ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

          วัดเสม็ดไม่ปรากฏเด่นชัดว่าสร้างในสมัยใด แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมของอุโบสถและภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทำให้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่๓-๔ อุโบสถของวัดเสม็ดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา รอบอาคารมีพาไล หน้าบันประดับปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย มีการเขียนจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน โดยดำเนินเรื่องแบบทักษิณาวัตร เป็นการดำเนินเรื่องโดยเวียนไปทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา โดยเริ่มเรื่องจากห้องภาพทางด้านซ้ายของพระประทาน           ผนังด้านหน้าพระประธานหรือผนังหุ้มกลองหน้า มีการแบ่งห้องภาพออกเป็น ๒ ส่วน โดยใช้ลายหน้ากระดานเป็นลายประจำยามก้านแย่งเป็นตัวคั่น คือ ๑.ห้องภาพบริเวณผนังเหนือบานประตู มีการสลักรอยพระบาทลงรักปิดทองเป็นรอยลึกลงไปจากระดับผนัง อยู่บริเวณด้านบนกึ่งกลางผนัง ท่ามกลางภาพจิตรกรรมที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความอุตสาหะ พยายามของผู้คนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะเป็น ภิกษุ ฆราวาส ตลอดจนเหล่าเทวดา บนสวรรค์ที่ต่างก็เดินทางดั้นด้นมาเพื่อนมัสการรอยพระบาท ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานไว้บนยอดเขาแห่งนี้ โดยการผสมผสานระหว่างประติมากรรมและจิตรกรรมได้อย่างลงตัว ๒.ห้องภาพระหว่างบานประตู เขียนเรื่องวิกขายิตกอสุภ ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องของพระอสุภกรรมฐาน อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปลงและพิจารณาร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน (โดยเป็นห้องภาพที่เรียงต่อจากผนังระหว่างบานหน้าต่างด้านซ้ายของพระประธาน) ภาพที่ ๑ ผนังเหนือบานประตูด้านหน้าพระประธาน ภาพที่ ๒ ห้องภาพระหว่างบานประตูด้านหน้าพระประธาน ผนังด้านหลังพระประธานหรือผนังหุ้มกลองหลัง มีการแบ่งห้องภาพเช่นเดียวกับผนังด้านหน้าพระประธาน มีการใช้ลายหน้ากระดานแบ่งคั่น เช่นเดียวกัน โดยผนังด้านบนเขียนเรื่องไตรภูมิ ผนังด้านล่าง ผนังบริเวณฐานชุกชี เขียนเป็นภาพนรก สัตว์เปรตภาพที่ ๓ ผนังด้านหลังพระประธานหรือผนังหุ้มกลองหลัง           ผนังด้านซ้ายและด้านขวาของพระประธาน มีการเขียนและจัดวางภาพ โดยใช้ลายหน้ากระดานคั่น แบ่งภาพจิตรกรรมออกเป็นสองส่วน ในลักษณะเช่นเดียวกันกับผนังด้านหน้าและด้านหลังพระประธาน คือ ภาพจิตรกรรมเหนือบานหน้าต่าง และภาพจิตรกรรมระหว่างบานหน้าต่าง ภาพจิตรกรรมเหนือบานหน้าต่างนั้นเป็นภาพ เทพเทวดา พระภิกษุ นักสิทธิวิทยาธร มาชุมนุมกัน มีลายหน้ากระดานลักษณะเป็นลายประจำยามก้านแย่ง แบ่งออกเป็นชั้นๆ จำนวน ๓ ชั้น และชั้นบนสุดเขียนเส้นสินเทาคั่นเพียงชั้นเดียว และทุกตัวภาพทุกชั้นหันไปทางพระประธาน ประหนึ่งเป็นการแสดงการนมัสการสักการะบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปในแต่ละชั้น ดังนี้           ชั้นแรก ชั้นเทพชุมนุม เป็นชั้นที่ถัดขึ้นมาจากลายหน้ากระดานที่คั่นระหว่างห้องภาพเหนือบานหน้าต่างและห้องภาพระหว่างบานหน้าต่าง เป็นชั้นที่มีการเขียนตัวภาพ เทวดา ยักษ์ ลิง ครุฑ ลงไปบนพื้นหลังสีน้ำตาล โดยแต่ละตัวภาพ มีทิพยดอกไม้ (ลักษณะของดอกไม้ที่จัดวางเป็นทรงพุ่มก้านยาวคล้ายตาลปัตร) เป็นตัวคั่น           เหนือลายหน้ากระดานชั้นที่ ๒ และ ๓ ขึ้นไป เป็นภาพพระภิกษุถวายอัญชลี นั่งเรียงเป็นแถวในลักษณะภาพซ้ำอย่างเป็นระเบียบ ในชั้นที่ ๒ นี้ใช้พื้นหลังเป็นสีน้ำเงิน ส่วนชั้นที่ ๓ ใช้พื้นหลังเป็นสีน้ำตาล           เหนือขึ้นไปจากภิกษุในชั้นที่ ๓ มีการใช้เส้นสินเทาเขียนแบ่งห้องภาพระหว่างชั้นที่ ๓ และ ๔ โดยพื้นที่ของชั้นที่ ๔ นี้เริ่มจากเส้นสินเทาจรดเพดาน เขียนแสดงภาพบรรยากาศของท้องฟ้า และก้อนเมฆ มีนักสิทธิวิทยาธรในมือถือมวลดอกไม้บุปผาชาติ เพื่อนำมานมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาพที่ ๔ ภาพจิตรกรรมเหนือบานหน้าต่างผนังด้านซ้ายและด้านขวาของพระประธาน          ส่วนบริเวณผนังระหว่างบานหน้าต่างทางด้านซ้ายและขวาของพระประธาน เขียนบรรยายเรื่องพระอสุภกรรมฐาน โดยแต่ละห้องจะมีการเขียนภาพการปลง สังขารหรือการพิจารณาซากศพที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเขียนภาพบรรยายลักษณะพระภิกษุกำลังปลงและพิจารณาซากศพ โดยความหมายของคำว่าอสุภกรรมฐานแยกออกเป็น ๒ คำคือคำว่า อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน รวมได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการงานในอารมณ์ที่เห็นว่าไม่มีอะไรสวยสด งดงาม มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเกลียด อสุภกรรมฐานนี้เป็นเครื่องกำจัดราคะ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายรัก ยึดถือร่างกาย คลายความหลงรูป หลงสวย หลงงาม หลงได้ภาพที่ ๕ ผนังระหว่างบานหน้าต่างทางด้านซ้ายและขวาของพระประธาน เขียนบรรยายเรื่องพระอสุภกรรมฐาน--------------------------------------------------------ผู้เขียน : นางสาววรรัก นวลวิไลลักษณ์ (นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน) สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี--------------------------------------------------------


