ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม พบจากเจดีย์หมายเลข ๙ เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพิมพ์ดินเผาขนาด กว้าง ๖ เซนติเมตร สูง ๙ เซนติเมตร ภาพพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มวงโค้ง พระพักตร์กลม พระกรรณยาว มีประภามณฑลรอบพระเศียร ครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบไม่มีริ้วบางแนบพระวรกาย ปรากฏขอบจีวรบริเวณพระศอ จีวรพาดผ่านข้อพระกรทั้งสองข้าง แล้วทิ้งชายลงเป็นวงโค้งเบื้องหน้า ขอบสบงและชายจีวรยาวถึงข้อพระบาท พระกรทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) ยืนในท่าสมภังค์ (ยืนตรง) บนฐานกลมประดับด้วยกลีบบัว ซุ้มด้านในประดับด้วยเสากลม ด้านนอกประดับด้วยเสาสี่เหลี่ยม ปลายกรอบซุ้มมีการตกแต่งลวดลาย ส่วนฐานยกเก็จคล้ายกับรูปแบบที่พบบนฐานของสถาปัตยกรรมทวารวดี
สุนทรียภาพโดยรวมของพระพิมพ์องค์นี้ ได้แก่ การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย การยืนในท่าสมภังค์ (ยืนตรง) และแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ (ปางแสดงธรรม) เป็นรูปแบบเฉพาะที่นิยมในพระพุทธรูปยืนสมัยทวารวดี ซึ่งพบทั้งพระพุทธรูปและพระพิมพ์ตามเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี ส่วนลักษณะฐานพระพุทธรูปที่มีการยกเก็จ สันนิษฐานว่ารับอิทธิพลมาจากส่วนฐานยกเก็จของพระพุทธรูปอินเดียแบบปาละ และอาจมีความเกี่ยวข้องกับซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปที่ประดับอยู่บนผนังของสถาปัตยกรรม ประเภทเจดีย์และวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ก็เป็นได้ จึงกำหนดอายุพระพิมพ์องค์นี้ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๙ เมืองโบราณอู่ทอง ยังมีการค้นพบพระพิมพ์ดินเผาซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างจากแม่พิมพ์รูปแบบเดียวกัน แต่มีสภาพไม่สมบูรณ์อีกจำนวนหนึ่ง พระพิมพ์เหล่านี้น่าจะสร้างขึ้นตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างพระพิมพ์จำนวนมากเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา หรือเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคติความเชื่อเรื่องการสร้างบุญกุศลก็เป็นได้
เอกสารอ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘.
ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน: กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ต้นพระศรีมหาโพธิ์นับว่าเป็นต้นไม้มีความสำคัญในพุทธศาสนา มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ ตอน พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลพุทธคยา เมืองพาราณสี และปรากฏภาพสลักรูปบัลลังก์เปล่าใต้ต้นโพธิ์ในศิลปะอินเดียโบราณ ทั้งนี้ยังปรากฏข้อความในกาลิงคโพธิชาดก (ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย) พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบแก่พระอานนท์ว่าให้สัญลักษณ์แทนพระองค์หลังจากปรินิพพานแล้วคือต้นไม้ ทำให้มีการปลูกต้นโพธิ์ที่เชตวันวิหารเป็นครั้งแรกสมัยพุทธกาล เกิดการเคารพบูชาต้นโพธิ์ขึ้นฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า ครั้งมีการเผยแพร่พุทธศาสนาจากอินเดียไปยังศรีลังกา ได้มีการอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกยังศรีลังกา และกลายเป็นสิ่งสำคัญที่มักมีในทุกอารามในศรีลังกาดังที่ปรากฏหลักฐานเป็นอาคารหรือฐานปลูกต้นศรีมหาโพธิ์เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างสำคัญ เรียกว่า โพธิมณฑล ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาจากศรีลังกาได้เผยแพร่มายังบ้านเมืองในวัฒนธรรมสุโขทัยทั้งเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร จึงได้นำความเชื่อเรื่องการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์เข้ามา แม้ว่าจะไม่ปรากฏหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นต้นไม้ในโบราณสถานให้เห็นในปัจจุบัน แต่พบข้อความในจารึกสมัยสุโขทัยที่กล่าวถึงการปลูกโพธิ์ แสดงให้เห็นว่ามีการให้ความสำคัญกับต้นโพธิ์เช่นเดียวกับในศรีลังกา เช่น จารึกวัดศรีชุม มีความตอนหนึ่งกล่าวถึงพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีได้อัญเชิญต้นศรีมหาโพธิ์จากศรีลังกามาปลูก “…พระศรีมหาโพธินครสิงหลนั้นก็ดี สมเด็จพระมหาเถรเป็นเจ้าเอามาปลูกเหนือดิน…” จารึกวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยาราม ได้กล่าวถึงสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดามหาดิกลรัตนราชได้ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ภายหลังการสร้างวัดแล้วเสร็จใน ๓ ปีต่อมา “…สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราช กรรโลง จึงสถิตสถาปนาปลูกพระพฤกษาธิบดีศรีมหา(โพธิ)…” จารึกนครชุม ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗ – ๑๒ ความว่า “...ศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราชหากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมนี้ปีนั้น พระธาตุอันนี้ใช่ธาตุอันสามานย์ คือพระธาตุแท้จริงแล้ เอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดาย เอาทั้งพืชพระศรีมหาโพธิ์ อันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้นแลผจญพลขุนมาราธิราช ได้ปราบแก่สัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธมาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้...” กล่าวถึงการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและการปลูกต้นศรีมหาโพธิ์นำมาจากลังกาทวีปไว้ที่เมืองนครชุม โดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๐๐ ในเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร พบฐานโบราณสถานที่มีรูปแบบการก่อศิลาแลงเป็นขอบหรือกรอบเว้นตรงกลางให้เป็นลานดิน ไม่พบหลักฐานประเภทผนังอาคาร โครงสร้างหลังคา และการประดิษฐานพระพุทธรูปภายใน และไม่พบโครงสร้างของฐานรากเจดีย์ภายในแต่อย่างใด จึงมีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่สำหรับปลูกหรือประดิษฐานต้นโพธิ์ และพบฐานโบราณสถานรูปแบบข้างต้นในวัดดังต่อไปนี้ วัดพระนอนพบฐานโบราณสถานรูปแบบดังกล่าวด้านตะวันตกของวัด หลังเจดีย์ประธานจำนวน ๑ แห่ง และฐานโบราณสถานด้านหลังมณฑปของวัดอีก ๑ แห่ง วัดนาคเจ็ดเศียรพบฐานโบราณสถานจำนวน ๑ แห่ง ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถ ซึ่งฐานโบราณสถานที่สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่สำหรับปลูกต้นโพธิ์ที่พบในวัดพระนอนและวัดนาคเจ็ดเศียรมีรูปแบบที่คล้ายกัน โดยพบการก่อศิลาแลงในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเว้นตรงกลางเป็นลานดิน ด้านหน้าของฐานโบราณสถานมีศิลาแลงก่อเป็นอาสนะ (บัลลังก์) และเปรียบเทียบได้กับรูปแบบของโพธิมณฑลในศรีลังกา เช่น โพธิมณฑลที่อิสุรุมุณิยะปรากฏอาสนะเปล่าที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมายถึงวัชราสนะหรือบัลลังก์ตรัสรู้ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าก่อนมีการสร้างพระพุทธรูป หรือโพธิฆระ (โพธิมณฑลที่มีหลังคาล้อมรอบโคนต้น) นอกจากนี้ที่อภัยคีรีวิหารมีการประดิษฐานพระพุทธรูปไว้บนอาสนะด้วย วัดหมาผีพบฐานศิลาแลงก่อเป็นขอบบ่อในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน และที่วัดเพการามพบกรอบศิลาแลงรูปแปดเหลี่ยมที่ใช้ศิลาแลงขนาดสูง ๐.๘ เมตร ปักตั้งขึ้นเรียงกันและวางทับหลังศิลาแลงด้านบน ทั้งสองแห่งพบฐานโบราณสถานที่มีรูปแบบคล้ายกันคือมีการก่อศิลาแลงเป็นขอบเขตและเว้นตรงกลางเป็นลานดินไว้ ไม่พบอาสนะ (บัลลังก์) ด้านหน้าของฐานดังกล่าว ตำแหน่งของฐานโบราณสถานที่สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่สำหรับปลูกต้นโพธิ์ยังมีความสัมพันธ์กับข้อความในจารึกนครชุมที่ระบุตำแหน่งว่ามีการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้านหลังพระธาตุอีกด้วย เนื่องจากฐานอาคารที่พบมีตำแหน่งในแนวแกนหลักของวัดและตั้งอยู่ด้านหลังของเจดีย์ประธาน ทั้งนี้นอกจากที่เมืองกำแพงเพชรแล้วที่เมืองศรีสัชนาลัยก็พบลักษณะพื้นที่สำหรับปลูกต้นโพธิ์ที่ด้านทิศตะวันตกของวัดเจดีย์เจ็ดแถว และวัดยายตาที่พบฐานรูปแปดเหลี่ยมด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธานและยังตั้งอยู่ในแนวแกนหลักของวัดเช่นกัน นับว่าเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่านอกเหนือไปจากงานศิลปกรรมต่าง ๆ ในพุทธศาสนาที่พบแล้วบ้านเมืองในวัฒนธรรมสุโขทัยต่างรับความเชื่อการปลูกและบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์จากศรีลังกามาพร้อมกันกับการติดต่อสัมพันธ์เพื่อรับพระพุทธศาสนาด้วย-----------------------------------------------------------ที่มาของช้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร-----------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง :กรมศิลปากร. ประชุมจารึกภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๘. พัชรินทร์ ศุขประมูล, วิเศษ เพชรประดับ และเมธินี จิระวัฒนา. รูปและสัญลักษณ์แห่งพระศากยพุทธ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๒. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พุทธศิลป์ลังกา. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๖. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พุทธศิลป์ไทยสายสัมพันธ์กับศรีลังกา. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ๒๕๖๓.
ชื่อเรื่อง วินยธรสิกฺขปท (สิกขาบท)
สพ.บ. 390/9
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
พระวินัยปิฎก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 60 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55.5 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปฐมสมโพธิ์)
สพ.บ. 215/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาอภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 380/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
องค์ความารู้เรื่อง : โบราณคดีเวียงลอ Ep.วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) ตำบลหงส์หิน อำเภอจุนจังหวัดพะเยาเรียบเรียงโดย : นายจตุรพร ทิมเทียนกฤต นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ - วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) - วัดแห่งนี้วางตัวตามแกนทิศด้านตะวันออก – ตะวันตก มีเจดีย์ประธานและวิหาร ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา ที่เป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่า “ดอยจิกจ้อง” ซึ่งพระธาตุหนองห้า ทางด้านตะวันตกของเวียงลอ ประมาณ ๓๗๐ เมตร อยู่พื้นที่ปกครองของ ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยาที่ตั้งพิกัดภูมิศาสตร์ ละติจูด ๑๙ องศา ๒๗ ลิปดา ๐๒ ฟิลิปดา เหนือ ลองติจูด ๑๐๐ องศา ๐๔ ลิปดา ๓๔ ฟิลิปดา ตะวันตก วัดแห่งนี้อยู่ในกลุ่ม “คามวาสี” และวัดที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า หรือกลุ่ม “อรัญวาสี” ในพระวินัยกำหนดไว้ว่า วัดฝ่ายอรัญวาสีจะต้องตั้งไม่ห่างจากหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดจนเกินไป คือให้อยู่ในระยะประมาณ ๕๐๐ ชั่วคันธนู เพื่อเอื้อให้พระภิกษุสามารถเดินไปรับการบิณฑบาต ซึ่งในปัจจุบันจากการสํารวจพบว่า มีประมาณ ๑๐ วัด วัดในกลุ่มนี้มีที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขาและยอดเขา ที่ได้รับการขุดค้น ขุดแต่ง และศึกษาทางโบราณคดี คือ วัดพระธาตุหนองห้า (วัดพระธาตุคีรีศรีเวียงลอ) เป็น โบราณสถานแห่งแรกที่ได้รับการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีในปี ๒๕๓๙ นอกจากนี้ยังมี วัดพระธาตุบุนนาค วัดท่าแฉะ และวัดต้นเดื่อที่ได้รับการศึกษาทางโบราณคดีแล้ว ปี ๒๕๓๙ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๖ เชียงใหม่ (ในขณะนั้น) ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะ เจดีย์ประธานวัดพระธาตุหนองห้า เป็นเจดีย์แบบล้านนา ส่วนฐาน เริ่มจากผังแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ๑ ชั้น ต่อมาชั้นหน้ากระดานยกเก็จ รองรับชั้นบัวคว่ำ หน้ากระดานประดับด้วยชุดลูกแก้วอกไก่และชั้นบัวหงาย ต่อมาเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วรองรับองค์ระฆังในแผนผังแปดเหลี่ยม (ได้มีการเปรียบเทียบเจดีย์ประธานวัดลี ตำบลท่าวังทอง จังหวัดพะเยา และเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) ซึ่งเป็นแบบแผนของเจดีย์ล้านในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และคุณสายันต์ ไพรชาญจิตร ได้สันนิษฐานว่าวัดป่าใหม่ ที่มีชื่อปรากฏในศิลาจารึกวัดป่าใหม่ (พย. ๘) คือ วัดพระธาตุหนองห้า ที่ระบุศักราชที่สร้างวัดป่าใหม่ จุลศักราช ๘๕๙(พ.ศ.๒๐๔๐) ตรงกับช่วงรัชกาลพระเมืองแก้ว(๒๐๓๘ – ๒๐๖๘) จากการขุดหลุมทดสอบ ๒ หลุม ได้พบเศษภาชนะดินเผาที่มีแหล่งผลิตมาจาก เตาเวียงกาหลง/วังเหนือ จังหวัดลำปาง แห่งเตาพาน/โป่งแดง จังหวัดเชียงราย แหล่งเตาพะเยา(เวียงบัว/แม่กา) จังหวัดพะเยาที่มีอายุในช่วง ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัย ร.หมิง มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ **วิหาร ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน ยังไม่ได้ดำเนินการทางโบราณคดี พบร่องรอยของเขื่อนหิน(สร้างเป็นแนวกรอบแล้วนำดินถมเพื่อปรับพื้นที่) และอิฐกระจายตัวอยู่ทั่วไป แต่สันนิษฐานว่าอาจจะเหลือร่อยรอยไม่มากจากการมีการมาทำกิจกรรมในสมัยต่อมา อนึ่งในรายงานการขุดค้น พบแนวผนังอิฐล้มลงไปบนฐานเจดีย์ประธาน และพบตะปูโลหะ อาจจะมามีความเป็นได้ว่าวิหาร เครื่องบนคงจะเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง (?) ------------------------------------------------อ้างอิงศิลปากร,กรม. รายงานการขุดค้นและบูรณะพระเจดีย์วัดพระธาตุหนองห้า.เอกสารอัดสำเนา ,๒๕๓๙.สรัสวดี อ๋องสกุล ,ประวัตศาสตร์ล้านนา.พิมพ์ครั้งที่ ๖ กรุงเทพฯ:อมรินทร์,.2552.สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ.ประชุมจารึกเมืองพะเยา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน :, 2538________,บรรณาธิการ.ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพ,สํานกพิมพ์มติชน ,2538.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.42/1-4
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อฎฺฐงฺคิกมคฺค (พรอฎงฺคิกมคฺค)
ชบ.บ.83/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.332/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132 (343-358) ผูก 10 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สมัยราชวงศ์หมิง ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑
พบที่ วัดศรีโขง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กุณฑีรูปทรงจันทร์เสี้ยว (Crescent-shaped Kendi) แบบเปอร์เซีย ลักษณะคอภาชนะสูงมีฝาปิด ด้านข้างมีพวยขนาดเล็ก ภาชนะมีลายเขียนสีแดง เขียวและเหลือง ขอบภาชนะเขียนลายก้านขด ตัวภาชนะเขียนลายพันธุ์พฤกษา ส่วนคอภาชนะเขียนลายประแจจีน ภาชนะชิ้นนี้มีแหล่งผลิตที่เตาจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเกียงซี (เจียงซี) ประเทศจีน และพบกุณฑีลักษณะใกล้เคียงนี้ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นที่ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์