ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เลขหมู่ 923.1593 จ657ดปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรมรถไฟ ปีที่พิมพ์ 2493ลักษณะวัสดุ 79 หน้า หัวเรื่อง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค), สมเด็จเจ้าพระยา ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์, พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง ปรีดา (ก๊กโป๊) วีรเปรม ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อก่อนเสวยราชย์ ประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
เที่ยวเพลินเดินชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : รู้จักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ตอนที่ ๒ โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ได้จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เป็นจำนวนมาก วันนี้จึงได้ยกตัวอย่างโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จำนวน ๕ รายการ ซึ่งสามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.
เลขทะเบียน : นพ.บ.112/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5.4 x 55.3 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 63 (192-196) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : 8 หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.143/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 86 (346-361) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺปฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม
พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง
พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรม ยืนแบบสมภังค์ (ยืนตรง) อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปนเหลือบลงต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา อมยิ้มเล็กน้อย พระกรรณยาว ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรบางแนบพระวรกาย ปรากฏจีวรตกจากข้อพระกรซ้ายทิ้งชายลงเบื้องหน้า ขอบสบงยาวถึงข้อพระบาท พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้นยึดชายจีวรระดับบั้นพระองค์
พระพุทธรูปยืนหย่อนพระชานุขวา ยื่นฝ่าพระบาทขวาออกมาหน้าฝ่าพระบาทซ้ายเล็กน้อย ต่างจากพระพุทธรูปสมัยทวารวดีโดยทั่วไปที่มักยืนตรง และพระบาททั้งสองข้างวางเสมอกัน ทั้งนี้อาจคลี่คลายจากการยืนแบบตริภังค์ของพระพุทธรูปซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่ลักษณะของพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นแบบพื้นเมืองทวารวดีอย่างแท้จริงแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
พระพุทธรูปยืนสมัยทวารวดีที่ครองจีวรห่มเฉียง พบได้น้อยมากเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปครองจีวรห่มคลุม และไม่ปรากฏในพระพุทธรูปขนาดใหญ่สลักด้วยหิน แต่พบเฉพาะในกลุ่มพระพุทธรูปสำริด และพระพิมพ์ พระพุทธรูปในกลุ่มนี้มักจะแสดงวิตรรกมุทราด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวรในระดับบั้นพระองค์หรือปล่อยลงข้างพระวรกาย พบทั้งที่ยืนตริภังค์และยืนสมภังค์
นอกจากพระพุทธรูปสำริดองค์นี้แล้ว ที่เจดีย์หมายเลข ๓ ยังพบพระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรมครองจีวรห่มเฉียงอีกองค์หนึ่ง รวมทั้งพระพุทธรูปสำริดปางแสดงธรรมครองจีวรห่มเฉียง จากเจดีย์หมายเลข ๒ และ เจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.12/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : คู่มือสนทนาภาษาจีนกลาง – แต้จิ๋ว ชื่อผู้แต่ง : วายจิง เจ ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี สำนักพิมพ์ : หจก.เกษมบรรณกิจ จำนวนหน้า : 416 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทสนทนาไว้อย่างกว้างขวาง ทุกประโยค และ สำนวนล้วนเป็นภาษาพูดอย่างง่ายๆ ซึ่งใช้กันเป็นประจำวัน ท่านจะนำไปใช้ในการทัศนาจร หรือในวงการค้า ตลอดจนในวงสังคมทุกแห่ง ก็คงจะอำนวยผลประโยชน์อย่างมาก นอกจากบทสนทนา ซึ่งมีอยู่ 41 บท ยังได้รวบรวมคำศัพท์ประเภทต่างๆ ไว้อีกมากมาย เพื่อนักศึกษาจะได้เลือกใช้ในโอกาสสมควร
พระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธรูปปางแสดงธรรม จำนวน ๒ ชิ้น พบจากเจดีย์หมายเลข ๒๑ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพิมพ์ดินเผา ชิ้นที่ ๑ กว้าง ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๖.๗ เซนติเมตร ส่วนล่างชำรุดหักหายไป และชิ้นที่ ๒ กว้าง ๖ เซนติเมตร ยาว ๗ เซนติเมตร ส่วนบนชำรุดหักหายไป จากหลักฐานที่หลงเหลือ เมื่อนำมาศึกษาร่วมกัน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพระพิมพ์ทั้ง ๒ ชิ้น น่าจะสร้างขึ้นจากแม่พิมพ์รูปแบบเดียวกัน เป็นภาพพระพุทธรูปประทับบนบัลลังก์ พระพักตร์กลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา พระกรรณยาวจรดพระอังสา มีประภามณฑลเป็นวงโค้งรอบพระเศียร พื้นที่ภายในประภามณฑลและขอบนอกประดับด้วยลวดลายเปลวไฟ เห็นขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอังสา แสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา นั่งขัดสมาธิราบอย่างหลวม ๆ โดยพระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย เห็นฝ่าพระบาทขวา บัลลังก์ที่มีฐานรูปสี่เหลี่ยมประดับด้วยเสาติดผนังแบ่งฐานออกเป็นช่อง มีพนักอยู่ด้านหลัง
ลักษณะการทำประภามณฑลซึ่งประดับด้วยลวดลายเปลวไฟ และบัลลังก์ที่มีฐานรูปสี่เหลี่ยมประดับเสาติดผนังซึ่งปรากฏบนพระพิมพ์นี้ แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบปาละ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ หรือประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ทั้งนี้รูปแบบพระพักตร์ การแสดงวิตรรกะมุทรา ท่านั่งขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ เป็นรูปแบบที่นิยมและปรากฏในพระพุทธรูปรวมทั้งพระพิมพ์ศิลปะทวารวดี จึงกำหนดอายุพระพิมพ์รูปแบบนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)
อนึ่ง พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิแสดงวิตรรกะมุทราด้วยพระหัตถ์ขวา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาหรือยกขึ้นยึดชายจีวรเสมอบั้นพระองค์ เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในพระพุทธรูปสมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูปสำริด พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง จำนวน ๓ องค์ และยังพบพระพุทธรูปที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ที่เมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ ได้แก่ ภาพพระพุทธรูปบนแผ่นเงินดุนนูน จากเมืองคันธารวิสัย จังหวัดมหาสารคาม และพระพุทธรูปในภาพสลักบนใบเสมาเล่าเรื่องพุทธประวัติจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. พระพุทธรูปอินเดีย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.
ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน: กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. “พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
ประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองประติมากรรมดินเผารูปคชลักษมี สูงประมาณ ๘ เซนติเมตร ตรงกลางเป็นรูปพระลักษมี เกล้าพระเกศา พระพักตร์กลม พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา แย้มพระสรวล ทรงกุณฑลทรงกลมและกรองศอ พระหัตถ์ทั้งสองทรงถือก้านดอกบัวตูมยกขึ้นในระดับพระอุระ นั่งขัดสมาธิราบ มีช้างขนาบสองข้าง ส่วนศีรษะช้างหักหายไป สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปช้างชูงวงถือหม้อน้ำเพื่อรดน้ำอภิเษกพระลักษมี รองรับด้วยฐานทรงกลมตกแต่งด้วยลายกลีบบัว กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) สันนิษฐานว่า อาจใช้เป็นฝาจุกภาชนะ หรือประดิษฐานเพื่อการเคารพบูชา หรือใช้เป็นเครื่องรางสำหรับติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง คชลักษมีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ มีที่มาจากคติการบูชาเพศหญิงซึ่งเป็นเพศผู้ให้กำเนิด ส่วนช้างเป็นสัตว์มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของเมฆฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชพันธุ์เจริญงอกงาม คชลักษมีจึงเป็นสัญลักษณ์มงคลที่ปรากฏทั้งในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “มายาเทวี” หมายถึงพุทธประวัติตอนประสูติของพระพุทธเจ้า ส่วนในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เรียกว่า “คชลักษมี” หมายถึงการรดน้ำอภิเษกแก่พระลักษมีซึ่งเป็นชายาของพระวิษณุ นอกจากประติมากรรมคชลักษมีชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปคชลักษมีรูปแบบอื่นๆ ในเมืองโบราณสมัยทวารวดี เช่น แผ่นดินเผารูปคชลักษมีสำหรับการเจิมในการทำพิธีการทางศาสนาของพราหมณ์ และคชลักษมีประดับที่ส่วนล่างของธรรมจักร พบที่เมืองนครปฐมโบราณ เครื่องรางดินเผารูปคชลักษมีและท้าวกุเวร ซึ่งอาจใช้เป็นเครื่องรางสำหรับพกติดตัวของพ่อค้าหรือนักเดินทาง พบที่เมืองซับจำปา จังหวัดลพบุรี เป็นต้น โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในสมัยทวารวดี คชลักษมี เป็นรูปเคารพตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู โดยมีความหมายร่วมกันคือ ความมีโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงอาจถูกใช้เป็นเครื่องรางด้วย ------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง :กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. รูปแบบและความเชื่อของงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระศรี-ลักษมีที่พบใน ประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. มรดก 1,000 ปี เก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ชื่อเรื่อง วินยธรสิกฺขปท (สิกขาบท)
สพ.บ. 390/8
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
พระวินัยปิฎก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 56 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55.5 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี