ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๐๖ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน           พระองค์เจ้าหญิงบุษบันบัวผัน พระราชธิดาลำดับที่ ๖๕ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาห่วง เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๐๖ มีพระอนุชา ๑ พระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๘๒ ขณะพระชันษา ๗๖ ปี           พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเล่าว่า "เสด็จย่าสร้อย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์) กับเสด็จย่าบุษบัน (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน) ทั้งสองพระองค์นี้คุ้นเคยมากเพราะเวลาเสด็จไปอยู่พระราชวังพญาไท เสด็จย่าทั้งสองพระองค์นี้ก็เสด็จไปด้วย เสด็จย่าสร้อยทรงคุยคล่อง เสด็จย่าบุษบันท่านเงียบ ๆ เมื่อก่อนนี้ ท่านเคยทรงเป็นพี่เลี้ยงทูลกระหม่อมอาติ๋ว"   ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน


       ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๖๕        ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องไม้จำหลัก มุขเด็จทิศตะวันตก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        เดิมเป็นบานประตูคู่กลางด้านหน้าพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม พระอารามหลวงกลางเมืองกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงมีส่วนร่วมในการจำหลักด้วยพระองค์เอง ประตูจำหลักจากไม้แผ่นเดียวคว้านผิวลึกลงเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาตวัดเกี่ยวกันคล้ายกำลังเคลื่อนไหว สอดแทรกรูปสรรพสัตว์นานาพันธุ์ ลงรักปิดทองฝีมือประณีตงดงามอย่างยิ่ง ต่อมาในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ เกิดไฟไหม้บานประตูชำรุดบานหนึ่ง จึงได้นำบานประตูคู่กลางด้านหลังมาใส่ไว้แทน และถอดบานประตูเดิมนี้ออกเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์เกี่ยวกับบานประตูพระวิหารวัดสุทัศน์ ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒  ส่วนของเชิงอรรถ ความว่า “ลายสลักบานพระวิหารวัดสุทัศน์ สลักดีไม่มีที่ไหนเหมือน ยังเปนของควรชมอยู่จนทุกวันนี้ มีคำเล่ากันสืบมาว่า ช่างที่สลักบานพระวิหารวัดสุทัศน์นั้น เมื่อทำการเสร็จแล้ว ประสงค์จะไม่ให้ใครทำได้เหมือนต่อไป จึงเอาเครื่องมือทิ้งน้ำเสียหมด ความข้อนี้จะจริงเท็จอย่างไรไม่ทราบ แต่มีความจริงอย่าง ๑ ซึ่งปรากฏในรัชกาลหลังต่อมา มีพระราชประสงค์จะทำบานอย่างพระวิหารวัดสุทัศน์ไปใช้ในที่อื่น ไม่มีช่างที่จะรับทำให้เหมือนได้”




ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  ประวัติอธิบดีสงค์วัดมหาธาตุ.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2486.         รวบรวมประวัติสงค์วัดมหาธาตุ ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงไว้ และประวัติสมเด็จพระวันรัต เขมจารี อธิบดีสงฆ์องค์ที่ 14 ซึ่งพระธัมไตรโลกาจารย์เรียบเรียงไว้ด้วย


          กรมศิลปากร โดยสำนักช่างสิบหมู่ ขอเชิญร่วมกิจกรรม Workshop การขึ้นรูปชิ้นงานจานและการเขียนสีใต้เคลือบ ในงานนิทรรศการพิเศษ “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ทาง https://forms.gle/TizU2wEYujkzxTKv7           ตามที่กรมศิลปากรได้จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” โดยนำโบราณวัตถุเครื่องเคลือบเซรามิกจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น และเครื่องปั้นดินเผาของไทยจากหลากหลายแหล่ง มาจัดแสดงร่วมกันระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรมศิลปากรได้มอบหมายสำนักช่างสิบหมู่ร่วมจัดกิจกรรมเวิร์กชอป (Workshop) ภายในงาน แบ่งเป็น            ๑. การขึ้นรูปชิ้นงานจาน จานใบเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑๒ ซม. ใช้ดินสโตนแวร์ ขึ้นรูปด้วยพิมพ์กด ตกแต่งลวดลายด้วยการปั้นตกแต่งเพิ่มเติมหรือการขูดลาย ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๕ วันที่  ๙ และ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ รวม ๓ วันๆ ละ ๔ รอบ ผู้ร่วมกิจกรรมรอบละ ๓๐ คน           ๒. การเขียนสีใต้เคลือบ ในวันที่ ๖ และ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ และ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ รวม  ๓ วันๆ ละ ๔ รอบ ผู้ร่วมกิจกรรมรอบละ ๓๐ ท่าน โดยผู้ร่วมกิจกรรมจะได้รับจานใบเล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑๒ ซม. คนละ ๒ ใบ และที่วางตะเกียบปลาคู่ ๒ ชิ้น สำหรับเขียนตกแต่งด้วยสีใต้เคลือบ            ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเลือกเวลาร่วมกิจกรรม โดยการกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/TizU2wEYujkzxTKv7 หรือ QR Code ที่แนบ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th


ชื่อเรื่อง                    มัดหมี่ จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง                      สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรีประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                -หมวดหมู่                  ผลิตภัณฑ์เลขหมู่                     677.6 ว394มสถานที่พิมพ์              สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรีปีที่พิมพ์                   2550ลักษณะวัสดุ              178 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                    มัดหมี่ -- สุพรรณบุรี                             ผ้าสุพรรณบุรี ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญางานช่างฝีมือพื้นบ้าน ผ้ามัดลายมัดหมี่ ที่เสี่ยงต่อการสูญหายหรืออาจสูญหาย หาแนวทางการอนุรักษ์ ส่งเสริม ถ่ายทอด องค์ความรู้ให้คงอยู่ สืบค้นภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือพื้นบ้าน เพื่อสืบทอด ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้แก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป  


ชื่อเรื่อง                                     สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                        27/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย                  คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                  พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                             36 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.4 ซม.หัวเรื่อง                                     พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           36/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              46 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 131/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 166/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สุขสันต์วันเด็ก ๒๕๖๖.ภาพนักเรียนหญิงโรงเรียนรังษีเกษม น่าน หรือโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษาในปัจจุบัน .โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ณ บ้านพักมิชชันนารี บ้านดอนเชียงยืน ถนนมะโน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมี ดร.ซามูเอล ซี พีเพิล ดำเนินการในลักษณะของโรงสอน    ต่อมา ดร.ฮิวจ์ เทเลอร์ และครอบครัวย้ายมาจากจังหวัดลำปางท่านได้รวบรวมทรัพย์จากการบริจาคของญาติ พี่น้องมิตรสหายในประเทศสหรัฐอเมริกา นำมาสร้างโรงเรียน ที่ถนนสุมนเทวราช เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๕๐ ให้ชื่อว่า “โรงเรียนลินกัล์นอะแคเดมี่” รับเฉพาะนักเรียนชาย    ส่วนนักเรียนหญิง เรียนที่บ้านพักมิชชันนารีที่ถนนรังสีเกษม ต่อมา ดร.ฮิวจ์ เทเลอร์ได้ร่วมมือกับมิสลูซี่ สตาร์ลิง สร้างอาคารหลังแรกขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๘ ที่บ้านดอนแก้ว ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ขนานนามว่า”โรงเรียนรังษีเกษม” ตามพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช รับเฉพาะนักเรียนหญิง   ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางกองการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยโดย ดร.คอนรัด คิงส์ฮิวส์ เป็นผู้รวมกิจการโรงเรียนลินกัล์นอะแคเดมี่ และโรงเรียนรังสีเกษมเข้าด้วยกัน ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา” ปัจจุบันเขตรังษีเกษมเป็นสถานที่เรียนระดับประถมศึกษา เขตลินกัล์นอะแคเดมี่ เป็นสถานที่เรียนระดับมัธยมศึกษา และปฐมวัย เขตนารินใช้เป็สนามกีฬาและสระว่ายน้ำที่มาข้อมูล : ประวัติโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา เข้าถึงได้โดย https://ncs.ac.th/?p=page-detail&page_id=1ที่มาภาพ : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “สืบจากไม้ผ่านเรือโบราณพนมสุรินทร์ ” วิทยากรโดย นายวสันต์ เทพสุริยานนท์ ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ และนางสาวปรียานุช จุมพรม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี ดำเนินรายการโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


          มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๘ วันประสูติหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย           นาวาโท หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย เป็นพระโอรสในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๘          หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ ได้รับการบรรจุเป็นนายทหารเรือ ยศว่าที่เรือโท สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ ๑๓ ปีการศึกษา ๒๔๙๐ โรงเรียนนายทหารชั้นต้นพรรคนาวิน โรงเรียนนายทหารเรือ           ในภารกิจร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ ได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการหมู่เรือราชการเกาหลี และผู้บังคับการการเรือหลวงประแส โดยได้ปฏิบัติภารกิจทำลายเรือหลวงประแสที่เกยตื้นเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๙๔ โดยได้อำนวยการให้ต้นหนและต้นปืนทำลายสิ่งที่อาจเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายข้าศึก ด้วยการราดน้ำมันและวางดินปืนในที่ต่างๆ ก่อนออกจากเรือเป็นคนสุดท้าย หลังจากนั้นเรือพิฆาตยูเอสเอส อิงลิช ได้ระดมยิงเรือหลวงประแสจนกระทั่งตัวเรือเสียหายกลายสภาพเป็นเศษเหล็ก หมู่เรือคุ้มกันและช่วยเหลือจึงเดินทางกลับฐานทัพที่ซาเซโบ รวมเวลาที่ใช้ในการกู้เรือหลวงประแสจนถึงทำลายเรือเป็นเวลา ๗ วัน จากภารกิจครั้งนี้ทำให้มีทหารจากเรือหลวงประแสและเรือหลวงบางปะกงบาดเจ็บจำนวนมากและเสียชีวิต ๒ นาย ต่อมากองทัพเรือได้จัดเรือหลวงประแสลำที่ ๒ และเรือหลวงท่าจีนไปทดแทน จนเสร็จสิ้นภารกิจสงครามเกาหลี           หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร มีโอรสธิดาสองคน ได้แก่ หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย และหม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์           หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ นับเป็นพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔          หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย สิ้นชีพตักษัยในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๐๑ สิริชันษา ๔๔ ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒   ภาพ : หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย, นาวาโท หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร


ชื่อเรื่อง : วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2505สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : ศึกษาภัรฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 1,328 หน้า สาระสังเขป : เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติสุนทรภู่ ตั้งแต่ก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ ว่าด้วยหนังสือที่สุนทรภู่แต่ง ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ บันทึกเรื่องผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ทั้งหมด 64 ตอน มีนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


Messenger