ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ




อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 20 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด




วัสดุ สำริด แบบศิลปะ ศิลปะล้านช้าง อิทธิพลศิลปะสุโขทัย อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 สถานที่พบ พบระหว่างการไถที่ดินของนางสาวปาริชาต อุดมสี บ้านนาดูน ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2549 พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงเป็นแถบโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์เป็นทรงกระจับ แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย มีเส้นไรพระศก เม็ดพระศกเป็นตุ่มแหลมแบบก้นหอย อุษณีษะเป็นต่อมสูง พระรัศมีเป็นเปลวมี มีรูสำหรับฝังวัตถุบางอย่าง พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมปลายตัดตรงยาวจรดพระนาภี ส่วนปลายของสังฆาฏิมีลวดลาย พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ยาวจรดฐาน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวในผังหกเหลี่ยม ฐานบัวหงายทำลายกลีบบัว ส่วนรองรับองค์พระทำเป็นลายเกสรดอกบัว ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดานเรียบ มีจารึกอักษรธรรมอีสานจำนวน 2 บรรทัดรอบฐาน ส่วนเม็ดพระศกลงรักปิดทอง



         กล่าวถึงประวัติเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งตัดตอนมาจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 และเรื่องประเพณีเกี่ยวกับชีวิตที่ตีพิมพ์อยู่ในเล่มนี้ มี 3 เรื่อง คือ ประเพณีทำบุญ ของนายเสฐียร  พันธรังษี เปรียญแต่งร่วมกับพันเอกหลวงวิจิตรวาทการ ประเพณีบวชนาค พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงนิพนธ์ และประเพณีทำศพ พระจรูญชวนะพัฒน์ กับหลวงวิศาลดรุณกร เรียบเรียง


เชิญร่วมกิจกรรมสันทนาการเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น



วันพุธที่ 25 กรกฎาคม 2561 นางสาวสมหญิง มงคลธง บรรณารักษ์ปฏิบัติการ และนางสาวอัญชลี จินดามณี บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ได้เข้าร่วมพิธีเจริญพุทธมนต์สมโภชพระพุทธรูปสำคัญเพื่อถวายพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา 28 กรกฎาคม 2561 ณ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี




โครงการ                           การสัมมนาฝึกอบรมเรื่อง “การศึกษาเรื่องสังคมและวัฒนธรรมของชาวมอญ (STUDY OF MON SOCIETY AND CULTURE) วัตถุประสงค์                    เพื่อศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติมอญและอาณาจักรมอญในอดีต                เพื่อศึกษา เพิ่มพูนความรู้ในเรื่องของประวัติศาสตร์  โบราณคดี ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม สภาพสังคม วัฒนธรรมและวิถึชีวิตของชาวมอญ ในรัฐมอญซึ่งเป็นชนอีกกลุ่มหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์              เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และศึกษาเปรียบเทียบสภาพสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของ ชุมชนมอญในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์กับชุมชนมอญในประเทศอื่น              เพื่อเปิดพื้นที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้ใหม่ให้กับผู้เข้าอบรมที่เป็นสมาชิกของศูนย์ซีมีโอแชท กำหนดเวลา                     ระยะเวลาสัมมนาฝึกอบรมระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘ (ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมต้องเดินทางถึงประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ก่อนหน้าวันสัมมนา ๑ วัน และเดินทางกลับหลังการสัมมนาฝึกอบรมเสร็จสิ้น ๑ วัน ดังนั้นการเดินทางไปราชการจึงมีกำหนดตั้งแต่ วันที่ ๑๗ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘) สถานที่                              วันที่ ๑๘ – ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘   ศึกษาภาคทฤษฎี ณ ห้องประชุมศูนย์ซีมีโอแชท ณ กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์              วันที่ ๒๐ – ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘   ออกเดินทางไปยังพื้นที่ศึกษาตามสถานที่และเมืองต่าง ๆ ในรัฐมอญ เช่น ไจ๊ทีโย (KYAIKHTIYO PAGODA)  ตะโทง (THATON) เมาะลำไย หรือ มะละแหม่ง (MAWLAMYAIMG) มูดง (MU DON)  เมาะตะมะ (MOTTAMA) ฯลฯ หน่วยงานผู้จัด                    ศูนย์ซีมีโอแชท (SEAMEO Regional for History and Tradition (SEAMEO CHAT) หน่วยงานสนับสนุน              ศูนย์ SAMEO CHAT ณ กรุงย่างกุ้ง เป็นทั้งผู้จัดโครงการและเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้แก่ ค่าลงทะเบียน ๑,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ค่าที่พัก ค่าเดินทางทัศนศึกษา  ค่าอาหารมื้อเช้า-กลางวัน และอาหารว่าง ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘              กลุ่มแผนงาน โครงการและวิเทศสัมพันธ์  สำนักบริหารกลาง  กรมศิลปากรสนับสนุนค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน  ค่าเบี้ยเลี้ยงสมทบ ค่าพาหนะในต่างประเทศ             สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร สนับสนุนค่าพาหนะในประเทศ     กิจกรรม                        ศูนย์ซีมีโอแชท (SEAMEO CHAT) ได้จัดกิจกรรมให้เข้ากับผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตามตารางดังนี้ PROGRAMME ON STUDY OF MON SOCIETY AND CULTURE (18 – 24 MARCH 2015)        DATE    LECTURE        TIME        TOPIC           LECTURER 18 MARCH 2015 LECTURE (1) 9.00 – 10.30 AM. ORIGIN AND RELIGION OF MON U MUANG TOE DEPUTY DIRECTOR (RTD) NATIONAL ARCHIVE DEPARTMEMT     10.30 – 10.45 AM. COFFEE BRAKE     LECTURE (2) 10.45 – 12.15 AM. CUSTOMS AND TRADITIONS OF MON U MAUNG TOE       12.15 – 13.15 LUNCH     LECTURE (3) 13.15 – 14.30 PM. THATON (THUWANNABONMI) U SAN WIN ASSISTANT DIRECTOR (RTD), HISTORICAL RESEARCH DEPARTMENT     14.30 – 14.45 PM. COFFEE BRAKE     LECTURE (4) 14.45 – 16.00 PM. OTHER OLD CITIES IN MYANMAR U SAN WIN   19 MARCH 2015   LECTURE (5)   9.00 – 10.30 AM.   