     แผ่นดินเผารูปเทวดาเหาะ จำนวน ๒ แผ่น พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี       แผ่นดินเผาขนาดใหญ่ รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แผ่นที่ ๑ มีสภาพเกือบสมบูรณ์ กว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ยาว ๓๖ เซนติเมตร แผ่นที่ ๒ ชำรุดหักหายไปส่วนหนึ่ง กว้างประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ยาว ๓๒ เซนติเมตร หากมีสภาพสมบูรณ์น่าจะมีรูปแบบเช่นเดียวกับแผ่นดินเผาแผ่นที่ ๑ แผ่นดินเผาทั้งสองแผ่นมีการตกแต่งผิวหน้าด้วยภาพนูนต่ำรูปบุคคลเหาะ สันนิษฐานว่าผลิตขึ้นโดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์แล้วนำไปเผา เพื่อให้ได้ประติมากรรมรูปแบบเดียวกันจำนวนหลายชิ้น มีร่องรอยแกลบข้าวในเนื้อดิน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐ หรือประติมากรรมดินเผาที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว)       รูปบุคคลในท่าเหาะ ซึ่งน่าจะหมายถึงเทวดาเหาะนี้ ยกเข่าซ้ายตั้งขึ้น งอเข่าขวาเหยียดไปทางด้านหลัง มือซ้ายยกขึ้นระดับอกถือวัตถุซึ่งน่าจะเป็นดอกไม้ ส่วนมือขวาปล่อยไปทางด้านหลัง สวมเครื่องประดับศีรษะ ตุ้มหูแบบห่วงกลมขนาดใหญ่ และสร้อยคอ นุ่งผ้าสั้นเหนือเข่า คาดผ้าผูกเอวโดยผูกเป็นปมที่ด้านขวาและปล่อยชายผ้าปลิวไปทางด้านหลังแสดงถึงการเคลื่อนไหว ลักษณะของเทวดาเหาะนี้คล้ายคลึงกับรูปเทวดาเหาะที่พบในภาพสลักเล่าเรื่อง และบนประภามณฑลของพระพุทธรูป ซึ่งปรากฏในศิลปะอินเดียหลายสมัย ทั้งนี้ช่างพื้นเมืองทวารวดีน่าจะรับอิทธิพลทางด้านรูปแบบมาปรับเปลี่ยนจนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน       แผ่นดินเผานี้น่าจะใช้เพื่อประดับส่วนฐานของเจดีย์ ในลักษณะเดียวกับประติมากรรมรูปคนแคระแบกที่พบทั่วไปตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี หรืออาจประกอบอยู่กับภาพเล่าเรื่องประดับเจดีย์ก็เป็นได้ นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทองแล้วยังพบประติมากรรมรูปบุคคลเหาะในลักษณะคล้ายกัน เป็นประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถานที่เขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกด้วย   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. วิภาดา  อ่อนวิมล. “อิฐมีลวดลายในสมัยทวารวดี”. เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. รายงานการวิจัยเรื่องพัฒนาการของเมืองอู่ทองจากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๙.


ชื่อเรื่อง                         วินยธรสิกฺขปท (สิกขาบท)     สพ.บ.                           390/1ก หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                        พุทธศาสนา                                  พระวินัยปิฎก ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   60 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี




ชื่อเรื่อง                                พิมฺพานิพฺพาน (พระพิมพานิพพาน) สพ.บ.                                  233/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           66 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  377/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           36 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้เรื่อง : พระแก้วเวียงยวมเรียบเรียงโดย : นายสายกลาง  จินดาสุ                       นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.41/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)  ชบ.บ.83/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.332/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


           หากย้อนกลับไปหาต้นตอของคำว่า Museum ในประวัติศาสตร์ อาจสืบได้ว่ามีรากศัพท์จากการผูกคำระหว่าง -eum ที่แปลว่าสถานที่ กับ muse ที่หมายถึงเทพีแห่งศิลปวิทยาการทั้งเก้า ยืมมาจากภาษาละตินว่า “มูเซอุม” อันมีรากศัพท์จากภาษากรีกโบราณว่า “มูเซออน” (Mouseion) ที่สถิตของเทพีมูซา รากเดียวกับคำว่า music ที่หมายถึงศิลปะที่เทพีทั้งปวงจัดแสดง          ส่วนกิจการพิพิธภัณฑ์ไทย มีประวัติโดยคร่าวว่า ได้เปิดการจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมครั้งแรกในตอนค่ำของวันที่ 19 กันยายน 2417 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดแสดงโบราณวัตถุที่รวบรวมไว้จากสถานที่ต่าง ๆ เครื่องมงคลบรรณาการ รวมถึงของสะสมส่วนพระองค์ กระทั่งต่อมาได้มีการขยับขยายกิจการพิพิธภัณฑ์จากวังหลวงสู่วังหน้า ปรากฏนาม มูเสียมหลวงที่วังหน้า, พิพิธภัณฑ์วังหน้า, โรงปะเซียม, โรงกระเซียมข้างทุ่งพระเมรุ จนมีคำว่า "สถานพิพิธภัณฑ์" ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งความหมายของพิพิธภัณฑ์ปัจจุบัน มีจุดประสงค์หนึ่งระบุว่ามีขึ้นเพื่อความเพลิดเพลินใจ วันนี้ เพจคลังกลางฯ จึงมาในหัวข้อ “วันพิพิธภัณฑ์ไทยกับ 9 ของแปลกที่ไม่คิดว่าจะมีในคลังกลาง”           นำเสนอวัตถุแต่ละห้องคลัง มีจารึกปูนปลาสเตอร์อักษรไทย-อยุธยา กระดูกปากปลาฉนาก กาน้ำจากไข่นกกระจอกเทศ พระพิฆเนศดินเผา ชิ้นส่วนราวสะพานมัฆวานรังสรรค์ ‘หมาย’ ใช้แทนเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4 แก้วที่ระลึกเมื่อคนไปเหยียบดวงจันทร์ รางไม้รูปจระเข้ รวมถึงวัตถุชิ้นสำคัญ คือแผ่นปูมโหร มีประวัติระบุว่าพระธุดงค์องค์หนึ่งพบที่วัดร้างแถบเมืองสุโขทัย และได้มอบให้หม่อมหลวงชิต เสนีวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยวัตถุประสงค์การนำเสนอของแปลกเหล่านี้ มีขึ้นเพื่อสมดังนิยามของคำว่า... พิพิธภัณฑ์           เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน / เทคนิคภาพโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


ชื่อเรื่อง : ราชาธิราช ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ชื่อผู้แต่ง : ราชาธิราชปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : รุ่งเรืองธรรม จำนวนหน้า : 696 หน้า สาระสังเขป : หนังสือราชาธิราชนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพงศาวดารมอญ ได้แปลและเรียบเรียงขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1 นั้นมีหนังสือสำคัญๆเกิดขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะหนังสือเรื่องราชาธิราชนั้น ปรากฏในบานแผนกว่าโปรดฯ ให้แปลและเรียบเรียงขึ้นเมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช 2328 โดยทรงมอบให้กวี 4 คน ช่วยกันทำ กวี 4 คนนั้นคือ พระยาพระคลัง(เจ้าพระยาพระคลัง หน) 1 พระยาอิทรอัคคราช 1 พระภิรมรัศมี 1 พระศรีภูริปรีชา 1 หมอบรัดเล ได้ต้นฉบับมาตีพิมพ์จำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2423


ชื่อผู้แต่ง          ถวิล   อยู่เย็น ชื่อเรื่อง           การเสียดินแดนของชนเชื้อชาติไทย ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๖ จำนวนหน้า      ๔๖  หน้า            การเสียดินแดนของชนเชื้อชาติไทย  เป็นหนังสือที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นเตือนให้คนไทยรักชาติ หวงแหนแผ่นดินเกิด  มีระเบียบวินัย  เข็มแข็งไม่อ่อนแอ มีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียรและอดทนเพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ไม่ให้มีการเสียดินแดนอีก จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายห้อย  อยู่เย็น  กล่าวถึง ความเป็นมาของชนเชื้อชาติไทย  อาณาจักรของชนเชื้อชาติไทย อาณาจักรไทยสมัยต่างๆ ได้แก่ อาณาจักรไทยสมัยน่านเจ้า  สมัยพระเจ้าขุนรามคำแหง การเสียดินแดนของชนเชื้อชาติไทย  (ยุคกรุงรัตนโกสินทร์)  เป็นต้น ท้ายเล่มมีบทความเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร เป็นที่น่าวิตกในอนาคต พร้อมภาพประกอบ


Messenger