ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
รายงานบัญชีงบทดลองและเอกสารประกอบงบทดลอง สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (เดือนสิงหาคม ๒๕๖๒)
กล่าวถึงตำนานวังหลัง เจ้าต่างกรมในกรมพระราชวังหลัง พระโอรสธิดาในกรมพระราชวังหลัง กรมหมื่นนราเทเวศร์สิ้นพระชนม์ ปราบกบฏเวียงจันท์
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 22 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
ไข้ทรพิษหรือฝีดาษ เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถติดต่อผ่านได้จากการสัมผัสหรือการหายใจรดกัน เป็นโรคที่มีการระบาดรุนแรงและรวดเร็ว มีการกล่าวถึงโรคชนิดนี้มากว่า ๒,๐๐๐ ปี ส่วนในไทยเริ่มปรากฏหลักฐานช่วงสมัยอยุธยา ระบุว่ามีการระบาดและทำลายชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ซิมอง เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถึงระบุว่า "โรคห่า"ของไทยที่แท้จริงคือ"โรคไข้ทรพิษ"นั่นเอง มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ "หมอบรัดเล" ได้เข้ามาเมืองไทยในฐานะแพทย์มิชชันนารีสังกัดคณะมิชชันนารีอเมริกัน ได้ทำการปลูกฝีให้คนไทย ช่วยรักษาชีวิตราษฎรไว้เป็นจำนวนมากอีกทั้งเขียนตำรา"ปลูกฝีโคให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้"ซึ่งช่วยให้การสาธารณสุขของไทยมีความก้าวหน้าได้ระดับหนึ่ง และประการสำคัญพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ตรา"พระราชบัญญัติจัดการป้องกันไข้ทรพิษ พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ " เพื่อเป็นกฏหมายบังคับใช้ทั่วประเทศให้คนไทยทุกคนต้องปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ โดยเริ่มในทารกตั้งอายุ ๖ เดือนเป็นต้นไป การปลูกฝีไข้ทรพิษตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๑ -๒๔๗๓ ทำให้เห็นว่ารัฐได้พยายามป้องกันและรักษาโรคอย่างต่อเนื่องได้แก่ ๑.ออกหนังสือป้องกันโรค ๒.จำหน่ายและแจกยาโรยฝีหนองของโอสถสภา ๓.ออกใบปลิวทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ๔.ให้แพทย์หลวงและแพทย์ตำบลออกไปปลูกฝีหนองตามหมู่บ้าน และกำชับให้ราษฎรมาปลูกฝีซ้ำหากปลูกครั้งแรกไม่ขึ้น ๕.วางระเบียบการเบิกฝีหนอง ถ้าไม่ได้รับในเวลาสมควรต้องรีบแจ้งกรมสาธารณสุขโดยด่วนเพราะฝีหนองอาจหมดอายุได้ เห็นได้ว่ารัฐพยายามควบคุมการระบาดของโรคนี้อย่างต่อเนื่อง จากแบบรายงานประจำปี พ.ศ.๒๔๗๒ ของสาธารณสุขมณฑล แจ้งเสนอไปยังสมุหเทศาภิบาลมณฑล ความว่า"...ในมณฑลนี้มีพลเมืองทั้งสิ้น ๑๖๖,๖๖๕ คน ได้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ รวม๒๖,๔๔๑ คน โดยแพทย์สาธารณสุขปลูกให้และปลูกโดยเงินบำเหน็จ(จ้างแพทย์เชลยศักดิ์และแพทย์ตำบล โดยคิดค่าบำเหน็จให้วันละ ๑บาท)..." ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ มีรายงานจากขุนประสาทประสิทธิการ นายอำเภอมะขาม แจ้งมายังสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี ว่าเกิดไข้ทรพิษที่บ่อนอก ตำบลบ่อไพลิน เมืองพระตะบอง อินโดจีนของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนติดกับฝั่งมณฑลจันทบุรีด้านกิ่งกำพุช อำเภอมะขาม(ปัจจุบันคืออำเภอโป่งน้ำร้อน) และมีคำสั่งด่วน"...ให้ขุนอนันต์ไปประจำตรวจคนต่างด้าวที่กิ่งกำพุช ที่จะเข้ามาในพระราชอาณาเขตต์ จะต้องปลูกฝีทุกคน..." และหลังจากนั้นได้สืบทราบว่าเชื้อโรคที่แพร่ระบาดมาจากพวกกุล่าไปค้าพลอยที่เมืองข่า แล้วกลับมาพักพร้อมแพร่เชื้อระบาดที่บ่อดินเหนียว บ่อพะฮี้ บ้านห้วยใส และบ้านกะชุกในเขตเมืองพระตะบอง มีการระบาดมาประมาณ ๓ เดือนแล้วและยังเป็นต่อเนื่อง ดังนั้นวิธีแก้ไขในเบื้องต้นคือปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษให้ แต่ถ้าใครไม่ยินยอมให้ปลูกฝี ก็ห้ามมิให้เข้ามาในสยาม จากเอกสารจดหมายเหตุของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ที่ปรากฏในเรื่องโรคระบาดไข้ทรพิษ สามารถสะท้อนให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลากว่า ๒๒ ปี ที่รัฐพยายามแก้ไขโรคระบาดไข้ทรพิษที่เป็นมหันตภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนอย่างมากมาย ได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งพยายามให้ความรู้ทุกรูปแบบเพื่อให้เข้าถึงประชาชนมากที่สุด สุดท้ายก็สามารถกำจัดโรคระบาดชนิดนี้ไปได้อย่างเด็ดขาด ผู้เขียน นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี เอกสารอ้างอิง -หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี.เอกสารจดหมายเหตุ รหัส(๑๓)มท ๕/๔๐ เรื่องไข้ทรพิษที่บ่อนอก ตำบลบ่อไพลิน เมืองพระตะบอง ซึ่งติดต่อกับกำพุช(๑๓ ม.ค. ๒๔๗๓-๒๒ พ.ค.๒๔๗๔). -หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารจดหมายเหตุ รหัส(๑๓)มท ๕/๓๕ เรื่องสาธารณสุขส่งรายงานประจำปี พ.ศ.๒๔๗๒(๓ ก.ค.๒๔๗๓). -หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี.เอกสารจดหมายเหตุ รหัส(๑๓)มท ๕/๑๐ เรื่อง ให้ระดมจัดการสุขศึกษาเรื่องปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ(๙ มี.ค.๒๔๖๘- ๕ ส.ค.๒๔๗๐). -หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารจดหมายเหตุ รหัส(๑๓)มท ๕/๒ เรื่อง ส่งบาญชีจำหน่ายยาโอสถสภาปลูกไข้ทรพิษแลหนังสือป้องกันโรค(๕ ม.ค. ร.ศ.๑๒๗ - ๒๓ ก.ค. ร.ศ.๑๒๘).
วันศุกร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๑ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก ได้จัดโครงการเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ภาษา ตัวเขียน และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายอนันต์ นาคนิคม ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี ประธานในพิธี กล่าวรายงานโดย นางสาวระเบียบ หงส์พันธ์ หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ในช่วงเช้ามีการแสดงฟ้อนแคน จากกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ การบรรยาย หัวข้อ "กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดกาญจนบุรี" โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ชิตชยางค์ ยมาภัย หัวหน้าโครงการพันธกิจสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และการบรรยาย หัวข้อ "ภาษาโบราณ และพัฒนาการอักษรไทยโบราณ" โดยวิทยากรจากกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในช่วงบ่าย ชมการแสดงจากชาวไทยเชื้อสายมอญ ชุดรำหงส์ทอง การเสวนา หัวข้อ "ภาษาถิ่น : สำเนียงเสียงเมืองกาญจน์" โดย ๑.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฟ้อน เปรมพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ๒.นายอ๊อกปาย วงษ์รามัญ ตัวแทนกลุ่มภาษามอญ ๓.นายนรพล คงนานดี ตัวแทนกลุ่มภาษากะเหรี่ยง ๔.นายพฤทธิ์อุกฤษฎ์ ช่างเรือนกุล ตัวแทนกลุ่มภาษาชาวไทยทรงดำ ๕.นายสามารถ คงอาจหาญ ตัวแทนภาษาถิ่นกลางสำเนียงเหน่อ(อ่านสุนทรพจน์เกี่ยวกับเมืองกาญจนบุรี ด้วยสำเนียงเหน่อ) ๖.นายพิสันต์ จันทร์ศิลป์ วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี ผู้ดำเนินรายการ ในโซนชั้นล่างก็จะมีฐานการเรียนรู้ วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณี ของกลุ่มชาติพันธุ์ ไทยทรงดำ มอญ และกะเหรี่ยงนำสื่อความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ของตนมา มาจัดแสดง ทั้งในด้านวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี สาธิตการทำอาหาร และจำหน่ายสินค้า กลุ่มพันธกิจวัฒนธรรมสถานบริรักษ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล work shop ทำขนม สืบสานวัฒนธรรมไทยทรงดำ กลุามหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ เ มีการเขียนอักษรโบราณ ที่เรียกว่า ใบลาน หอจดหทายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เล่นเกมส์จิ๊กซอว์ แจกรางวัล อุทยานประวัติสาสตร์เมืองสิงห์ นำความรู้เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ขุดพบโบราณสถานที่สำคัญมาแสดงให้ชม และนิทรรศการ "วิถีและวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดกาญจนบุรี"