ARTS & CULTURE OF MON   U MAUNG TOE DEPUTY DIRECTOR (RTD), NATIONAL ARCHIVE DEPARTMEMT       10.30 -10.45 AM. COFFEE BRAKE     LECTURE (6) 10.45 – 12.15 AM. PRESENT MON STATE ORIENTATION OF FIELD TRIP DR. WIN MYAT AUNG SENIOR OFFICER (RESEARCH & DEVELOPMENT), SEAMEO CHAT     12.15 -13.15 LUNCH     STUDY TOUR & SIGHT SEEING 13.15 – 16.30 PM. NATIONAL MUSEUM, DOWNTOWN YANGON     FIELD TRIP PROGRAMME       DATE    LEAVE         TRAVEL TO        SLEEP     HOTEL 20 MARCH 2015   8.00 AM. KYAIKHTIYO PAGODA    KYAIKHTO  BAWGA           THEIDDHI 21 MARCH 2015   8.00 AM. THATON (FIELD STUDY AT WINKA, ZOK THOK AND THATON)     THATON  KHYAN PYAR 22 MARCH 2015   8.00 AM. MAWLAMYAIMG (FIELD STUDY AT KAWGOON CAVE, KADO KAW HNUT)  MAWLAMYAIMG    NGWE MOE 23 MARCH 2015   8.00 AM. MU DON AND MOTTAMA FIELD STUDY IN MUDON AND MOTTAMA)  MAWLAMYAIMG    NGWE MOE 24 MARCH 2015   8.00 AM. YANGON ( FIELD STUDY IN MON TRADITIONAL VILLAGES ON THE WAY TO YANGON)       YANGON  GUEST CARE    ผู้แทนไทย             นางสาวอิสรีย์  ธีรเดช            นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ   กลุ่มประวัติศาสตร์           สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์  กรมศิลปากร นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากหน่วยงานอื่นในประเทศไทย เข้าร่วมโครงการครั้งนี้อีกจำนวน ๓ คนคือ           นายพิศาล  บุญผูก  ผู้แทนจาก SEAMEO SPAFA Regional Centre for Archeology and Fine Arts                       นางสาวธัณฐกรณ์  พวงสวัสดิ์  ผู้แทนจาก SEAMEO RIHED (SEAMEO Regional Centre for Higher Education and Development)           ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรัญ  กาญจนประดิษฐ์  ผู้แทนจากคณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม               โครงการศึกษาเรื่องสังคมและวัฒนธรรมชองมอญนี้  ซีมีโอแชทได้ริเริ่มจัดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการเปิดช่องทางการศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคี และประวัติศาสตร์ศิลป์ในเรื่องใหม่ๆ  นอกเหนือจากโครงการ MYANMAR HISTORY FROM MYANMAR PERSPECTIVES ที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีมาเป็นเวลานานนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒) เป็นต้นมา  ทั้งนี้ซีมีโอแชทได้มอบสิทธิพิเศษให้กับประเทศสมาชิกที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการโดยไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน  ค่าที่พัก  ค่าเดินทางไปทัศนศึกษายังสถานที่ต่างๆ ในรัฐมอญ  ตลอดจนค่าอาหารเช้า อาหารกลางวันและอาหารว่างระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘   อย่างไรก็ดี แม้ว่ารายการหัวข้อการสัมมนาภาคทฤษฎีเรื่องของมอญในห้องประชุมและตารางการทัศนศึกษาจะได้มีการจัดวางไว้ตามกำหนดแล้ว  แต่การจัดวางสถานที่ทัศนศึกษาแต่ละแห่งในภาพรวมเป็นไปตามที่วางไว้ และมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามสภาพเหตุการณ์  เนื่องจากเรื่องมอญศึกษาเป็นโครงการใหม่  ดังนั้นซีมีโอแชทจึงต้องการทราบความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ทั้งจากการสนทนาและการตอบแบบสอบถาม  อันจะนำไปสู่การปรับปรุงวางรูปแบบโครงการมอญศึกษาให้ดียิ่งๆ ขึ้นสำหรับการจัดโครงการในครั้งต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นปีหน้า  ในส่วนของข้อเสนอแนะสำหรับการจัดกิจกรรมโครงการ STUDY OF MON SOCIETY AND CULTURE  มีดังนี้               ๑) การแจ้งโครงการของซีมีโอแชทแก่ประเทศสมาชิกควรจะดำเนินการหลังจากที่โครงการได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรี เจ้ากระทรวงของเมียนมาร์ เพื่อให้ประเทศสมาชิกที่จะส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ แน่ใจได้ว่า โครงการนั้นจะไม่ถูกยกเลิกหรือเลื่อนกำหนดการ และควรเผื่อเวลาให้ผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการสามารถดำเนินการในส่วนการขออนุมัติเรื่องการเดินทางจากหน่วยงานต้นสังกัดได้อย่างไม่กระชั้นจนเกินไป               ๒) เรื่องที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นที่ทราบกันดีว่า แต่เดิมนั้นซีมีโอแชทได้จัดให้พักโรงแรมที่อยู่ในย่านใจกลางเมืองย่างกุ้ง แต่ในระยะหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่พัก เนื่องจากโรงแรมเดิมที่อยู่ในย่านใจกลางเมือง มีการปรับราคาขึ้นอย่างมาก  ดังนั้นทางซีมีโอแชทจึงได้มีการเปลี่ยนที่พักมาเป็นโรงแรมในโซนที่ถัดจากย่านกลางเมืองออกมา โดยให้ใกล้กับสถานที่ทำการของซีมีโอแชทแทน สำหรับที่พักของผู้เข้าร่วมโครงการมอญศึกษาครั้งนี้คือ GUEST CARE HOTEL สภาพโดยรวมของโรงแรมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้ว่าเมื่อมองจากภายนอก สภาพอาคารจะดูเก่า แต่ภายในห้องพักถือว่าใช้ได้ ที่สะดวกคือ มีร้านอาหารอยู่บริเวณด้านหน้าโรงแรม ถึง ๒ ร้าน ทำให้สะดวกที่จะหาอาหารรับประทานในช่วงมื้อเย็น   ส่วนข้อเสียของโรงแรมแห่งนี้เพียง ๒ ประการ คือ โรงแรมนี้ไม่มีลิฟท์ ทำให้ไม่สะดวกในการขนย้ายสัมภาระขึ้นลง   และน้ำจากฝักบัวสำหรับอาบน้ำไหลเพียงน้อยนิดทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน ซึ่งในเรื่องนี้เจ้าหน้าที่ซีมีโอแชทได้สอบถามถึงเรื่องที่พัก จึงได้แจ้งให้ทราบแล้ว               ๓) ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘ วันแรกของการเดินทางไปทัศนศึกษาสถานที่ต่างๆ ในรัฐมอญ สถานที่แรกคือ  ไจ๊ทีโยหรือพระธาตุอินทร์แขวน   เนื่องจากรายการตามตารางของวันนี้  มีเพียงสถานที่เดียวคือ ไจ๊ทีโย ถ้าออกเดินทางจากย่างกุ้งในช่วงเช้าประมาณ ๘.๐๐ น. ผ่านพะโค (หงสาวดี) และจะถึงเมืองไจ๊โถก่อน ๑๑.๐๐ น. คณะฯ ได้ขึ้นไจ๊ทีโยในเวลาเที่ยง  ซึ่งในหน้าร้อนอากาศจะร้อนและแดดแรงมาก  อีกทั้งพื้นผิวทางเดินขึ้นสู่ไจ๊ทีโยดูดซับความร้อนไว้เต็มที่   ทำให้ยากต่อการเดินด้วยเท้าเปล่า  ดังนั้นในเมื่อตารางรายการของวันนี้เป็นไปแบบไม่เร่งรีบ คณะฯ จึงได้เสนอความเห็นว่าควรมีการปรับเปลี่ยนรายการของวันนี้ในการจัดครั้งต่อไป โดยอาจเพิ่มการนำชมสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจในเมืองหงสาวดีซึ่งเป็นทางผ่านในช่วงเช้าก่อนขึ้นไจ๊ทีโยในเวลาบ่ายและลงจากไจ๊ทีโยให้ทันเวลา ๑๘.๐๐ น. ซึ่งเป็นเวลาที่รถบรรทุกขึ้นเขาหยุดให้บริการ  ในกรณีที่ซีมีโอแชทได้จัดให้พักโรงแรมที่อยู่ด้านล่าง               ๔) วิทยากรและเจ้าหน้าที่ซีมีโอแชทควรจะต้องบอกชื่อสถานที่แต่ละที่ที่คณะฯ ไปยี่ยมชม เพื่อที่สมาชิกในคณะฯ จะได้ทราบชื่อที่ถูกต้องของสถานที่แต่ละแห่ง  เนื่องจากป้ายชื่อสถานที่ต่างๆ  ล้วนเป็นภาษาพม่าแทบทั้งสิ้น               ๕) การที่ซีมีโอแชทได้แจกหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมอญจำนวนหลายเล่มให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อใช้ประกอบการศึกษาในห้องเรียนและเป็นคู่มือในการเดินทางทัศนศึกษาครั้งนี้ นับเป็นสิ่งที่ดี  แต่ถ้าหนังสือที่แจกให้เป็นภาษาอังกฤษ  ไม่ใช่ภาษาพม่า ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการอย่างมาก ทั้งนี้เพราะไม่มีผู้เข้าร่วมโครงการคนใดอ่านภาษาพม่าออก  ฉะนั้นจึงทำได้เพียงแค่ดูภาพที่ปรากฏในหนังสือ               ๖) จากการเข้าร่วมโครงการมอญศึกษาในครั้งนี้  เมื่อพิจารณาจำนวนวันทัศนศึกษา ๕ วันกับจำนวนสถานที่ที่มีความสำคัญและน่าสนใจของรัฐมอญแล้ว  เห็นว่าซีมีโอแชทควรเพิ่มวันและสถานที่สำหรับการทัศนศึกษาในรัฐมอญซึ่งยังมีอีกหลายสถานที่ที่มีความน่าสนใจ อาทิ  ไจ๊คามี  วัดมหามุนี  พิพิธภัณฑ์มอญ  ตันผิ่วซายัต ฯลฯ และถ้าเป็นไปได้ควรลงไปจนถึงมะริด ทวาย ตะนาวศรี ก็จะสมประโยชน์อย่างยิ่ง   


ผู้แต่ง               :  เสฐียร พันธรังษีโรงพิมพ์           :  ขอจิตต์เมตต์ปีที่พิมพ์           :  2494ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.33บ.2160จบ(ร)เลขหมู่             :  923.242                          ช 725ว


Messenger