ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.43/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถา (ธมฺมปทบั้นต้น)  ชบ.บ.84/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสพร-กุมาร)  ชบ.บ.106ก/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.332/14ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 132  (343-358) ผูก 14 (2565)หัวเรื่อง : ปาลิวารปาลี (บาลีบริวาร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


                     ศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕           เป็นสมบัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาแต่เดิม           ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย พระรัศมีรูปดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ ไม่ปรากฏขมวดพระเกศา พระพักตร์แป้นใหญ่ ครองจีวรห่มเฉียง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ ยาวลงมาจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเท่ากัน ด้านหน้าพระเพลาปรากฏชายผ้าจีวรและสบงซ้อนกันออกมาสองข้าง ส่วนฐานเรียบไม่มีลวดลาย           พระพุทธรูปองค์นี้ทำมาจากยางไม้ที่เรียกว่า อำพัน หรือ กาเยน ที่มีสีแดงเรียกว่า “อำพันประพาฬ” จัดอยู่ในประเภทอินทรียวัตถุที่เป็นรัตนชาติ เป็นทรัพยากรที่พบมากในพื้นที่ประเทศพม่า ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นเอาไว้ในลายพระหัตถ์ตอบ พระยาอนุมานราชธน ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ความว่า      “กาเยน เขาว่าเปนยางไม้ชนิดหนึ่ง จะเกิดจะมีที่ไหน ไม่ทราบ เห็นทำเปนพระพุทธรูปและลูกประคำมาแต่เมืองพะม่าเนืองๆ สีเหลืองแก่ น้ำคล้ายแก้ว ถ้าจะเปรียบให้ใกล้ก็คล้ายซ่นกล้องเมชอม*ชนิดที่ใส ซึ่งเราเรียกว่า อำพัน หรือลางทีจะเปนสิ่งเดียวกันด้วยซ้ำไป”           ชื่อเสียงของอำพันเมืองพม่านั้นยังถูกกล่าวถึงใน “พระราชพงศาวดารพม่า” พระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (พ.ศ. ๒๔๕๖) ทรงนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับอำพันในเมืองพม่าว่า เป็นแร่ที่อยู่ในพื้นดินบริเวณที่ซากไม้ทับถมกัน วิธีค้นหาแร่คือการขุดดินลึกลงไปประมาณ ๗ วา อำพันของพม่านั้นมีคุณสมบัติดีอยู่ ๓ ประการคือ มีความแข็ง ตัดหรือขัดง่ายและทนทานไม่ละลายง่าย ในพม่านิยมนำอำพันมาทำเป็นสร้อยลูกประคำ ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่นิยมในสยามเช่นกัน ดังพระนิพนธ์ความตอนหนึ่งว่า “...ในกรุงสยามก็ใช้อำพันประพาฬพม่าเป็นลูกคั่นปะหล่ำสำหรับผูกรอบข้อมือเด็กครั้งโบราณแต่ใช้สีแดง...” นอกจากนี้อำพันยังนำมาใช้สร้างพระพุทธรูปขนาดเล็กในศิลปะพม่าอีกด้วย           *น่าจะหมายถึง กล้องเมียร์ชอม เป็นกล้องยาสูบประเภทหนึ่ง หัวกล้องมีลวดลายอย่างตะวันตก   อ้างอิง นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา. บันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๓.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป, ๒๕๕๒. นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม ๖. กรุงเทพฯ: องค์การค้า คุรุสภา, ๒๕๐๔. ____________. พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม ๗. กรุงเทพฯ: องค์การค้า คุรุสภา, ๒๕๐๔. ___________________________________ หมายเหตุ พจานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่ากาเยน ประพาฬ และอำพัน ไว้ว่า กาเยน หมายถึง ยางไม้ชนิดหนึ่ง สีเหลืองแก่ใสคล้ายแก้ว ประพาฬ หมายถึง รัตนะ (แก้ว) ชนิดหนึ่ง สีแดงอ่อน เกิดจากหินปะการังใต้ทะเล  อำพัน หมายถึง ยางไม้ที่แข็งเป็นก้อน สีเหลืองใสเป็นเงา


ชื่อผู้แต่ง         เสริม วินิจฉัยกุล ชื่อเรื่อง          อนุสรณ์ คุณหญิงเนือง นิมิราชทรงวุฒิ (เนือง วินิจฉัยกุล) ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต ปีที่พิมพ์         ๒๕๑๔ จำนวนหน้า     ๑๒๐ หน้า หมายเหตุ       อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อนุสรณ์ คุณหญิงเนือง นิมิราชทรงวุฒิ (เนือง วินิจฉัยกุล) ณ เมรุวัดธาตุทอง ๒๘ สิงหาคม ๒๕๑๔                       หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของอนุสรณ์ คุณหญิงเนือง นิมิราชทรงวุฒิ (เนือง วินิจฉัยกุล) ทั้งด้านครอบครัว, อาการเจ็บป่วยที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต, ประวัติวัดเครือวัลย์วรวิหาร, ตำราอาหาร และวิธีนับเศษของพระจอมเกล้า




พัดรองพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๘ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นบน) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร _____________________________________ พัดหน้านาง ทำด้วยแพรสีแดง ตรงกลางปักดิ้นและไหมรูปตรีศูลอยู่กึ่งกลางจักร ภายในจักรปักพื้นสีเหลือง มีพระบรมราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ ๑-๕ ได้แก่ อุณาโลมเปล่งรัศมี ครุฑยุดนาค ปราสาท มงกุฎ และจุลมงกุฎ บนจักรปักคาถาภาษิตว่า “ติรัเต็นสกรัฏ์เฐจ สัม์พํเสจมมายนํ สกราโชชุจิต์ตัญ์จ สกรัฏ์ฐาภิวัฑ์ฒนํ” แปลได้ความว่า “ความรักใคร่ในพระรัตนตรัย แลรัฐของตนแลวงศ์ของตน อนึ่งจิตซื่อตรงในพระราชาของตน เป็นเครื่องเจริญยิ่งแห่งรัฐของตน หรือเป็นเครื่องทำให้รัฐแห่งตนเจริญยิ่ง” . ด้านล่างรูปปักสายสะพายเป็นแถบแพรสีเหลืองผูกเป็นโบว์ ขอบพัดปักข้อความว่า “พระราชลัญจกร สำหรับเครื่องราชอิศริยยศ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่ง ตรามหาจักรีบรมราชวงศ์” นมพัดรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ปักรูปอัษฎาวุธ* . พัดรองพระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์เล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงครองราชสมบัติครบหนึ่งหมื่นวัน ในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๘ โดยลวดลายบนพัดรองมีต้นแบบมาจาก “พระราชลัญจกรสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์” . พระราชลัญจกรนี้ยังมีรูปลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์ สำหรับเจ้าพนักงานตำแหน่งลัญจกราภิบาล (รูปที่ ๒) ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงสถาปนาเมื่อวันศุกร์ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๒๔๔ (วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๕) ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งลัญจกราภิบาล** จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว เช่น เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นต้น (รูปที่ ๓) . เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้สถาปนาขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เชิดชูพระกฤษฎาภินิหารเฉลิมพระเกียรติยศพระนามมหาจักรีบรมราชวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ซึ่งประดิษฐานมหาจักรีบรมราชวงศ์มาครบ ๑๐๐ ปี . . . *อัษฎาวุธ เป็นตรารูปเครื่องอาวุธ พิชัยสงคราม ๘ อย่างไขว้กัน . **ตำแหน่งลัญจกราภิบาล ตามมาตราที่ ๑๖ ของ “พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงษ์” กล่าวว่า บุคคลที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ รวมทั้งเรียบเรียงข้อพระราชบัญญัติ และคำประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ . . . #วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ #6เมษายน #พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร #พระที่นั่งพรหมเมศธาดา อ้างอิง ณัฏฐภัทร จันทวิช. ตาลปัตรพัดยศ ศิลปบนศาสนวัตถุ. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์, ๒๕๓๘. . ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (นนทบุรี: มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘. (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘). . “พระราชบัญญัติสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงษ์.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๑๘. (วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๓๔๗): ๑๐๗-๑๒๔.



หนังสือ “พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ: การเปลี่ยนผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน” มีเนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ภาค ภาค ๑ มีเนื้อหาว่าด้วยความสำคัญ ภูมิหลัง คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งส่วนของราชสำนักและส่วนราษฎร และภาค ๒ เป็นการตรวจสอบชำระเอกสารเก่าว่าด้วยพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญและครอบคลุมเรื่องราววิถีชีวิตของประชาชนในห้วงเวลานั้น อันจะเป็นประโยชน์ทางวิชาการต่อคนรุ่นหลังในการศึกษาค้นคว้าต่อไป


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           53/4ประเภทวัสดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               46 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๒๙ วันประสูติหม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร          หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย กับหม่อมกลีบ ไชยันต์ ณ อยุธยา มีพระพี่น้องร่วมพระมารดาคือ หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ และหม่อมเจ้าหญิงประดับศักดิ์ ไชยันต์           หม่อมเจ้าประสงค์สม เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต มีโอรสและธิดาแปดพระองค์ ซึ่งห้าพระองค์แรกล้วนมีฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ครั้นในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ยกพระบุตรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่ประสูติแต่หม่อมเจ้าประสงค์สมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า มีพระนามดังนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวงษวิจิตร  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุไรรัตนศิริมาน  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรกานตมณี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าน้อง  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรียชาติสุขุมพันธุ์           หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร สิ้นชีพิตักษัยในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๙๙ สิริชันษา ๖๙ ปี           หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบิดา   ภาพ : หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระสวามี


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           37/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              54 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 132/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger