เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตรวจเยี่ยมสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
วันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และคณะ ตรวจเยี่ยมสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนางสาวนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับและรายงานการดำเนินการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน ณ วัดไชยวัฒนาราม พร้อมตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์น้ำโบราณสถานหมู่บ้านโปรตุเกส วัดธรรมาราม โบราณสถานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร และโบราณสถานป้อมเพชร
เนื่องจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่มีแม่น้ำ ๓ สาย ไหล ผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออุทกภัยมาตั้งแต่อดีต ยังคงปรากฏความเสี่ยงด้านต่างๆ รวมถึงอุทกภัยที่อาจมีผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก กรมศิลปากรจึงได้บรรจุแผนงานมาตรการลดผลกระทบจากภัยพิบัติไว้ในร่างแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช ๒๕๖๕ – ๒๕๗๔ โดยปัจจุบัน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังคงดำเนินงานตามมาตรการป้องกันผลกระทบจากภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา มีการบริหารจัดการเป็นขั้นตอน การประเมินความเสี่ยง มีการวิเคราะห์ปัญหาและทำแผนการทำงานร่วมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในการเตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหา และมาตรการบรรเทาภัยพิบัติจากอุทกภัย รวมทั้งซักซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธรณภัยในกรณีอุทกภัย
สำหรับมาตรการการป้องกันอุทกภัยในระดับพื้นที่โดยวิธีการสร้างเขื่อน แนวป้องกันน้ำท่วม เป็น ภารกิจที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาดำเนินงานเป็นประจำในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนสิงหาคม - ตุลาคม เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับที่สูงขึ้นเนื่องจากน้ำจากทางเหนือ และน้ำจากเขื่อนสำคัญที่ปล่อยลงมาเพื่อลงสู่ทะเลมีปริมาณที่มากกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่และโบราณสถานสำคัญที่อยู่ใกล้ชิดแม่น้ำและเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยในทุกปีจะมีการซักซ้อมการตั้งแผงป้องกัน น้ำท่วม การตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานเสมอ นอกจากนี้ยังมีการประสานงานร่วมกับสำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในการเตรียมความพร้อมอุปกรณ์และวิธีการป้องกันภัย และประสานงานร่วมกับกรมชลประทาน และกรมอุตุนิยมวิทยา ในการวางแผนป้องกันพื้นที่ โดยพื้นที่โบราณสถานและสถานที่สำคัญที่มีการดำเนินงานป้องกันอุทกภัย ได้แก่
๑. โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม ใช้วิธีการป้องกันน้ำท่วมโดยวิธีการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่ สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้บริเวณด้านตะวันออกของวัดริมแม่น้ำ แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาว ๑๖๐ เมตร สูงจากผิวบนสุดของขอบตลิ่ง ๑.๘๐ เมตร และสามารถต่อความสูง เพิ่มเติมเป็น ๒.๘๐ เมตร ส่วนด้านใต้ ด้านตะวันตก มีแนวกำแพงป้องกันน้ำถาวรก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนด้านเหนือใช้แนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖๙
๒. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ใช้วิธีการป้องกันน้ำท่วมโดยวิธีการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่สามารถ ยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้ ป้องกันรอบเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสของวัด แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาวประมาณ ๓๐๘ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑.๗๐ เมตร
๓. วัดธรรมมาราม ใช้วิธีการป้องกันน้ำท่วมโดยวิธีการตั้งแผงป้องกันน้ำท่วมรูปแบบที่สามารถยก ตั้งขึ้นและพับเก็บได้ป้องกันบริเวณด้านตะวันออกของวัด ริมแม่น้ำ แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาวประมาณ ๑๓๐ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑.๗๐ เมตร
๔. พื้นที่ด้านตะวันตกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา (บริเวณเจดีย์พระสุริโยทัย) ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ เจ้าพระยามีความแคบ ในช่วงฤดูน้ำหลากของทุกปีระดับน้ำมักขึ้นสูง จนล้นระดับ แนวตลิ่ง ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมโดยตั้งแผงป้องกันรูปแบบที่สามารถยกตั้งขึ้นและพับเก็บได้ ป้องกัน บริเวณด้านตะวันตกของเกาะเมืองพระนครศรี อยุธยา แนวป้องกันน้ำท่วมมีความยาวประมาณ ๕๖๐ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๑.๗๐ เมตร
๕. วัดเชิงท่า ตั้งอยู่ด้านเหนือนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาริมคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ในช่วงฤดู น้ำหลากของทุกปีระดับน้ำมักขึ้นสูงจนล้นระดับแนวตลิ่ง ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมใช้วิธีการการตั้งแนวกระสอบทราย ป้องกันบริเวณด้านใต้และด้านตะวันตกของวัด
๖. พื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา (บริเวณหัวรอ) เป็นพื้นที่ชุมชนและ ย่านการค้าสำคัญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก (คูขื่อหน้า) ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่น้ำล้นเข้าเมือง อีกทั้งยังเคยเป็นจุดแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่น้ำล้นเข้ามาพื้นที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมโดยการก่อสร้างแนวตลิ่งคอนกรีตยกสูงบริเวณริมตลิ่ง ป้องกันบริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา
๗. โบราณสถานป้อมเพชร เป็นจุดที่แม่น้ำป่าสักบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงฤดูน้ำหลากของทุก ปีระดับน้ำมักขึ้นสูงจนล้นระดับแนวตลิ่ง ลักษณะของการป้องกันน้ำท่วมใช้วิธีการตั้งแนวกระสอบทราย ป้องกันบริเวณด้านใต้ของพื้นที่
๘. โบราณสถานบ้านฮอลันดา อยู่ด้านใต้นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ลักษณะของการป้องกันน้ำ ท่วมใช้วิธีการตั้งแนวแผ่นป้องกันน้ำท่วมที่สามารถยกเก็บได้โดยรอบอาคารศูนย์ข้อมูล
๙. โบราณสถานบ้านโปรตุเกส อยู่ด้านใต้นอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ลักษณะของการป้องกัน น้ำท่วมใช้วิธีการตั้งแนวแผ่นคอนกรีตที่สามารถยกเก็บได้ ป้องกันบริเวณด้านตะวันออกของพื้นที่ แนวป้องกันน้ำท่วม มีความยาวประมาณ ๓๓ เมตร สูงจากพื้นประมาณ ๒ เมตร
ทั้งนี้ หากพื้นที่โบราณสถานได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา กรมศิลปากรมีมาตรการรองรับตามขั้นตอนและตามหลักการอนุรักษ์ต่อไป
ภาพ : โบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม
ภาพ : โบราณสถานหมู่บ้านโปรตุเกส
ภาพ : วัดธรรมมาราม
ภาพ : โบราณสถานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร
ภาพ : โบราณสถานป้อมเพชร
(จำนวนผู้เข้าชม 1158 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน