ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อผู้แต่ง        :   ดำรงราชานุภาพ , สมเด็จฯ กรมพระยาชื่อเรื่อง         :   เสด็จประพาสต้น ในรัชกาลที่ ๕ครั้งที่พิมพ์      :   พิมพ์ครั้งที่ยี่สิบห้าสถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      :   ห้างหุ้นส่วนจำกัด พันนี่พับบลิชชิ่งปีที่พิมพ์         :   ๒๕๒๗จำนวนหน้า     :   ๑๔๒ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางราชรัชดารักษ์ (อูบ  รัชดารักษ์) ณ เมรุวัดหัวลำโพง วันที่  ๒๕  เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๗                      เรื่องเสด็จประพาสต้นนี้ มีความว่า ในการเสด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในพระราชอาณษเขตนั้น บางคราวก็เสด็จไปเพื่อทรงตรวงจัดการปกครอง จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการ บางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถไม่โปรดให้จัดการรับเสด็จเป็นทางราชการที่เรียกว่า “เสด็จประพาสต้น”            


ชื่อเรื่อง : สังข์ศิลป์ชัย กลอนสวด ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2512 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : คุรุสภาพระสุเมรุ จำนวนหน้า : 478 หน้า สาระสังเขป : กลอนสวดเรื่องสังข์ศิลป์ชัยเล่มนี้ พิมพ์แจกในงานกฐินพระราชทาน ณ วัดป่าโมก มีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติวัดป่าโมก คำจารึกแผ่นศิลาในวิหารพระพุทธไสยาสน์ และกลอนสวดเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ซึ่งเป็นกลอนสวดที่มีความใกล้ชิดกับคนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะในการหัดให้เด็กอ่านออกเขียนได้ และการชักจูงใจคนให้เลื่อมใสในหนังสือ และพุทธศาสนา 


โบราณสถานเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี.  จิราพร กิ่งทัพหลวง.โบราณสถานเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี.จันท์ยิ้ม.(3):3;.กุมพาพันธ์-มีนาคม 2561           เมืองเพนียดหรือเมืองกาไว เป็นเมืองโบราณในจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ ตําบลคลองนารายณ์ อําเภอเมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี เชิงเขาสระบาปติดลําน้ําสาขาซึ่งไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย ลักษณะผังเมืองคล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีคันดินล้อมรอบ พื้นที่ราว ๑,๖๐๐ ไร่ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘           พบหลักฐานสําคัญ อาทิ กลองมโหระทึก จารึก จํานวน ๓ หลัก คือ ๑. จารึกวัดทองทั่ว - ไชยชุมพล (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ๒. จารึกเพนียด ๑ (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕) และ ๓. จารึกเพนียด ๕๒ (อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕) และหลักฐานมากมาย เช่น พระหริหระ แบบพนมดา (อายุราว พ.ศ. ๑๐๘๐-๑๑๕๐) ทับหลังในสมัยต่างๆ โดยเฉพาะ แบบถาลาบริวัต (พ.ศ. ๑๑๕๐) ซึ่งเป็นลักษณะทางด้านศิลปกรรมของ วัฒนธรรมเขมรโบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียอันเก่าแก่ที่สุด ในประเทศไทย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ แสดงให้เห็นว่า เมืองเพนียด เป็นเมืองท่าในวัฒนธรรมเขมรที่ใกล้ชิดกับอินเดีย และเป็นชัยภูมิสําคัญ ที่เชื่อม อารยธรรมจากต่างถิ่นเข้าสู่พื้นที่ตอนในแผ่นดิน การสํารวจพบเมืองเพนียดโดยสํานักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๖ ต่อมากรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๗๘ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๕ สํานักโบราณคดี และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๔ ปราจีนบุรี หรือสํานักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรีในปัจจุบัน ได้ดําเนินงานโบราณคดี และบูรณะโบราณสถาน ด้านทิศเหนือ หรือคเพนียด ลักษณะเป็นสระน้ํารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๒ สระ แต่ละสระมีขนาด กว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร กรุด้วยศิลาแลง มี บันไดทางขึ้น น่าจะสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อายุ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สํานักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ดําเนินการสํารวจทําแผนผังและขุดค้นโบราณสถาน เมืองเพนียดบริเวณคันดิน เมืองโบราณเพนียด พบหลักฐานโบราณวัตถุชิ้นสําคัญ คือ พวยภาชนะ ดินเผา แบบทวารวดี ซึ่งการพบหลักฐานดังกล่าวถือเป็นข้อมูลใหม่ จากเดิมที่ส่วนใหญ่ปรากฏเพียงหลักฐานแบบ วัฒนธรรมเขมรโบราณ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ กรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณบูรณะ โบราณสถานฉุกเฉินเร่งด่วน เพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเพนียด รวมทั้ง ปรับสภาพภูมิทัศน์โดยเฉพาะบริเวณบารายโบราณสถานเพนียดอย่าง เร่งด่วน เพื่อเพิ่มข้อมูลทางวิชาการและรักษาโบราณสถานสําคัญให้มี ความมั่นคงแข็งแรง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในภาคตะวันออก ของประเทศไทยเชื่อมโยงในระดับนานาชาติเพิ่มความสามารถในการดึงดูด ให้สาธารณชนเดินทางมาท่องเที่ยว สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อไป


  เอกรัฐ  คำวิไล.  วัคซีนไข้เลือดออก.  จันท์ยิ้ม.  2,(3) :24 ;  ก.พ. -มี.ค. 2560.             เนื้อหาภายในเล่มกล่าวถึง  เรื่องไข้เลือดออกที่สร้างความสูญเสียต่อ เศรษฐกิจและสังคม อย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยมีสาเหตุมาจากยุงลาย  และวันนี้ชาวจังหวัดจันทบุรีได้มีโอกาสรับวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคไข้เลือดออก พร้อมกับคนไทยทั้งประเทศ  กับนวตกรรมที่ถูกคิดค้นจากความร่วมมือของหลายประเทศ โดยวัคซีนตัวนี้จะมี ไวรัสสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ DENV ( Dengue Virus) 1. DENV2. DENV 3. และ DENV 4.  ประกอบอยู่ในวัคซีนเพียงเข็มเดียว  มีประสิทธิ์ภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 66.6 %   ลดความรุนแรงของโรคได้  93.2 %   ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้ 80.8 %   สามารถฉีดวัคซีนได้ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 9 ขวบ ไปจนถึง 45 ปี  แต่เมื่อฉีดไปแล้ว อาจจะมีอาการข้างเคียงหลังการฉีดบ้าง  ได้แก่ ปวดศรีษะ มีไข้ต่ำๆ ผิวหนังแดง  เป็นต้น


เรื่องไม่ลืมวัดท่าโพธิ์.  พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2495.             เรื่องไม่ลืมวัดท่าโพธิ์ เรื่องราวเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตช่วงที่ผู้เขียนเป็นศิษย์วัดอยู่ที่วัดท่าโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อธิบายถึงการปกครองเด็กที่เข้ามาอยู่ในวัดท่าโพธิ์ การกินอยู่ และด้านการศึกษาเล่าเรียน






           นอกจากประติมากรรมรูปหงส์ดินเผาแล้ว (อ่านเพิ่มเติมได้ที่องค์ความรู้ เรื่อง ประติมากรรมดินเผารูปหงส์จากโบราณสถานวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร) เมืองกำแพงเพชรยังพบประติมากรรมรูปหงส์สำริดลงรักปิดทองที่ใช้ประดับบนยอดเสา โดยมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนหัวมีหงอนสลักลายไทยพลิ้วลู่ลม ลำคอยาวระหง ลำตัวสลักลวดลายเลียนแบบลายของลำแพนหางนกยูง ปีกแผ่กว้าง หางสลักลายกระหนกเปลวอย่างอ่อนช้อย สง่า งดงามทั้งลำตัว ยืนบนฐานบัวหงายซ้อนกลีบอย่างประณีต           หงส์เป็นสัตว์ในจินตนาการและสัตว์ชั้นสูงที่มักปรากฏในวรรณคดี ตำนาน รวมทั้งคติความเชื่อในพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู สมัยโบราณอาจใช้ห้อยโคมไฟตามทางด้านหน้าอุโบสถของวัดสำคัญและในวัง หรืออาจใช้แขวนตุง (ธง) ซึ่งมักพบอยู่ตามวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้คงมีคติในการสร้างเพื่อถวายวัดเป็นพุทธบูชา โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดอานิสงส์ผลบุญแก่ผู้สร้างถวายเอง และยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว           ประติมากรรมรูปหงส์ประดับบนยอดเสาที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ วัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี วัดปราสาท ตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และวัดอัมพาพนาราม (วัดวังไทร) ตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง ซึ่งหงส์ประดับยอดเสาของวัดอัมพาพนารามได้จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร โดยพระครูบาน บุญญโชโต เจ้าอาวาสวัดอัมพาพนารามขณะนั้น มอบให้เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๓๕ กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ ศิลปะรัตนโกสินทร์ -------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร -------------------------------------บรรณานุกรม- กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์. การศึกษาเรื่องหงส์จากศิลปกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๕๐. - ศิลปากร, กรม. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.


          แหล่งโลหกรรมสมัยโบราณ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า มีแหล่งโบราณคดีประเภทแหล่งเตาภาชนะดินเผาสำคัญ ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ อีกทั้งมีแหล่งตัดหินทรายสำคัญที่ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง รวมไปถึงปราสาทหินต่างๆ ที่พบในแถบพื้นที่ใกล้เคียง แต่น้อยคนที่จะทราบว่าในพื้นที่อำเภอบ้านกรวดนั้นยังมีความสำคัญในฐานะแหล่งผลิตเหล็กขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย รวมทั้งเป็นแหล่งผลิตเหล็กที่ไม่ใช้แร่เหล็กตามธรรมชาติ แต่เป็นการใช้เม็ดแลง (Laterite) ที่พบได้มากในพื้นที่อำเภอบ้านกรวดเท่านั้น           การศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่บ้านกรวด เริ่มขึ้นเมื่อพ.ศ. 2530 ในโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยกองโบราณคดี ได้สำรวจพบว่าในพื้นที่ของอำเภอบ้านกรวดมีเนินดินรูปร่างไม่สม่ำเสมอตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านเขาดินใต้ รวมถึงโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับการถลุงเหล็ก ได้แก่ ตะกรันจากการถลุงเหล็ก ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วผิวดิน จึงทำให้เริ่มทราบกันว่าบ้านเขาดินใต้เป็นแหล่งโบราณคดีประเภทแหล่งถลุงเหล็กสมัยโบราณแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ณัฏฐภัทร จันทวิช : 2532) รวมถึงในระหว่าง พ.ศ.2532 -2535 โครงการศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการถลุงเหล็กและการผลิตเกลือโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่าง ศาสตราจารย์อิจิ นิตตะ มหาวิทยาลัยคาโกชิมา ประเทศญี่ปุ่น รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลิต ชัยครรชิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ชลิต ชัยครรชิต 2540 : 35) ได้สำรวจร่องรอยการถลุงเหล็กในพื้นที่เนินดินทางทิศใต้ของหมู่บ้านเขาดินใต้ เป็นเนินดินที่เกิดจากการทับถมของตะกรันจากการถลุงเหล็ก            ต่อมาใน พ.ศ.2548 โครงการวิจัยเรื่องการค้นหาและพัฒนาสารสนเทศภูมิศาสตร์ของถนนสมัยโบราณสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งมี พอ.ผศ.ดร.สุรัตน์ เลิศล้ำ และ ผศ.ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับ นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน จากกรมศิลปากร และ รศ.ดร.สุรพล นาถะพินถุ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ทำการสำรวจเพิ่มเติมที่แหล่งถลุงเหล็กสมัยโบราณ รวมทั้งแหล่งเตาเผาภาชนะดินเผาสมัยโบราณที่กระจายตัวอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด ซึ่งผลจากการสำรวจนี้ได้ค้นพบและระบุแหล่งโลหกรรมในเขตพื้นที่อำเภอบ้านกรวดได้ถึง 67 แหล่ง (สุรัตน์ เลิศล้ำ และคณะ : 2550 – 2551 : 22)            ในปีพ.ศ.2550 และ พ.ศ.2551 โครงการวิจัยเรื่องการค้นหาและพัฒนาสารสนเทศภูมิศาสตร์ของถนนโบราณสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระยะที่สอง ได้ทำการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งถลุงเหล็กสมัยโบราณบ้านเขาดินใต้ จำนวน 2 ครั้ง และทำการขุดค้นที่แหล่งถลุงเหล็กสมัยโบราญบ้านสายโท 7 ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด ในปีพ.ศ. 2553 โดยนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำเนินงาน ซึ่งผลการวิเคราะห์ตัวอย่างเพื่อหาค่าอายุจากแหล่งโลหกรรมที่บ้านเขาดินใต้ กำหนดอายุได้ราว 200 AD หรือราว 1,800 ปีมาแล้ว (Pira Venunan:2015) โดยเป็นการถลุงเหล็กโดยใช้ Laterite เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเหล็กของพื้นที่            ในเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2563 ได้มีการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านหนองจิก ในเขตตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด ในโครงการศึกษารูปแบบภาชนะดินเผาเพื่อบรรจุภัณฑ์ในวัฒนธรรมเขมร โดย ดร.ภัคพดี อยู่คงดี ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมศิลปากร และคณะ ก็ได้พบร่องรอยหลักฐานของการถลุงเหล็กในพื้นที่ดำเนินงานเช่นกัน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาวิเคราะห์และการหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์           เป็นที่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันในพื้นที่อำเภอบ้านกรวด เนินดินซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเนินเตาถลุงเหล็ก และเตาเผาภาชนะดินเผาหลายแห่งที่เคยสำรวจพบ ได้ถูกทำลายลง เนื่องจากการเติบโตของชุมชน และความต้องการขยายพื้นที่เกษตรกรรม ภาพซากเตาถลุงเหล็กจากแหล่งโบราณคดีบ้านเขาดินใต้ อำเภอบ้านกรวด ตัวอย่างเนินดินซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเนินเตาถลุงเหล็กแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านกรวด ซึ่งกำลังจะถูกทำลายลง---------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : อิสราวรรณ อยู่ป้อม นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี---------------------------------------



✦ประวัติเมืองบางพาน✦ . “เมืองบางพาน” ตั้งอยู่ที่บ้านวังพาน ตำบลเขาคีรีส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนโบราณที่มีลักษณะเมืองค่อนข้างกลม มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ๓ ชั้น ภายในเมืองพบซากโบราณสถานขนาดเล็ก มีสภาพเป็นกองศิลาแลง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองมีเขานางทอง บนยอดเขามีซากโบราณสถานและฐานพระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม . ภายในเมืองบางพานแม้ว่าจะพบซากโบราณสถานขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของเมือง แต่ความสำคัญของชุมชนแห่งนี้คือ เป็นเมืองที่อยู่บนเส้นทางคมนาคมที่ติดต่อกับกรุงสุโขทัยและเมืองอื่นได้สะดวก ตลอดจนเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางที่ราบลุ่มซึ่งเพาะปลูกได้ผลดี ด้วยเหตุนี้ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลักจึงกล่าวถึงชื่อเมืองแห่งนี้ . ศิลาจารึกหลักที่ ๒ (จารึกนครชุม) กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง บ้านเมืองในแคว้นสุโขทัยเกิดความแตกแยก เมืองสำคัญอย่างเมืองเชียงทอง เมืองคณฑี เมืองบางพาน เมืองพระบาง ต่างแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย จนพระมหาธรรมราชาลิไทขึ้นครองราชย์ จึงได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง และให้ความสำคัญของเมืองบางพานเอาไว้เทียบเท่ากับเมืองใหญ่ ๆ ในยุคนั้น ด้วยการจำลองรอยพระพุทธบาทมาประดิษฐานไว้บนยอดเขานางทอง พร้อมกับเมืองอื่น ๆ อีกสามแห่งคือ เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองพระบาง (นครสวรรค์) . เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชจากลังกาทวีปให้มาจำพรรษา ที่กรุงสุโขทัยใน พ.ศ. ๑๙๐๔ ตามที่ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงนั้น พระมหาสามีสังฆราชได้เดินทางบกจากเมืองฉอด ผ่านเมืองเชียงทอง เมืองบางจันทร์ เมืองบางพาน ถึงเมืองสุโขทัย . ปลายรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) พระองค์เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏพร้อมกับชาวเมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมืองบริวารของสุโขทัย ซึ่งรวมทั้งเมืองบางพานด้วย . นอกจากจารึกสมัยสุโขทัยที่กล่าวถึงเมืองบางพานแล้ว ยังมีจารึกฐานพระอิศวร (พ.ศ. ๒๐๕๓) ที่กล่าวถึงพระยาศรีธรรมมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้สั่งให้มีการขุดลอกท่อปู่พระยาร่วงเพื่อนำน้ำจากแม่น้ำปิงเมืองกำแพงเพชรไปช่วยการทำนาที่เมืองบางพาน หลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า เมืองพานน่าจะเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ไม่เช่นนั้นคงไม่มีการซ่อมแซมท่อปู่พระยาร่วงเพื่อให้ส่งน้ำไปยังเมืองบางพาน


        เตาที่ใช้เผาเครื่องสังคโลกที่พบจากเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิดคือ   "เตาประทุน" เป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวนอน ลักษณะเตามีรูปร่างรี พื้นเรียบแบน ก่อหลังคาโค้งบรรจบกันคล้ายประทุนเรือ จึงเป็นที่มาของชื่อ “เตาประทุน” มักวางตัวลาดเอียงจากส่วนหน้าขึ้นไปยังส่วนท้ายประมาณ ๑๐ - ๓๐ องศา ส่วนประกอบของเตาประทุนแบ่งเป็น ห้องใส่ไฟ อยู่ส่วนหน้าในระดับต่ำที่สุด ตอนหน้ามีช่องใส่ไฟเจาะเป็นช่องโค้งรูปเกือกม้า ถัดมาเป็น ห้องบรรจุภาชนะ อยู่บริเวณตอนกลางเตา เป็นส่วนที่กว้างที่สุดและลาดเทจากส่วนหน้าเตาไปยังปล่องไฟ บนพื้นมักโรยทรายหนาประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร เพื่อใช้ฝังกี๋ท่อสำหรับรองรับภาชนะ และ ปล่องไฟ เป็นส่วนสุดท้ายของเตามีรูปร่างกลม ที่มาของภาพ : กลุ่มเตาเผาสังคโลกหมายเลข ๖๑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย   ส่วน "เตาตะกรับ" เป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวดิ่ง ลักษณะเตามีรูปร่างกลม ส่วนประกอบของเตาตะกรับมีอยู่ ๒ ส่วนคือ ห้องบรรจุภาชนะ อยู่ตอนบนสุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ เมตร ใช้วางภาชนะที่จะเผาแล้วใช้เศษภาชนะดินเผาวางสุมทับด้านบนอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้ความร้อนไหลผ่านกลุ่มภาชนะได้ช้าลงและ ห้องใส่ไฟ เป็นบริเวณใส่เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นสู่ด้านบนมักมีช่องใส่เชื้อเพลิงยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อใส่เชื้อเพลิงได้สะดวกและกันความร้อนในเตาให้ไหลสู่ด้านบนได้มากขึ้น ระหว่างห้องบรรจุภาชนะและปล่องไฟจะมีแผ่นดินเหนียวกลมหนาประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ - ๑๐ เซนติเมตร จำนวนมากคั่นอยู่ เรียกว่า “แผ่นตะกรับ” ทำหน้าที่ให้ความร้อนไหลผ่านจากด้านล่างสู่ห้องบรรจุภาชนะด้านบนมักวางอยู่บนค้ำยันที่ทำจากดินเหนียวอยู่เบื้องล่างภายในพื้นที่ห้องใส่ไฟ ที่มาของภาพ : กลุ่มเตาเผาสังคโลกหมายเลข ๖๑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย



Messenger