ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : การจัดการพระศาสนาและการศึกษาในเมืองน่าน -- ในสมัยก่อน การจัดการพระศาสนาและการศึกษาในหัวเมืองต่างๆ นั้น ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงมักจะเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในพื้นที่ ด้วยเหตุที่ว่าการศึกษาในยุคนั้นยังคงยึดโยงกับวัดและคณะสงฆ์ ฉะนั้นพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาพระสงฆ์สามเณร และประชาชนทั่วไปจึงมีบทบาทและความสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้การจัดการพระศาสนาและการศึกษาเกิดผลสำเร็จลุล่วงไปได้ ดังเช่นตัวอย่างการจัดการพระศาสนาและการศึกษาในเมืองน่าน. แต่เดิมนั้น การจัดการพระศาสนาและการศึกษาในเมืองน่านคงจะไม่สู้จะเรียบร้อยนัก ดังที่พระยาสุนทรนุรักษ์ ข้าหลวงประจำนครน่านได้รายงานเสนอต่อกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) ว่า ในปีนั้นมีการตั้งโรงเรียนที่วัดช้างค้ำ แต่ระเบียบการเล่าเรียนยังไม่ถูกต้องนัก เพราะครูผู้สอนยังไม่เข้าใจระเบียบอย่างแท้จริง ส่วนการพระศาสนา แม้เป็นการสมควรที่จะจัด แต่ต้องรอให้การจัดการปกครองเรียบร้อยเสียก่อน จนกระทั่ง 2 ปีต่อมา ได้มีพระเถระรูปหนึ่งที่มุ่งมั่นตั้งใจกลับไปจัดการพระศาสนาและการศึกษาที่บ้านเกิด และได้ทำงานอย่างที่ตั้งใจจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต พระเถระรูปนี้ก็คือ พระชยานันทมุนี (พรหม พฺรหฺมวีโร) อดีตเจ้าคณะใหญ่นครน่าน ซึ่งเรื่องราวของการจัดการพระศาสนาและการศึกษาในเมืองน่านและวาระสุดท้ายของท่านได้ปรากฏอยู่ในเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง รายงานจัดการคณะสงฆ์แลจัดการศึกษามณฑลพายัพ ดังนี้. เมื่อเดือนพฤศจิกายน ร.ศ. 122 (พ.ศ. 2446) ได้มีการสถาปนาสมณศักดิ์พระมหาพรหม วัดพระเชตุพน ขึ้นเป็นพระราชาคณะ ที่พระชยานันทมุนี เจ้าคณะใหญ่นครน่าน จากนั้นในเดือนถัดมา พระชยานันทมุนี พร้อมด้วยพระฐานานุกรมและบรรดาลูกศิษย์จึงเดินทางขึ้นไปยังเมืองน่าน อันเป็นการกลับไปยังดินแดนอันเป็นชาติภูมิเดิมของท่าน ซึ่งในรายงานจัดการคณะสงฆ์ฯ นั้นท่านระบุว่าตั้งใจกลับขึ้นมา “เพื่อจัดการฉลองพระเดชพระคุณโดยเต็มกำลังแห่งความสามารถที่จะเปนไปได้”. เมื่อมาถึงเมืองน่านแล้ว ท่านได้เริ่มตรวจจัดการพระศาสนาและการศึกษาทันที โดยออกเดินทางไปสำรวจตรวจตราตามวัดวาอารามในบริเวณต่างๆ ของนครน่าน ท่านได้พบว่า ความประพฤติของพระสงฆ์สามเณรยังไม่สู้จะเรียบร้อย สวดมนต์ผิดๆ ถูกๆ และมักนิยมศึกษาในทางวิปัสสนาอย่างเดียว ส่วนการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมนั้นไม่มีผู้ศึกษา แม้จะมีการเรียนการสอนอยู่บ้างก็เพียงขั้นเบื้องต้น ไม่ได้เรียนอย่างลงลึกให้เกิดความแตกฉาน ดังนั้น ในระหว่างการสำรวจตรวจตรา เมื่อไปถึงที่แขวงเมืองใด พระชยานันทมุนีก็จะเรียกประชุมพระสงฆ์สามเณรจากทุกอาราม ตลอดจนนายแคว้นแก่บ้านกรมการในแขวงเมืองนั้นๆ เพื่อชี้แจงตักเตือน พร้อมทั้งอ่าน (และแจก) หนังสือประกาศข้อห้ามต่างๆ ที่ท่านเรียบเรียงขึ้น พร้อมทั้งมอบหมายภาระให้เจ้าอธิการวัดใดวัดหนึ่งเป็นผู้ปกครองสงฆ์ในแขวงเมืองนั้นๆ ส่วนด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ท่านได้เริ่มตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นมูลที่วัดช้างค้ำ และที่เมืองเชียงคำ แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องแบบเรียนไม่เพียงพอ และขาดแคลนงบประมาณเงินเดือนครูผู้สอน ถึงขั้นที่ครูโรงเรียนเมืองเชียงคำพยายามขอลาออกอยู่หลายครั้ง. อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะประสบกับอุปสรรคต่างๆ แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะของพระชยานันทมุนี จึงทำให้การจัดการพระศาสนาและการศึกษาในเมืองน่านเริ่มเห็นผลสำเร็จ เช่น เรื่องการศาสนา พบว่าพระสงฆ์สามเณรมีความประพฤติเรียบร้อยดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ส่วนเรื่องการศึกษานั้น ในรายงานจัดคณะสงฆ์ฯ เดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 123 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2448) ระบุว่ามีโรงเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 5 โรง และมีนักเรียนจำนวนรวม 213 คน แต่ท่านเองกลับไม่ได้เห็นความสำเร็จนี้ได้นานเท่าใดนัก. วันที่ 24 พฤศจิกายน ร.ศ. 125 (พ.ศ. 2449) มีพิธีการสำคัญที่วัดช้างค้ำ โดยมีพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่านเป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระชยานันทมุนีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในงานนี้ได้มีการมอบประกาศนียบัตรแก่นักเรียนที่สอบไล่ได้เมื่อปีก่อน และมอบใบประทวนตั้งและเลื่อนพระครูเจ้าคณะต่างๆ พิธีการนี้นับเป็นภารกิจด้านการศาสนาและการศึกษาครั้งสุดท้ายของพระชยานันทมุนี เพราะเมื่อพิธีการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว คืนนั้นท่านเกิดอาเจียนเป็นโลหิตและถึงแก่มรณภาพภายในเวลาสองชั่วโมง แม้ว่าท่านจะจากไปอย่างกะทันหัน แต่งานจัดการพระศาสนาและการศึกษาตามที่ท่านตั้งใจไว้เมื่อเดินทางกลับมายังบ้านเกิดนั้นยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีพระปลัดวงษ์ รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่นครน่านเป็นผู้รับหน้าที่ดำเนินการสืบต่อมา.ผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง:1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย ร.5 ม.58/158 เรื่อง จัดการปกครองเมืองน่านและบริเวณขึ้นเมืองน่าน. [2 มิ.ย. 119 – 4 ส.ค. 125].2. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ.12/46 เรื่อง รายงานจัดการคณะสงฆ์แลจัดการศึกษามณฑลพายัพ. [2 ก.ค. 124 – 4 ก.ย. 127].3. “รายนามพระสงฆ์ที่รับตำแหน่งสมณะศักดิ์.” (ร.ศ. 122). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 20, ตอนที่ 34 (22 พฤศจิกายน): 587-588.4. “พระราชาคณะเฝ้าทูลลาไปอยู่นครเมืองน่าน.” (ร.ศ. 122). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 20, ตอนที่ 38 (20 ธันวาคม): 659-660.5. “ข่าวมรณะภาพ.” (ร.ศ. 125). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 23, ตอนที่ 36 (2 ธันวาคม): 935.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           20/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                28 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


       ส.ค.ส. ย่อมาจาก ส่งความสุข เป็นบัตรอวยพรที่ส่งให้กันเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่        ประวัติของ ส.ค.ส. เริ่มต้นขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ ชาวเยอรมัน พบแม่พิมพ์แผ่นไม้ ทำเป็นภาพรูปบ้าน รูปพระเยซูในวัยเยาว์ พร้อมคำอวยพรว่า "Ein gut selig jar" หมายถึง "ปีที่ดีและมีสุข" ต่อมาชาวอังกฤษพัฒนารูปแบบ บัตรอวยพร ให้สวยงาม เพิ่มสีสันมากขึ้น        ส.ค.ส. ฉบับแรกของไทยมีขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๐๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช (รัชกาลที่ ๔) โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นสำหรับพระราชทานแก่คณะทูตานุทูต ข้าราชบริพาร และมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม ๑๘๖๖(พุทธศักราช ๒๔๐๙)        ส.ค.ส. ฉบับนี้ เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ทรงพระราชทานให้แก่ กัปตันจอห์น บุช หรือหลวงวิสูตรสาครดิษฐ ที่ดูแลกรมเจ้าท่าในขณะนั้น โดยตัว ส.ค.ส. มีการเขียนคำอวยพรด้วยลายพระหัตถ์สวยงามเป็นระเบียบ ความยาวทั้งสิ้น ๔ หน้า และที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลายเซ็นพระนามลงบน ส.ค.ส. ฉบับนี้ด้วย       ส.ค.ส. ฉบับแรกของไทยนี้ นอกจากเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ในการส่งมอบความปรารถนาดี ให้แก่ข้าราชบริพารทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแล้ว ยังมีนัยสำคัญเพื่อสื่อให้ชาติตะวันตกเห็นว่า สยามเป็นประเทศที่มีความเจริญ มีอารยะ รู้และเข้าใจธรรมเนียมของชาวตะวันตกเป็นอย่างดี


ชื่อเรื่อง : วรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัรฑ์พาณิชย์ จำนวนหน้า : 1,328 หน้า สาระสังเขป : เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นด้วยประวัติสุนทรภู่ ตั้งแต่ก่อนรับราชการ ตอนรับราชการ ตอนออกบวช ตอนตกยาก ตอนสิ้นเคราะห์ ว่าด้วยหนังสือที่สุนทรภู่แต่ง ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ บันทึกเรื่องผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง อธิบายว่าด้วยเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ทั้งหมด 64 ตอน มีนิทานเรื่องพระอภัยมณีต่อจากคำกลอน


          สำนักช่างสิบหมู่  ร่วมกับกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ดำเนินการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม วาระที่ ๓  ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๔ –  พ.ศ. ๒๕๖๘   ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการอนุรักษ์ฯ แล้วเสร็จติดประกอบคืนบานไม้ไปแล้วในบางส่วน             ทางวัดราชประดิษฐฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานอนุรักษ์ซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  จึงได้ร่วมมือกับกรมศิลปากรจัดงาน “ราชประดิษฐฯ พิสิฐศิลป์”  ในวันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.  ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม  เพื่อนำเสนอการดำเนินงานที่ผ่านมาผ่านมุมมองวัด และช่างฝีมือ ทั้งชาวไทย-ญี่ปุ่น มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.   - การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง ความเป็นมาของโครงการบูรณะซ่อมแซมและ อนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  - การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง กระบวนการทำงานซ่อมแซมบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย  เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. - นิทรรศการและการสาธิตงานซ่อมแซมบานไม้ประดับมุก จาก สำนักช่างสิบหมู่ และสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ - การออกร้านอาหารญี่ปุ่น - การชงชาแบบญี่ปุ่น จากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร  - พิธีการประกอบคืนบานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น  - ชมการแสดงชุดระบำมิตรไมตรีญี่ปุ่น – ไทย จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร - พบกับ Thames Malerose   Full-time คอสเพลย์เยอร์ และสตรีมเมอร์  รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2  งานประกวด World Cosplay Summit 2022 ณ เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น  ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdWEkb27xprvUkX6w4cUn2S7Q4pgalVkzpQU1ydhtzKNsJSPA/viewform?fbclid=IwAR0XPoOZqLQ2VKXI77qgnc5LAVN18SDJbVv6F3-c8Qy-9V-UG747TbPAN7sหรือแสกน Qr Code ที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เพื่อลงทะเบียน +++รีบลงทะเบียนด่วน! รับจำนวนจำกัด  ภาคเช้า เปิดรับผู้ลงทะเบียนออนไลน์ จำนวน ๓๐ ท่าน ภาคบ่าย เปิดรับผู้ลงทะเบียนออนไลน์ จำนวน ๑๐๐ ท่าน


ชื่อผู้แต่ง           พระเครื่อง ชื่อเรื่อง             พระเครื่อง ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        บริษัทวัชรินทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์            ๒๕๓๒ จำนวนหน้า       ๙๘ หน้า   พระเครื่องหรือพุทธรูปขนาดเล็ก นิยมสร้างขึ้นในลักษณะพระพิมพ์ขนาดเล็กเป็นส่วนมาก และเป็นจำนวนคราวละมาก ๆ ดังที่เรียกว่า พระพิมพ์เครื่องราง ส่วนพระเครื่องที่สร้างตามแบบการสร้างพระพุทธรูปด้วยวิธีหล่อหรือวิธีอื่น ๆ เช่น พระกริ่ง เป็นต้น ไม่มีมากชนิด การที่พุทธศาสนิกชนส่วนมากนิยมหาพระเครื่องไว้กราบไหว้ บูชาและนำติดตัวไปเสมอมีจำนวนมากน้อยแล้วแต่ศรัทธา เข้าใจว่า ความเคารพนับถือและบูชาพระเครื่องปรากฏแพร่หลายอยู่เฉพาะในหมู่พุทธศาสนิกชนไทย


เลขทะเบียน : นพ.บ.453/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159  (163-173) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อาการวัตตสูตร--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          ตราสัญลักษณ์นิทรรศการพิเศษ เรื่อง "เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ปลาคู่ อันหมายความถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์  โดยด้านซ้ายเป็นลายปลากาซึ่งได้ต้นแบบแนวความคิดมาจากเครื่องสังคโลกในสมัยสุโขทัยที่นิยมวาดรูปปลาลงบนภาชนะ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองดังคำกล่าวที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”  ด้านขวามือเป็นลายปลาคาร์ป  ซึ่งได้แนวความคิดมาจากสัญลักษณ์  ธงปลาคาร์ปของชาวญี่ปุ่น  โดยระหว่างปลาคู่ประดับด้วยช่อดอกราชพฤกษ์ดอกไม้ประจำชาติไทยและดอกซากุระเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น ถัดลงมาด้านล่างระหว่างหางปลาทั้งสองมีธงชาติของทั้งสองประเทศเชื่อมต่อกัน หมายถึง ทั้งสองประเทศเป็นมิตรไมตรีต่อกัน มีการประสานร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงงานเซรามิก ศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าของทั้งสองประเทศ



          รำลึก "วันนริศ" นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม           28 เมษายน 2566           ครบรอบ 160 ปี วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์           ๒๘ เมษายน ของทุกปีถือเป็น “วันนริศ” หรือวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ที่ทรงได้รับยกย่องให้เป็น “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ ผู้ทรงเปรียบเสมือน “สมเด็จครู” ผู้ทรงเชี่ยวชาญงานช่างและศิลปะไทย และทรงเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปกรรมอันงดงาม อันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวิทยาการด้านงานช่างและศิลปะไทยอย่างมากมาย ตลอดจนสืบทอดต่อมายังจนปัจจุบัน           สำหรับประวัติของ “กรมพระยานริศฯ” พระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระโอรสลำดับที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระมารดา คือ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์ทรงประสูติเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๐๖ ซึ่งอุปนิสัยของพระองค์ ทรงเป็นผู้มีความรู้และความสามารถในวิชาการต่าง ๆ เป็นอย่างดี เพราะพระองค์ทรงมีพระวิริยะ อุตสาหะ และหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนสติปัญญาอยู่เสมอมาตั้งแต่ยังทรงวัยเยาว์ โดยบทบาทสำคัญที่ทรงทำให้พระองค์ทรงเป็นที่ยอมรับอย่างมาก คือ ความรู้และความสามารถในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากบทบาทและพระราชกรณียกิจของพระองค์ ที่เป็นที่ยอมรับและชื่นชม เช่นจากการที่พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึงพระองค์ไว้ว่า           “ . . . ทรงแสดงให้ปรากฏเห็นว่าเป็นยอดในหมู่ศิลปิน ทางวิจิตรศิลปะไทยอยู่ถึง ๔ สาขา คือ สถาปัตยกรรมศิลปะ จิตรศิลป ดุริยางคศิลปะ และวรรณคดี เพียงแต่พระอุโบสถวันเบญจมบพิตรอย่างเดียวก็พอจะกล่าวได้เต็มปากว่า พระองค์เป็นยอดสถาปัตยศิลปินในแบบที่เป็นศิลปะไทย  . . .” ยกตัวอย่าง ผลงานของพระองค์ที่เป็นที่ยอมรับและยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน            “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของพระองค์ ซึ่งเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระประสงค์ในการก่อสร้างก็เพื่อจะทรงรักษาพระราชประเพณีของพระมหากษัตริย์อันเป็นพุทธศาสนูปถัมภก โดยสถาปัตยกรรมที่ “กรมพระยานริศฯ”ได้ทรงออกแบบสนองพระบรมราชโองการนี้ คือ พระอุโบสถ ระเบียงคต ศาลาหน้าพระอุโบสถ ซุ้มประตู กำแพงวัด พระที่นั่งทรงธรรม และแผ่นศิลาจารึกสำหรับโรงเรียนวัดเบญขมบพิตร             อีกหนึ่งผลงานทางสถาปัตยกรรมที่งดงามเลื่องชื่อคือ “พระที่นั่งวิมานเมฆ” ในพระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่สวนและนาระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมไปจรดคลองสามเสนด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างเป็นอุทยานสถานและพระราชทานนามว่า "สวนดุสิต"           “วัดราชาธิวาสวิหาร" หรือชื่อเดิมคือวัดสมอราย ก็เป็นผลงานการออกแบบของพระองค์เช่นกัน วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ได้ปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้ง มีการรื้อสิ่งก่อสร้างเก่าๆ หลายอย่างทิ้งไป และสร้างใหม่ขึ้นทดแทน รวมถึงพระอุโบสถหลังใหม่ที่สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นผู้ออกแบบ           ในวาระ ๑๖๐ ปี ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ทรงสร้างคุณูปการต่อประเทศชาติทั้งในงานด้านช่างและศิลปะทุกแขนง การพัฒนาเพื่อความเจริญมั่นคงของชาติและการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของประชาชนอย่างมากมาย จนองค์การยูเนสโก(UNESCO) ยกฐานะให้เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ในฐานะผู้อนุรักษ์ศิลปกรรมทางประวัติศาสตร์แล้ว รู้สึกเป็นเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระองค์ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม”





          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เอกสารจดหมายเหตุชุดสำคัญในภาคใต้ของไทย” วิทยากร นางนิภา สังคนาคินทร์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา, นายธีราธร ชมเชย หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง, นางภารดี สุภากาญจน์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา และนางสาวอาภาพร ภควัตชัย หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ร่วมกับกับกลุ่มศิลปินอาร์ตทอยศาลาอันเต เปิดตลาดอาร์ตทอยในสวน (Art Toys Market in the Garden) ทุกวันอาทิตย์สิ้นเดือน เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            พบกับตลาดอาร์ตทอยในสวน วันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ พิเศษสำหรับเดือนสิงหาคม เนื่องจากวันที่ ๘ สิงหาคม เป็นวันแมวโลกหรือวันแมวสากล โดยมีกิจกรรมหลากหลาย ทั้งอาร์ตทอย เวิร์กชอป และนิทรรศการน่ารักๆ รับรองว่าถูกใจทาสแมวทาสหมาแน่นอน รวมทั้งยังมีพี่น็อต ขายหัวเราะ มาร่วมกิจกรรมอีกด้วย


Messenger