ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

หลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในสังกัดกรมศิลปากร


เลขทะเบียน : นพ.บ.455/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 159  (163-173) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : เทวทูตสูตร--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


๒๒ เมษายน ๒๕๖๖ วันคุ้มครองโลก (Earth Day) ในฤดูใบไม้ผลิ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ วุฒิสมาชิกเกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) ได้ก่อตั้ง Earth Day ขึ้นในวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๓ เพื่อผลักดันให้ปัญหานี้เข้าสู่วาระแห่งชาติ อีกทั้งยังมีชาวอเมริกันกว่า ๒๐ ล้านคน ได้ร่วมแสดงเจตนารมณ์ ณ เมืองต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญเพื่อแสดงถึงความต้องการให้มีมาตรการป้องกัน และควบคุมผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ ในเวลาต่อมาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการพิจารณา และเริ่มมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีผลบังคับใช้ในเวลาถัดมา นับว่าเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของชาวอเมริกันที่ได้ออกมาร่วมแสดงเจตนารมณ์ในครั้งนี้ ต่อมาในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ รัฐสภาจึงได้มีมติให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลกลางแห่งใหม่เพื่อทำภารกิจในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม คือ สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency : EPA) จากเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์จึงทำให้ในวันที่ ๒๒ เมษายน ของทุกปีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ขอบคุณข้อมูลจาก กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.  22 เมษายน วันคุ้มครองโลก (Earth Day) (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก https://actionforclimate.deqp.go.th/news/2869/  TheEconomicTimes.  Earth Day 2023: Date, theme, history, significance (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก https://economictimes.indiatimes.com/.../art.../99663840.cms Thursd.  The Earth Day 2023 Theme is 'Invest in Our Planet' (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566, จาก https://thursd.com/articles/earth-day-theme



          คำว่า “คชสีห์” นั้นเป็นคำสมาส คือ เอาคำสองคำมาต่อกัน คำว่า “คช” กับคำว่า “สีหะ” อีกคำหนึ่ง ความหมายคำว่า “คช” ก็แปลว่า ช้าง และ “สีหะ” ก็คือ ราชสีห์ นั่นเอง เมื่อนำเอาสมาสกันแล้วการันต์ตัว ห  ในทางการช่างศิลปะไทยเรา หมายถึง การนำเอาสัตว์สองชนิดมารวมกันอยู่ในตัวเดียว            ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่างโบราณของไทยเราได้ประดิษฐ์สัตว์หิมพานต์ขึ้นมาตามจินตนาการนั้นมีหลายชนิด และบางอย่างก็นำมาปะติดปะต่อเป็นสัตว์ผสมกัน  สังเกตได้ง่าย คือ ถ้าเรากล่าวถึงสัตว์อะไรก่อน  ส่วนมากจะเขียนเป็นหัวของสัตว์นั้น  ส่วนชื่อตามหลังจะกลายเป็นตัวและเท้าตลอด ดังเช่นคำว่า “คชสีห์” นี้  ส่วนที่เป็นหัวก็มีงวง มีงาลักษณะของช้างประดิษฐ์ ตั้งแต่คอลงไปตลอดหางก็เป็นราชสีห์ (ในเอกสารนี้อาจารย์กล่าวถึงการเขียนหน้าหรือศีรษะของคชสีห์ส่วนลำตัวให้ดูประกอบในเรื่องการเขียนราชสีห์)





ชื่อเรื่อง                         ปาจิตฺติยบาลี มหาวิภฺงคปาลิ (ปาลิปาจิตฺตีย์) ลบ.บ.                            365/2 หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ลักษณะวัสดุ                  52 หน้า กว้าง 4.3 ซม. ยาว 56.5 ซม. หัวเรื่อง                         พระไตรปิฎก                                                                         บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน ธรรมอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดโครงการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส ประจำปี ๒๕๖๖ นำนิทรรศการ “Retrospective ย้อนหลังผลงาน 1976 - 2023” โดย ญาณวิทย์ กุญแจทอง มาจัดแสดงให้ชมระหว่างวันที่ ๘ สิงหาคม - ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖             ญาณวิทย์ กุญแจทอง เป็นหนึ่งในศิลปินชาวไทยที่สร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์อย่างต่อเนื่อง นิทรรศการครั้งนี้นำเสนอผลงานชิ้นแรก (พ.ศ. ๒๕๑๙) สู่ผลงานชิ้นปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๖) โดยจะนำพาผู้ชมร่วมเดินทางเพื่อค้นหาและค้นพบพื้นผิวไปพร้อมกับญาณวิทย์ จากจุดเริ่มต้นที่งานวาดเส้นสมัยเป็นนักเรียน สู่การทำงานภาพพิมพ์ในยุคแรกและการเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ ในญี่ปุ่นและอิตาลี จากภาพพิมพ์แบบมีฉบับพิมพ์ (Edition) สู่ภาพพิมพ์ครั้งเดียว (Monoprint) จากภาพพิมพ์พื้นผิวสองมิติ สู่ภาพพิมพ์พื้นผิวสามมิติด้วยแม่พิมพ์ฉลุลาย (Stencil) และการโรยผงสี จากภาพพิมพ์สีสังเคราะห์ สู่ภาพพิมพ์สีธรรมชาติ (Organic Print) ซึ่งเป็นเหมือนเทคนิคลายเซ็นของเขาอีกด้วย            ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการนี้ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันนักขัตฤกษ์) ณ อาคาร ๔ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เขตพระนคร กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังสามารถติดตามข่าวสารกิจกรรม และนิทรรศการใหม่ ๆ ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้ทางเฟสบุ๊ก : The National Gallery of Thailand


          อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ขอเชิญชวนประชาชนเที่ยวชมงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-27 พฤศจิกายน 2566  ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ทั้งนี้ สามารถอ่านกำหนดการจัดงานได้โดยการสแกน QR Code หรือกดที่ลิงก์ >>>  https://online.anyflip.com/anhhr/tofu/mobile/index.html?fbclid=IwAR0aELLaxGVCQimB9T5YngyQMbjBi1P8XcnATiH8eSf-Vy4QPKEDMD4nhGU


ชื่อเรื่อง                     เรื่องเลิกทาสในรัชกาลที่ 5ผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครองเลขหมู่                      326 อ197รยสถานที่พิมพ์               ธนบุรีสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเริอปีที่พิมพ์                    2507ลักษณะวัสดุ               80 หน้าหัวเรื่อง                     ทาส – ไทยภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมข้อความที่เกี่ยวกับทาส ปรากฏในหนังสือเก่าต่างๆ รวมทั้งเรื่องเลิกทาสในรัชกาลที่ 5


         พระพิมพ์อัษฏมหาโพธิ์สัตว์          ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว)          พบที่เขาขรม อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙)          ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระพิมพ์ดินดิบ ทรงรีคล้ายหยดน้ำ ขนาดกว้าง ๘.๕ เซนติเมตร สูง ๑๒ เซนติเมตร กึ่งกลางเป็นรูปพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร (วัชราสนะ) แสดงปางปฐมเทศนา (ธรรมจักรมุทรา) ประทับภายในซุ้ม ล้อมรอบด้วยพระโพธิสัตว์ผู้เป็นใหญ่แปดองค์ ล้อมรอบมณฑลอยู่ทั้งแปดทิศ ประกอบด้วย พระไมเตรยะ (พระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา) พระอวโลกิเตศวร (พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา) พระสมันตภัทร (พระโพธิสัตว์แห่งการอธิษฐานขอพร) พระวัชรปาณี (พระโพธิสัตว์แห่งพละกำลัง) พระมัญชุศรี (พระโพธิ์สัตว์แห่งปัญญา) พระสรรวนีวรณวิษกัมภีนะ (พระโพธิสัตว์แห่งการขจัดอุปสรรค) พระกษิติครรภ์ (พระโพธิสัตว์แห่งสินในดิน หรือมหาปรณิธาน )และพระอากาศครรภ์ (พระโพธิสัตว์แห่งการชำระบาป หรือมหาสมาธิ)           การนับถือพระโพธิสัตว์ทั้งแปดองค์ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สังเคราะห์ (ธรรมสังครหะ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานสกุลวัชรยาน ซึ่งเชื่อว่าพระโพธิสัตว์นั้นมีอยู่มากมายเปรียบดั่งเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา           พระพิมพ์ดินดิบชิ้นนี้เป็นหนึ่งในพระพิมพ์จำนวน ๑๗ ชิ้นที่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อมาพระองค์ได้มีลายพระหัตถ์พระราชทานเจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร เสนาบดีกระทรวงธรรมการ มอบพระพิมพ์ทั้ง ๑๗ ชิ้นเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ดังข้อความในลายพระหัตถ์ที่ ๙๘/๑๐๓๘ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕ ความว่า           “พระพิมพ์ที่ได้จากถ้ำเขาขรม แขวงอำเภอลำพูน เมืองไชยา ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพส่งมาทูลเกล้าถวาย มาให้เจ้าคุณสำหรับเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ได้ส่งมาพร้อมกับจดหมายนี้แล้ว”      อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ ศ.๑๓/๔๑. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระพิมพ์เมืองไชยา (๑๑-๑๗ ตุลาคม ๑๒๕).


           อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญชวนท่องเที่ยวมิติใหม่ ชมปราสาทพิมาย..ยามค่ำคืน (Phimai Night : Light Up) ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว (Thailand Winter Festival)​ ทุกคืนวันศุกร์ วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์และเทศกาลสำคัญ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ถึง 27 มกราคม 2567​ ระหว่างเวลา 18.00 - 20.30 น. พบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ            - ตลาดโบราณ อิ่มอร่อยกับอาหารพื้นบ้าน สินค้าพื้นเมืองพิมาย            - การแสดงบนเวที ดนตรีไพเราะ ท่ามกลางบรรยากาศโบราณสถานยามค่ำคืน            - บริการให้เช่าชุดไทย ชุดอัปสรา ชุดพื้นเมืองโบราณ            - กิจกรรมเล่าเรื่องเมืองพิมาย ภายใต้คอนเซ็ป สาระและบันเทิง (บันเทิงเชิงสาระ) จากวิทยากรกรมศิลปากรและปราชญ์พื้นบ้าน             - มัคคุเทศก์น้อย (Phimai Junior Guides) นำชมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ             - วิทยากรนำชมโบราณสถาน            - สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปนาคปรก และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพื้นที่ชั้นในสุดของปราสาทพิมาย             - ฯลฯ และกิจกรรมพิเศษ_จากใจกรมศิลปากร 3 กิจกรรมใหญ่             กิจกรรมที่ 1 “พิธีเปิดงาน Phimai Night : Light Up” ในวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 เชิญชมการบรรเลงดนตรี โดยวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร             กิจกรรมที่ 2 "โขนกรมศิลป์" ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 เชิญชมการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "เล่ห์รักยักขีณี สื่ออสุรีย์พ่าย" โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร             กิจกรรมที่ 3 "ของขวัญปีใหม่ให้เข้าชมฟรี" ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2566 ถึง 5 มกราคม 2567 (เข้าชมฟรี 17 วัน) ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ            ทั้งนี้ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒน​ธรรม​ มุ่งอนุรักษ์ สืบทอด ต่อยอด มรดกศิลปวัฒนธรรม จากคุณค่าสู่มูลค่า ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติด้วยงานมรดกศิลปวัฒนธรรม พัฒนาแหล่งเรียนรู้ควบคู่กับการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น จากต้นทุนทางมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ             สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอุทยาน​ประวัติ​ศาสตร์​พิมาย โทร. 044 471568 ติดตามข่าวสารกิจกรรมได้ที่ เฟสบุ๊ก https://www.facebook.com/PhimaiHistoricalParkFAD



Messenger