ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปฐมสมโพธิ์)
สพ.บ. 215/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 377/7กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 98 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความรู้เรื่อง : พัฒนาการและการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เวียงท่ากานเรียบเรียงโดย : นางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เวียงท่ากานตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศของเมืองตั้งอยู่บนเนินในที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา มีลำน้ำแม่ขาน ซึ่งเป็นสาขาย่อยของแม่น้ำปิง ไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัวเมืองมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน ขนาด ๕๘๐ x ๗๘๕ เมตร ก่อสร้างเป็นคันดิน ๒ ชั้น มีคูเวียงคั่นกลาง เวียงท่ากานปรากฏชื่อในเอกสารประวัติศาสตร์ของล้านนาว่า “พันนาทะกาน” เป็นเมืองที่มีบทบาทตลอดช่วงสมัยล้านนา พัฒนาการของเมืองโบราณแห่งนี้ พบหลักฐานตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมหริภุญไชยต่อเนื่องจนถึงช่วงที่ล้านนาเสียเอกราชให้กับพม่า และได้รับการฟื้นเมืองอีกครั้งในสมัยเจ้ากาวิละ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากการขุดค้นทางโบราณคดี ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมที่เวียงท่ากาน น่าจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงราว ๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ เป็นอย่างน้อย หลักฐานหลายชิ้น ทั้งโครงกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกม้า ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน ลูกปัดหินคาร์เนเลียน เปลือกหอยทะเล ล้วนสะท้อนให้เห็นการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนภายนอกที่อยู่ไกลออกไป แสดงให้เห็นว่าเวียงท่ากานเป็น “จุดแลกเปลี่ยนการค้า” มาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๘ แล้ว ในสมัยหริภุญไชยตอนต้น (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖) พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ คือ การฝังศพในพื้นที่กลางเมือง โดยมีลักษณะการฝังศพที่แตกต่างจากแหล่งโบราณคดีประเภทแหล่งฝังศพอื่น ๆ ในภาคเหนือ จากการเปรียบเทียบลักษณะการฝังศพเช่นนี้ที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงไล่เลี่ยกัน ได้แก่ แหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ ซึ่งเมืองโบราณดังกล่าวพบโบราณวัตถุที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมทวารวดี การฝังศพของเวียงท่ากานนี้ โครงกระดูกแทบทุกโครง ถูกฝังในท่านอนงอเข่า โครงกระดูกบางโครงมีตำแหน่งของกระดูกที่ผิดแผกไปจากลักษณะกายวิภาค เนื่องมาจากการตัดเอ็น เพื่อมัดศพให้มีขนาดกระชับที่สุด โครงกระดูกที่พบมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย ตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่โครงกระดูกทารกนั้น จะถูกฝังในท่านอนหงายเหยียดยาว โครงกระดูกที่พบในหลุมขุดค้นในวัดท่ากานที่ดำเนินการขุดค้นนี้ ประเมินขั้นต่ำได้ถึง ๖๐ โครง หลักฐานทางโบราณคดีอันโดดเด่นอีกชิ้นหนึ่ง คือ โครงกระดูกม้า ซึ่งถือเป็นการค้นพบโครงกระดูกม้าที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีในประเทศไทย และม้าไม่ใช่สัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย นักวิชาการสันนิษฐานว่ามีการนำเข้าม้ามาในสมัยทวารวดี และปรากฏเรื่องราวในเอกสารจีนสมัยราวงศ์ถัง (พ.ศ.๑๑๖๑ – ๑๔๕๙) ว่าทูตทวารวดีเคยขอม้าพันธุ์ดีจากจีนแลกกับงาช้างและไข่มุก ซึ่งในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นั้น ม้าถือเป็นสัตว์สำคัญที่มีการควบคุม ไม่สามารถซื้อขายได้อย่างเสรี โครงกระดูกม้าโบราณที่เวียงท่ากานนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้คนในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย มีการนำม้ามาเลี้ยง ตั้งแต่ราว ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว และม้าตัวนี้ก็ถือเป็นม้าสำคัญ เนื่องจากมีการจัดท่าปลงศพเช่นเดียวกับโครงกระดูกมนุษย์ทั้งยังถูกฝังในพื้นที่สุสานเดียวกับที่ฝังศพมนุษย์อีกด้วย สมัยวัฒนธรรมหริภุญไชยตอนปลาย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๙) ในช่วงแรกของสมัยนี้ ผู้คนยังมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการฝังศพอยู่ และพบร่องรอยโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบริเวณแหล่งฝังศพ พบร่องรอยหลุมเสากลม ปักเป็นคู่ ๓ จุด มีผังเป็นรูปสามเหลี่ยม พบร่องรอยของการใช้ไฟ ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์หลายชนิด ที่มีร่องรอยการสับตัด รวมทั้ง ยังพบตุ้มถ่วงแหแวดินเผา เหล่านี้แสดงถึงวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นบริเวณที่อยู่อาศัย จากหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงระบบเศรษฐกิจการดำรงชีพ ที่ยังคงมีการล่าสัตว์ แม้จะเป็นชุมชนเกษตรกรรมสมัยประวัติศาสตร์แล้ว หรือการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้เป็นรูปแบบเดียวของระบบเศรษฐกิจ แต่ยังมีกลุ่มคนที่เป็นนายพรานดำรงอยู่ในสังคมด้วย ในช่วงกลางถึงปลายของชั้นวัฒนธรรมนี้ พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่มีการตกแต่งแบบหริภุญชัย และพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ ได้แก่ ชิ้นส่วนปิ่นปักผม และหัวหอก(?) รวมทั้งเปลือกหอยมุก เปลือกหอยเบี้ย รวมทั้ง ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน นอกจากนั้น ยังพบผลิตภัณฑ์จากแหล่งเตาในล้านนาแล้ว ได้แก่ เครื่องถ้วยสันกำแพง และเครื่องถ้วยเวียงกาหลง ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษเริ่มลดความสำคัญลง ความเชื่อเรื่องพุทธศาสนา เริ่มเข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ดังที่พบพระพิมพ์ดินเผาในชั้นดินชั้นบนของหลุมฝังศพ และเปลี่ยนเป็นสังคมพุทธศาสนามากขึ้นในสมัยล้านนา หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าเวียงท่ากานเข้าสู่สมัยล้านนา คือ เริ่มพบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยล้านนาในชั้นวัฒนธรรมหริภุญไชย ซึ่งปริมาณโครงกระดูกที่พบมีลดจำนวนลง และอาจกล่าวได้ว่าเวียงท่ากานเข้าสู่สมัยล้านนาอย่างเต็มตัวเมื่อพญามังรายได้นำต้นศรีมหาโพธิ์จากลังกาประทานปลูกในพันนาทะการ วัตถุทางวัฒนธรรมที่พบในชั้นดินสมัยล้านนานี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านประเภทของหลักฐานอย่างชัดเจน โดยโบราณวัตถุที่พบจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ในศาสนสถาน ทั้งชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม กระเบื้องดินเผา อิฐ กุณฑี แท่งหินบด และกล้องยาสูบ กระดูกสัตว์ที่พบหลากหลายชนิดก็หายไป พบเพียงกระดูกวัว-ควาย ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่พบก็มาจากแหล่งเตาของล้านนาและเครื่องถ้วยจีนที่สามารถกำหนดอายุได้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓ ขณะที่ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาพื้นเมืองซึ่งมีการตกแต่งแบบหริภุญชัยก็ยังพบตลอดมา ส่วนหลักฐานที่ยังสามารถพบเห็นได้ในพื้นที่อย่างชัดเจน คือ โบราณสถานประเภทวัด ซึ่งมีการสำรวจพบทั้งสิ้น ๒๗ แห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง นอกจากหลักฐานสถาปัตยกรรมแล้ว ยังมีหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของเวียงท่ากาน คือ โถสมัยราชวงศ์หยวน ที่พบภายในกลุ่มโบราณสถานกลางเวียงที่แสดงให้เห็นฐานะของผู้เป็นเจ้าของ และสะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งของเมืองแห่งนี้อีกด้วย ------------------------------------------------------------
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.42/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)
ชบ.บ.83/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.332/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132 (343-358) ผูก 7 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
“ที่เราเปรียบผู้ชายเหมือนกระต่าย ผู้หญิงเหมือนพระจันทร์นั้นเป็นของมาทางต่างประเทศ เราละเมอกันด้วยฤทธิ์ซึมซาบ ที่แท้เราเห็นด่างในดวงพระจันทร์เป็นรูปยายกะตาตำข้าวต่างหาก” จากพระวินิจฉัยหัวข้อ ‘สังเกต’ ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ในจดหมายเวรฉบับวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๔๘๕ นำมาซึ่งคอนเทนต์ประจำวันนี้ ด้วยวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ ตรงกับวันพระ และเป็นวันไหว้พระจันทร์ของคนจีน เพจคลังกลางฯ จึงใช้โอกาสนี้ นำเสนอเรื่องกระต่ายในดวงจันทร์ ที่มาของคำ คติ ตำนานของแต่ละวัฒนธรรม ตลอดจนงานศิลปกรรมที่ปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ
คำว่า “กระต่าย” สันนิษฐานว่ามีรากศัพท์มาจากคำว่า “กะต้าย” ในภาษามอญ หมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง หูและขนยาว อาศัยอยู่ตามโพรงดิน ส่วนภาษาเขมรจะออกเสียงว่า ថោះ (เถาะฮ์) คำเดียวกับที่หมายถึงปีนักษัตรลำดับที่ ๔ ของไทย ส่วนความสัมพันธ์ของดวงจันทร์กับกระต่าย สามารถพบได้ในหลายชนชาติ โดยพิจารณาร่องหลุมบนดวงจันทร์แล้วจินตนาการว่ามีกระต่ายอาศัยอยู่บนนั้น อย่างทางจีนมีปกรณัมเล่าเรื่องว่ากระต่ายเป็นบริวารรับใช้เซียน ทำหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ เป็นสัตว์เลี้ยงของ “ฉางเอ๋อ” เทพีดวงจันทร์ หรือมีกระต่ายตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์ เช่นเดียวกับทางเกาหลี - ญี่ปุ่น ที่เชื่อว่ามีกระต่ายถือสากยักษ์ตำแป้งอยู่บนดวงจันทร์ นอกจากนี้ ยังมีปกรณัมของฮินดูที่ระบุว่า ‘พระจันทร์’ เป็นเทพผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ รวมถึงกระต่ายในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ศศะ” จึงเป็นที่มาของคำเรียกดวงจันทร์ว่า “ศศินฺ” (แปลว่า ซึ่งมีกระต่าย) ส่วนความเชื่อของคนไทย มีหลักฐานที่ถูกตีความออกมาในงานศิลปกรรมชิ้นสำคัญคือ พระจันทร์ทรงราชรถเทียมม้าบนพื้นหลังสีเงินยวง ประดิษฐานบนหน้าบันด้านทิศตะวันตก (ถนนตีทอง) ของวัดสุทัศนเทพวรารามฯ
ความเปลี่ยนแปลงด้านรูปแบบศิลปกรรมเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๗ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ระบุไว้ในจดหมายเวรฉบับวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๗๐ ว่าได้ทรงออกแบบธงประจำกองลูกเสือแต่ละมณฑล โดย “...ธงพระจันทร์มีรูปกะต่าย ประจำกองลูกเสือมณฑลจันทบุรี...” ลักษณะพื้นธงสีไพล กลางธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีม่วง มีรูปกระต่ายในดวงจันทร์สีไพล อันหมายถึงเมืองสำคัญของมณฑลนี้ คือ เมืองจันทบุรี จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ‘กระต่ายในดวงจันทร์’ ก็ยังคงถูกใช้เป็นตราประจำจังหวัดจันทบุรี ดังที่ระบุว่า กระต่ายเป็นส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ เปรียบดั่งนามจันทบุรีอยู่คู่กรุงศรีอยุธยามาแต่แรกสถาปนานั่นเอง
นอกจากนี้ “กระต่าย” ยังหมายถึง เครื่องมือสำหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่ได้กะเทาะกะลา หรือที่รู้จักกันในชื่อ ..กระต่ายขูดมะพร้าว.. จึงขอยกเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องมานำเสนอ โดยเรื่องราวนี้ปรากฏในจดหมายเวรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงไปได้ยินเรื่องของคุณมนตรีกับนายศรีแก้วว่า “...วันหนึ่งคุณมนตรีจะแกงไก่... เมื่อได้ลูกมะพร้าวมาเรียบร้อยแล้วคุณมนตรีก็สั่ง... “อ้ายศรีแก้ว ไปหากระต่ายมาตัวไป๊” ...พอดีไปพบหญิงมลายูคนหนึ่งซึ่งเขาเคยมาอยู่กรุงเทพฯ เขาซักว่าท่านจะต้องการกระต่ายนั้นท่านทำอะไรอยู่ นายศรีแก้วก็บอกว่าท่านจะแกงไก่ หญิงมลายูคนนั้นก็ว่า “อา ไม่ใช่ร้อก เล่กคู้ด เล่กคู้ด” นายศรีแก้วก็เข้าใจ เอาเหล็กขูดมะพร้าวมาให้คุณมนตรีก็เป็นที่เรียบร้อย แล้วยังได้ทราบต่อไปว่าทางพายัพเขาเรียกว่า “แมว” ...” ซึ่งคำว่าแมวในที่นี้ นอกจากจะหมายถึงเหล็กขูดมะพร้าวของชาวเหนือแล้ว “แมว” ยังถูกใช้แทนนักษัตรปีเถาะในบางวัฒนธรรมอย่างประเทศเวียดนาม (แม้จะเป็นประเทศที่ไม่ค่อยมีกระต่ายอาศัยอยู่ก็ตาม)
ก่อนจะจากกันไปขอส่งท้ายด้วยผลสรุปทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ “ร่องจันทรสมุทร” (Lunar mare) อันเป็นลวดลายที่มนุษย์มองว่าคล้ายกระต่ายนั้น นักดาราศาสตร์ได้อธิบายไว้ว่าเมื่ออุกกาบาตพุ่งชนดวงจันทร์จนเกิดเป็นหลุมขนาดใหญ่จำนวนมาก จากนั้นลาวาได้เข้าท่วมจนเกิดเป็นพื้นที่สีทึบเรียกว่า มาเร (mare) ส่วนพื้นที่ที่อยู่สูงกว่า บริเวณนั้นจะมีสีจางกว่า เรียกว่า ที่สูงดวงจันทร์ (Lunar highland) จึงอาจกล่าวได้ว่าแท้จริงแล้ว “กระต่ายเป็นทะเล... ไม่ใช่เขา”
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน / เทคนิคภาพโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ
ชื่อผู้แต่ พัฒนพงษ์ภักดี,หลวง
ชื่อเรื่อง โคลงกระทู้สุภาษิต
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๗
จำนวนหน้า ๗๔ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางบุญนาค ถนัดบัญชี ณ เมรุวัดจักรวรรดิราชาวาส ๑๔ มิถุนายน ๒๕๐๗
หนังสือเล่มนี้เป็นโคลงกระทู้สุภาษิต ของหลวงพัฒนพงษ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ซึ่งโคลงตอนต้นมาจากคำกล่าวของเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงเกี่ยวกับเรื่อง ปัญญา และกรรม จึงผูกโคลงต่อเป็นสุภาษิตตามรูปแบบของโคลงกระทู้ ถือเป็นคติธรรมแก่สาธารณชนทั่วไป
ชื่อผู้แต่ง กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ
ชื่อเรื่อง ตายแล้วไปไหน
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรสมัย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๓๓ หน้า
ตายแล้วไปไหน เป็นหนังสือที่พิมพ์เพื่อหาทุนเข้ามูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย เป็นหนังสือที่เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องความตาย เพื่อจะคลี่คลายปัญหาว่า “ตายแล้วไปไหน” ประกอบด้วยเรื่อง ทางชีวิต ปัญหาที่ไม่ทรงพยากรณ์ ความตายคืออะไร ตายแท้ นรก สวรรค์ เป็นต้น
ปราสาทบ้านโนนงิ้ว บ้านโนนงิ้ว หมู่ 3 ตำบลอุดมทรัพย์ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
#ปราสาทบ้านโนนงิ้ว เป็นร่องรอยของอาคารศาสนสถานที่สร้างขึ้นตามคติและรูปแบบการก่อสร้างเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18
#ร่องรอยของปราสาทโนนงิ้ว ปรากฏให้เห็นเฉพาะส่วนฐานของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนฐานของสถาปัตยกรรมในรูปแบบปราสาท ก่อสร้างด้วยด้วยศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก แผนผังที่ปรากฏพบเป็นแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 8 x 8 เมตร ตั้งอยู่ที่ตำแหน่งกลางเนินดินเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวในแนวยาวตามแกนทิศตะวันออก – ทิศตะวันตก ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว 45 เมตร สูงจากพื้นดินโดยรอบประมาณ 2-3 เมตร ส่วนฐานของปราสาทที่พบนี้ก่อวางเรียงด้วยศิลาแลงเป็นกรอบ 2-3 ชั้น สูงจากพื้นดินประมาณ 40-60 เซนติเมตร
พื้นที่ภายในของส่วนฐานมีร่องรอยหลุมขนาดใหญ่ที่เกิดจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ เหนือจากส่วนฐานขึ้นไปซึ่งตามรูปแบบแล้วจะเป็นส่วนเรือนธาตุและชั้นยอดของปราสาท ซึ่งพังทลายลงหมดแล้วและไม่พบศิลาแลงหรือหินทรายที่เป็นส่วนประกอบของทางสถาปัตยกรรมของส่วนเรือนธาตุและชั้นยอดปราสาทหลงเหลืออยู่ในพื้นที่เลย บริเวณพื้นที่รอบเนินดินปรากฏร่องรอยของแนวคูน้ำที่ล้อมรอบปราสาท ปัจจุบันตื้นเขินหมดแล้ว แต่สังเกตเห็นร่องรอยคูน้ำได้ในด้านทิศใต้
#สภาพปัจจุบัน ปราสาทโนนงิ้ว เป็นเนินดินสูง มีต้นไม้ขนาดกลางและขนาดเล็กขึ้นปกคลุมทั่วบริเวณ พื้นที่โดยรอบเนินดินด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกมีการไถปรับพื้นที่เพื่อปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง ส่วนทางด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันตกมีการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยใกล้กับส่วนฐานของปราสาท และทางด้านทิศตะวันตกนั้น มีการก่อสร้างศาลาขนาดเล็ก 1 หลัง เป็นอาคารโล่งหลังคามุงกระเบื้อง ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ ที่สร้างจากปูน รูปแบบศิลปะพื้นบ้าน และด้านนอกศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป 1 องค์ ซึ่งสร้างจากปูน รูปแบบศิลปะพื้นบ้านเช่นกัน ปัจจุบัน ในบางโอกาส ชาวบ้านในพื้นที่มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่ออยู่บ้าง แต่ไม่ได้ร่วมดูแลรักษาทำความสะอาดพื้นที่โบราณสถาน ทำให้สภาพของโบราณสถานดูแล้วค่อนข้างรก มีวัชพืชขึ้นปกคลุมค่อนข้างมาก
บริเวณใกล้เคียงกัน ยังพบ ปราสาทบ้านโนนเหลื่อม (ปราสาทหนองหอย) ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ปราสาทบ้านโนนงิ้ว ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร
ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ
ศิลปะธนบุรี ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
เดิมอยู่ในหอทะเบียนพลแต่โบราณ กระทรวงกลาโหม ส่งมา
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศัสตราวุธ พระที่นั่งบูรพาภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมพระสุรัสวดี เทวดาผู้รักษากรมพระสุรัสวดี เดิมอยู่ในหอทะเบียนพลแต่โบราณ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยกรุงธนบุรี กระทรวงกลาโหมมอบให้พิพิธภัณฑสถาน โดยหอทะเบียนพล หรือที่เรียกว่า “ศาลาสารบาญชี” เป็นอาคารสำหรับเก็บบัญชีสมุดทะเบียนพลเมือง ที่บันทึกจำนวนเลกไพร่หลวง ไพร่ราบ ไพร่สม พันทนาย ขุนหมื่นต่างๆ อยู่ในความดูแลของกรมพระสุรัสวดี สำหรับหอทะเบียนพลของกรุงเทพฯ เดิมตั้งอยู่ใกล้ศาลหลักเมือง และรื้อลงในต้นรัชกาลที่ ๕
กรมพระสุรัสวดี ปรากฏมาแต่ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา มีหน้าที่บันทึกทะเบียนไพร่พลและเตรียมกำลังพลสำหรับยามศึกสงคราม รวมทั้งลงทะเบียนคนเกิดและจำหน่ายทะเบียนเมื่อมีคนตาย คติแบบแผนนี้สืบทอดมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดให้ย้ายกรมสุรัสวดีจากเดิมที่ขึ้นกับกระทรวงเมือง มาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๔๑ ได้เปลี่ยนชื่อ “กรมสุรัสวดี” เป็น “กรมสัสดี”