รายงานการเดินทางไปราชการ โครงการศึกษาดูงานมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลก ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน
ตามพันธกรณีกับ UNESCO
ชื่อโครงการ
โครงการศึกษาดูงานมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลก ณ เขตบริหารพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามพันธกรณีกับ UNESCO
๑. วัตถุประสงค์
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารซึ่งประกอบไปด้วยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นแหล่งมรดกโลกตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๔ พื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ได้เล็งเห็นความสำคัญนี้และได้ประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ในหลายๆประเทศได้ริเริ่มให้มีโครงการพัฒนามัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกเพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ย่านเมืองเก่ามาเก๊าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนรายชื่อเป็นแหล่งมรดกโลกและมีการพัฒนาโครงการอบรมมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกขึ้นเป็นแห่งแรก มีการดำเนินการอบรมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี เปิดการเรียนการสอนมากถึง ๑๙ รุ่นนับถึงปัจจุบัน หลักสูตรดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและเป็นต้นแบบให้กับการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะเดียวกันในหลายๆประเทศ รวมทั้งในประเทศไทยที่กำลังดำเนินการพัฒนาหลักสูตรโดยมีพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรเป็นพื้นที่ต้นแบบ โดยความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และมหาวิทยาลัยนเรศวร
การเดินทางเพื่อปรึกษาหารือกับตัวแทนจาก Institute for Tourism Studies (IFT), Macao ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรและจัดการอบรมมาอย่างต่อเนื่อง และการได้เข้าสังเกตุการณ์นำชมโดยมัคคุเทศก์ที่ผ่านการอบรมดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทยต่อไปในอนาคตเป็นอย่างมาก
๒. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘
๓. สถานที่
เขตบริหารพิเศษมาเก๊า สาธารณรัฐประชาชนจีน
๔. หน่วยงานผู้จัด
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
๕. หน่วยงานสนับสนุน
-
๗. กิจกรรม
วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๒.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. เดินทางถึงสนามบินแห่งเมืองมาเก๊าและรับประทานอาหารกลางวัน
๑๔.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. รับฟังการบรรยายสรุปและการถาม - ตอบเกี่ยวกับหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกที่ดำเนินการอบรมโดยสถาบัน IFT (Macau) และเยี่ยมชม facilities ต่างๆภายในสถาบัน
๑๖.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. ประชุมหารือและซักถามเกี่ยวกับรายละเอียดของหลักสูตรและการดำเนินการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสำหรับหลักสูตรและผู้ที่ได้รับการอบรมในสภาพการณ์จริงในหลายๆประเทศ
วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
๑๐.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. เยี่ยมชมย่านมรดกโลกเมืองมาเก๊า นำชมโดยมัคคุเทศก์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกของสถาบัน IFT (Macau) - Calista Chen
วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๘
๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. ประชุมสัมมนาบทสรุปและการนำบทเรียนที่ได้จากการปรึกษาหารือกับสถาบัน IFT และจากการดูงานเพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับโครงการพัฒนามัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกฯในประเทศไทย
๑๐.๓๐ น. ออกเดินทางสู่สนามบินเพื่อเดินทางกลับ
๘. คณะผู้แทนไทย
จำนวนผู้ร่วมเดินทางศึกษาดูงานและประชุมหารือในโครงการฯ รวมทั้งสิ้น ๑๕ คน ประกอบด้วย
๑) ตัวแทนจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) จำนวน ๕ คน ประกอบด้วย
- นางศิริกุล กสิวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการอพท. และรักษาการผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.๔)
- นางสาวดวงกมล ทองมั่ง หัวหน้างานวิเทศสัมพันธ์ สำนักบริหารยุทธศาสตร์
- นางสาวอมรรัตน์ โพธิ์นรินทร์ เจ้าหน้าที่พัฒนาพื้นที่พิเศษ อพท.๔
- นางสาวภวรัตน์ คุณความดี เจ้าหน้าที่บริหารยุทธศาสตร์ สำนักบริหารยุทธศาสตร์
- นายนิรุตต์ บ่อเกิด เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน
๒) ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร จำนวน ๓ คน ประกอบด้วย
- นางนงคราญ สุขสม ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
- นายภัทรพงษ์ เก่าเงิน นักโบราณคดีชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
- นางธาดา สังข์ทอง หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
๓) ตัวแทนจากชุมชนในพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และผู้ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนมัคคุเทศก์ในโครงการพัฒนามัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกในเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จำนวนรวม ๔ คน ประกอบด้วย
- นางสร้อยนภา พันธุ์คง
- นายสมชาย เดือนเพ็ญ
- นายอนุวัติ เชื้อเย็น
- นางคณารัตน์ เนตรทิพย์
๔) ตัวแทนจากคณะทำงานโครงการพัฒนามัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกในเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จำนวน ๓ คน ประกอบด้วย
- นางสาวลินินา พุทธิธาร ตัวแทนคณะทำงานจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
- ผศ.ดร.สุวรรณา รองวิริยะพานิช ผู้จัดการโครงการพัฒนามัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกฯ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร
- ดร.จารุวรรณ แดงบุปผา ตัวแทนคณะทำงานโครงการพัฒนามัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกฯ จากภาควิชาการท่องเที่ยว ม.นเรศวร
๙ ผู้เข้าร่วมประชุมหารือในส่วนของสถาบัน IFT
- IFT President: Dr. Vong Chuk Kwan, Fanny (fanny@ift.edu.mo)
- CHSG Lecturer+CHSG course initiator: Dr. Sharif Shams Imon (imon@ift.edu.mo)
- CHSG Lecturer: Dr. Wong Un In, Cora (cora@ift.edu.mo)
- Admin Assistant: U Hio Tong, Sandi (sandiu@ift.edu.mo)
- Specialist Guide in Macau: Calista Chen (uchengchan@gmail.com) | Tel: 65579832/62219799
๑๐. สรุปสาระของกิจกรรม
๑) จากการเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปและการถาม - ตอบเกี่ยวกับหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกที่ดำเนินการอบรมโดยสถาบัน IFT
- การอบรมมัคคุเทศก์และบุคลากรที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการภาคการท่องเที่ยวต่างๆที่นี่ขึ้นตรงกับสถาบัน IFT โดยมีส่วนสำหรับการฝึกการโรงแรมรวมอยู่ในสถาบันด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบในประเทศไทยที่หลักสูตรเหล่านี้ถูกจัดอบรมโดยสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันเอกชนที่หลากหลาย ซึ่งมีการกำกับดูแลหลักสูตรโดยหน่วยงานรัฐแต่เพียงในภาพกว้างๆเท่านั้น
- สถาบัน IFT เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ
- ผู้ที่จะเข้าอบรมในหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลก (CHSG) นั้น ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไปโดยสถาบัน IFT เสียก่อน ซึ่งหลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไปมีจำนวนชั่วโมงรวม ๑๘๐ ชั่วโมง ส่วนหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกมีจำนวนชั่วโมงรวม ๖๐ ชั่วโมง ประกอบด้วย Cultural Heritage Interpretation for World Heritage Sites (Core Module) จำนวน ๒๔ ชั่วโมง และ Macao Heritage Tour Guide Course (Site Module) จำนวน ๓๖ ชั่วโมง
- ค่าใช้จ่ายในการอบรมอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก (สำหรับหลักสูตรทั่วไปอยู่ในหลักประมาณ ๓,๐๐๐ บาทต่อภาคการศึกษา) นอกจากนี้นักเรียนยังได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยรัฐบาลอีกประมาณครึ่งหนึ่งของค่าลงทะเบียน
- ในหลักสูตรมีการเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะในการค้นคว้าและสร้าง Thematic route ใหม่ๆที่น่าสนใจ โดยใช้เวลาในช่วงพักระหว่างหลักสูตรจัดทำ
- ผู้ผ่านการอบรมบางส่วนได้มีการสร้างเครือข่ายกันเองหลังจากจบจากการอบรม และร่วมพัฒนาเส้นทางใหม่ๆที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่อง
- สำหรับระบบการตรวจสอบมาตรฐานหลังการอบรมนั้นยังไม่มีระบบที่ชัดเจน แต่มีกฎระเบียบให้มัคคุเทศก์ที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้วต้องมีการเข้ามารับการอบรมเพื่อ update ความรู้ทุกๆ ๓ ปีกับทางสถาบันฯ จึงจะได้รับการต่อใบอนุญาต
- ทางสถาบันฯได้จัดให้มีเวปไซต์ที่มีรายชื่อและสถานที่ติดต่อให้กับผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลก รวมทั้งสนับสนุนให้มีการใช้บริการมัคคุเทศก์เหล่านี้ในโอกาสพิเศษต่างๆที่มีความต้องการการนำชมที่มีความต้องการเฉพาะ อย่างไรก็ดี การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวยังเป็นไปในระดับที่จำกัดอยู่ในวงไม่กว้างมากนัก
- ยังไม่มีกฎระเบียบพิเศษสำหรับอัตราค่าตอบแทนมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกโดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว (จากการสอบถามผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรและไปประกอบอาชีพจริงๆ) พบว่ามัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกได้ค่าตอบแทนสูงกว่ามัคคุเทศก์ทั่วไปถึง ๓ - ๔ เท่า ขึ้นอยู่กับการตกลงกับผู้จ้าง
- ปัจจุบันมีมัคคุเทศก์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกเกินกว่าความต้องการของตลาด เนื่องจากผู้เข้าอบรมเล็งเห็นแนวโน้มที่รัฐอาจประกาศระเบียบให้มัคคุเทศก์ทุกคนที่นำชมในพื้นที่มาเก๊าต้องผ่านการอบรมนี้ในอนาคต
- ทางสถาบันฯยังไม่มีแนวทางหรือกลไกที่ชัดเจนในการส่งเสริมความต้องการตลาดต่อมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรให้เกิดความยั่งยืน
๒) จากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์นำชมโดยมัคคุเทศก์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกของสถาบัน IFT
- แม้ค่าตอบแทนสำหรับมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกจะสูงกว่ามาก แต่ความต้องการจากมัคคุเทศก์เฉพาะในลักษณะนี้ยังมีจำกัดอยู่มาก ในกรณีของมัคคุเทศก์ที่มานำชมให้กับทางคณะดูงานฯนั้น ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์เป็นเพียงอาชีพเสริม จึงไม่เป็นปัญหามากนัก
- เนื่องจากมัคคุเทศก์ที่มานำชมประกอบอาชีพมัคคุเทศก์เป็นเพียงอาชีพเสริม มีการปฏิบัติหน้าที่เพียงประมาณเดือนละ ๑ ครั้ง ทำให้ประสบการณ์ในการให้บริการยังไม่สมบูรณ์มากนักแม้จะผ่านชั่วโมงการอบรมตามที่หลักสูตรกำหนดแล้วก็ตาม แต่ในเชิงของทัศนคติและความรู้ต่อการนำชมแหล่งมรดกโลกนั้นสามารถทำได้อย่างดีมาก
- มัคคุเทศก์ได้ให้ข้อคิดเห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมัคคุเทศก์และนักท่องเที่ยวนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในแหล่งมรดกโลกที่ต่อยอดเพิ่มขึ้นได้ทั้งต่อนักท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์เอง
๑๑. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
- การจัดให้มีองค์กรหลักที่ให้การอบรมและควบคุมมาตรฐานเพียงองค์กรเดียว เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้การจัดการหลักสูตรมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานที่ชัดเจน รวมทั้งช่วยให้บุคลากรที่จบจากสถาบันได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้นหากองค์กรมีมาตรฐานที่ดีและเป็นที่ยอมรับ
- หลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์ในประเทศไทยมีความหลากหลายทั้งมัคคุเทศก์ทั่วไป และมัคคุเทศก์เฉพาะหลายประเภท รูปแบบการเพิ่มองค์ความรู้ด้านมรดกโลกให้กับมัคคุเทศก์ประเภทต่างๆจึงมีความซับซ้อนที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านมากกว่ากรณีของมาเก๊า ซึ่งในปัจจุบันหลักสูตรเน้นการอบรมให้กับคนในท้องถิ่นเพื่อเป็นมัคคุเทศก์เฉพาะ (วัฒนธรรมท้องถิ่น) เป็นหลัก และมีส่วนหนึ่ง (ประมาณ ๑๕ - ๒๐%) ที่เป็นการอบรมมัคคุเทศก์ทั่วไปเพื่อให้การทำงานร่วมกับคนท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิผล โดยตัวแทนจากกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนที่ผ่านมาที่ใช้ระบบแบบผสมผสานกลุ่มคนดังกล่าวนี้ให้ความเห็นว่ารูปแบบนี้มีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้กลุ่มคนต่างๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทักษะและองค์ความรู้ที่ตนอาจจะมีน้อยกว่าคนที่มากจากกลุ่มคนอื่นได้อย่างดีมาก
- ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและระเบียบของมัคคุเทศก์เฉพาะวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่กำหนดโดยกรมการท่องเที่ยว ทำให้โครงการนำร่องการอบรมมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกในเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารมีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับหลักสูตรของสถาบัน IFT การขยายระยะเวลาการอบรมในหลักสูตรจึงเป็นข้อพิจารณาสำคัญสำหรับการนำหลักสูตรไปปฏิบัติต่อไปในอนาคต เพื่อให้ความเข้มข้นของเนื้อหาอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจมากขึ้นหากผู้ที่เข้าร่วมมิได้มีพื้นฐานเท่ากับกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการนำร่อง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานดีในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ทั้งนี้ต้องพิจารณากลุ่มผู้เข้าอบรมที่แตกต่างหลากหลายดังระบุในข้อข้างต้นด้วย
- การมีเวลาพักระหว่างช่วงเวลาการอบรมเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ไปศึกษาค้นคว้าและพัฒนาองค์ความรู้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากและได้ถูกนำมาพัฒนาในหลักสูตรที่กำลังดำเนินการอยู่ด้วยเช่นกัน รวมทั้งการมีการพักระหว่างกลางช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้มีเวลาในการตกผลึกมากขึ้น และมีข้อแนะนำเห็นควรให้มีการประเมินผลเป็นช่วงๆระหว่างการอบรมเมื่อจบเนื้อหาของแต่ละส่วนหลัก
- จากการสังเกตการณ์การนำชมจะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นที่การพัฒนาหลักสูตรควรให้มีส่วนที่มัคคุเทศก์ทั่วไปได้ฝึกทำงานร่วมกับมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญฯ ทั้งนี้เนื่องจากงานทั้ง ๒ ส่วนต้องการทักษะที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีไม่ครบถ้วนในคนคนเดียว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของหลักสูตรที่ทางคณะทำงานฯได้พัฒนาขึ้น ข้อผิดพลาดหลายประการจากการนำชมที่มาเก๊าช่วยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้มากยิ่งขึ้น
- การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมโดยรัฐและแนวนโยบายที่ชัดเจนจะช่วยสนับสนุนให้คนสนใจเข้าพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ตนและพัฒนาคุณภาพของการนำชมให้ดียิ่งขึ้น
- การเข้าอบรมเพื่อ update ความรู้เพื่อต่อใบอนุญาตเป็นกลไกที่เคยมีในประเทศไทยแต่ยกเลิกไป และควรผลักดันให้เกิดขึ้นอีกเพื่อการควบคุมมาตรฐานของการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ที่เหมาะสม
- การสนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ที่เข้ารับการอบรมนับเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการช่วยพัฒนาองค์ความรู้และโครงข่ายทางธุรกิจการท่องเที่ยวได้อย่างดี
- ความจำเป็นในการสร้างการเข้าถึงข้อมูลของผู้ที่ผ่านการอบรมที่ควรมีเจ้าภาพดูแลรับผิดชอบ ซึ่งรวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาติดต่อเมื่อมาถึง site แล้วด้วย (นอกเหนือไปจากกลุ่มที่ติดต่อมาล่วงหน้า) ซึ่งอาจเป็นการจัดให้มีการติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลอุทยานฯ โดยจัดให้มีการเข้าถึงรายชื่อได้จากเวปไซต์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น เวปไซต์อุทยานฯ, สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ, เวปไซต์อพท. เป็นต้น
- นอกจากการพัฒนา supply side แล้ว การพัฒนาด้าน demand ด้านการท่องเที่ยวเฉพาะทางนี้และการเข้าถึงข้อมูลของมัคคุเทศก์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรมัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลก นับเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง และเป็นเรื่องที่องค์กรที่เกี่ยวข้องต้องเข้าช่วยเหลือ เพื่อให้มัคคุเทศก์เหล่านี้มีงานรองรับอย่างเพียงพอและได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม และเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวในแหล่งมรดกโลกให้เกิดความยั่งยืน
- ทักษะในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมัคคุเทศก์และนักท่องเที่ยวนับเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจัดให้มีในหลักสูตร เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ในแหล่งมรดกโลกที่ต่อยอดเพิ่มขึ้นต่อๆไป
- ควรมีการจัดการภาระหน้าที่และขอบเขตการนำชมที่ชัดเจนระหว่างเจ้าหน้าที่นำชมของอุทยานฯและมัคคุเทศก์อาชีพ รวมทั้งควรให้มีการคำนึงถึงการใช้เครื่องมือนำชมที่เชื่อมต่อกับระบบ QR Code ที่พัฒนาไว้ให้เกิดประโยชน์
- ปัจจุบันมีปัญหาว่ามัคคุเทศก์ท้องถิ่นมีอยู่ค่อนข้างจำกัด การสนับสนุนเพื่อต่อยอดไปสู่มัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลกจากคนที่มีพื้นฐานเดิมจึงอาจจะมีความลำบาก
- ควรมีการจัดการภาระหน้าที่และขอบเขตการนำชมที่ชัดเจนระหว่างเจ้าหน้าที่นำชมของอุทยานฯและมัคคุเทศก์อาชีพ รวมทั้งควรให้มีการคำนึงถึงการใช้เครื่องมือนำชมที่เชื่อมต่อกับระบบ QR Code ที่พัฒนาไว้ให้เกิดประโยชน์
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง ธรรมเทศนา อานิสงส์ การบวชประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
สาระสังเขป : ประวัติความเป็นมาของทหารมหาดเล็กตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันผู้แต่ง : วรการบัญชา, พันเอกโรงพิมพ์ : ประชาช่างปีที่พิมพ์ : 2496ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.32บ1543จบเลขหมู่ : 356.16 ว184ตอ
เลขทะเบียน : นพ.บ.25/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 12 (123-137) ผูก 10หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม