ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

1. Smart Museum (smartmuseum.finearts.go.th)           เป็นระบบการให้บริการข้อมูลด้านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สามารถเลือกเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ได้ในรูปแบบเสมือนจริง แสดงข้อมูลโบราณวัตถุหมุน 360 องศา และแสดงข้อมูลอาคารโบราณสถานในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในรูปแบบ 3D Model เสมือนท่านได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยตนเอง   2. Virtual Museum (http://www.virtualmuseum.finearts.go.th)           Virtual Museum หรือ พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง เป็นระบบที่เผยแพร่ข้อมูลด้านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับเทคนิคภาพแบบ Panoramic ประชาชนสามารถเข้าชมห้องจัดแสดงได้แบบ ๓๖๐ องศา ทำให้เกิดความน่าสนใจ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เสมือนท่านได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยตนเอง รวมทั้งยังสามารถเลือกชมพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศ 3. อุทยานประวัติศาสตร์เสมือนจริง (virtualhistoricalpark.finearts.go.th)           เป็นการนำเสนอข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์ 11 แห่งทั่วประเทศ ผ่านเว็บไซต์ในรูปแบบเสมือนจริง สามารถชมลวดลาย และสัมผัสอีกหนึ่งมุมมองที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากในสถานที่จริง เช่น ยอดพระปรางค์ ภาพมุมสูง เป็นต้น 4. ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล (http://www.digitalcenter.finearts.go.th)           Digitalcenter หรือ ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล เป็นระบบสืบค้นข้อมูลหนังสือทั้งหมดของหน่วยงานกรมศิลปากร แบ่งเป็น หนังสืออกใหม่ เอกสารภายใน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์      สื่อมัลติมีเดีย คลังภาพ และข่าวสาร เพื่อเป็นประโยชน์ในการให้บริการข้อมูลออนไลน์แก่ประชาชน 5. ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ (archives.nat.go.th)           ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ ให้บริการสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ ข้อมูล ภาพประวัติศาสตร์ ภาพลายลักษณ์ ภาพเหตุการณ์สำคัญ ภาพพระราชพิธี มากกว่า ๓๕,๐๐๐ ภาพ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถลงทะเบียนเพื่อค้นหา และขอใช้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว   6. ระบบภูมิสารสนเทศ มรดกศิลปวัฒนธรรม GIS (www.gis.finearts.go.th)          GIS (Geographic Information System) หรือเรียกว่า ระบบภูมิสารสนเทศ มรดกศิลปวัฒนธรรม เป็นระบบที่มีลักษณะข้อมูลเชิงพื้นที่ ภาพ แผนที่ หรือข้อมูลที่มีพิกัดตำแหน่ง นำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยายในฐานข้อมูล กรมศิลปากรมุ่งเน้นให้บริการข้อมูลแหล่งโบราณสถาน อนุสาวรีย์และพระพุทธรูปที่สำคัญ พิพิธภัณฑ์วัดและเอกชน อุทยานประวัติศาสตร์ และข้อมูลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งข้อมูลแหล่งโบราณคดีเขตน้ำท่วม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกป้อง อนุรักษ์ มรดกของชาติ 7. ระบบเอกสารโบราณ (manuscript.nlt.go.th)           ระบบให้บริการสืบค้นข้อมูล จารึก หนังสือไทย ตู้พระธรรม และคัมภีร์ใบลาน ในรูปแบบออนไลน์ 8. ระบบฐานข้อมูลงานศิลปกรรม (datasipmu.finearts.go.th)          ระบบเผยแพร่และให้บริการองค์ความรู้ข้อมูล งานด้านศิลปกรรมและ งานช่างสิบหมู่ ของกรมศิลปากรในรูปแบบออนไลน์ 9. เว็บไซต์กรมศิลปากร (finearts.go.th)          เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร กิจกรรม จากหน่วยงานภายในกรมศิลปากร ทุกหน่วยงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และองค์ความรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม ของกรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                                         สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                            27/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย                     คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                      พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                 76 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.4 ซม.หัวเรื่อง                                         พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           35/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              46 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 130/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 166/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           20/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                42 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         พระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้ว          ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐          นายถม ธรรมปาโมกข์ มอบให้          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระพิมพ์ดินเผา รูปทรงสามเหลี่ยม พิมพ์รูปพระพุทธเจ้าในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนฐานเป็นฐานประดับบัวหงายมีเกสร พระพุทธรูปมีพระรัศมีทรงเปลว เม็ดพระศกค่อนข้างใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง แย้มพระสรวล พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง มีสังฆาฏิเป็นเส้นเล็กพาดผ่านพระอังสาซ้ายยาวจรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ขนาบซุ้มทั้งสองข้างด้วยแจกันทรงคล้ายหม้อมีดอกไม้ปักอยู่ กรอบซุ้มหน้านางตกแต่งด้วยลายเม็ดประคำ ส่วนปลายซุ้มเป็นลายกระหนกวงโค้ง ถัดขึ้นไปบนซุ้มเป็นพุ่มโพธิ์พฤกษ์แผ่กิ่งก้านม้วนเข้าหากันทั้งสองข้าง ยอดบนสุดประดับด้วยฉัตรตกแต่งอุบะ           พระพิมพ์นี้แสดงรูปแบบศิลปะสุโขทัยอย่างชัดเจน ทั้งรูปแบบของพระพุทธรูปซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปหมวดใหญ่ และลักษณะซุ้มที่ปรากฏเรียกว่าซุ้มเรือนแก้วแบบลังกา หรือ ซุ้มหน้านาง ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะลังกา (แตกต่างจากกรอบซุ้มในศิลปะเขมรที่จะทำวงโค้งเข้า-ออกต่อกัน)          รูปแบบซุ้มเรือนแก้วบนพระพิมพ์นี้พบได้แพร่หลายทั้งพระพิมพ์ในศิลปะล้านนา เช่น พระพิมพ์ที่พบในพื้นที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในศิลปะสุโขทัยพบพระพิมพ์รูปแบบเดียวกันนี้อีกหลายชิ้นในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย รวมไปถึงพระพิมพ์ในศิลปะอยุธยาซึ่งพบทั้งรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน เช่น พระพิมพ์ ภายในกรุวัดราชบูรณะ และพระพิมพ์ภายในกรุเจดีย์ประธาน องค์ทิศตะวันออก วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา     อ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณวัตถุ กรุเจดีย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๔. กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๙.


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   พระวิทูรบัณฑิต ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์            - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๓๐   หน้า หมายเหตุ                สข.๐๒๒ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก (เนื้อหา)                  เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระวิธูรบัณฑิต เป็นผู้ถวายอรรถธรรมแก่พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช นางวิมลาแสร้งทำเป็นไข้ปรารถนาดวงหฤทัยของพระวิธูรบัณฑิตเพื่อจะสดับธรรมกถา ปุณณกยักษ์กล่าวท้าทายพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราชพนันสกา ปุณณกยักษ์ชนะสกาแล้วทูลขอพระวิธูรบัณฑิต พระวิธูรบัณฑิตยอมสละชีวิตไปกับปุณณกยักษ์ผู้จะฆ่านำหัวใจไปให้พระนางวิมลาเทวี และแสดงสาธุนรธรรม ๔ ประการแก่ปุณณกยักษ์


          สำนักช่างสิบหมู่  ร่วมกับกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วาระที่ ๓  ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๔ –  พ.ศ. ๒๕๖๘   ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการอนุรักษ์ฯ แล้วเสร็จติดประกอบคืนบานไม้ไปแล้วในบางส่วน             ทางวัดราชประดิษฐฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  จึงได้ร่วมมือกับกรมศิลปากรจัดงาน “ราชประดิษฐฯ พิสิฐศิลป์”  ในวันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.  ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม  เพื่อนำเสนอการดำเนินงานที่ผ่านมาผ่านมุมมองวัด และช่างฝีมือ ทั้งชาวไทย-ญี่ปุ่น มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.   - การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ความเป็นมาของโครงการบูรณะซ่อมแซมและ อนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  - การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง กระบวนการทำงานซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. - นิทรรศการและการสาธิตงานซ่อมแซมบานไม้ประดับมุก จาก สำนักช่างสิบหมู่ และสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ - การออกร้านอาหารญี่ปุ่น - การชงชาแบบญี่ปุ่น จากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร  - พิธีการประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  - ชมการแสดงชุดระบำมิตรไมตรีญี่ปุ่น – ไทย จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร - พบกับ Thames Malerose   Full-time คอสเพลย์เยอร์ และสตรีมเมอร์  รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2  งานประกวด World Cosplay Summit 2022 ณ เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น  ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdWEkb27xprvUkX6w4cUn2S7Q4pgalVkzpQU1ydhtzKNsJSPA/viewform?fbclid=IwAR0XPoOZqLQ2VKXI77qgnc5LAVN18SDJbVv6F3-c8Qy-9V-UG747TbPAN7sหรือแสกน Qr Code ที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เพื่อลงทะเบียน +++รีบลงทะเบียนด่วน! รับจำนวนจำกัด  ภาคเช้า เปิดรับผู้ลงทะเบียนออนไลน์ จำนวน ๓๐ ท่าน ภาคบ่าย เปิดรับผู้ลงทะเบียนออนไลน์ จำนวน ๑๐๐ ท่าน


ชื่อผู้แต่ง          Parkes’Harry Mission ชื่อเรื่อง            File concerning เอกสารของนายแฮรี่ ปากส์ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล ปีที่พิมพ์           ม.ป.ป. จำนวนหน้า      ๓๖๘ หน้า    เอกสารประวัติศาสตร์ เรื่อง นายแฮรี่ ปากส์ ผู้เป็นทูตเข้ามาเจรจาเพื่อกระทำการสัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ ซึ่งเซอร์จอนเบาริง ได้ทำไว้เมื่อ ค.ศ.1855 หรือ พ.ศ. 2398 ในครั้งนั้น เซอร์จอน เบาริง ได้ประสบความสำเร็จ กล่าวคือได้รับการตกลงตามที่ขอร้องจากรัฐบาลไทยทุกประการ เช่น ได้รับสิทธิให้คนอังกฤษเข้ามาค้าขายได้อย่างเสรี โดยรัฐบาลไทยเก็บภาษีขาเข้าเพียงร้อยชักสามและยอมให้อังกฤษตั้งศาลกงสุลตัดสินคนอังกฤษ


เลขทะเบียน : นพ.บ.448/1ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 1ข (2566)หัวเรื่อง : มหามูลนิพพาน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.599/2                      ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 192  (392-398) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : บัดถมมกัป--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พริกไทย ลักษณะทั่วไปและถิ่นกำเนิด พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum) เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เป็นไม้เลื้อย เจริญในแนวดิ่ง สูงได้โดยการพันเกาะสิ่งอื่นได้ประมาณ 10 เมตรหรือมากกว่า มีลำต้นหลักและแตกแขนงออกเป็นพุ่ม มีการสร้างรากพิเศษสั้น ๆ บริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง พริกไทยเป็นพืชประจำถิ่นในแถบตอนใต้ของเทือกเขากาตของรัฐเกรละในประเทศอินเดีย นอกจากนั้นยังเป็นพืชเศรษฐกิจในเขตร้อน เช่น ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตหลัก ในประเทศไทยมีการปลูกพริกไทยโดยเกษตรกรในจังหวัดจันทบรี โดยผลิต ร้อยละ 95ของประเทศ โดยอำเภอที่เพาะปลูกมากที่สุดในจันทบุรีคือ อำเภอท่าใหม่ อย่างไรก็ตามพริกไทยที่ใช้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นของนำเข้ามากว่าที่ผลิตในประเทศ พริกไทยในประวัติศาสตร์ ในประวัติศาสตร์พริกไทยเป็นสินค้าส่งออกมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากเอกสารสมัยอยุธยา แสดงให้เห็นว่าในสมัยนั้นเรียกพริกไทยว่า “พริก” ปรากฏในเอกสารการซื้อขายระหว่างฝรั่งเศสและสยาม ซึ่งเขียนขึ้นที่ลพบุรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อ พ.ศ.2231 แหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญสมัยอยุธยาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-23 อยู่ที่นครศรีธรรมราช บางสะพาน เกาะกูด สงขลา พัทลุงและปัตตานี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการส่งออกพริกไทยเพื่อเป็นสินค้าออกมีมากขึ้น แหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญในสมัยนี้ได้แก่เมืองจันทบุรี และหัวเมืองทางภาคใต้ เช่น ปัตตานี กลันตัน และเป็นสินค้าผูกขาดของสยามมาจนถึง ปี พ.ศ.2387 ในรายการสินค้าของเรือขนส่งสินค้าจากสยามไปยังจีน 4 ลำ ในปี พ.ศ. 2388 คือเรือสำเภา ซุ่นฮง ซุ่นฮะ ซินหลี และเรือกำปั่นเทพโกสินทร์ ต่างมีพริกไทยเป็นหนึ่งในสินค้าที่บรรทุกไปด้วย และพริกไทยแต่ละชนิดก็จะขายในราคาที่ต่างกัน ในแหล่งโบราณคดี.ใต้น้ำที่เป็นซากเรือสินค้าที่จมลงในทะเล พบเมล็ดพริกไทยจำนวนมาก ในแหล่งเรือจมบางกะไชย ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสินค้าส่งออก และมีแหล่งเพาะปลูกอยู่ในประเทศไทย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 แหล่งเรือจมบางกะไชย ดำเนินการสำรวจขุดค้นโดยกลุ่มวิชาการโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.2542 อ้างอิง 1.มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์,สันต์ ท. โกมลบุตร แปล .จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. สำนักพิมพ์ ศรีปัญญา,2557 2.เจนนิเฟอร์ เวย์น คุชแมน,ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ แปล.การค้าทางเรือสำเภา จีน-สยามยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2528 3.อรุณรัตน์ ฉวีราช, ธวัดชัย ธานี, รุ่งลาวัลย์ สุดมูล และ ปิยะ โมคมุล. 2552. พืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์ 4.บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ. “พริกไทยในประวัติศาสตร์ไทย” ศิลปากร ปีที่ 45 ฉบับที่ 2 มี.ค.-เมย. 2545.



Messenger