ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
ชื่อเรื่อง ปฐมสมฺโพธิกถา (ปฐมสมโพธิ์)
สพ.บ. 215/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดกกม่วง ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการศิลปากรคอนเสิร์ต ชุด Classical in Touch 2021 no.2 โดย วงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร อำนวยเพลงโดย วานิช โปตะวนิช วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติ ศิลปินเดี่ยวไวโอลิน : โชติ บัวสุวรรณ ศิลปินเดี่ยววิโอลา : อัจยุติ สังข์เกษม รายการเพลง - V. Potavanich : Deep Impression - W.A. Mozart : Sinfonia Concertante for Violin, Viola and Orchestra in E-flat major, K.364 (320d) โชติ บัวสุวรรณ (ไวโอลิน), อัจยุติ สังข์เกษม (วิโอลา) - D. Shostakovich: Symphony no.5 in D minor, Op.47 บัตรราคา 200, 150, 100 บาท เริ่มจำหน่ายบัตร วันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2564 ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา 09.00 – 15.30 น.) และจำหน่ายบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. 0 2224 1342, 0 2221 0171 ทั้งนี้ การจัดการแสดงอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาอภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 380/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง ธรรมะ
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคาต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.42/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา (ธมฺมปทบั้นต้น)
ชบ.บ.84/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)
ชบ.บ.106ก/1-6ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.332/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132 (343-358) ผูก 12 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี ถือเป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เนื่องด้วย พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๒๑ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเครื่องราชบรรณาการ และวัตถุสะสมส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมเก็บรักษา ณ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศ มายัง “หอคองคอเดีย” โรงทหารที่อยู่ด้านตะวันตกหรือด้านหลังของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ปัจจุบันรู้จักในนาม “ศาลาสหทัยสมาคม” และเปิดให้สาธารณชนชมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ และนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย บรรดาวัตถุที่จัดแสดงอยู่ในหอคองคอเดียนั้นยังรวมถึงวัตถุมีค่า ของแปลกหายาก วัตถุจากต่างประเทศ และงานประณีตศิลป์ชั้นสูง
โดยวัตถุที่น่าสนใจประเภทหนึ่งคือ งานเครื่องมุก หนึ่งในงานประณีตศิลป์ของศิลปะไทย ที่ปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และสืบทอดมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ งานเครื่องมุก เป็นงานที่ใช้เปลือกหอยทะเล นำมาฉลุเป็นลวดลายต่าง ๆ แล้วจึงใช้รักเป็นตัวเชื่อมมุกกับชิ้นงานที่ต้องการประดับ ส่วนมากการประดับมุกนั้นปรากฏในเครื่องเรือนต่าง ๆ เช่น ตู้พระธรรม หีบพระธรรม ภาชนะทรงต่าง ๆ ฝาประกับคัมภีร์ใบลาน ฯลฯ รวมถึงงานประดับสถาปัตยกรรมปรากฏบนบานประตูและหน้าต่าง
ในหนังสือพิมพ์ดรุโณวาท เล่มที่ ๑ แผ่นที่ ๑๔ ฉบับวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ได้กล่าวถึงวัตถุที่จัดแสดงอยู่ในหอคองคอเดีย ในหัวข้อ “ความเจริญในกรุงสยาม” โดยระบุถึงเครื่องมุกชิ้นหนึ่ง จัดแสดงในห้องแรก (ห้องด้านทิศตะวันออกของหอคองคอเดีย) ดังความว่า “...แผ่นพระบฎิ์ประดับด้วยมุกเปนลวดลายอันวิจิตร...” สอดคล้องกับ “ว่าด้วยเครื่องแต่งตั้งในหอมิวเซียม” ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ แผ่นที่ ๓๑ ฉบับวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ ได้กล่าวบรรยายว่าในห้องแรก “ที่ฝาผนังหลังตู้กระจกนั้นมีรูปพระพุทธเจ้าประดับมุกบาน ๑”
ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๓๐ เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล วังหน้าจึงว่างลงแล้วโปรดให้ย้าย “หอมิวเซียม” ที่ หอคองคอเดียมาตั้งแสดงที่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน และพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ทั้งนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีฉากไม้ลงรักประดับมุกภาพพุทธเจ้าที่ประวัติระบุว่าเป็นของพิพิธภัณฑสถานมาแต่เดิม ๒ รายการ คือ
๑. ฉากไม้ประดับมุกภาพพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าประทานเทศนาแก่พระอสีติมหาสาวก ที่ฐานบัลลังก์ประดับบทสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อักษรขอม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องกรุงรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
๒. ฉากไม้ลงรักประดับมุกภาพพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ขนาบข้างด้วยพระอัครวสาวก ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องเครื่องมุก อาคารพระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ล่าง) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ฉากไม้แผ่นนี้กรมศิลปากรได้กำหนดเป็น “โบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ” อีกด้วย
ฉากไม้ลงรักประดับมุกภาพพุทธประวัติทั้งสองชิ้นยังมีประวัติว่าได้ถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการที่ต่างประเทศอยู่หลายวาระ กล่าวคือ ภาพลายเส้นห้องจัดแสดงเครื่องราชูปโภค ในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนานาชาติ ณ ชังป์ เดอมารส์ (Champ-de-Mars) ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ ปรากฏภาพลายเส้นฉากไม้แสดงภาพพุทธประวัติอยู่สองชิ้น
ในคราวนิทรรศการ Chicago’s World’s Columbian Exposition ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖
มหกรรมแสดงสินค้าโลก ที่เมืองเซนต์หลุยส์ มลรัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ ปรากฏฉากไม้ลงรักประดับมุก แสดงภาพพุทธเจ้าทั้ง ๒ แผ่น ที่ได้กล่าวไปในข้างต้นร่วมจัดแสดงอยู่ด้วย
ฉากไม้ลงรักประดับมุก พระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวก
ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔
เป็นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครมาแต่เดิม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ ห้องเครื่องมุก พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นล่าง) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ได้รับการคัดสรรเป็นโบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ
ฉากไม้ประดับมุกภาพพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ขนาบข้างด้วยพระอัครวสาวกในซุ้มเรือนแก้ว พื้นหลังของพระพุทธเจ้าและพระอัครสาวกมีดอกไม้ร่วง เหนือเรือนแก้วประดับภาพเหล่าเทพยดาประนมกร สักการะพระพุทธองค์ท่ามกลางหมู่เมฆ ฉากประดับมุกนี้แสดงถึงความวิจิตรบรรจงของช่างไทยในการฉลุเปลือกหอยให้เป็นเป็นลวดลายชิ้นเล็กชิ้นน้อยก่อนติดลงบนแผ่นไม้ แล้วใช้รักสมุกถมลงช่องว่างจนเกิดลวดลายสีขาวของเปลือกหอยตัดกับสีดำของยางรัก
รายละเอียดมุมฉากไม้ลงรักประดับมุก พระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวกแสดงภาพเหล่าเทพยดาประนมกร สักการะพระพุทธองค์ท่ามกลางหมู่เมฆ ลักษณะเมฆเป็นเส้นหยักโค้งคล้ายลายหรูอี้ในศิลปะจีน แทรกด้วยช่อดอกพุดตาน ส่วนบริเวณกรอบรูปเป็นแถบลายเกลียวใบเทศ
ฉากไม้ประดับมุกแสดงภาพพระพุทธเจ้าประทานเทศนาแก่พระอสีติมหาสาวก ที่ฐานบัลลังก์ประดับบทสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อักษรขอม จึงสะท้อนว่าฉากนี้แสดงภาพพระรัตนตรัย โดยพระธรรมนั้นแสดงด้วยยันต์เฑาะว์ ในเปลวไฟบนพระหัตถ์ขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พุทธลักษณ์ของพระพุทธเจ้าสะท้อนถึงพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๔ ที่รูปพระพุทธองค์มีลักษณะใกล้เคียงกับมนุษย์ทั่วไปมากขึ้นด้วยการไม่ปรากฏพระเมาลีเหนือพระเศียร
รายละเอียดมุมฉากไม้ลงรักประดับมุก ภาพพระรัตนตรัย แสดงภาพลายเครือเถาก้านขดใบเทศ หางหงส์ของซุ้มเรือนแก้วมีลักษณะแบบนกเจ่า ส่วนบริเวณกรอบรูปเป็นแถบลายเครือเถาใบเทศ
ภาพลายเส้น ห้องเครื่องราชูปโภค จัดแสดงในงานแสดงศิลปหัตถกรรมนานาชาติ ณ ชังป์ เดอมารส์ (Champ-de-Mars) ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐
(ที่มา : กรมศิลปากร. ๑๔๙ ปี ราชพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๔๙ หน้า ๒๓)
ภาพถ่ายซุ้มจัดแสดงของประเทศไทย ในงาน Chicago’s World’s Columbian Exposition ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖
(ที่มา : นายดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์)
ภาพถ่ายวัตถุจัดแสดงของสยามในงาน St. Louis World's Fair เมืองเซนต์หลุยส์ (St. Louis) รัฐมิสซูรี (Missouri) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗
(ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ๑๔๙ ปี ราชพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวง วัฒนธรรม, ๒๕๔๙.
___________. โบราณวัตถุที่เป็นสมบัติชิ้นสำคัญของชาติ. กรุงเทพฯ: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง, ๒๕๕๑.
“ว่าด้วยเครื่องแต่งตั้งในหอมิวเซียม” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ แผ่นที่ ๓๑ (วันอาทิตย์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๒ จ.ศ. ๑๒๔๐): หน้า ๒๓๕-๒๓๘.
วิสันธนี โพธิสุนทร. เครื่องมุก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ. (กรมศิลปากรจัดพิมพ์ประกอบนิทรรศการพิเศษ เนื่อง ในงานเฉลิมพระเกียรติครบรอบวันประสูติ ๑๐๐ ปี จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตร สุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๒๔).
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์. ดรุโณวาท เล่ม ๑. เข้าถึงเมื่อ ๑๕ กันยานน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก http://valuablebook2.tkpark.or.th/.../Daru.../flipbook1.html
ชื่อผู้แต่ง ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา
ชื่อเรื่อง พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กับเทศนา เทวธรรมกถา ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ แล อัปปมาทกถา ของพระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
ปีที่พิมพ์ ๒๔๖๖
จำนวนหน้า ๑๑๖ หน้า
หมายเหตุ มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ณ เมรุท้องสนามหลวง
หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหากล่าวถึงพระประวัติของสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ตั้งแต่การรับราชการจนสิ้นพระชนม์ ประกอบกับหนังสือเทศนาที่ได้ตรัสอาราธนาให้พระสาสนโสภณแต่งไว้ มีเนื้อหาพระประวัติประกอบกับหลักคำสอนทางพุทธศาสนา
ชื่อเรื่อง : พระประวัติและงานสำคัญของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ (ภาคต้น) เรียบเรียงโดย นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์จำนวนหน้า : 260 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมพระประวัติและงานสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ เริ่มตั้งแต่บทที่ 1 เรื่องของพระประวัติของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทิพววดี พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ บทที่ 2 เรื่องพระนามเดิมของพระองค์ท่านคือเจ้าฟ้าชายกลาง บทที่ 3 เรื่องพระประวัติกรมพระยาบำราบปรปักษ์ (ภาคต้น) บททที่ 4 เรื่องการเป็นสมุหนายกฝ่ายเหนือ บทที่ 5 เรื่องการเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ และบทที่ 6 งานพระนิพนธ์
วันนี้ (วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๕) เวลา ๐๗.๕๙ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร คณะผู้บริหารกรมศิลปากร พร้อมด้วยข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๑๑ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร จากนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมศิลปากร ครบรอบ ๑๑๑ ปี (๒๗ มีนาคม ๒๕๖๕) และมอบรางวัลให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น และผู้ปฏิบัติงานดีเด่นในสังกัดกรมศิลปากร โดยมี นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร นายสด แดงเอียด นางโสมสุดา ลียะวณิช นายสหวัฒน์ แน่นหนา นายเอนก สีหามาตย์ นายประทีป เพ็งตะโก อดีตผู้บริหารกรมศิลปากร รวมทั้งผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธี ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งกรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ กรมศิลปากร ได้ดำเนินงานตามภารกิจในการขับเคลื่อนงานด้านมรดกวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้งานมรดกศิลปวัฒนธรรม ได้รับการพัฒนาสร้างสรรค์บนหลักความถูกต้องทางวิชาการ มีคุณภาพและมาตรฐาน สังคมและประเทศชาติจึงได้ประโยชน์ ทั้งในด้านการศึกษา เรียนรู้ และด้านการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ สานต่องานเดิม และเริ่มงานใหม่ ทั้งนี้ การดำเนินงานของกรมศิลปากร เป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ งานด้านภาษา เอกสารและหนังสือ งานนาฏศิลป์และดนตรี งานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและช่างศิลป์ไทย รวมไปถึงงานสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกรมศิลปากร นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังได้มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้ด้านมรดกวัฒนธรรม โดยให้ประชาชน เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายขึ้น จึงได้พัฒนาระบบสารสนเทศให้บริการออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าถึงการให้บริการในด้านต่าง ๆ ตามภารกิจ ทั้งในด้านโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ หอสมุด หอจดหมายเหตุ ศิลปกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี และพัฒนา เพิ่มช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารงานมรดกศิลปวัฒนธรรมของกรมศิลปากร โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook Youtube Application line ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วในสังคมปัจจุบัน กรมศิลปากรตระหนักถึงหน้าที่ในการทำนุบำรุง สืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ และการ สนองงานรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานในการธำรงรักษาจารีตประเพณี การอนุรักษ์ บำรุงรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยี และสร้างสรรค์ต่อยอด เพิ่มคุณค่ามรดกศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนถ่ายทอดเผยแพร่องค์ความรู้สู่ประชาชน อันจะส่งผลให้มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป