เอื้องแซะ ดอกไม้สูงค่าแห่งล้านนา
#เอื้องแซะ ดอกไม้สูงค่าแห่งล้านนา
เอื้องแซะ ชื่อเต็มคือ เอื้องแซะหลวง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium scabrilingue Lindl. เป็นกล้วยไม้ชนิดที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 2,000-3,000 ฟุต ในเขตดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเทือกเขาตะนาวศรีเรื่อยไปจนเหนือสุดของประเทศไทย ดอกมีขนาด 1.5 นิ้ว ออกเป็นช่อตามข้อปลายยอด ช่อหนึ่งจะมี 1-3 ดอก และมีกลิ่นหอม กล่าวกันว่ากลิ่นหอมของดอกเอื้องแซะนั้น แม้ได้กลิ่นเพียงชั่วขณะหนึ่ง ก็ติดตรึงใจไปแสนนาน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม สตรีชาวเหนือนิยมนำดอกไม้สดหรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาประดับผม เช่น ดอกสะบันงา ดอกพุทธหลวง ดอกมะลิ รวมถึงดอกเอื้องแซะด้วย โดยนิยมปลูกเอื้องแซะใส่กระถางแขวนไว้ตามชายคาบ้าน และเชื่อกันว่าถ้าเอื้องแซะบ้านใดออกดอกในเดือนเมษายน ลูกสาวบ้านนั้นจะพบความรัก
นอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับการถวายดอกเอื้องแซะเป็นเครื่องบรรณาการ มีการบันทึกไว้ว่า ในสมัยที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2413 – 2439) ดอกเอื้องแซะถือเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการ โดยชาวลัวะที่อาศัยในดินแดนแถบเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้ส่งมาถวายให้เจ้ามหาชีวิตหรือกษัตริย์ผู้ครองนครล้านนา เนื่องจากเป็นดอกไม้ป่าหายาก พบในพื้นที่สูง และมีกลิ่นหอมนาน เป็นของสูงสำหรับเจ้านายและเป็นดอกไม้พุทธบูชา จึงนับเป็นของสูงค่าจากผืนป่าสู่คุ้มหลวงแลหอคำ จนมีคำกล่าวว่า “เอื้องแซะ ของสูงค่า คนต่ำใต้ลุ่มฟ้าอย่าหมายได้ชมเชย”
ในโคลงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่ ประพันธ์โดยพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์) ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2426-2427 ได้บรรยายถึงการเดินทางไปราชการจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้พบเห็นขณะพำนักอยู่เมืองเชียงใหม่ ในตอนหนึ่งได้กล่าวถึงประเพณีของชาวลัวะในการถวายดอกเอื้องแซะให้กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ด้วย ถือกันว่าผู้ใดได้ทัดเหน็บดอกเอื้องแซะ ผู้นั้นจะมีอายุยืนนาน ชาวลัวะจึงนิยมถวายแก่เจ้าเมือง และยึดเป็นประเพณีสืบมา
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. 2469 ก็มีบันทึกกล่าวถึงชาวลัวะที่เข้าเฝ้านำดอกเอื้องแซะมาถวายเป็นบรรณาการ ปรากฏในจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือพระพุทธศักราช 2469 นอกจากดอกเอื้องแซะจะเป็นเครื่องบรรณาการแก่เจ้าเมืองเชียงใหม่แล้ว ยังเป็นเครื่องบรรณาการของ “ล้านนา” เพื่อมอบให้แก่“กรุงรัตนโกสินทร์” อีกด้วย ดอกเอื้องแซะจึงนับเป็นดอกไม้สูงค่าที่ใช้เป็นเครื่องสักการะชั้นสูงเพื่อแสดงถึงความเคารพและจงรักภักดี แม้ปัจจุบันจะไม่มีการถวายเครื่องบรรณาการแล้ว ดอกเอื้องแซะก็ยังคงเป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และถูกนำมาใช้เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชื่อว่า “ลายเอื้องแซะ ราชินีกล้วยไม้หอมแห่งเมืองสามหมอก”
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
บรรณานุกรม
จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2474.
ฐาปกรณ์ เครือระยา. “ดอกเอื้องในพิธีกรรม ความเชื่อและวัฒนธรรมล้านนา” วารสารวิจิตรศิลป์. 11,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 177-206. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564, จาก: https://so02.tci-thaijo.org/.../down.../205401/166394/866314
ราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์), พระยา. โคลงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.
สุมาลี ทองดอนแอ. เอื้องแซะหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2565, จาก: https://www.doa.go.th/pvp/wp-content/uploads/2020/11/เอื้องแซะหลวง1.pdf
“เอื้องแซะ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 15 (2542): 8087.
#บรรณารักษ์ชวนรู้
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
เอื้องแซะ ชื่อเต็มคือ เอื้องแซะหลวง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium scabrilingue Lindl. เป็นกล้วยไม้ชนิดที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 2,000-3,000 ฟุต ในเขตดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเทือกเขาตะนาวศรีเรื่อยไปจนเหนือสุดของประเทศไทย ดอกมีขนาด 1.5 นิ้ว ออกเป็นช่อตามข้อปลายยอด ช่อหนึ่งจะมี 1-3 ดอก และมีกลิ่นหอม กล่าวกันว่ากลิ่นหอมของดอกเอื้องแซะนั้น แม้ได้กลิ่นเพียงชั่วขณะหนึ่ง ก็ติดตรึงใจไปแสนนาน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม สตรีชาวเหนือนิยมนำดอกไม้สดหรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาประดับผม เช่น ดอกสะบันงา ดอกพุทธหลวง ดอกมะลิ รวมถึงดอกเอื้องแซะด้วย โดยนิยมปลูกเอื้องแซะใส่กระถางแขวนไว้ตามชายคาบ้าน และเชื่อกันว่าถ้าเอื้องแซะบ้านใดออกดอกในเดือนเมษายน ลูกสาวบ้านนั้นจะพบความรัก
นอกจากนี้ยังมีตำนานเกี่ยวกับการถวายดอกเอื้องแซะเป็นเครื่องบรรณาการ มีการบันทึกไว้ว่า ในสมัยที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2413 – 2439) ดอกเอื้องแซะถือเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการ โดยชาวลัวะที่อาศัยในดินแดนแถบเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ได้ส่งมาถวายให้เจ้ามหาชีวิตหรือกษัตริย์ผู้ครองนครล้านนา เนื่องจากเป็นดอกไม้ป่าหายาก พบในพื้นที่สูง และมีกลิ่นหอมนาน เป็นของสูงสำหรับเจ้านายและเป็นดอกไม้พุทธบูชา จึงนับเป็นของสูงค่าจากผืนป่าสู่คุ้มหลวงแลหอคำ จนมีคำกล่าวว่า “เอื้องแซะ ของสูงค่า คนต่ำใต้ลุ่มฟ้าอย่าหมายได้ชมเชย”
ในโคลงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่ ประพันธ์โดยพระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์) ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2426-2427 ได้บรรยายถึงการเดินทางไปราชการจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้พบเห็นขณะพำนักอยู่เมืองเชียงใหม่ ในตอนหนึ่งได้กล่าวถึงประเพณีของชาวลัวะในการถวายดอกเอื้องแซะให้กับเจ้าเมืองเชียงใหม่ด้วย ถือกันว่าผู้ใดได้ทัดเหน็บดอกเอื้องแซะ ผู้นั้นจะมีอายุยืนนาน ชาวลัวะจึงนิยมถวายแก่เจ้าเมือง และยึดเป็นประเพณีสืบมา
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลพายัพ เมื่อ พ.ศ. 2469 ก็มีบันทึกกล่าวถึงชาวลัวะที่เข้าเฝ้านำดอกเอื้องแซะมาถวายเป็นบรรณาการ ปรากฏในจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือพระพุทธศักราช 2469 นอกจากดอกเอื้องแซะจะเป็นเครื่องบรรณาการแก่เจ้าเมืองเชียงใหม่แล้ว ยังเป็นเครื่องบรรณาการของ “ล้านนา” เพื่อมอบให้แก่“กรุงรัตนโกสินทร์” อีกด้วย ดอกเอื้องแซะจึงนับเป็นดอกไม้สูงค่าที่ใช้เป็นเครื่องสักการะชั้นสูงเพื่อแสดงถึงความเคารพและจงรักภักดี แม้ปัจจุบันจะไม่มีการถวายเครื่องบรรณาการแล้ว ดอกเอื้องแซะก็ยังคงเป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ และถูกนำมาใช้เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชื่อว่า “ลายเอื้องแซะ ราชินีกล้วยไม้หอมแห่งเมืองสามหมอก”
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
บรรณานุกรม
จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2474.
ฐาปกรณ์ เครือระยา. “ดอกเอื้องในพิธีกรรม ความเชื่อและวัฒนธรรมล้านนา” วารสารวิจิตรศิลป์. 11,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 177-206. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2564, จาก: https://so02.tci-thaijo.org/.../down.../205401/166394/866314
ราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์), พระยา. โคลงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.
สุมาลี ทองดอนแอ. เอื้องแซะหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2565, จาก: https://www.doa.go.th/pvp/wp-content/uploads/2020/11/เอื้องแซะหลวง1.pdf
“เอื้องแซะ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 15 (2542): 8087.
#บรรณารักษ์ชวนรู้
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 967 ครั้ง)