ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
แผ่นศิลาจำหลักรูปพระพุทธเจ้าและจารึก
สมัยสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ขุดพบที่ป่าปูน ตำบลบ้านไร่ เมืองศรีสัชนาลัย
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องสุโขทัย อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
แผ่นศิลารูปทรงคล้ายกลีบบัว สลักลวดลายทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งสลักรูปพระพุทธเจ้า มีพุทธลักษณะสำคัญคือ พระรัศมีเป็นเปลว อุษณีษะนูน พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง กึ่งกลางพระนลาฏมีพระอุณาโลม พระเนตรเปิดเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็ก แย้มพระสรวล รอบพระเศียรมีเส้นศิรประภา พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ส่วนปลายแยกออกจากกันคล้ายเขี้ยวตะขาบ พระหัตถ์ซ้ายยกพระหัตถ์ขึ้นแสดงวิตรรกมุทรา พระวรกายท่อนล่าง ชำรุดหักหายไป อีกด้านหนึ่งมีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี ปรากฏอยู่จำนวน ๑๖ บรรทัด
พระพุทธรูปลีลาในศิลปะสุโขทัย ปรากฏหลักฐานเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบประติมากรรมลอยตัว พระพิมพ์ และภาพแกะสลัก ซึ่งสื่อถึงการแสดงอิริยาบถทรงดำเนิน นอกจากนี้ยังปรากฏในงานศิลปะล้านนา เช่น พระพุทธรูปดุนนูนบนแผ่นทองจังโกที่องค์ระฆังพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน เป็นต้น ซึ่งหลักฐานที่พบกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐
ส่วนข้อความจารึกที่ปรากฏบนแผ่นศิลาชิ้นนี้พบว่ารูปลักษณะอักษรคล้ายกับจารึกวัดบริพารภิกษุ (สท.๕๔)* เนื้อความที่ปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของ “อาฏานาฏิยปริตร” ซึ่งเป็นบทสวดเพื่อป้องกันอุปัทวันตราย**ทั้งปวง แต่เนื่องจากแผ่นศิลาชิ้นนี้ชำรุดหักหายไปบางส่วน ดังนั้นจึงปรากฏเพียงข้อความที่เป็นการกล่าวสรรเสริญอดีตพุทธเจ้า ๑๙ พระองค์ (ซึ่งหากจารึกหลักนี้มีเนื้อความสมบูรณ์จะปรากฏชื่อพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ ตามคติอดีตพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ที่ปรากฏในคัมภีร์อาฏานาฏิยสูตร ภาณวาร อังคุตตรนิกาย)
ความสำคัญของศิลาจำหลักชิ้นนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมสุโขทัยกับล้านนา กล่าวคือรูปแบบของพระพุทธรูปที่ปรากฏนั้นเป็นพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยที่เรียกว่า “พระพุทธรูปหมวดใหญ่” ขณะเดียวกันแสดงถึงการรับรูปแบบศิลปะปาละผ่านทางล้านนาโดยเฉพาะการปรากฏชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน นอกจากนี้อักษรธรรมล้านนาปรากฏในหลักฐานสมัยสุโขทัยอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นิยมใช้จารึกภาษาบาลี โดยมีหลักฐานสำคัญคือ จารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณิ พุทธศักราช ๑๙๑๙ ซึ่งปรากฏทั้งอักษรไทยสุโขทัย และส่วนท้ายที่เป็นภาษาบาลีใช้อักษรธรรมล้านนา
*ลักษณะเป็นจารึกบนแผ่นลานทอง อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทย จำนวน ๖ บรรทัด ซึ่งกำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เนื้อความกล่าวถึงบุคคลต่าง ๆ ที่บรรจุพระธาตุไว้สามแห่ง
**อุปัทวันตราย หมายถึง สิ่งอุบาทว์และอันตราย
อ้างอิง
พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ. “จารึกหลังพระพุทธรูปจำหลักศิลปะสุโขทัย.” ศิลปากร ๖๕, ๖ (พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๖๕): ๕-๑๓.
พรสวรรค์ อัมรานนท์. “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทย เรื่อง พระอดีตพุทธเจ้ากับวรรณกรรมพุทธศาสนา.” ดำรงวิชาการ ๗, ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๑): ๓๗-๕๗.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๕.
หนังสือเรื่อง เพลงยาวนิราศสุนทรภู่
ผู้เขียน : สุนทรโวหาร (ภู่), พระ, 2329-2398.
รวบรวม : เทพ สุนทรศารทูล
คำว่า "เพลงยาว" นั้นโบราณแบ่งออกเป็น ๕ ประเภทคือ
1.เพลงยาวสังวาส แปลว่าเพลงยาวที่แต่งถึงคนที่อยู่ร่วมกัน เข่นเพลงยาวที่แต่งเกี้ยวกัน
2.เพลงยาวนิราศ แปลว่า เพลงยาวที่่แต่งเมื่อจากบ้านจากคนรักไป พรรณาถึงความรักความอาลัยไปตามทาง ถึงตำบลบ้านไหนก็พรรณาถึงคนรัก เรียกว่า "สารสั่งทุกหย่อมหญ้า"
3.เพลงยาวสุภาษิต คือเพลงยาวที่แต่งคำสุภาษิตสอนใจคน เช่น เพลงยาวถวายโอวาท เพลงยาวสุภาษิตสอนหญิง เพลงยาวโลกนิติ
4.เพลงยาวพงศาวดาร เช่นเพลงยาวที่สุนทรภูแต่งพระราชพงศาวดารตามประราชประสงค์ของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
5.เพลงยาวเสภา เช่นเพลงยาวเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เรียกว่า เพลงยาวเหมือนกัน แต่เรียกสั้นๆว่า เพลงเสภา (มาจากคำว่า เสพาที แปลว่า เพลงเสแสร้งแกล้งว่าเล่น)
พระสุนทรโวหาร(ภู่ ภู่เรือหงส์) แต่งเพลงยาวไว้หลายเรื่อง ดูเหมือนว่าจะแต่งครบถ้วนเพลงยาวทุกอย่าง เพราะท่านชำนาญทางกลอนเพลงยาวมาก
ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
เลขหมู่ : 895.9112 ส798พ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ขอเชิญชมนิทรรศการภาพจากหนังสือ "พระมาลา" ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ระหว่างวันที่ ๘ - ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี และ Page Facebook หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี
กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๗ วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
--------------------------------------------
ภาคเช้า (เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น.)
การเสวนาวิชาการ เรื่อง “ประวัติศาสตร์จากตำนานและจารึก ในนิทรรศการพระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ”
วิทยากรโดย นายเทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาตะวันออก ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร
นายธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ดำเนินรายการโดย นายศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เริ่มลงทะเบียน เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๐๙.๐๐ น.
-------------------------------------------
สำรองที่นั่งผ่านโทรศัพท์เท่านั้น / สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
(วันพุธ-อาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น.) ***รับจำนวนจำกัด***
-------------------------------------------
กรมศิลปากร สุดสร้างสรรค์ คว้ารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้วยผลงาน AR Smart Heritage
วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” ซึ่งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดประกวดรางวัล นวัตกรรมแห่งชาติขึ้นทุกปี ในปี 2566 นี้ กรมศิลปากร ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ รองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร จากผลงาน "AR Smart Heritage" ซึ่งพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมได้ดำเนินการจัดขึ้น ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ 3 (ชั้น 5) สยามพารากอน
ขัน
ลักษณะ : ลักษณะดุนลายเป็นเทพนมกำลังร่ายรำจำนวน 8 คู่ ที่ก้นขันมีปุ่มสามปุ่ม มียี่ห้อตราแมวน้ำ เป็นของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงใช้หลังจากทรงหว่านข้าว ณ บึงไผ่แขก เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินทรงหว่านข้าว ณ บึงไผ่แขก อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational/360/model/01/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรร่องรอยศาสนาฮินดู ในเมืองกำแพงเพชร..ฮินดูเป็นศาสนาหนึ่งที่เกิดขึ้นในอินเดีย มีวิวัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์ เคารพบูชาตรีมูรติเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ พระอิศวรหรือพระศิวะ พระนารายณ์หรือพระวิษณุ และพระพรหม.เมืองกำแพงเพชรปรากฏศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก แต่จากบันทึกการสำรวจพบพระอิศวรที่ศาลพระอิศวรกลางเมืองกำแพงเพชรโดยนายแม็คคาธี นายสำรวจทำแผนที่ฯ เมื่อ พ.ศ. 2424 อีกทั้งภาพถ่ายครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 พ.ศ. 2449 ปรากฏภาพเทวรูปพระอิศวร เทวรูปบุคคลและเทวสตรีที่ศาลพระอิศวร เทวลัยในศาสนาฮินดูเพียงแห่งเดียวของเมืองกำแพงเพชร.ศาลพระอิศวร อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร กำหนดอายุได้พุทธศตวรรษที่ 21 จากจารึกรอบฐานเทวรูปพระอิศวรระบุปี พ.ศ. 2053 เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีลักษณะฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกัน ฐานเขียงชั้นล่างสุดมีขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 29 เมตร สูง 1.6 เมตร ด้านตะวันออกมีบันไดศิลาแลงขนาดกว้าง 1.8 เมตร ยาว 4 เมตร บนฐานมีทางเดินศิลาแลงขนาดกว้าง 1 เมตร เป็นแนวยาวไปจนถึงบันไดสู่ฐานชั้นที่สอง.ฐานชั้นที่สอง มีขนาดกว้าง 3.3 เมตร ยาว 4.5 เมตร สูง 0.9 เมตร เป็นฐานประดิษฐานพระอิศวรจำลองลักษณะประทับยืนอยู่บนแท่นศิลาแลงขนาดกว้างด้านละ 1.2 เมตร สันนิษฐานว่าเครื่องบนหลังคาทำด้วยไม้และชำรุดหักหายไป.เทวรูปพระอิศวรสำริด ขนาดสูง 210 เซนติเมตร ลักษณะประทับยืนมี 1 เศียร 2 กร พระพักตร์รูปเหลี่ยม พระขนงเชื่อมต่อกันเหนือสันพระนาสิก พระโอษฐ์เม้มเป็นเส้นตรง ทรงไว้พระทาฐิกะ (เครา) เป็นรูปสามเหลี่ยม กลางพระนลาฏมีพระเนตรที่สาม สวมกระบังหน้า เกล้าพระเกศารูปทรงกระบอกปรากฏอุณาโลม ประดับกุณฑลที่พระกรรณ ด้านข้างพระเศียรมีกรรเจียก สวมกรองศอที่ประดับลายประจำยามและมีพวงอุบะขนาดเล็กห้อยตกลงมา ส่วนองค์ท่อนบนคล้องสายยัชโญปวีตและสวมพาหุรัดในรูปของนาค สวมทองพระกร ทองพระบาท พระธำมรงค์ทุกนิ้ว ทรงภูษาโจงกระเบนสั้นจีบเป็นริ้ว คาดทับด้วยเข็มขัดที่ประดับด้วยพวงอุบะขนาดเล็ก และชักขอบผ้านุ่งด้านบนให้แผ่ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมมีชายผ้าห้อยตกลงมาทางด้านหน้า รอบฐานเทวรูปปรากฏจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ระบุปีพุทธศักราช 2053 มีข้อความว่า..“ศักราช 1432 (ปี) มะเมียนักษัตร อาทิตย พารเดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ ได้หัสตฤกษ์ เพลารุ่งแล้ว 2 นาฬิกา จึงเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ประดิษฐานพระอิศวรเป็นเจ้านี้ไว้ ให้ครองสัตว์สี่ตีนสองตีนในเมืองกำแพงเพชรแลช่วยเลิกศาสนา พุทธศาสตร์แลไสยศาสตร์แลพระเทพกรรมมิให้หม่นให้หมองให้ เป็นอันหนึ่งอันเดียว แลซ่อมแปลงพระมหาธาตุแลวัดบริพารในเมืองนอกเมือง และที่แดนเหย้าเรือนถนนทลาอัน เป็นตรธานไปเถิงบางพานขุดแม่ไตรบางพร้อ อนึ่งแต่ก่อนย่อมขายวัวไปแก่ละว้า อันจะให้ขายดุจก่อนนั้นก็ห้ามมิให้ขาย อนึ่งเมื่อทำนาไซร้ ย่อมข้าวพืชข้าวในนานั้นปลูกเอง มิได้เอาข้าวในยุ้งไปหว่านไปดำดังทั้งหลาย อนึ่งท่อปู่พระยาร่วงทำเอาน้ำไปเถิงบางพานนั้น ก็ถมหายสิ้นและเขาย่อมทำนาทางฟ้า และหาท่อนั้นพบ กระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา ให้เป็นนาเหมืองนาฝาย มิได้เป็นทางฟ้า อันทำทั้งนี้ ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จบพิตรพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ฯ”. โดยสมเด็จบพิตรพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์นั้น สันนิษฐานว่าหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ผู้เสวยราชสมบัติเมืองอยุธยาสมัยนั้นพระองค์หนึ่ง (ครองราชย์ พ.ศ. 2034 - 2072) และพระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อนหน้านี้ คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (ครองราชย์ พ.ศ. 2031 - 2034) เนื่องจากพระอาทิตยวงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ผู้ที่ได้รับการสถาปนาเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลก และขึ้นครองราชสมบัติพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หน่อพุทธางกูร ในเวลาต่อมา (ครองราชย์ พ.ศ. 2072 - 2076) หากพิจารณาตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวว่า พระอาทิตยวงศ์เสด็จฯไปครองเมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. 2069 อันเป็นเหตุการณ์ภายหลังปี พ.ศ. 2053 ที่ปรากฏบนฐานเทวรูปพระอิศวร.เมื่อ พ.ศ. 2426 เทวรูปพระอิศวรถูกลักลอบตัดพระเศียรและพระกรทั้งสองข้างโดยชาวเยอรมันชื่อนายรัสมันต์ (J.E. Rastmann) เพื่อนำออกนอกประเทศ แต่กงสุลเยอรมันไม่เห็นชอบด้วยจึงอายัดไว้ พร้อมทั้งแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบ หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีรับสั่งให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ นำพระเศียรและพระกรเชื่อมติดกับองค์เทวรูปดังเดิม เมื่อมีการจัดตั้งมิวเซียมหลวงในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล ได้อัญเชิญเทวรูปพระอิศวรมาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ต่อมามีการย้ายองค์เทวรูปไปจัดแสดงในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และในปี พ.ศ. 2514 จึงอัญเชิญมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร..นอกจากนี้ยังพบเทวรูปบุคคลสำริดสันนิษฐานว่าเป็นพระนารายณ์ คงเหลือส่วนท่อนองค์ ขนาดสูง 65 เซนติเมตร ลักษณะเครื่องทรงมีกรองศอประดับด้วยลวดลายเครือเถา ดอกไม้ก้านขด บริเวณพระอุระประดับทับทรวงตกแต่งด้วยลายดอกกลมในกรอบลายประจำยามล้อมรอบด้วยแนวไข่ปลา ต้นพระกรทั้งสี่สวมพาหุรัดที่ประดับลายดอกกลมสลับลายดอกไม้สี่กลีบ พระภูษาทรงหรือผ้านุ่งส่วนชายพกทำเป็นจีบพลิ้วไหว ลักษณะลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องทรงสามารถเทียบเคียงได้กับลวดลายบนเครื่องทรงเทวรูปพระอิศวร .เทวสตรีสำริด ลักษณะพระเศียรและพระกรทั้งสองข้างหักหายไป ส่วนองค์ท่อนบนเปลือย สวมกรองศอที่มีพวงอุบะขนาดเล็กห้อยอยู่โดยรอบ ต้นพระกรทั้งสองข้างสวมพาหุรัดที่ตกแต่งด้วยลายรักร้อย ทรงนุ่งผ้ายาวกรอมพระบาท ชายผ้าที่ห้อยตกลงมาทางด้านหน้าถูกตกแต่งด้วยลายดอกไม้ ขอบผ้านุ่งบริเวณพระโสณีเว้าลงมาค่อนข้างต่ำ คาดทับด้วยเข็มขัดมีอุบะขนาดเล็กห้อยประดับ และชักชายพกออกมาคลุมพระโสณีทั้งสองข้าง พระบาทหักหายไป ลวดลายบนเครื่องทรงเทวสตรี เช่น ลายประจำยาม ลายดอกไม้กลม ลายรักร้อย นั้นเป็นลวดลายลักษณะที่ประดับบนประติมากรรมรูปช้างที่เจดีย์ประธานวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร ซึ่งประติมากรรมรูปช้างดังกล่าวมีการประดับสร้อยคอลักษณะคล้ายกับลายที่ปรากฏบนชายผ้านุ่งของเทวรูปพระอิศวร..การสถาปนาเทวรูปพระอิศวรและเทพในศาสนาฮินดูไว้กลางเมืองนั้น แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้เจ้าเมืองและชาวเมืองกำแพงเพชรจะนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก แต่ก็มีการอุปถัมภ์ศาสนาฮินดู ด้วยเหตุว่าพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีต่างๆให้กับราชสำนัก และเป็นผู้รักษาคัมภีร์ธรรมศาสตร์ที่ใช้ในการปกครองบ้านเมือง...เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรรมการหอสมุดวชิรญาณ. (2450). พระราชพงษาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. โรงพิมพ์ไทย.จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2547). เสด็จประพาสต้น ร.ศ. 125. สำนักราชเลขาธิการ.ผาสุข อินทราวุธ. (2524). รูปเคารพในศาสนาฮินดู (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. (2557). นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร.มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.สามเพชร. (2547). รายงานการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลพระอิศวร. [เอกสารอัดสำเนา].สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.สำนักหอสมุดแห่งชาติ. (2548). ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรมศิลปากร.อนันต์ ชูโชติ, ธาดา สังข์ทอง และนารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์. (2561). นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย.อมรา ศรีสุชาติ. (2557). ของชิ้นเอกในกรมศิลปากร : นัยสำคัญจากเทวรูปพระอีศวรเมืองกำแพงเพชร. ศิลปากร 57(5), 96-107.
ชื่อเรื่อง สพ.ส.85 วิธีปลูกบ้านและตำรายาประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ โหราศาสตร์ลักษณะวัสดุ 143; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง โหราศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มอบให้หอสมุดฯ วันที่ 15 ส.ค..2538
ชื่อเรื่อง ชุมนุมพระนิพนธ์และนิทานโบราณคดี (บางเรื่อง) และ ประเพณีทำบุญผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ผู้แต่งเพิ่ม กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ รวมเรื่องทั่วไปเลขหมู่ 089.95911 ด495ชผสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมมหาดไทยปีที่พิมพ์ 2504ลักษณะวัสดุ 100 หน้า หัวเรื่อง รวมเรื่อง พิธีทางศาสนาและพิธีกรรมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวมเรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ การอำนวยพร และเรื่องโจรแปลกประหลาด และประเพณีทำบุญ รวมในเล่มเดียวกัน
องค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
เรื่อง แหล่งโบราณคดีเมืองงิ้ว
ผู้เรียบเรียง : นายอภิรัตน์ บุตรวงษ์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้ควบคุมงาน: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี
#เอื้องแซะ ดอกไม้สูงค่าแห่งล้านนาเอื้องแซะ ชื่อเต็มคือ เอื้องแซะหลวง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium scabrilingue Lindl. เป็นกล้วยไม้ชนิดที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 2,000-3,000 ฟุต ในเขตดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเทือกเขาตะนาวศรีเรื่อยไปจนเหนือสุดของประเทศไทย ดอกมีขนาด 1.5 นิ้ว ออกเป็นช่อตามข้อปลายยอด ช่อหนึ่งจะมี 1-3 ดอก และมีกลิ่นหอม กล่าวกันว่ากลิ่นหอมของดอกเอื้องแซะนั้น แม้ได้กลิ่นเพียงชั่วขณะหนึ่ง ก็ติดตรึงใจไปแสนนาน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม สตรีชาวเหนือนิยมนำดอกไม้สดหรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาประดับผม เช่น ดอกสะบันงา ดอกพุทธหลวง ดอกมะลิ รวมถึงดอกเอื้องแซะด้วย โดยนิยมปลูกเอื้องแซะใส่กระถางแขวนไว้ตามชายคาบ้าน และเชื่อกันว่าถ้าเอื้องแซะบ้านใดออกดอกในเดือนเมษายน ลูกสาวบ้านนั้นจะพบความรักนอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับการถวายดอกเอื้องแซะเป็นเครื่องบรรณาการ มีการบันทึกไว้ว่า ในสมัยที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2413 – 2439) ดอกเอื้องแซะถือเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการ โดยชาวลัวะที่อาศัยในดินแดนแถบเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้ส่งมาถวายให้เจ้ามหาชีวิตหรือกษัตริย์ผู้ครองนครล้านนา เนื่องจากเป็นดอกไม้ป่าหายาก พบในพื้นที่สูง และมีกลิ่นหอมนาน เป็นของสูงสำหรับเจ้านายและเป็นดอกไม้พุทธบูชา จึงนับเป็นของสูงค่าจากผืนป่าสู่คุ้มหลวงแลหอคำ จนมีคำกล่าวว่า “เอื้องแซะ ของสูงค่า คนต่ำใต้ลุ่มฟ้าอย่าหมายได้ชมเชย” ในโคลงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่ ประพันธ์โดยพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์) ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2426-2427 ได้บรรยายถึงการเดินทางไปราชการจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้พบเห็นขณะพำนักอยู่เมืองเชียงใหม่ ในตอนหนึ่งได้กล่าวถึงประเพณีของชาวลัวะในการถวายดอกเอื้องแซะให้กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ด้วย ถือกันว่าผู้ใดได้ทัดเหน็บดอกเอื้องแซะ ผู้นั้นจะมีอายุยืนนาน ชาวลัวะจึงนิยมถวายแก่เจ้าเมือง และยึดเป็นประเพณีสืบมาเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. 2469 ก็มีบันทึกกล่าวถึงชาวลัวะที่เข้าเฝ้านำดอกเอื้องแซะมาถวายเป็นบรรณาการ ปรากฏในจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือพระพุทธศักราช 2469 นอกจากดอกเอื้องแซะจะเป็นเครื่องบรรณาการแก่เจ้าเมืองเชียงใหม่แล้ว ยังเป็นเครื่องบรรณาการของ “ล้านนา” เพื่อมอบให้แก่“กรุงรัตนโกสินทร์” อีกด้วย ดอกเอื้องแซะจึงนับเป็นดอกไม้สูงค่าที่ใช้เป็นเครื่องสักการะชั้นสูงเพื่อแสดงถึงความเคารพและจงรักภักดี แม้ปัจจุบันจะไม่มีการถวายเครื่องบรรณาการแล้ว ดอกเอื้องแซะก็ยังคงเป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และถูกนำมาใช้เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชื่อว่า “ลายเอื้องแซะ ราชินีกล้วยไม้หอมแห่งเมืองสามหมอก” เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่บรรณานุกรมจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2474.ฐาปกรณ์ เครือระยา. “ดอกเอื้องในพิธีกรรม ความเชื่อและวัฒนธรรมล้านนา” วารสารวิจิตรศิลป์. 11,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 177-206. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564, จาก: https://so02.tci-thaijo.org/.../down.../205401/166394/866314ราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์), พระยา. โคลงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543. สุมาลี ทองดอนแอ. เอื้องแซะหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2565, จาก: https://www.doa.go.th/pvp/wp-content/uploads/2020/11/เอื้องแซะหลวง1.pdf“เอื้องแซะ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 15 (2542): 8087.#บรรณารักษ์ชวนรู้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร