ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

หมวดหมู่                        พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    58 หน้า : กว้าง 5.3 ซม. ยาว 56.2 ซม.อักษร                            ขอมฉบับ                              ล่องชาดได้รับบริจาคจากวัดท่าแค


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : คณะกรรมการ พอ.สว. พะเยา -- ทราบไหมว่า จังหวัดพะเยามีคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีประจำจังหวัด ? แล้วทราบไหมว่า คณะกรรมการมีหน้าที่อะไรบ้าง ?. มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรืออักษรย่อ " พอ.สว. " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อรวมกลุ่มอาสาสมัครทางการแพทย์ สาธารณสุข และสาขาวิชาชีพต่างๆ เป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการตรวจรักษาประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ เป็นงานสาธารณประโยชน์ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือธุรกิจแต่อย่างใด. จังหวัดพะเยานับแต่ยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2520 มีการดำเนินงานของมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเรื่อยมา โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำจังหวัดสำหรับบริหารและประสานงานกับสำนักงานมูลนิธิฯ ในส่วนกลางสม่ำเสมอ. หนึ่งในเอกสารจดหมายเหตุชุดสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ปรากฏเอกสารราชการเรื่อง " เชิญประชุมคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยา " เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2533 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัด ทำให้ทราบว่าขณะนั้นมีคณะกรรมการจำนวน 24 คน ที่สำคัญได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุข ศึกษาธิการ เกษตรจังหวัด ผู้บังคับการทหาร ตำรวจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำเภอต่างๆ และนายกเหล่ากาชาด. ทั้งนี้คณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยามีหน้าที่ 12 ประการ โดยสรุปคือ - จัดทำแผนการปฏิบัติงานในหน้าที่ - ประสานงานอำนวยความสะดวกการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และกิจกรรมอื่นๆ ของสำนักงานมูลนิธิ พอ.สว. - ส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลที่เหมาะสม - จัดหาทุนทรัพย์สนับสนุนการดำเนินงานแพทย์อาสา - ประเมินผลการปฏิบัติงาน - ประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จักแก่การสาธารณกุศล ไม่ใช่องค์กรธุรกิจเป็นต้น. อย่างไรก็ตาม เอกสารจดหมายเหตุดังกล่าวมีเนื้อหาการเชิญประชุมและคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยาเท่านั้น น่าเสียดายที่ไม่มีรายงานการประชุมร่วมด้วย เพราะจะเข้าใจรายละเอียดอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิฯ มากขึ้น. แต่กระนั้น เพียงเอกสารเท่าที่มีก็เป็นหลักฐานยืนยันการทำกิจกรรมของคณะกรรมการ พอ.สว.จังหวัดพะเยา บ่งบอกถึงการบริหารงานสาธารณประโยชน์ เพื่อให้ " เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา " ต่อไป ซึ่งปัจจุบันต้องใช้คำว่า มี " จิตอาสา " อย่างแท้จริง.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13/2 เรื่อง การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์อาสาบรมราชชนนีจังหวัดพะเยา [ 8 - 14 ก.พ. 2533 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ



ชื่อเรื่อง                    สพ.ส.87 จีนศุก (สุก) ร้องเรียนขอความเป็นธรรมประเภทวัสดุ/มีเดีย       สมุดไทยดำISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                  กฎหมายลักษณะวัสดุ              32; หน้า : ไม่มีภาพประกอบหัวเรื่อง                    กฎหมาย                 ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก                   ประวัติ   -



วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๗ ครบรอบ ๓๙ ปีวันคล้ายวันก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี .......................................... พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เริ่มก่อตั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ เพื่อให้เป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ค้นพบในภูมิภาคตะวันออก ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๘ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในคราวนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้บริเวณด้านหน้าของอาคารจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้ คณะข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ต่างน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีตราบจนทุกวันนี้


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ เรื่อง "พรรณพฤกษา ลวดลายปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมเมืองศรีสัชนาลัย "     เมืองศรีสัชนาลัยพบการประดับตกแต่งโบราณสถานด้วยปูนปั้น เป็นลวดลายต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในลวดลายที่พบ คือ ลวดลายพรรณพฤกษา ดังปรากฏหลักฐานที่วัดนางพญา บริเวณผนังวิหารด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้  และวัดยายตา บริเวณผนังมณฑปประธานด้านหน้าและด้านหลัง      หลักฐานทางโบราณคดีทำให้เราทราบว่า วัดนางพญาคงจะถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ประธาน วิหาร แผนผัง และลวดลายปูนปั้นที่มีการผสมผสานระหว่างศิลปะอยุธยา ศิลปะล้านนา และศิลปะจีน นอกจากนี้ พบว่า ลวดลายพรรณพฤกษาที่วัดยายตา มีความคล้ายคลึงกับลวดลายปูนปั้นวัดนางพญาเป็นอย่างมาก สันนิษฐานว่า ลวดลายปูนปั้นทั้ง ๒ วัดนี้ อาจจะถูกสร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันก็เป็นได้     ลวดลายพรรณพฤกษามีลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อยที่มีกิ่งก้านแตกแยกแขนงกันออกไป ตามแนวของก้านเถาจะออกลายส่วนใหญ่เป็นใบไม้ ในบางเถาจะมีลายดอกไม้ประกอบอยู่ส่วนปลาย ซึ่งดอกไม้ และใบไม้ที่ปรากฏอยู่ในลวดลายพรรณพฤกษาจะมีลักษณะใกล้เคียงกับธรรมชาติ มีหลายรูปแบบ และมีความคล้ายคลึงกับลวดลายที่เขียนประดับบนเครื่องถ้วยจีน โดยเฉพาะในเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒   ซึ่งความนิยมลวดลายในวัฒนธรรมจีนมีอยู่มากในศิลปะล้านนา      การประดับปูนปั้นลวดลายพรรณพฤกษา ทำให้เราเห็นอิทธิพลศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่เข้ามาสร้างแรงบันดาลใจให้กับช่างสมัยสุโขทัยอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ หลักฐานที่ปรากฏยังสอดคล้องกับช่วงเวลาที่ระบุในพงศาวดารว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จยกทัพมายังเมืองเชียงชื่น (ศรีสัชนาลัย) เพื่อชิงเมืองคืนจากพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาบรรณานุกรมภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. โบราณสถานกับความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑.สันติ เล็กสุขม. ความสัมพันธ์ จีน – ไทย โยงใยในลวดลายประดับ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๐.สุรพล ดำริห์กุล. ลายคำล้านนา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๔.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย. รายงานการตรวจสอบสภาพโบราณสถานในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประจำปี ๒๕๕๘. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, ๒๕๕๘.


#ผีในล้านนาเรื่องผีนั้นมีอยู่ทั่วทุกที่ ในล้านนาเองก็มีเรื่องเล่าถึงผีที่หลากหลาย ทั้งผีบรรพบุรุษ ผีที่คุ้มครองสถานที่ต่างๆ ผีที่สถิตย์ตามที่ต่างๆ วันนี้แอดเลยยกตัวอย่างมาให้อ่านเล่นๆ ช่วงใกล้เทศกาลผีๆ อย่าง #ฮาโลวีน หรือจะแวะมาอ่านเรื่องผี มีทั้งหนังสือการ์ตูน นวนิยาย และเรื่องผีอื่นๆ ได้ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เลยค่ะผีปู่หละหึ่งปู่หละหึ่ง เป็นชื่อบุคคลในนิทานพื้นบ้านชาวยองและชาวลื้อที่เล่าสืบต่อกันมา ถึงชายร่างใหญ่โตสูงเสียดฟ้า ครั้งหนึ่งเมื่อจะสร้างดอยหนอกวัวที่อำเภอลี้ ปู่หละหึ่งได้กอบดินจากดอยอินทนนท์ไปสร้างโดยไม่ได้ก้าวขา ดินบางส่วน ที่หลุดลอดจากมือตกลงไปกลายเป็นดอยน้อย ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยน้อย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ผีตามอย ผีตามอย มีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นผี ที่อาศัยอยู่ในเขตชุมชน ผีชนิดนี้จะชอบเลียก้นคนที่ไปถ่ายอุจจาระ เพราะในสมัยก่อนคนมักไปนั่งถ่ายอุจจาระบนขอนไม้ ซึ่งถ้าถูกผีตามอยเลียก้นจะทำให้เจ็บไข้ไม่สบาย ผีตามอยอีกชนิดหนึ่ง เป็นผีที่ชอบจับหนุ่มสาวมาเป็นผัวเมีย ว่ากันว่า หากผีตามอยหมายปองคนใดแล้ว เพียงแค่คลาดสายตาเท่านั้น ผีก็จะเอาตัวคนไปได้แล้ว ผีโพรงผีโพรง คิอ ผีชนิดหนึ่งจะสิงอยู่ในคนเพศหญิง ชอบกินของคาว เช่น คาวเลือด คาวปลา และ คาวจากเขียด ผีโพรงมีแสงที่จมูกสีขาวอมเขียว บ้างว่าเป็นสีแดง ยามกลางคืนจะออกหากินตาม ทุ่งนา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน หากใครพบเจอ ผีโพรงห้ามเข้าใกล้ หากเห็นหน้าแล้วรู้จักก็ ห้ามทัก หรือเอาไปพูดว่าใครเป็นผีโพรง เพราะอาจถูกผีโพรงอาฆาตและทำร้ายได้ผีปกกะโหล้ง ผีปกกะโหล้ง เป็นผีที่อยู่ตามป่าตามเขา ร้องเสียงดังปก ๆ ปกกะโหล้ง มักปรากฏตัวเป็นคนแก่ผมเผ้าหนวดเครายาวรุงรัง เมื่อมีเด็กคนใดแอบหนีเที่ยวป่าคนเดียวมักจะเจอผีปกกะโหล้ง บังคับให้เด็กไซ้เห็บเหาในเส้นผมและหนวดเครา ซึ่งแท้จริงแล้วเห็บเหาที่บอกนั้น เป็นบรรดาสัตว์เลื้อยคลาน มีพิษ น่าเกลียดน่ากลัวต่างๆ เช่น ตะเข็บ ตะขาบ แมงป่อง เป็นต้น หากเด็กคนใดกล้าหาญไซ้ผมให้จนมันพอใจ ผีปกกะโหล้งจะให้เข็มทองเล่มหนึ่ง แต่หากเด็กคนใดขี้กลัวหรือวิ่งหนี ผีปกกะโหล้งจะจับฉีกแข้งฉีกขา ล้วงกินตับไตจนหมดผีม้าบ้องผีม้าบ้อง อยู่ในจำพวกผีกละ คือเมื่อผีกละมีอิทธิฤทธิ์มากก็อาจแปลงเป็น ผีม้าบ้องได้ โดยมีคำบรรยายเกี่ยวกับลักษณะผีม้าบ้องคือท่อนบนเป็นคน แต่ท่อนล่างเป็นม้าสีดำตัวสูงใหญ่ ตาลุกแดง แต่ส่วนใหญ่ไม่มีใครเคยเห็น ชัดเจน มักได้ยินเพียงเสียงเหมือนม้าเหยาะย่าง หรือวิ่งควบอย่างรวดเร็ว และมักวิ่งเข้าออกซอกซอยแคบๆ เท่านั้น ผีม้าบ้อง ชอบกินอาหารที่มีกลิ่นคาว เช่น เลือดสัตว์ คาวเลือดทารก ซากสัตว์ โครงกระดูกวัวควาย เเละไข่ดิบ เวลากินอาหาร ผีม้าบ้องใช้ลิ้นเลียอาหาร และเมื่อพบสถานที่ที่มีอาหารก็จะจดจำสถานที่นั้นไว้ หากหิวจะได้กลับมากินอีกผีปู่แสะย่าแสะเรื่องของผีปู่แสะย่าแสะ ปรากฏในตำนานเชียงใหม่ปางเดิม และตำนานวัดดอยคำ และเป็นเรื่องเล่าในบริเวณเชิงดอยสุเทพ กล่าวกันว่า เดิมผีปู่แสะย่าแสะเป็นผีบรรพบุรุษของพวกลัวะที่อาศัยอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ คอยดูแลรักษาป่าต้นน้ำบนดอยสุเทพ ให้อุดมสมบูณณ์ มีเรื่องเล่าว่าสมัยที่พระพุทธเจ้ามาโปรดสัตว์ถึงบริเวณเชิงดอยคำ ได้พบยักษ์สามตนพ่อแม่ลูก ยังชีพด้วยการกินเนื้อมนุษย์และเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดยักษ์ทั้งสาม และขอให้รักษาศีลห้า แต่ปู่แสะย่าแสะไม่อาจละเว้นการกินเนื้อได้ตลอดจึงขอพระพุทธเจ้าว่าขอกินเนื้อมนุษย์ปีละสองคน แต่พระพุทธเจ้าไม่อนุญาต จึงขอลดลงเป็นขอกินเนื้อสัตว์แทน พระพุทธเจ้าจึงให้ไปขออนุญาตเจ้าเมือง เมื่อเจ้าเมืองอนุญาตให้กินเนื้อควายได้ปีละครั้ง จึงมีประเพณีฆ่าควายเลี้ยงดงไหว้ผีปู่แสะย่าแสะเป็นประจำทุกปี ส่วนบุตรของปู่แสะย่าแสะได้บวชเป็นฤาษีชื่อ สุเทวฤาษีเรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่บรรณานุกรมเจริญ มาลาโรจน์. ผีปกกะโหล้ง. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4098.ผีตามอย. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4094.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. ผีปู่หละหึ่ง. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4101.ศรีเลา เกษพรหม. ผีโพรง. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4103-4104.ศรีเลา เกษพรหม และเจริญ มาลาโรจน์. ผีม้าบ้อง. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4105-4106.อุดม รุ่งเรืองศรี. ผีปู่แสะย่าแสะ. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4101.ภาพผีปกกะโหล้ง จาก: https://www.facebook.com/.../a.16998.../1857299897898146/...ภาพผีโพง จาก: https://intrend.trueid.net/north-east/si-sa-ket/ประสบการณ์หลอน-โดนผีโพงหลอก-trueidintrend_12070ภาพผีม้าบ้อง จาก: https://www.readawrite.com/.../127a300925ae7b38742757ec00...ภาพรูปปั้นปู่แสะย่าแสะ จาก: https://thestandard.co/liang-dong-ritual/#ผี#บรรณารักษ์ชวนรู้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ขอเชิญชวนไปเที่ยวงานเทศกาลไหว้พระนอน ประจำปี 2567 จัดโดยอำเภอสูงเนิน ซึ่งนับเป็นงานบุญ งานสำคัญประจำปีงานหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา นอกจากจะมีซุ้มนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังมีกิจกรรม "กรมศิลป์ชวนตามรอย คนก่อนสูงเนิน" ที่จะพาทุกท่านทัวร์ชมโบราณสถานสำคัญในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ฟรี !! ระหว่างวันที่ 12 - 14 กรกฎาคม 2567 วันละ 2 รอบ 10.30 น. และ 13.30 น.  (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านเฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย หรือพบกันที่บูธกิจกรรม ณ วัดธรรมจักรเสมาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา *พิเศษ ! รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน/รอบ              นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสวนาเรื่อง หินตั้ง : จากวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์สู่เสมาศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนา ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.30 น. ร่วมพูดคุยเรื่องหินตั้งและวัฒนธรรมการปักเสมาโดยมุมมองจาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ โดยรศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เจ้าของผลงานหลักหิน-ใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้านการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยคุณทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา มุมมองของคนบ้านหินตั้งกับการใช้ชีวิตร่วมกับโบราณสถาน โดยคุณเอนก. หุนสูงเนิน คุณเปรมฤดี ลาสูงเนินคน “บ้านหินตั้ง” ดำเนินรายการโดยคุณจิตจา ที่หนองสังข์ คน “สูงเนิน” สามารถรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live และรอติดตามข่าวสารต่าง ๆ ได้ที่เฟซบุ๊ก เพจ Phimai National Museum:พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย


ชื่อเรื่อง :  Luke Siamese กิตติคุณของพระเยซูคริศต์ผู้แต่ง : ท่าน ลูกาปีที่พิมพ์ : ๑๙๒๙สถานที่พิมพ์ :  กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ : AH Chow Pressจำนวนหน้า : ๑๑๒ หน้าเนื้อหา : หนังสือ Luke Siamese กิตติคุณของพระเยซูคริศต์ เรียบเรียงโดยท่านลูกา เนื้อหาประกอบไปด้วย กิตติคุณของพระเยซูคริสต์ เมื่อครั้งเสด็จไปแสดงธรรมแก่เหล่าสาวกและประชาชนทั้ง ณ ที่ต่างๆ เช่น เมืองนาอิน / หมู่บ้านแห่งหนึ่ง / ศาลาธรรม ได้แก่ เรื่องคนบาปและความบาป ภูตผีปิศาจ ความดี ความชั่ว การกลับใจ การสรรเสริญพระเจ้า เป็นต้นเลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๓๕๘เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๐๕หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗


นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2567จัดทำโดย นางสาวอัญชลี จินดามณี บรรณารักษ์ปฏิบัติการ



           กรมศิลปากรขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมกิจกรรมศิลปากรสัญจร ครั้งที่ ๕ กับโครงการ “อาบหมอก แอ่วเมือง รุ่งเรืองอาราม เวียงงามล้านนา” ในราคา ๑๓,๐๐๐ บาท (รวมค่ารถ ค่าอาหารและอาหารว่าง ค่าที่พัก และค่าบริการอื่น ๆ พร้อมรับเสื้อประจำโครงการ จำนวน ๑ ตัว) กิจกรรมครั้งนี้จัดให้ทุกท่านไปท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือ ๔ วัน ๕ คืน ระหว่างวันที่ ๔ - ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ และนำชมโดยนักวิชาการจากกรมศิลปากรตลอดกิจกรรม เปิดรับผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน ๘๐ ท่าน           มีเส้นทางท่องเที่ยว ดังนี้            - เมืองเชียงแสน (วัดพระธาตุผาเงา วัดพระธาตุจอมกิตติ กำแพงเมือง คูเมืองเก่าเชียงแสน)           - โบราณสถานวัดพระเจ้าล้านทอง เจดีย์หลวง และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน           - โบราณสถานวัดป่าสัก จ.เชียงราย           - ล่องเรือชมแม่น้ำโขง สามเหลี่ยมทองคำ โบราณสถานวัดพระธาตุภูเข้า อ.เมืองเชียงแสน จ.เชียงราย           - พระธาตุดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย           - พระตำหนักดอยตุง จ.เชียงราย           - วัดสำคัญของเมืองเชียงราย (วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์)           - วัดแสนเมืองมา, ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ วัดหย่วน วัดนันตาราม อ.เชียงคำ จ.พะเยา           - กว๊านพะเยา พระราชานุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง           - วัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา           - พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่           - แวะซื้อสินค้าพื้นเมืองบ้านทุ่งโฮ้ง จ.แพร่           ผู้สนใจร่วมกิจกรรม สามารถสำรองที่นั่งและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาภรณ์ ปัญญารัมย์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๖๐๐๘ และ ๖๐๑๐ มือถือ ๐ ๙๒๖๓๔ ๘๕๘๓ Line @518nfnes  




Messenger