ผางประทีป
#ผางประทีป
ทางล้านนามีความเชื่อในเรื่องของการถวายประทีปในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือที่เรียกว่า การบูชาประทีป โดยใช้ผางประทีส หรือ ผางประทีป เป็นเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย เพื่อหวังอานิสงค์ของการถวายทานเพื่อความสุขในภพภูมิหน้า
ผาง หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป ลักษณะคล้ายถ้วยหรืออ่างขนาดเล็ก ทำด้วยดินเผา ประทีป หมายถึง แสงไฟ รวมความผางประทีป คือ ถ้วยดินเผาสำหรับจุดตามไฟ เป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชาตาอายุ หรืออีกนัยหนึ่ง คือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้จุดแทนเทียนในเวลากลางคืน ผางประทีปจะมีรูปลักษณะแตกต่างกันตามฝีมือช่างแต่ละยุคสมัย ผางประทีปแบบเก่าที่พบหลายแห่งมีขนาดใหญ่เท่าชามแกงขนาดย่อม ซึ่งผางประทีปที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ก็เพื่อบรรจุเชื้อเพลิงได้มากสำหรับให้แสงสว่างเป็นเวลานาน ส่วนผางประทีปที่ทำขายสำเร็จรูป มักมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ คือ ประมาณ 10 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร
นอกจากถ้วยประทีปแล้ว สิ่งที่สำคัญคู่กันก็คือ น้ำมัน และตีนกาหรือสีสาย ปัจจุบันนิยมใช้ขี้ผึ้ง (พาราฟีน) แทนน้ำมัน ส่วน สีสาย ซึ่งอาจอ่านเป็น “สี้สาย” หรืออ่านเคลื่อนเป็น “ขี้สาย” นั้น ทำจากด้ายฟั่นให้เป็นเชือกสองเกลียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วดึงแยกเกลียวทั้งสองออกจากกันโดยเว้นระยะจากปลายเชือกประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อปล่อยมือเชือกเกลียวแต่ละเกลียวก็จะพันกันกลับเป็นเชือกอีกทีหนึ่ง จัดแต่งเชือกทั้ง 4 ชายให้เข้ากัน โดยจัดสามชายแยกออกจากกันเป็นสามแฉก เหมือนตีนกา และอีกชายหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของทั้งสามชาย ก็จะได้ตีนกา หรือสีสายตามต้องการ
ในล้านนา มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประทีปหรือดังปรากฏในคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ผางประทีป อันสืบเนื่องมาจากตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร ที่พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำเนิดจากแม่กาเผือก ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์มีแม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่บนต้นไม้ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง แต่แล้วเกิดมีลมพายุพัดรังกระจัดกระจาย ไข่ก็ตกลงไปในแม่น้ำแล้วไหลไป แม่กาก็พลัดไปอีกทางหนึ่ง พอลมสงบแม่กาหาไข่ไม่พบก็ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ ส่วนไข่ 5 ฟองที่ถูกน้ำพัดไป ถูกเก็บได้โดยแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ เอาไข่ไปฟักตัวละฟอง ต่อมาไข่ก็แตกออกมาเป็นคน พอโตขึ้นต่างก็ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่า วันหนึ่งฤาษีทั้ง 5 มาพบกัน ต่างก็ถามถึงความเป็นมาของกันและกัน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักแม่ที่แท้จริงของตนเลย จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ของตน ท้าวพกาพรหมจึงต้องลงมาพบเล่าเรื่องอดีตให้ฟังและบอกว่า ถ้าคิดถึงแม่ให้เอาด้ายดิบทำเป็นรูปตีนกาแล้วจุดไฟในประทีปในวันยี่เป็ง คือวันเพ็ญเดือน 12
จากเรื่องเล่าดังกล่าวจึงมีการบูชาประทีปในเทศกาลยี่เป็ง ชาวบ้านจะนำผางประทีปไปจุดตามวัดและฟังพระธรรมเทศนาอานิสงส์ และยังมีการตามประทีปและจุดบูชาตามรอบรั้วบ้าน หัวบันไดบ้าน บ่อน้ำ ครัวไฟ บันได เป็นต้น โดยการจุดผางประทีบเป็นการบูชาเพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ เพื่อสักการะต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ และยังเป็นการบูชาแสงสว่างโดยเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และมีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลอีกด้วย
หลักพุทธธรรมในการถวายทานประทีป
1) หลักบูชา ซึ่งเป็นอามิสบูชา คือการถวายทานประทีปหรือแสงสว่างต่อปูชนียบุคคล คือการบูชาบุคคลที่ควรบูชา เช่น การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า การบูชาคุณพระธรรม และยังบูชาต่อปูชนียวัตถุ ผ่านประเพณีที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา
2) หลักกตัญญูกตเวที มีความสอดคล้องและปรากฏหลักความกตัญญูตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อยู่สองประเภทด้วยกัน กล่าวคือ การกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า และกตัญญูต่อบิดามารดา ผ่านกระบวนการบูชาผางประทีป ซึ่งมีหลักธรรมเรื่องความกตัญญูสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาธรรม และถูกถ่ายทอดออกมารุ่นสู่รุ่น ด้วยกระบวนการทำให้ดู ปฏิบัติให้เห็น
3) หลักศรัทธา ซึ่งแฝงอยู่ในการถวายทานประทีป เป็นความศรัทธาในคัมภีร์ธัมม์ 3 เรื่อง คือ เวสสันดร ชาดก 13 กัณฑ์ ธัมม์แม่กาเผือก และธัมม์อานิสงค์ผางประทีป ซึ่งความเชื่อความศรัทธาที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องให้ เกิดการถวายทานประทีปของชาวล้านนา และมีการยึดถือ สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ตราบจนปัจจุบัน
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย
บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
บรรณานุกรม
เยาวนิจ ปั้นเทียน. “ผางประทีส/ผางประทีป.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4072-4075.
พระณัฐกิจ ฐิตเมธี (อิมัง). การศึกษาความเชื่อเรื่องการถวายประทีปของชาวพุทธในล้านนา = A Study on Lanna Buddhist Beliefs on Lantern Offering and Merit. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/
download/252544/171376/901395
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
#บรรณฯหามาฝาก
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
ทางล้านนามีความเชื่อในเรื่องของการถวายประทีปในวันเพ็ญเดือนยี่ หรือที่เรียกว่า การบูชาประทีป โดยใช้ผางประทีส หรือ ผางประทีป เป็นเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย เพื่อหวังอานิสงค์ของการถวายทานเพื่อความสุขในภพภูมิหน้า
ผาง หมายถึง ภาชนะรองรับน้ำมันหรือไขที่เป็นเชื้อเพลิงของประทีป ลักษณะคล้ายถ้วยหรืออ่างขนาดเล็ก ทำด้วยดินเผา ประทีป หมายถึง แสงไฟ รวมความผางประทีป คือ ถ้วยดินเผาสำหรับจุดตามไฟ เป็นพุทธบูชาหรือบูชาสืบชาตาอายุ หรืออีกนัยหนึ่ง คือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้จุดแทนเทียนในเวลากลางคืน ผางประทีปจะมีรูปลักษณะแตกต่างกันตามฝีมือช่างแต่ละยุคสมัย ผางประทีปแบบเก่าที่พบหลายแห่งมีขนาดใหญ่เท่าชามแกงขนาดย่อม ซึ่งผางประทีปที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ก็เพื่อบรรจุเชื้อเพลิงได้มากสำหรับให้แสงสว่างเป็นเวลานาน ส่วนผางประทีปที่ทำขายสำเร็จรูป มักมีขนาดกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ คือ ประมาณ 10 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 เซนติเมตร
นอกจากถ้วยประทีปแล้ว สิ่งที่สำคัญคู่กันก็คือ น้ำมัน และตีนกาหรือสีสาย ปัจจุบันนิยมใช้ขี้ผึ้ง (พาราฟีน) แทนน้ำมัน ส่วน สีสาย ซึ่งอาจอ่านเป็น “สี้สาย” หรืออ่านเคลื่อนเป็น “ขี้สาย” นั้น ทำจากด้ายฟั่นให้เป็นเชือกสองเกลียวยาวประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วดึงแยกเกลียวทั้งสองออกจากกันโดยเว้นระยะจากปลายเชือกประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อปล่อยมือเชือกเกลียวแต่ละเกลียวก็จะพันกันกลับเป็นเชือกอีกทีหนึ่ง จัดแต่งเชือกทั้ง 4 ชายให้เข้ากัน โดยจัดสามชายแยกออกจากกันเป็นสามแฉก เหมือนตีนกา และอีกชายหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของทั้งสามชาย ก็จะได้ตีนกา หรือสีสายตามต้องการ
ในล้านนา มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของตีนกาที่ใช้เป็นไส้จุดประทีปหรือดังปรากฏในคัมภีร์ชื่อ อานิสงส์ผางประทีป อันสืบเนื่องมาจากตำนานพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระศรีอริยะเมตไตร ที่พระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ได้ถือกำเนิดจากแม่กาเผือก ตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งดึกดำบรรพ์มีแม่กาเผือกกำลังกกไข่อยู่บนต้นไม้ใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง แต่แล้วเกิดมีลมพายุพัดรังกระจัดกระจาย ไข่ก็ตกลงไปในแม่น้ำแล้วไหลไป แม่กาก็พลัดไปอีกทางหนึ่ง พอลมสงบแม่กาหาไข่ไม่พบก็ร้องไห้จนขาดใจตาย แล้วไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ ส่วนไข่ 5 ฟองที่ถูกน้ำพัดไป ถูกเก็บได้โดยแม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ เอาไข่ไปฟักตัวละฟอง ต่อมาไข่ก็แตกออกมาเป็นคน พอโตขึ้นต่างก็ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่า วันหนึ่งฤาษีทั้ง 5 มาพบกัน ต่างก็ถามถึงความเป็นมาของกันและกัน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักแม่ที่แท้จริงของตนเลย จึงพากันอธิษฐานขอให้ได้พบแม่ของตน ท้าวพกาพรหมจึงต้องลงมาพบเล่าเรื่องอดีตให้ฟังและบอกว่า ถ้าคิดถึงแม่ให้เอาด้ายดิบทำเป็นรูปตีนกาแล้วจุดไฟในประทีปในวันยี่เป็ง คือวันเพ็ญเดือน 12
จากเรื่องเล่าดังกล่าวจึงมีการบูชาประทีปในเทศกาลยี่เป็ง ชาวบ้านจะนำผางประทีปไปจุดตามวัดและฟังพระธรรมเทศนาอานิสงส์ และยังมีการตามประทีปและจุดบูชาตามรอบรั้วบ้าน หัวบันไดบ้าน บ่อน้ำ ครัวไฟ บันได เป็นต้น โดยการจุดผางประทีบเป็นการบูชาเพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ เพื่อสักการะต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ และยังเป็นการบูชาแสงสว่างโดยเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และมีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลอีกด้วย
หลักพุทธธรรมในการถวายทานประทีป
1) หลักบูชา ซึ่งเป็นอามิสบูชา คือการถวายทานประทีปหรือแสงสว่างต่อปูชนียบุคคล คือการบูชาบุคคลที่ควรบูชา เช่น การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า การบูชาคุณพระธรรม และยังบูชาต่อปูชนียวัตถุ ผ่านประเพณีที่มีความงดงามและเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา
2) หลักกตัญญูกตเวที มีความสอดคล้องและปรากฏหลักความกตัญญูตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อยู่สองประเภทด้วยกัน กล่าวคือ การกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า และกตัญญูต่อบิดามารดา ผ่านกระบวนการบูชาผางประทีป ซึ่งมีหลักธรรมเรื่องความกตัญญูสอดแทรกอยู่ในเนื้อหาธรรม และถูกถ่ายทอดออกมารุ่นสู่รุ่น ด้วยกระบวนการทำให้ดู ปฏิบัติให้เห็น
3) หลักศรัทธา ซึ่งแฝงอยู่ในการถวายทานประทีป เป็นความศรัทธาในคัมภีร์ธัมม์ 3 เรื่อง คือ เวสสันดร ชาดก 13 กัณฑ์ ธัมม์แม่กาเผือก และธัมม์อานิสงค์ผางประทีป ซึ่งความเชื่อความศรัทธาที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องให้ เกิดการถวายทานประทีปของชาวล้านนา และมีการยึดถือ สืบทอด และอนุรักษ์ไว้ตราบจนปัจจุบัน
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย
บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่
เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
บรรณานุกรม
เยาวนิจ ปั้นเทียน. “ผางประทีส/ผางประทีป.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. 8 (2542): 4072-4075.
พระณัฐกิจ ฐิตเมธี (อิมัง). การศึกษาความเชื่อเรื่องการถวายประทีปของชาวพุทธในล้านนา = A Study on Lanna Buddhist Beliefs on Lantern Offering and Merit. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565, จาก: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/
download/252544/171376/901395
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
#บรรณฯหามาฝาก
สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 713 ครั้ง)