คล้ายกับสมัยสุโขทัย ทั้งนี้อาจแทนนัยยะของ “จักร” อาวุธของพระนารายณ์ตามคติเทวราชา โดยเปรียบพระมหากษัตริย์เป็นอวตารของพระนารายณ์  ประเภทที่ ๒ ตราประจำรัชกาล ประทับอยู่ด้านหน้าของพดด้วง ส่วนมากไม่มีหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์บ่งบอกรูปแบบที่เปลี่ยนตามรัชกาลอย่างชัดเจน อาจพบได้มากกว่าสามสิบรูปแบบ แต่สามารถจำแนกได้ ๓ หมวดหมู่ ดังนี้  กลุ่มที่ ๑ เป็นรูปดอกบัว กลีบดอกบัว หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ กลุ่มที่ ๒ เป็นรูปสัตว์ อาทิ ช้าง หอยสังข์ ครุฑ และกลุ่มที่ ๓ เป็นรูปราชวัตร คือจุดอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม         ปัจจัยที่รูปแบบของตราดอกบัวในสมัยอยุธยามีรายละเอียดแตกต่างกัน มาจากแม่ตราประทับมีความหลากหลาย ซึ่งอาจเกิดจากฝีมือช่างผู้ผลิต หรือเป็นการทดแทนแม่ตราที่ชำรุด ซึ่งเป็นการผลิตจากการแกะด้วยมือ จึงทำให้มีการลดทอนรายละเอียดลง แต่สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นตราดอกบัว  ทั้งนี้รูปแบบของตราดอกบัวของสมัยอยุธยา ยังมีความคล้ายคลึงกับตราพุ่มข้าวบิณฑ์ ตราอุณาโลมหรือตราบัวอุณาโลม มักอยู่ในกรอบพุ่มคล้ายดอกบัว มีอักขระ “อุ” รูปร่างคล้ายสังข์อยู่ตรงกลาง และต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เรียกว่าดอกบัวผัน หมายถึงความมั่งคั่ง  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตราประทับบนพดด้วงของรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งยังมีความคล้ายคลึงกับอยุธยานั้น อาจแฝงนัยยะเรื่องการพยายามสืบทอดราชธานีต่อจากกรุงศรีอยุธยาผ่านระบบเงินตราด้วย    ภาพประกอบบทความ  : ตัวอย่างเงินพดด้วงสมัยอยุธยา ภายในคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ     อ้างอิง กรมธนารักษ์. คู่มือเพื่อพิจารณาคัดแยกดวงตราบนเงินพดด้วงในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ที่ได้รับมอบจากสำนักบริหารเงินตรา เข้าถึงได้จาก https://asset-link.treasury.go.th/th/operationmanual/ ศิลปวัฒนธรรม. รู้จัก “เงินพดด้วง” เงินตราสะท้อนความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจและการค้าสมัยสุโขทัย เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_61704...


            กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนศิลปินผู้ประพันธ์เพลงและผู้ขับร้องเพลง ส่งผลงานเพลงเข้าร่วมการประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2567 ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊กเพจ “เพชรในเพลง กรมศิลปากร” www.facebook.com/pechtnaipleng             นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า การประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย และสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพลงที่มีคุณภาพทั้งด้านการประพันธ์คำร้องและการขับร้อง ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 21 แบ่งการประกวดออกเป็น รางวัลผู้ประพันธ์คำร้อง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” มี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล และผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง และรางวัลผู้ขับร้องเพลง “ใช้ภาษาไทยดีเด่น” มี 4 ประเภท ได้แก่ ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย และผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง โดยผู้ชนะการประกวดแต่ละประเภท จะได้รับพระคเณศของกรมศิลปากร พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท สำหรับรางวัลชนะเลิศ และ 10,000 บาท สำหรับรางวัลรองชนะเลิศ ซึ่งพิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในงานวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2567             ผู้สนใจสามารถส่งผลงานด้วยตนเอง หรือไปรษณีย์ลงทะเบียน ระบุชื่อผู้ส่งผลงาน ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน ได้ที่ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (การประกวดเพชรในเพลง) ชั้น 6 อาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) เลขที่ 81/1 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 หรือส่งผลงานทางอีเมล finearts.thai@gmail.com กำหนดส่งผลงานเพลงเข้าร่วมประกวดได้ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 ติดตามรายละเอียดและหลักเกณฑ์การส่งผลงานเพลงเข้าร่วมประกวดได้จากประกาศกรมศิลปากร เรื่อง การประกวดเพลง (เพชรในเพลง) เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ดาวน์โหลดได้ที่ https://t.ly/iZIru หรือเฟซบุ๊กเพจ “เพชรในเพลง กรมศิลปากร” www.facebook.com/pechtnaipleng


Messenger