จดหมายเหตุว่าด้วยเรื่อง"ศาลเจ้า :ศรัทธาสถานของชาวจีนเมืองจันทบุรี"
          ว่ากันว่าเมื่อชาวจีนไปอาศัยอยู่ที่ใด ก็มักจะสร้างศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและบูชาเทพเจ้าของตนเสมอ เป็นผลทําให้เกิด การสร้างศาลเจ้าจีนกระจายท่ัวไป ดังนั้นเมืองจันทบุรีจะมี"ศาลเจ้า"ที่ตั้งขึ้นโดยคนจีนอยู่กี่แห่ง? วันนี้ผู้เขียนมีคำตอบให้ค่ะ
          เอกสารจดหมายเหตุได้มีบันทึกระบุว่า พ.ศ.2466 มีศาลเจ้าของคนจีนที่มาขอรับการจดทะเบียน จำนวน 34 ศาลเจ้า แยกตามอำเภอได้ดังนี้
1.อำเภอเมืองจันทบุรี จำนวน 12 ศาลเจ้า ได้แก่
-ศาลจ้าวฮุ้ดโจ้ ตำบลตลาดจันทบุรี
-ศาลจ้าวโจ๊ซือกง ตำบลตลาดจันทบุรี
-ศาลจ้าวปากน้ำ ตำบลตลาดจันทบุรี
-ศาลจ้าวสระบาป ตำบลท่าเรือจ้าง
-ศาลจ้าวโป่งแรต ตำบลโป่งแรต
-ศาลจ้าวคมบาง ตำบลคมบาง
-ศาลจ้าวเจ้าที่ ตำบลตลาดจันทบุรี
-ศาลจ้าวอาม้า ตำบลบางกะจะ
-ศาลจ้าวเฮี่ยนเทียน ตำบลบางกะจะ
-ศาลจ้าวอาเนี้ย ตำบลบางกะจะ(หลังนี้มีพื้นที่ 368 ตารางวา ทิศตะวันตกติดศาลจ้าวโจ้ซื่อกง)
-ศาลจ้าวอาเนี้ย ตำบลบางกะจะ(หลังนี้มีพื้นที่ 48 ตารางวา ทิศตะวันตกติดถนน)
-ศาลจ้าวโจ๊ซื่อกง ตำบลบางกะจะ

2.อำเภอท่าใหม่ จำนวน 12 ศาลเจ้า ได้แก่
-ศาลจ้าวโจ๊ซื่อกง ตำบลท่าใหม่
-ศาลจ้าวโจ๊ซือก๋ง ตำบลท่าใหม่
-ศาลจ้าวโรงเจตั๋ว ตำบลท่าใหม่
-ศาลจ้าวท่าน้ำ ตำบลท่าใหม่
-ศาลจ้าวหนองจอก ตำบลยายร้า
-ศาลจ้าวห้วยระกำ ตำบลพลอยแหวน
-ศาลจ้าวชำฆ้อ ตำบลพลอยแหวน
-ศาลจ้าวหนองปรือ ตำบลเขาวัว
-ศาลจ้าวตั้วล้ง ตำบลเขาวัว
-ศาลจ้าวอาเหนียว ตำบลเขาบายศรี
-ศาลจ้าวท่าศาลา ตำบลท่าศาลา
-ศาลจ้าวปากน้ำพังลาด ตำบลช้างข้าม

3.อำเภอแหลมสิงห์ จำนวน 5 ศาลเจ้า ได้แก่
-ศาลจ้าวแหลมสิงห์ ตำบลบางกะไชย
-ศาลจ้าวเกาะเปริด ตำบลเกาะเปริด
-ศาลจ้าวพลิ้ว ตำบลพลิ้ว
-ศาลจ้าวบางเทียน ตำบลคลองน้ำเค็ม
-ศาลเจ้าหนองบัว ตำบลหนองบัว

4.อำเภอขลุง จำนวน 5 ศาลเจ้า ได้แก่
-ศาลจ้าวขลุง ตำบลขลุง
-ศาลจ้าวตรอกนอง ตำบลตรอกนอง
-ศาลจ้าวคานรูด ตำบลเกวียนหัก
-ศาลจ้าวเกาะจิก ตำบลบางชัน
-ศาลจ้าวบางชัน ตำบลบางชัน







          ทะเบียนศาลเจ้าเล่มนี้ ภายในประกอบไปด้วยรายนามแต่ละศาลเจ้า ที่ดินระวาง เลขที่ดิน เลขโฉนด เนื้อที่เท่าไร อาณาเขตต์ติดกับใครบ้าง และใครเป็นผู้ปกครองหรือผู้ตรวจตราสอดส่องแต่ละศาลเจ้า ศาลเจ้าเหล่านี้อาจสร้างขึ้นมาก่อนหน้าแล้วก็ได้ และในเวลาต่อมาอาจให้มาขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างศาลเจ้าขลุงได้ระบุว่ามี นายเค็งเส็ง แส้เหลา เป็นผู้ปกครองศาลแห่งนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2465 และยังมีนายเลี่ยนจิ้น แส้เตี่ยว เป็นผู้ตรวจตราสอดส่อง ในพ.ศ.เดียวกัน เป็นต้น
          เป็นที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือศาลเจ้าที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งนี้ มีแค่ 4 อำเภอ ขาดอยู่ 1 อำเภอคืออำเภอมะขาม และ ณ ขณะนี้ผู้เขียนยังไม่มีหลักฐานอื่นมายืนยันว่า เป็นเพราะเหตุว่าไม่มีศาลเจ้าในขณะนั้นที่อำเภอมะขาม หรือมีเหตุผลอื่นใดกันแน่ จึงขอฝากเพื่อนๆที่สนใจในเรื่องนี้ตามต่อด้วยนะคะ (หมายเหตุ คำเรียกบางคำยังคงตามคำเขียนเดิม)

-----------------------------------------------------
ผู้เขียน สุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี
-----------------------------------------------------
อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท 7/3 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี เรื่องทะเบียนศาลเจ้า (พ.ศ.2466)

(จำนวนผู้เข้าชม 3813 ครั้ง)

Messenger